พื้นฐานการผสมปลากัดระหว่างสี


ก่อนอื่นให้ลืมหลักการผสมแม่สีที่เคยเรียนอย่างเช่นพวกสีน้ำไปก่อน แล้วปล่อยใจให้ไหลไปตามกระแสน้ำนะคะ ^^

กรณีผสมสีแดง

  • แดงเขียว => เขียวผสมแดงในตัวเดียวกัน อาจมีเขียวล้วน แดงล้วน ติดออกมาบ้าง แต่ยาก


สีฟ้าอมเขียวด้านบนหลังปลา เรียกว่า เขียวสะท้อน ส่วนสีดำๆ ที่ลำตัว เกิดจาก เขม่าเกล็ด ปลาหม้อสายพันธุ์ตลาดไม่ใช่สายพันธุ์ดีที่ผ่านการพัฒนาเอาเขม่าออกหมด


เขม่า คือ เกล็ดตามธรรมชาติที่มีสีดำอยู่แต่แรก ทุกตัวจะมีอยู่แล้ว ซึ่งไม่ใช่สีที่ติดตัวปลา เวลานอนจะหายไป หรือถ้ากัดแพ้สีจะหาย (ขี้ไคลชัดๆ ต้องจับขัดผิว จะได้ผิวผ่องๆ) ปลาที่มีเขม่ามักเป็นปลาสายกัดกับสายธรรมชาติ หรือเรียกว่าพันธุ์พื้นบ้านนั่นเอง ส่วนที่ไม่มีเขม่าเกิดจากเอาปลาต่างประเทศ เช่น ปลาอินโด ปลากัดฮาฟมูน ปลากัดจีน ฯลฯ มาไขว้เอาเขม่าออก


ตัวอย่างปลาที่พัฒนาจนไม่มีเขม่า



  • แดง + น้ำเงิน => น้ำเงินผสมแดงในตัวเดียวกัน อาจมีน้ำเงินล้วน แดงล้วน ติดออกมาบ้าง แต่ยาก



  • แดง + ดำ => แดงไหม้ หรือเรียกว่า แดงเข้มขลิบดำ หรือ คลีปแดงตัวดำ หรือ ตัวดำเกล็ดแดงเข้ม



  • แดง + ขาว => แดงผสมขาว



  • แดง + ทอง => แดงผสมทอง



คุณลักษณะพิเศษของ ขาว และ ทอง

  • ไม่ว่าสีอะไรมาผสมกับมัน จะกลายเป็นสีผสม ไม่มีทางออกสีขาวล้วน ทองล้วน หรือสีที่มาผสมล้วน

    • ขาว + ทอง



กรณีผสมสีเขียว

  • เขียว + เขียว => เขียว

  • เขียว + น้ำเงิน => เขียวล้วน หรือ น้ำเงินล้วน บางตัวติดสีเขียวน้ำมันก๊าซ

  • เขียว + เทา => เขียวล้วน หรือ เทาล้วน หรือ น้ำเงินล้วน ขึ้นอยู่กับสายของพ่อแม่พันธุ์ (รุ่นปู่)

 จุดสังเกต 1 เขียว น้ำเงิน และเทา ไม่มีทางรวมเป็น 2 สีในตัวเดียวได้ ด้วยวิธีผสมแบบธรรมชาติ เว้นเสียแต่ ทำการผสมด้วยวิธีบิสดิ้งสายพันธุ์ในห้องแลป

  • เขียว + นาคทอง => เขียวสะท้อน หรือเขียวน้ำทะเล


สีเขียวน้ำทะเล



สีนาคทอง


 จุดสังเกต 2 สีนาคทองเมื่อเจอกับเขียว จะถูกเขียวกลบหมด แต่มีบางคนลองใช้ตัวผู้สีนาคทอง กับ ตัวเมียสีเขียว ปรากฏว่า ได้นาคทองสีแปลกๆ ออกมา อย่างเช่นตัวในรูป



 เกร็ดความรู้เพิ่มเติม ปลากัดสีเขียว mask หรือเรียกว่า เขียวหัวเคลือบ สีประกายของปลากัด ในกลุ่มหัวเคลือบมาจากการผสมระหว่าง ปลาหม้อพื้นบ้าน กับปลากัดป่ามหาชัย  ถ้ามีเขม่าจะเรียกว่า เขียวหัวดำ จัดอยู่ในประเภทปลากัดสีเขียว พัฒนาขึ้นโดย ‘บังต้อม’ และต่อยอดโดย คุณคมน์ รัตนครีพ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ OK Nation Blog - ปลากัดหัวเคลือบ



กรณีผสมสีเทา

  • เทา + เทา => เทาล้วน

  • เทา + น้ำเงิน => เทาล้วน หรือ น้ำเงินล้วน



กรณีผสมสีน้ำเงิน

น้ำเงิน + น้ำเงิน => น้ำเงินล้วน หรือ เทาล้วน หรือ เขียวล้วน



หมายเหตุ สำหรับภาพประกอบที่ใช้ นำมาจากอินเตอร์เน็ตนะคะ ดูที่มาของภาพได้ตาม ลายน้ำที่ปรากฏในภาพเลยค่ะ ใส่ภาพประกอบเพื่อจะได้มองเห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น คิดซะว่ากำลังอ่าน Lecture เนอะ อ่านหมายเหตุเพิ่มเติมได้ที่ ความเป็นมาของการเขียนลง blog



Create Date : 07 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2559 21:30:41 น.
Counter : 44877 Pageviews.

6 comments
  
ดูภาพไม่ได้
โดย: หัวเขียว IP: 223.24.13.80 วันที่: 4 มกราคม 2561 เวลา:20:52:19 น.
  
ความรู้
โดย: ่jira IP: 110.169.129.169 วันที่: 25 มกราคม 2561 เวลา:22:57:28 น.
  
ดูภาพไม่ได้ครับ
โดย: อยากเห็น IP: 1.46.136.118 วันที่: 17 พฤษภาคม 2561 เวลา:3:53:18 น.
  
เปิดภาพไม่ได้ค่ะ
โดย: เจน IP: 27.130.70.87 วันที่: 21 กันยายน 2561 เวลา:13:08:32 น.
  
-- อัพเดท --
ตอนนี้คุณครูพี่จีสมีเว็บไซต์แล้วนะคะ ข้อมูลในนี้อาจจะไม่ได้อัพเดท ถ้ายังไงรบกวนตามไปอ่านที่เว็บได้เลยค่ะ https://sites.google.com/view/jeed
โดย: StarniC วันที่: 15 ตุลาคม 2561 เวลา:15:18:10 น.
  
ถ้าเรดดร้าก้อนสีทองแดงลำตัวขาวผสมกับป่าเขียวมรกตฟ้าครามจะได้สีอะไรคะ
โดย: ราชัน IP: 223.24.170.84 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:10:59:19 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

StarniC
Location :
จันทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2559

 
 
1
2
3
4
5
6
8
12
13
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30