ธาตุอาหารต่างๆ สำหรับพืช N P K ...

ธาตุอาหารหลักหรือธาตุปุ๋ย มี 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรตัสเซียม ธาตุอาหารในกลุ่มนี้ พืชต้องการในปริมาณมาก และดินมักจะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงต้องเพิ่มเติมให้แก่พืชโดยการใช้ปุ๋ย

ธาตุไนโตรเจน Nitrogen, N

ไนโตรเจนเป็นธาตุที่มีบทบาทมากในการเจริญเติบโตของพืชที่เห็นได้อย่างเด่นชัด เพราะไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบของสารหลายชนิดในพืช เช่น
- เป็นองค์ประกอบของโปรตีนซึ่งอยู่ใน protoplasm ของพืช
- เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ซึ่งช่วยเร่งและควบคุมปฏิกริยาต่างๆในพืช
- เป็นองค์ประกอบของนิวคลีโอโปรตีน ซึ่งเป็นสารสำคัญเกี่ยวกับระบบพันธุกรรมของพืช
- เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟีลล์ ซึ่งจำเป็นสำหรับขบวนการสังเคราะห์แสงของพืช
สำหรับหน้าที่ที่สำคัญของธาตุไนโตรเจนในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่
1) ช่วยกระตุ้นให้พืชเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ และ
ช่วยให้พืชตั้งตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต
2) ทำให้พืชมีใบสีเขียว
3) เพิ่มปริมาณโปรตีนในพืช
4) ควบคุมการออกดอกออกผลและการสะสมอาหารของพืช กล่าวคือ หากพืชได้รับธาตุไนโตรเจนในปริมาณที่เหมาะสม การออกดอกออกผลก็จะเป็นไปตามอายุของพืช แต่ถ้าหากพืชได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ เป็นผลให้มีการออกดอกช้า พืชพวก root crops ก็จะเกิดหัวช้าและให้ผลผลิตต่ำ เพราะแป้งถูกนำไปใช้ในการสร้างใบเสียเป็นส่วนใหญ่


ธาตุฟอสฟอรัส Phosphorus ,P

ฟอสฟอรัสในพืช ทำหน้าที่ดังนี้ คือ
1) เป็นส่วนประกอบของโปรตีนบางชนิดในพืช
2) เป็นองค์ประกอบของสารต่างๆหลายอย่างที่สะสมอยู่ในเมล็ด ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นสำหรับการ งอกของเมล็ดพืช
3) เป็นตัวถ่ายทอดพลังงานจากสารหนึ่งไปยังสารอื่นๆในขบวนการ metabolism หลายอย่าง
ความสำคัญของฟอสฟอรัสต่อพืช คือ
1) ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากแขนงและรากฝอยในระยะแรกของการเจริญเติบโต
2) ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว และช่วยให้ดอก ผล เมล็ด ของพืชสมบูรณ์
3) ช่วยให้รากพืชดึงดูดโปแตสเซี่ยมมาใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น

ความต้องการใช้ธาตุฟอสฟอรัสของพืชจะมีมาก 2 ระยะ คือ
ระยะแรก พืชต้องการใช้ฟอสฟอรัสในระยะ 2-3 สัปดาห์แรกของการงอก เพราะระยะนี้ พืชจะมีการสร้างรากฝอยและรากแขนง
จำนวนมาก
ระยะที่สอง พืชต้องการใช้ธาตุฟอสฟอรัสมากในระยะที่มีการสร้างผลและเมล็ด เพื่อสร้างสารที่จำเป็นสำหรับการงอกของเมล็ด


