กุมภาพันธ์ 2553

 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
มะเขือเทศ : ต้านอนุมูลอิสระ-ชะลอชรา



การกินมะเขือเทศเป็นประจำ จะช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระได้มาก ช่วยชะลอความแก่ชรา และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอย่างเช่น มะเร็ง หรือโรคหัวใจได้มาก...

มะเขือเทศ ทุกท่านคงจะรู้จักมะเขือเทศเป็นอย่างดี เพราะเป็นผลไม้ที่ใช้ในการประกอบอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ มากมาย และเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับวิตามินซี วิตามินเค แร่ธาตุโปแตสเซียม และโบรอน สารสำคัญในมะเขือเทศที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ คือ สารไลโคพีน (lycopene) เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ที่มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ และช่วยในการป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย สารไลโคพีนนี้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าสารเบต้าเคโรทีน และสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์อื่นๆ ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังพบอีกว่าสารไลโคพีนช่วยลดโอกาสความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในต่อมลูก หมากได้มากถึงร้อยละ 20 สารไลโคพีนพบมากในมะเขือเทศแดงสด แตงโม และฝรั่งขี้นกที่มีเนื้อสีชมพูอมแดง

มนุษย์รับประทานมะเขือเทศเป็นอาหาร ผัก รวมทั้งเครื่องดื่ม นอกจากมะเขือเทศจะมีรสชาติที่อร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางอาหารมากมาย มะเขือเทศมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicon esculentum เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุกอายุประมาณหนึ่งปี เติบโตเร็ว ลำต้นมีขนปกคลุม มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบหยักเว้าลึก ดอกสีเหลืองรูปดาว ผลฉ่ำน้ำ ผลมะเขือเทศอาจมีรูปร่างกลมหรือรี สีเหลือง ส้ม หรือแดง

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

มะเขือเทศเป็นแหล่งวิตามิน A, B, C, E และแร่ธาตุโพแทสเซียม

น้ำจากผลมะเขือเทศที่คั้นใหม่ๆ ใช้ทำความสะอาดผิว ทำให้ผิวนุ่มเนียน และสวยงาม


น้ำคั้นจากผลมะเขือเทศมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างอ่อน เนื่องจากในมะเขือเทศมีสารไลโคปีน จัดเป็นสารแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่ง แคโรทีนอยด์นี้เป็นเม็ดสีธรรมชาติที่ละลายในไขมันซึ่งให้สีเหลืองสด ส้ม แดง และเขียวสดกับผัก ผลไม้ อย่างเช่น แครอท ฟักทอง บร็อคโคลี่ ฯลฯ มีคุณสมบัติช่วยต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ทำให้อนุมูลของเซลล์ในร่างกายมีอนุภาคเป็นกลาง ช่วยหยุดยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของอนุมูลอิสระต่างๆ ไลโคปีนนี้จัดว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังที่สุด ในมะเขือเทศมีไลโคปีนอยู่มากเหนือกว่าแตงโมเกือบสองเท่า การกินมะเขือเทศเป็นประจำ ก็จะช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระได้มาก จะช่วยชะลอความแก่ชรา และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอย่างเช่น มะเร็ง หรือโรคหัวใจได้มาก

น้ำคั้นจากผลมะเขือเทศยับยั้งการเกิดมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะในหนูทดลอง และช่วยลดอุบัติการการเกิดมะเร็งที่ระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย นอกจากนี้การรับประทานผลมะเขือเทศจะได้รับสารไลโคพีนที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อ การเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

สารที่มีชื่อเรียกว่า tomatoside เป็น steroidal glycoside มีอยู่ในมะเขือเทศ แสดงคุณสมบัติของ interferon อาจใช้ป้องกัน และรักษาการติดเชื้อไวรัสในมนุษย์และสัตว์

การศึกษาวิจัยใช้สารเล็คทินที่สกัดจากมะเขือเทศสีดา พิสูจน์ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อเบต้าฮีโมลัยติค สเตร็ปโตค็อคคัส กลุ่มบี

องค์ประกอบทางเคมี

ผลมะเขือเทศ ประกอบด้วย กรดอินทรีย์ น้ำตาล คาโรทีนอยด์ วิตามิน A, B, C, E ส่วนเหนือดิน ลำต้นและใบ มีพิษ เพราะมีสาร steroidal saponins

