กุมภาพันธ์ 2553

 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
ยาคุมฯ ไร้เอสโตรเจน

“ยาคุมกำเนิด” เป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ที่ผู้หญิงไทยใช้กันมานานแล้ว แม้ว่าในปัจจุบัน “ถุงยางอนามัย” เข้ามามีบทบาทเคียงบ่าเคียงไหล่จนดูเหมือนว่าจำนวนผู้ใช้จะเพิ่มขึ้นจนแซงหน้า “ยาคุมฯ” ไป มาหลายช่วงตัว แต่จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่สำรวจเอาไว้เมื่อพ.ศ.2552 ก็ยังพบว่าการใช้ยาคุมฯ ยังคงเป็นที่นิยมเป็นลำดับ 2 รองจากถุงยางอนามัย ซึ่งถือว่าผู้ที่ยังใช้ยาคุมฯ ก็ยังมีไม่น้อยเลยทีเดียว

“จากข้อมูลล่าสุดพบว่าผู้หญิงไทยมีการใช้ยาคุมกำเนิดเป็นวิธีการป้องกันการตั้ง ครรภ์ไม่พึงประสงค์อยู่ราวๆ 37% การคุมกำเนิดด้วยการกินยาเม็ดคุมกำเนิดถือว่าปลอดภัย”

ศ.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชกุล คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ กล่าวให้ข้อมูลทั่วไปของยาคุมกำเนิด ก่อนจะอธิบายต่อไปว่า ยาคุมกำเนิดทั่วไปจะเป็นแบบชนิดรวม โดยยาทุกเม็ดจะมีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และโปรเจสเตอโรน (progesterone) ใน ขนาดเท่ากันทุกเม็ด โดยมีอยู่ 21 เม็ด ส่วนยาคุมชนิด 28 เม็ด อีก 7 เม็ด จะเป็นพวกวิตามิน ซึ่งในอดีตยาคุมกำเนิดชนิดรวมมักจะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงมาก คือประมาณ 50 มิลิกรัม แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาลดฮอร์โมนเอสโตรเจนในยาคุมกำเนิดชนิดรวมลงเหลือเพียง 10 – 20 มิลลิกรัมเท่านั้น

“นอกจากนี้ก็ยังมียาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินที่ใช้กินหลังการมีเพศสัมพันธ์ที่ กะทันหัน แต่ชนิดนี้ไม่ควรใช้บ่อยเพราะมีฮอร์โมนในเม็ดยาสูงกว่ายาคุมกำเนิดทั่วไป ไม่ควรใช้ติดต่อกัน”

ศ. นพ.สุรศักดิ์กล่าวต่อไปอีกว่า นอกจากการกินยาคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์แล้ว ประโยชน์ข้างเคียงของการกินยาเม็ดคุมกำเนิดยังมีอีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ไม่กระปริบกระปรอย ลดอาการปวดประจำเดือน ลดภาวะประจำเดือนมามาก ซึ่งจะช่วยลดภาวะซีดและโลหิตจางช่วงมีประจำเดือนลงได้ ลดการเครียดสะสมก่อนมีประจำเดือน ช่วงป้องกันโรคกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงของมะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ และช่วยลดอุบัติการณ์ของภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน เพราะฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมูกบริเวณปากมดลูก โดยทำให้เหนียวข้นขึ้น จึงช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคผ่านเข้าไปในโพรงมดลูกและอุ้งเชิงกราน

แต่ในข้อดีหลายประการของยาคุมกำเนิดนี้ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขแห่งรั้วจามจุรีก็ได้ชี้แจงอีกมุมหนึ่ง ที่เป็นข้อเสียของยาเม็ดคุมกำเนิดว่าทั่วโลกพบข้อมูลว่ามีสตรีผู้ใช้ยาคุม กำเนิดเกิดภาวะแพ้ยาคุมฯ ซึ่งส่วนใหญ่มาสาเหตุมาจากผลของฮอร์โมนเอสโตรเจนในยาคุมกำเนิดชนิดรวม