ธาตุโปแตสเซี่ยม Potassium, K

ธาตุโปแตสเซี่ยมไม่ได้เป็นส่วนประกอบของสารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอของพืช เช่น สารโปรตีนต่างๆ แต่โปแตสเซี่ยมมีบทบาทในขบวนการต่างๆหลายขบวนการในพืช เช่น ขบวนการสังเคราะห์แสงและการหายใจ
นอกจากนั้น ยังเป็น ต้วกระตุ้นให้เอนไซม์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธาตุโปแตสเซี่ยมจะพบมากตามปลายราก
ยอด ตา และส่วนที่กำลังเจริญเติบโตของพืช
ความสำคัญของธาตุโปแตสเซี่ยมที่ปรากฏในพืช ได้แก่
1) ส่งเสริมการสร้างและการขนย้ายแป้ง น้ำตาลในพืช
2) ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ใบ และเนื้อไม้ส่วนที่แข็ง โปแตสเซี่ยมจึงทำให้พืชมีลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย
และมีความต้านทานโรค บางอย่างเพิ่มขึ้น
3) ส่งเสริมการสร้างหัวที่สมบูรณ์ของ root crop
4) ทำให้ผลผลิตพืชมีคุณภาพดี เช่น ทำให้ผลไม้มีสีสวย ทำให้ข้าวเปลือกมีน้ำหนักดีขึ้น


ธาตุแคลเซี่ยม

ธาตุแคลเซี่ยม มีหน้าที่ต่างๆในพืชดังนี้คือ
1) เป็นองค์ประกอบในสาร calcium pectate ซึ่งจำเป็นในการแบ่งเซลล์ของพืช
2) เป็นตัวแก้ฤทธิ์ของสารพิษต่างๆ เช่น กรดอินทรีย์
3) เป็นตัวต่อต้านฤทธิ์ของสารออกซิน (auxin) ซึ่งเป็นสารเร่งการขยายตัวของเซลล์ให้ยาวออก
ถ้าไม่มีแคลเซียมแล้ว จะทำให้เซลล์ยาวผิดปกติ
4) ช่วยในการสร้างโปรตีน เนื่องจากแคลเซี่ยมทำให้พืชดูดไนโตรเจนได้มากขึ้น
5) ช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้งและโปรตีนในขณะที่พืชกำลังสร้างเมล็ด
6) ส่งเสริมการเกิดปมของรากถั่ว

รูปของธาตุแคลเซี่ยมในดิน
ก) Mineral forms ได้แก่แคลเซี่ยมที่เป็นองค์ประกอบในหินแร่ต่างๆ เช่น แคลไซท์ โดโลไมท์
ข) แคลเซี่ยมในรูปของเกลือ เช่น CaCO3 CaSO4 Ca(PO4) 2 เป็นต้น
ค) Adsorbed calcium ได้แก่แคลเซี่ยมที่ถูกดูดยึดไว้ที่ผิวของสารคอลลอยด์ ซึ่งเป็นส่วนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ หรือถูกไล่ที่
ออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้
ง) Ca++ ใน soil solution

รูปของแคลเซี่ยมที่พืชใช้ได้ คือ Calcium ion (Ca++) ใน soil solution

การแก้ไขดินที่ขาดแคลเซี่ยม
- ใส่ปุ๋ยคอก
- ใส่ปูน

ธาตุแมกนีเซี่ยม

ความสำคัญของแมกนีเซี่ยมต่อการเจริญเติบโตของพืชคือ
1) เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟีลล์ ประมาณกันว่าในคลอโรฟีลล์มีแมกนีเซี่ยมอยู่ถึง 2.7 %
2) มีบทบาทเกี่ยวกับการสร้างน้ำมันในพืชเมื่ออยู่ร่วมกับธาตุกำมะถัน

รูปของแมกนีเซี่ยมในดิน
ก) อยู่ในรูปองค์ประกอบของแร่ เช่น โดโลไมท์
ข) อยู่ในรูป soluble salt ต่างๆ เช่น MgSO4 MgCl2
ค) อยู่ในรูป adsorbed Mg
ง) อยู่ในรูป Mg++ ใน soil solution
รูปของแมกนีเซี่ยมที่เป็นประโยชน์ คือ Magnesium ion (Mg++)