แคโรทีนอยด์ (carotenoids) เป็นสารสีธรรมชาติที่พบมากที่สุด พบในคลอโรพลาสต์ในรูป chromoproteins หากอยู่นอกคลอโรพลาสต์ จะพบเป็น acyclic carotenoids ซึ่ง carotenoids ที่เป็นสีของมะเขือเทศคือ lycopene มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งที่มดลูก และปอด อีกทั้งยังเป็นส่วนผสมในตำรับยาที่ใช้ป้องกันอันตรายอันเกิดจากการ ผลิตอนุมูลอิสระที่ผิดปกติ

อัลคาลอยด์ชนิด steroidal alkaloids เป็นกลุ่มสารที่ออกฤทธิ์รุนแรง จัดเป็นสารพิษ ในมะเขือเทศคือ tomatoside ซึ่งได้จากใบ และส่วนเหนือดิน ในผลสีเขียวจะมี alkaloid 0.03% แต่ในผลสุกไม่พบ alkaloid จึงไม่ควรรับประทานมะเขือเทศดิบ

คุณสมบัติทางเภสัชวิทยา ของ steroidal alkaloid ของพืชในวงศ์ Solanaceae จะทำปฏิกิริยากับสเตียรอลที่เซลล์ผิว เป็นผลให้เม็ดเลือดแดงแตก ทำให้ผิวหนังและเนื้อบุผิวระคายเคืองอย่างแรง มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา และใช้เป็นยาฆ่าแมลงมีคุณสมบัติยับยั้งเอมไซม์โคลีนเอสเตอเรส กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและต่อมาจะทำให้เป็นอัมพาต หากรับประทานในขนาดที่จะทำให้เกิดพิษจะระคายเคืองทางเดินอาหารอย่างแรง

ไลโคพีน จากการศึกษาวิจัย พบว่าผู้ที่รับประทานมะเขือเทศปริมาณสูง จะมีระดับของสารต้านอนุมูลอิสระชนิด carotenoid lycopene สูงในเลือด สารดังกล่าวลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ไลโคพีน (lycopene) เป็นสารในตระกูลแคโรทีนอยด์ (carotenoid) พบมากในมะเขือเทศแดงสด ซอสมะเขือเทศ แตงโม และฝรั่งขี้นกที่มีเนื้อสีชมพูอมแดง




ผู้ป่วยเตรียมผ่าตัดต่อมลูกหมากที่ได้รับประทานซอสมะเขือเทศในปริมาณสูงเป็น เวลา 3 สัปดาห์ พบว่าระดับไลโคพีนในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ลดความเสียหายของเซลเม็ดเลือดขาวและเซลต่อมลูกหมาก รวมทั้งลดระดับของสารพีเอสเอในเลือดอีกด้วย

มะเขือเทศอุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ มากมาย และเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับวิตามินซี วิตามินเค แร่ธาตุโปแตสเซียม และโบรอน สารอาหารในมะเขือเทศที่ได้รับความสนใจ คือ สารไลโคพีน ซึ่งเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ที่มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ และช่วยในการป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย

สารไลโคพีนมีประสิทธิภาพเหนือว่าสารเบต้าเคโรทีน และสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์อื่นๆ ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังพบอีกว่าสารไลโคพีนสามารถช่วยลดโอกาสความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งใน ต่อมลูกหมากได้มากถึงร้อยละ 20

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมะเขือเทศ

เคยมีคนทำวิจัยเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของมะเขือเทศเอาไว้มากมาย อย่างเช่น พบว่าการกินอาหาร เช่น พาสต้าราดซอสมะเขือเทศทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ จะช่วยลดอาการของมะเร็งต่อมลูกหมากลงได้ ส่วนในผู้หญิงสูงอายุหลังวัยหมดประจำเดือน การกินอาหารที่มีแคโรทีนอยด์ และไลปีนสูง เช่น แครอท หรือมะเขือเทศ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่ แถมไลโคปีนปริมาณสูงๆ ยังช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอลส่วนไม่ดี หรือ LDL ซึ่งช่วยให้โอกาสเกิดโรคหัวใจลดน้อยลงด้วย