“ส่วนใหญ่ผู้ที่แพ้เอสโตรเจนจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เจ็บคัดเต้านม เลือดออกกระปริบกระปรอย เวียนศีรษะ บางรายปวดไมเกรน เป็นฝ้า เป็นสิว มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อ้วนขึ้น และที่สำคัญคือการกินยาคุมฯ ที่มีเอสโตรเจนมีข้อจำกัดกับคนหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ซึ่งเอสโตรเจนอาจส่งผลต่อร่างกายได้ รวมถึงคุณแม่ที่กำลังให้นมลูก เอสโตรเจนจะทำให้น้ำนมน้อยลง ซึ่งนี่ทำให้ในระยะหลังได้มีการคิดค้นนวตกรรมยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ขึ้นมา ซึ่งน่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับผู้ที่แพ้เอสโตรเจน นั่นก็คือยาคุมชนิดไร้เอสโตรเจนนั่นเอง




ด้านนพ.มานพชัย ธรรมคันโธ จากภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าทุกวันนี้เรื่องของสิทธิสตรีเปิดกว้าง ขึ้น ผู้หญิงไทยหันมาคุมกำเนิดแบบกินยาคุมฯ มากขึ้น โดยในกรณีของผู้หญิงทั่วๆ ไป อยากแนะนำให้พิจารณาเลือกใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณต่ำ จะช่วยให้ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากฮอร์โมนชนิดนี้ลดน้อยลงได้ โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักตัวซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สร้างความ กังวลให้แก่ผู้หญิงมากกว่าผลข้างเคียงอื่นๆ

“ยาคุมกำเนิดแบบไร้เอสโตรเจนถือเป็นทางเลือกที่ดีวิธีหนึ่งสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ ปัจจุบันนวตกรรมยาคุมกำเนิดแบบไร้เอสโตรเจนได้พัฒนาให้มีฤทธิ์คุมกำเนิดใกล้ เคียงกับยาคุมกำเนิดชนิดรวม ซึ่งก็ได้ผลดี ดังนั้นสาวๆ ที่จำเป็นต้องใช้ยาคุมฯ แบบไร้เอสโตรเจนไม่ต้องกังวลถึงประสิทธิภาพการทำงานของยา นอกจากนี้ผู้ที่มีความเสี่ยงอื่นๆ อย่างที่อ.สุรศักดิ์ได้กล่าวไปแล้ว อย่างอ้วน สูบบุหรี่ หรืออายุมากกว่า 35 ปี ตลอดจนผู้ที่มีโรคหลอดเลือด และมารดาที่ให้นมบุตรแต่ต้องการคุมกำเนิด ควรเลือกใช้แบบไร้เอสโตรเจนที่ลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อร่างกายด้วย”




คุณหมอคนเก่งจาก จากภาควิชาสูติฯ ศิริราชฝากเตือนด้วยว่า ผู้ที่ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดเลยไม่ว่าจะเป็นชนิดรวมหรือชนิดไร้เอสโตรเจนก็ ตาม คือกลุ่มสตรีมีครรภ์ กลุ่มที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มที่มีไขมันในร่างกายผิดปกติ กลุ่มที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ และผู้ป่วยมะเร็งที่ฮอร์โมนจะไปช่วยทำหน้าที่เสมือนปุ๋ยที่ทำให้มะเร็งโตเร็วมากขึ้น

“อย่างมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งอื่นๆ ที่ฮอร์โมนช่วยกระตุ้นให้มะเร็งโตขึ้นนั้น แม้จะเป็นยาคุมแบบไร้เอสโตรเจรนก็ห้ามใช้ เพราะแม้จะไม่มีเอสโตรเจน แต่ก็ยังมีโปรเจสโตรโรนเป็นฮอร์โมนอีกตัวอยู่ในเม็ดยา” นพ.มานพชัยทิ้งท้าย

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของ สสส. และ วิชาการดอทคอม
//www.thaihealth.or.th




Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2553 15:36:42 น.
Counter : 697 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ดวงดาวแห่งความรัก
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
สาวซ่า ราศีกันย์