ธาตุกำมะถัน

ความสำคัญของกำมะถันที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช
1) จำเป็นในการสร้างโปรตีนและกรดอะมิโนบางชนิด เช่น cystine , cysteine
2) เป็นองค์ประกอบของวิตามิน B1 (Thiamine)
3) เป็นองค์ประกอบของสารที่ระเหยได้ (volatile oil) ในพืช เช่นสารที่ทำให้เกิดกลิ่นเฉพาะตัวของ หอม กระเทียม กล่ำปลี เป็นต้น
4) เพิ่มปริมาณน้ำมันใน oil crop ต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง
อาการขาดกำมะถันของพืช
พืชที่ขาดกำมะถัน ใบจะมีสีเขียวอ่อนหรือเหลืองคล้ายกับอาการขาดไนโตรเจน ใบอาจมีขนาดเล็กลง ยอดจะชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นลีบเล็ก เนื้อไม้จะแข็งและรากยาวผิดปกติ อาการขาดกำมะถันต่างกับการขาดไนโตรเจน คือ การขาดกำมะถันจะเริ่มแสดงอาการขาดจากส่วนยอดลงไป ทั้งนี้เพราะกำมะถันเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ (immobile element)
รูปของกำมะถันในดิน
ก) เป็นองค์ประกอบในหินและแร่ เช่น หินดินดาน แร่ไพไรท์ แร่ยิปซั่ม
ข) อยู่ในรูปอินทรียวัตถุต่างๆโดยเป็นองค์ประกอบของโปรตีน
ค) อยู่ในรูป ซัลไฟท์ ( SO3 = )
ง) อยู่ในรูป ซัลเฟต ( SO4 =)
รูปที่เป็นประโยชน์ของกำมะถัน คือ SO4 = หรือ soluble SO4 =
การแก้ไขดินที่ขาดกำมะถัน
1) ใส่สารอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด
2) ใส่กำมะถันผง
3) ใส่ยิปซั่ม ( CaSO4.2H2O)
4) ใส่ปุ๋ยที่มีกำมะถัน เช่น (NH4) 2 SO4


หน้าที่ความสำคัญของธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เป็นอย่างไร

ธาตุไนโตรเจน ธาตุไนโตรเจนปกติจะมีอยู่ในอากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก แต่ไนโตรเจนในอากาศในรูปของก๊าซนั้น พืชนำเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ (ยกเว้นพืชตระกูลถั่วเท่านั้นที่มีระบบรากพิเศษสามารถแปรรูปก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเอามาใช้ประโยชน์ได้) ธาตุไนโตรเจนที่พืชทั่วๆ ไปดึงดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้นั้น จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบ เช่น แอมโมเนียมไอออน (NH(,4)('+)) และไนเทรตไอออน (No(,3)('-)) ธาตุไนโตรเจนในดินที่อยู่ในรูปเหล่านี้จะมาจากการสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดิน โดยจุลินทรีย์ในดินจะเป็นผู้ปลดปล่อยให้ นอกจากนั้นก็ได้มาจากการที่เราใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดินด้วย
พืชเมื่อขาดไนโตรเจนจะแคระแกร็น โตช้า ใบเหลือง โดยเฉพาะใบล่างๆ จะแห้ง ร่วงหล่นเร็วทำให้แลดูต้นโกร๋น การออกดอกออกผลจะช้าและไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ดินโดยทั่วๆ ไปมักจะมีไนโตรเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นเวลาปลูกพืชจึงควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมให้กับพืชด้วย

ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นเดียวกับwbr>wbr> ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้วก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H(,2)PO(,4)('-) และ HPO(,4)('-)) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก
ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโพแทสเซียมในดินที่พืชนำเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ มีกำเนิดมาจากการสลายตัวของหินและแร่มากมายหลายชนิดในดิน โพแทสเซียมที่อยู่ในรูปอนุมูลบวก หรือโพแทสเซียมไอออน (K('+)) เท่านั้นที่พืชจะดึงดูดไปใช้เป็นประโยชน์ได้ ถ้าธาตุโพแทสเซียมยังคงอยู่ในรูปของสารประกอบยังไม่แตกตัวออกมาเป็นอนุมูลบวก (K('+)) พืชก็ยังดึงดูด ไปใช้เป็นประโยชน์อะไรไม่ได้ อนุมูลโพแทสเซียมในดินอาจจะอยู่ในน้ำในดิน หรือดูดยึดอยู่ที่พื้นผิวของอนุภาคดินเหนียวก็ได้