มีการศึกษาในประเทศฟินแลนด์ พบว่าผู้ชายวัยกลางคนที่มีระดับไลโคปีนในเลือดต่ำจะมีความเสี่ยงต่อการเกิด หัวใจวาย อัมพาต และโรคหลอดเลือดตีบมากขึ้น ส่วนในเนเธอร์แลนด์ก็เคยมีการศึกษาคล้ายๆ กัน พบว่าคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำหากได้รับไลโคปีนในปริมาณสูง จะช่วยลดอัตราการเกิดเส้นเลือดตีบ และการเกิดหัวใจวายได้

ไม่เพียงแต่มะเขือเทศจะมีไลโคปีนเท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ อี และซี ซึ่งในวารสารสมาคมแพทย์แห่งสหรัฐอเมริการะบุไว้ว่า วิตามินอี และซีทั้งสองตัวนี้จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ และช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้ ส่วนวิตามินเอ ก็จะช่วยบำรุงสายตา และดีต่อสุขภาพผิว ช่วยให้ผิวเปล่งปลั่งสดใส โดยเฉพาะผิวหน้า ในขณะที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งเทล อะวิฟก็ศึกษาพบว่า ผู้ชายที่รับประทานซอสมะเขือเทศประมาณ 3 ใน 4 ถ้วยต่อวัน จะช่วยพัฒนาความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับโรคหืดหอบได้ถึง 45% ด้วย

จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีใครรายงานว่าการได้รับไลโคปีนจากมะเขือเทศมากไปจะมี ผลเสียอย่างไรหรือเปล่า ดังนั้นจึงไม่ต้องห่วงว่าหากเราเป็นคนชอบกินอาหารที่มีมะเขือเทศมากๆ แต่ก็เคยมีการศึกษาในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดบอกว่า การป้องกันมะเร็งให้ได้ผลโดยการกินมะเขือเทศ ควรได้ไลโคปีนในปริมาณอย่างน้อย 6.5 มก.ต่อวัน เทียบเท่ากับการกินอาหารที่มีมะเขือเทศเป็นส่วนผสมหลักประมาณ 10 ครั้งต่อสัปดาห์ คนส่วนใหญ่มักไม่มีปัญหาอะไรกับการกินมะเขือเทศมากๆ เว้นแต่บางคนอาจพบว่าเกิดผื่นแดงบนผิวหนัง หรือในคนที่แพ้สารประเภทซาลิไซเลทในยาบางอย่างก็อาจเกิดอาการหายใจลำบากได้ หากเกิดอาการเช่นนี้ควรปรึกษาแพทย์ขอคำแนะนำที่ถูกต้องจะดีกว่า

มีงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารการวิจัยทางเคมีด้านอาหาร และพืชการเกษตรกล่าวไว้ว่า การกินมะเขือเทศแบบปรุงสุกจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหาร และไลโคปีนได้ดีกว่าแบบดิบ ถึงแม้ว่าการให้ความร้อนอาจลดปริมาณวิตามินซีลงไป แต่คุณค่าส่วนอื่นๆ ก็ยังดีกว่าอาหารอีกหลายชนิด แถมยังช่วยให้ไลโคปีนอยู่ในสภาพพร้อมถูกดูดซึมโดยร่างกายเราได้ทันทีอีกด้วย

มะเขือเทศผลขนาดกลางๆ จะมีน้ำหนักประมาณ 5.3 ออนซ์ หรือ 148 มก. ให้พลังงานประมาณ 35 แคลอรี และโคเลสเตอรอลระดับ 0 ให้ใยอาหาร ไขมัน และโปรตีนอย่างละประมาณ 1 กรัม และคาร์โบไฮเดรตประมาณ 6 กรัม มีวิตามินเอ 20% วิตามินซี 40% โปแตสเซียม 10% และเหล็ก 2%

มะเขือเทศแช่เย็นจะมีรสชาติ และสีผิวที่ซีดจางลง หากต้องการกินมะเขือเทศ ควรนำออกจากตู้เย็นวางทิ้งไว้ก่อนสักชั่วโมงหนึ่งเพื่อให้รสชาติที่ถูกกัก จากความเย็นกลับคืนมา


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ



Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2553 15:58:45 น.
Counter : 358 Pageviews.

2 comments
  
ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ ต้องกลับไปกินมะเขือเทศบ้างแล้ว
โดย: plenaka วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:17:45:39 น.
  
นึกถึงส้มตำครับ
โดย: jejeeppe วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:18:23:00 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ดวงดาวแห่งความรัก
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
สาวซ่า ราศีกันย์