<<
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
14 ตุลาคม 2552

ประวัติ MD - MiniDisc History

ประวัติ MiniDisc แปลจาก The Era of Minidisc จากเวบ Computer Internet and Technology Articles.

หลังจากนั่งเทียนเขียนมานาน ในที่สุดก็หมดมุข ต้องไปแปลงานของคนอื่นบ้าง แต่ถ้าจะแปลธรรมดามันก็ไม่ใช่ผม ผมเลยขอแปลแบบของตัวเองดีกว่าเพื่อความฮา 555 ที่อยู่ในวงเล็บคือความเห็นเพิ่มเติมจากผมครับ ไปอ่านกันเลย


MD (MiniDisc) นั้นเริ่มผลิตเข้าสู่ตลาดโดยบริษัท Sony ในปี 1992 (พ.ศ.2535) เพื่อมาแทนที่เทป (Sony เองที่ต้องการผลักดันให้ MD เกิด เหมือนตอนผลักดันให้ Walkman เกิด เพื่อจะได้เป็นเจ้าตลาดต่อไป ซึ่งขณะนั้นยอดขายเทปเริ่มตกลงมากแล้ว) ซึ่งได้เริ่มพัฒนากันมาตั้งแต่ตอนปลายยุค 80 (เป็นช่วงเดียวกับคอมพิวเตอร์กำลังก้าวหน้า) MD ใช้เทคโนโลยี magneto-optical* (ถ้าไม่เข้าใจผมได้อธิบายไว้ข้างล่างแล้วครับ) เขียนบันทึกลงแผ่นบันทึกที่สามารถลบและเขียนใหม่ได้ มีการเข้าถึงเพลงได้รวดเร็วเช่นเดียวกับแผ่นซีดี

รูปแบบที่ใช้เก็บข้อมูลนั่นก็คือ ATRAC (Adaptive Transform Acoustic Coding) ซึ่งโหมด SP มีบิตเรต 292 kbps แผ่นหนึ่งจะเก็บเพลงได้ที่ความยาวประมาณ 60 , 74 , 80 นาที ขึ้นอยู่กับแผ่น แต่ถ้าใช้เก็บไฟล์ Wave โดยตรงเลยจะเก็บได้ 20 , 25 , 28 นาทีตามลำดับ

เครื่อง MD รุ่นแรกสุดเลยคือ MZ-1 ราคาขายประมาณ 750 ดอลล่าห์ (เกือบ ๆ 30,000 บาท โอ้..มายก๊อด) มีความโดดเด่นคือมี Line out optical (สามารถหาสาย Optic แล้วอัดจาก MD เครื่องนี้ไปเครื่องอื่นได้เลย สุดเทพ) ซึ่งหลังจากนั้น MD ก็ไม่ได้ใส่ความสามารถนี้มาให้อีกเลย (คงกลัวคนละเมิดลิขสิทธ์เพลงมั้ง ^_^ เซียนหลายท่านก็เคยบอกว่าเครื่องรุ่นหลังๆ ก็สามารถทำให้มี Line out optical ได้แต่ต้องไปปลดล็อครหัสเสียก่อน)

Sony เริ่มให้ลิขสิทธิ์ MD กับบริษัทอื่นๆ เช่น Kenwood, Panasonic, Sharp, Aiwa เป็นต้น บริษัทต่างๆ เหล่านี้จึงได้ทำ MD ออกมาขายกัน ซึ่งมีทั้งอัดได้และเล่นได้อย่างเดียว หลังจากนั้นในปี 1994 (พ.ศ.2537) Sony ได้ทำเครื่องเล่น MD ตั้งโต๊ะตัวแรกคือ MDS-101 และเครื่องเล่น MD บนรถยนต์คือ C670RDS

ในปี 2000 (พ.ศ.2543) Sony ได้พัฒนาการเข้ารหัสแบบใหม่ (เพื่อให้แผ่น MD 1 แผ่นเก็บเพลงได้นานขึ้น) เรียกว่า MDLP (MiniDisc Long Play) มี 2 แบบ คือ LP2 และ LP4
- โดย LP2 เก็บเพลงได้นานขึ้น จากแผ่น 80 นาที ไปเป็น 160 นาที/แผ่น โดยใช้บิตเรตที่ 132kbps (= 2 เท่า)
- LP4 เก็บเพลงได้นานขึ้น จากแผ่น 80 นาที ไปเป็น 320 นาที/แผ่น โดยใช้บิตเรตที่ 66kbps (= 4 เท่า)
SP และ LP2 นั้นใช้การเข้ารหัสแยกซ้ายขวา ส่วน LP4 นั้นเข้ารหัสพร้อมกันทั้งซ้ายขวา (Join Stereo Coding)

ในปี 2002 (พ.ศ. 2545) Sony ได้เปิดตัว NetMD (Network MiniDisc) ซึ่งสามารถลงไฟล์เพลงจากคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงผ่านพอร์ต USB โดยผ่านซอฟ์แวร์คือ SonicStage ช่วงแรกนั้นโปรแกรม SS แย่มาก (ใครเป็นแฟน Sony คงจำโปรแกรมนี้ได้ดี ใช้งานอย่างง่าย 555) ตอนหลังจึงเริ่มดีขึ้น แต่ก็ต้องมาเหลวไม่เป็นท่าอีกกับการที่ไม่สามารถลากไฟล์ Mp3 ลง NetMD ได้โดยตรง แต่ต้องผ่านการแปลงจากโปรแกรม SS ให้แปลงเป็นไฟล์ Atrac ก่อน ซึ่งทำให้คุณภาพเสียงแย่กว่า Mp3 มาก ยอดขาย NetMD จึงไม่น่าพอใจนัก