เนื่องจากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า ธาตุไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ดินมักจะมีไม่พอ ประกอบกับพืชดึงดูดจากดินขึ้นมาใช้แต่ละครั้งเป็นปริมาณมาก จึงทำให้ดินสูญเสีย ธาตุเหล่านี้ หรือที่เรียกว่าเสียปุ๋ยในดินไปมาก ซึ่งเป็นผลทำให้ดินที่เราเรียกว่า "ดินจืด" เพื่อเป็นการปรับปรุงระดับธาตุอาหารพืช N P และ K ที่สูญเสียไป เราจึงต้องใช้ปุ๋ย

โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกได้กี่ประเภท

โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ปุ๋ยอินทรีย์พวกหนึ่งและปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยพวกนี้ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดซึ่งเป็นพวกอินทรียสาร
ปุ๋ยคอก ที่สำคัญก็ได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ เป็นปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในบรรดาสวนผักและสวนผลไม้ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปแล้วถ้าคิดราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืชจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยคอกช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มาก

ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพวกนี้ก็ได้แก่ปุ๋ยที่เราได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อน จึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุงขายในชื่อของปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่างๆ นั้น ก็คือ ปุ๋ยหมัก ได้จากการนำขยะจากในเมือง พวกเศษพืช เศษอาหารเข้า โรงหมักเป็นขั้นเป็นตอนจนกลายเป็นปุ๋ย ปุ๋ยหมักสามารถทำเองได้ โดยการกรองสุมเศษพืชสูงขึ้นจากพื้นดิน 30-40 ซม. แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อเศษพืชหนัก 1,000 กิโลกรัม เสร็จแล้วก็กองเศษพืชซ้อนทับลงไปอีกแล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมี ทำเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้นๆ จนสูงประมาณ 1.5 เมตรควรมีการรดน้ำแต่ละชั้นเพื่อให้มีความชุ่มชื้น และเป็นการทำให้มีการเน่าเปื่อยได้เร็วขึ้น กองปุ๋ยหมักนี้ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งหนึ่ง

ปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดินซึ่งได้แก่พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วทำการไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ก็ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นต้น ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยพวกนี้เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ปุ๋ยเคมีมีอยู่ 2 ประเภท คือ แม่ปุ๋ย หรือปุ๋ยเดี่ยวพวกหนึ่ง และปุ๋ยผสมอีกพวกหนึ่ง

ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย ได้แก่ ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหาร ปุ๋ยคือ N หรือ P หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุแล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ยนั้น ๆ มีปริมาณของธาตุอาหาร ปุ๋ยที่คงที่ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต มีไนโตรเจน 20% N ส่วนโปรแทสเซียมไนเทรต มีไนโตรเจน 13% N และโพแทสเซียม 46% K(,2)O อยู่ร่วมกันสองธาตุ
ปุ๋ยผสม ได้แก่ ปุ๋ยที่มีการนำเอาแม่ปุ๋ยหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีสูตรหรือเกรดปุ๋ยเหมาะที่จะใช้กับพืชและดินที่แตกต่างกัน ปุ๋ยผสมนี้จะมีขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปเพราะนิยมใช้กันมาก ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยผสมได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถผลิตปุ๋ยผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ มีการปั้นเป็นเม็ดขนาดสม่ำเสมอสะดวกในการใส่ลงไปในไร่นา ปุ๋ยพวกนี้เก็บไว้นานๆ จะไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง สะดวกแก่การใช้เป็นอย่างยิ่ง

เรามีหลักในการเลือกชนิดของปุ๋ยอย่างไร

หลักเกณฑ์ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ

(๑) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้นหมายถึง สูตร เรโช และรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง

สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า "เกรดปุ๋ย" หมายถึงตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P(,2) O(,5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K(,2)O) สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ยเห็นได้อย่างชัดเจน

(๒) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จำนวนหรืออัตราปุ๋ยที่ใช้ต่อไร่หรือต่อต้นที่พืชจะได้รับ ความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับเพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้นก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตและให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโตและให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่wbr>wbr ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด

(๓) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชจึงต้องแบ่งใส่ จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการจะยังผลให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่สูง ความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืชได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ยเพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป แต่อาจจะถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ

๓.๑ การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียวตอนปลูก ยกเว้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำมาก ๆ
๓.๒ การใส่ครั้งแรกคือใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทสนั้นจะใส่ทั้งหมดในตอนปลูกก็ได้
๓.๓ การใส่ครั้งที่สองควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างระยะแตกกอสูงสุดถึงใกล้ออกดอก ส่วนใหญ่การใส่ครั้งที่สองจะเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้สูงมากๆ การแบ่งใส่ควรเป็นสามครั้งคือ ตอนปลูก ตอนเริ่มการเติบโตอย่างรวดเร็วและตอนระยะใกล้ออกดอก และจะไม่ช้าไปกว่าระยะหลังจากพืชออกดอกแล้ว หรือระยะที่พืชเริ่มแก่

(๔) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที

การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีหรือไม่อย่างไร

ปุ๋ยเคมีใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีที่สุด เมื่อพิจารณาด้านการนำมาใช้ปรับปรุงดินเลวให้เป็นดินดีนั้น ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่างก็มีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

ข้อได้เปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
๑. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชของดินดีขึ้น ข้อดีข้อนี้ปุ๋ยอินทรีย์ทำได้แต่ผู้เดียว ปุ๋ยเคมีไม่สามารถทำได้
๒. อยู่ในดินได้นาน และค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ
๓. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
๑. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
๒. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมีในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่จะเป็นประโยชน์ให้แก่พืช
๓. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมีเมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช

ข้อได้เปรียบของปุ๋ยเคมี
๑. มีปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอ
๒. ราคาถูกเมื่อคิดเป็นราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหาร ประกอบกับการขนส่งและเก็บรักษาสะดวกมาก
๓. ให้ผลทางด้านธาตุอาหารเร็วกว่าปุ๋ยอินทรีย์

ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยเคมี
๑. ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงสภาพทางฟิสิกส์ของดิน กล่าวคือไม่ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยเหมือนปุ๋ยอินทรีย์
๒. ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม ถ้าใช้เป็นปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องใช้ปูนช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน
๓. ผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยเคมีพอสมควร มิฉะนั้นอาจมีผลเสียหายต่อพืชและต่อภาวะเศรษฐกิจของผู้ใช้ (ทำให้ขาดทุนได้)

ที่มา //www.pantown.com/group.php?display=content&id=36976&name=content3&area=3


Create Date : 20 พฤษภาคม 2553
Last Update : 20 พฤษภาคม 2553 9:42:09 น. 20 comments
Counter : 43828 Pageviews.

 
ข้อมูลดี มีประโยชน์มาก

ขอให้กำลังใจ จงทำดีต่อไป


โดย: เดชพล คำศรีสุข IP: 111.84.252.84 วันที่: 7 ตุลาคม 2553 เวลา:23:08:42 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: แพรว IP: 124.121.191.241 วันที่: 3 มกราคม 2554 เวลา:22:37:16 น.  

 
ข้อมูลดีมากครับ กำลังต้องการครับ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ


โดย: จตุรพันธุ์ กุลนะวะณิชย์ IP: 125.27.106.240 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:20:16:41 น.  

 
ข้อมูลกระชับ ได้ใจความเยี่ยมยอด ผมได้เพิ่มพูนความรู้อีกมาก ขอให้ คุณ ก้าวหน้าในอาชีพยิ่งๆขึ้นไป

ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง


โดย: ธิติพันธ์ สมบัติไชยยง IP: 125.26.209.147 วันที่: 23 กรกฎาคม 2554 เวลา:22:26:20 น.  

 
มีประโยชน์ มากมายเลยทีเดียว ขอบคุณครับ


โดย: ประพันธ์ โภชเจริญ IP: 116.58.231.242 วันที่: 28 กรกฎาคม 2554 เวลา:11:28:18 น.  