ในปี 2004 (พ.ศ. 2547) Sony กลับมาใหม่พร้อมกับ Hi-MD (High Storage MiniDisc) ซึ่งสามารถใช้แผ่น MD 1 แผ่นเก็บข้อมูลได้ถึง 1 Gb (คล้ายๆ กับเป็น HDD Storage สมัยนั้น SD card ยังมีความจุสูงสุดแค่ 512 Mb อยู่เลย ถือว่าเทพมากในตอนนั้น) สามารถ copy file Atrac ลงได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านโปรแกรม (คือพอเสียบ Hi-MD แล้วจะเห็นเป็นไดร์ฟขึ้นมาเหมือน Flash Drive) และสิ่งที่ดีมากๆ สำหรับ Hi-MD ก็คือสามารถบันทึกไฟล์ในรูปแบบเดียวกับ Wave file คือ Linear PCM ได้เลย (1 แผ่นมีความจุตั้ง 1 Gb เลยสามารถทำได้) แต่แย่หน่อยที่ไม่มีบริษัทอื่นเขาเอาด้วย (เพราะตอนนั้นเครื่องเล่น Mp3 กำลังดัง และเป็นเหตุผลว่าทำไมไม่มีเครื่อง Hi-MD ของบริษัทอื่นเลย) ก็คงจะมีแต่ Onkyo ที่ได้ทำเครื่อง Hi-MD ตั้งโต๊ะออกมา

MD ตัวสุดท้ายที่ทำออกมาก็คือ MZ-RH1 ซึ่งเป็น Hi-MD ทำมาในปี 2006 (พ.ศ.2549) (ท่านจะเห็นว่า MD ตัวแรกคือ MZ-1 ตัวสุดท้ายคือ MZ-RH1 ทำให้มีคนหลงเข้าใจผิดว่ามันเป็นรุ่นต่อกันมา แต่ที่จริงนั้นห่างกันเกือบ 15 ปีทีเดียว) เป็นรุ่นที่ยอมให้มีการดึงข้อมูลออกจาก MD ไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ (รุ่นก่อนๆ ทำไม่ได้ มีแต่ต้องลบทิ้งแล้วบันทึกใหม่สถานเดียว)

บทส่งท้ายจาก sumat_kee
แม้ว่าจะยังมีผู้ชื่นชอบและผู้ใช้ MD อยู่แต่ในที่สุดบริษัทที่ผลิต MD ทั้งหมดก็ได้ยุติการผลิต MD อย่างถาวรไปแล้ว โดยมีเหตุผลหลายประการ คือ
1. การเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของเครื่องเล่น Mp3 อย่าง Ipod Iriver และเครื่องเล่นจากจีนต่างๆ
2. ราคาที่ค่อนข้างแพง MD ตัวที่ถูกที่สุดมือหนึ่งก็ราคาประมาณ 7,000 - 8,000 พันเข้าไปแล้ว ตัวท๊อปๆ อย่าง RH-1 นั้นราคาเหยียบ 20,000 ทีเดียว
3. ความยุ่งยากในการลงเพลง ไม่สามารถลากไฟล์เพลง Mp3 หรืออื่นๆ ลงได้เลย ลงเสร็จก็ Copy ออกมาไม่ได้ (ยกเว้น Hi-MD)
4. แผ่นมีราคาแพงเมื่อเทียบกับ CD หรืออื่นๆ และหายากด้วย แผ่นมือหนึ่งสมัยก่อนราคาเป็นร้อยทีเดียว
เมื่อยอดขายตกบริษัทต่างๆ จึงได้ยกเลิกการผลิต MD ไปโดยปริยาย แต่แผ่น MD ยังมีผลิตออกมาให้ใช้กันอยู่ (เพราะยังมีคนใช้อยู่ 555)

ขอยืนไว้อาลัยให้กับ MD 1นาทีครับ 555

พบกันใหม่นะครับ สวัสดีครับ

* magneto-opitcal = magneto แปลว่าเกี่ยวกับแม่เหล็ก - optical แปลว่าเกี่ยวกับแสง คือเทคนิคการบันทึกข้อมูลของเครื่องเล่น MD โดยเอาข้อดีของ 2 เทคโนโลยีมาผสมกัน โดยใช้แสงยิงไปที่แผ่น ที่ด้านตรงข้ามมีผงแม่เหล็กอยู่ทำให้เกิดการรวมตัวเรียงกันเป็นข้อมูล ซึ่งถ้าจะว่ากันง่ายๆ ก็คือ Floppy Disk ที่ใช้แสงเหนี่ยวนำนั่นเอง เรียกว่า ณ ปัจจุบันนี้วิธีคิดนี้ก็ยังถือว่าเทพมากนั่นเอง (คิดเข้าไปได้) ข้อดีที่เห็นได้ชัดคือสามารถลบและเขียนได้ ซึ่งตรงนี้ซีดีจะสู้ไม่ได้ (ช่วงนั้นยังไม่มีซีดีแบบเขียนใหม่ได้) และได้ข้อดีของซีดีคือข้อมูลค่อนข้างคงทน เพราะเวลาอ่านใช้หัวเลเซอร์ในการอ่าน ทำให้ข้อมูลไม่สูญหาย และแผ่นยังเป็นแบบปิด คือเราไม่สามารถสัมผัสแผ่นโดยตรงได้ จึงทำให้อายุการใช้งานของแผ่นค่อนข้างนาน


Create Date : 14 ตุลาคม 2552
Last Update : 14 ตุลาคม 2552 16:45:43 น. 0 comments
Counter : 1467 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sumat_kee
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่บล็อกของผม
[Add sumat_kee's blog to your web]