 
ขอบคุณมาก ๆ ที่ให้ความรู้อย่างกระจ่างแจ้ง มีประโยชน์มากสุดสำหรับเกษตรกรไทย


โดย: ชัย แสนดี IP: 182.93.165.248 วันที่: 1 สิงหาคม 2554 เวลา:11:04:26 น.  

 

ขอขอบคุข้อมูลธาตุอาหารหลักและวิธีใช้ ขอบคุณผู้นำเผยแพร่


โดย: wattanachai makmoo IP: 118.172.198.142 วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:9:49:48 น.  

 
เหมื่อนทุกๆคน ขอบคุณมาก


โดย: chaiวัฒน์ c p IP: 118.174.86.184 วันที่: 26 สิงหาคม 2554 เวลา:23:41:57 น.  

 
าน้่ีืเแพเดะถเี่าืีทาสนย


โดย: คน IP: 113.53.133.174 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:10:39:04 น.  

 
ขอบคุณครับข้อมูลดีมากและช่วยงานวิจัยผมได้ดีด้วย


โดย: hikali IP: 61.19.66.193 วันที่: 25 พฤษภาคม 2555 เวลา:23:45:53 น.  

 
ดีมากคับ ขอบคุณคับ


โดย: ณัฐพล IP: 115.67.96.144 วันที่: 25 กรกฎาคม 2555 เวลา:16:44:07 น.  

 
ขอข้อมูลอาการของพืชที่ได้รับ ธาตุอาหารมากเกินไป

ทั้ง16 ธาตุ ด่วนครับเพราะต้องรีบส่งครู

ขอข้อมูลหน่อยนะครับ จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ

ติดต่อที่ E - mail looyza@hotmail.com ครับผม

ขอด่วน ๆ นะครับ



โดย: วิฃัยฃนม์ IP: 125.27.203.196 วันที่: 31 กรกฎาคม 2555 เวลา:16:17:30 น.  

 
ข้อมูลสั้นละเอียดใจความสำคัญครบถ้วนดีมาก ๆ ครับ ข้อให้บุญทีี่เผยแพร่นี้ ดลบันดาลให้ท่าน มีคาวมสุขกาย สุใจ เงินทองมากมายเหมือนกับความรู้นี้เทอญ


โดย: นก อต. IP: 182.53.211.131 วันที่: 16 ตุลาคม 2555 เวลา:8:11:11 น.  

 
เยี่ยมมากครับ


โดย: ลุงจ๊าง IP: 27.55.14.249 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2555 เวลา:13:05:22 น.  

 
ข้อมูลดีมาก ลายละเอียดชัดเจนเข้าง่าย


โดย: หนานขื่อ IP: 118.172.105.181 วันที่: 23 มกราคม 2556 เวลา:19:54:12 น.  

 
ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ยอดเยี่ยมมากครับ ขอบคุณผู้เขียนที่แบ่งปันความรู้มากครับ


โดย: ไก่จัง IP: 49.49.211.13 วันที่: 14 พฤษภาคม 2556 เวลา:22:41:54 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ เนื้อหากระชับ
และละเอียดได้ใจความมากค่ะ
ขอให้ประสบแต่สิ่งที่ดีๆ นะคะ


โดย: กัญญณัฐ IP: 1.179.169.162 วันที่: 9 กันยายน 2556 เวลา:12:09:53 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับ


โดย: เคนนี่ IP: 192.99.14.36 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2558 เวลา:4:30:04 น.  

 
มีประโยชน์มากครับขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล



โดย: วศิลป์ บึงโบก IP: 182.232.89.48 วันที่: 5 ตุลาคม 2559 เวลา:15:15:21 น.  

 
ขอบคุณมากๆ คับ สำหรับประโยชน์ดีๆ ที่ทำให้ผมและ รุ่นหลังๆ ได้ ศึกษา และ ทำความเข้าใจ


โดย: เฉลิม สุขแสง IP: 49.230.237.74 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:22:10:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

SriSurat
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




Online 30-03-2553 #2



Stats
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
20 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add SriSurat's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.