Once a time in my life

<<
กรกฏาคม 2552
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
16 กรกฏาคม 2552
 

ย่านาง สมุนไพรมหัศจรรย์ รักษาโรคได้หลายอย่าง

รู้จักกับใบย่านางมานานมาก แต่รู้จักเฉพาะการใช้ใบย่านางมาต้มรวมกับหน่อไม้ ทำให้รสชาติของหน่อไม้อร่อย ไม่นานมานี้ได้อ่านเจอหนังสือเล่มบางๆ เป็นแผ่นก็อบปี้เก่าๆที่บรรยายเกี่ยวกับสรรพคุณของต้นย่านาง เลยอดทึ่งไม่ได้ว่าใบย่านางยังมีสรรพคุณอีกมากมายที่ยังไม่รู้ เลยสรรหามาฝากครับ



คัดลอกจากหนังสือ " ย่านาง สมุนไพลมหัศจรรย์ " โดย
ใจพชร มีทรัพย์ ( หมอเขียว ) นักวิชาการสาธารณสุข
นักบำบัดสุขภาพทางเลือก
ครูฝึกแพทย์แผนไทย

ย่านาง เป็นพืชสมุนไพร ที่ใช้เป็นอาหาร และ เป็นยามาตั้งแต่โบราณ
หมอยาโบราณอีสาน เรียกชื่อทางยาของย่านางว่า
" หมื่นปี บ่ เฒ่า แปลเป็นภาษาภาคกลางว่า " หมื่นปีไม่แก่ "
..................................
ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้ใบย่านางแก้ไขปัญหาสุขภาพ จนมีผลให้อาการเจ็บป่วยทุเลาเบาบางลง
- เนื้องอกในมดลูก มดลูกโต ตกเลือด ตกขาว ปวดตามร่ายกาย
- มะเร็งปอด
- มะเร็งตับ
- มะเร็งมดลูก
- โรคหัวใจ โรคไต โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เนื้องอกในเต้านม
- เบาหวานและความดันโลหิตสูง
- ขับสารพิษ
- ภูมิแพ้ ไอ จาม
- เริ่ม งูสวัด
- ตุ่มผื่นคันที่แขน
- อาการปวดแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
- นอนกรน ไตอักเสบ
- อาการปวดขาที่แขน
- เล็บมือผุ
- เก๊าต์



วิธีใช้
ใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิล คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล
บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุล แบบร้อนเกิน ดังนี้
เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว 200-600 ซีซี
ผู้ใหญ่ ที่รูปร่างผอม บางเล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็กทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วน ตัวตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

โดยใช้ใบย่านางสดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือ ขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น
( แต่การปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็น
ของย่านาง ) แล้วกรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 แก้ว วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง
หรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำ เพราะถ้าเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม
แต่ถ้าแช่ในตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วัน โดยให้สังเกตุที่กลิ่นเปรี้ยวเป็นหลัก
......................................
นอกจากนี้แล้ว
ยังสามารถใช้น้ำย่านางมาสระผม ช่วยให้ศีรษะเย็น ผมดกดำหรือชลอผมหงอก
ผสมดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากให้เหลวพอประมาณ ทาสิว ฟ้า ตุ่ม ผื่นคัน พอกฝีหนอง
...............................



ขอบคุณที่ทนอ่าน..........
............รู้แล้ว.......บอกต่อ และ ทำไปใช้ในชีวิตประจำวันก็จะดีนะครับ


อ่านเพิ่มเติมได้ที่....ย่านาง สมุนไพรรักษาโรค



Create Date : 16 กรกฎาคม 2552
Last Update : 16 กรกฎาคม 2552 20:39:02 น. 17 comments
Counter : 7179 Pageviews.  
 
 
 
 
แวะเข้ามาเก็บความรู้ค่ะ ประโยชน์เยอะจริงๆชอบจังเลย
 
 

โดย: ด.ญ.กิ๊บเก๋ วันที่: 16 กรกฎาคม 2552 เวลา:21:45:20 น.  

 
 
 
เพิ่งทราบว่าใบย่านางสามารถรักษาโรคเก๊าท์ได้
ยายของเราเองก็เป็นโรคนี้ เวลาปวด ปวดจนน้ำตาไหลเลย _ เลยอยากถามคุณชุมเมืองใต้ค่ะถ้าทานแล้วจะมีผลข้างเคียงอะไรรึป่าว (ไม่อยากเห็นยายปวดเพราะโรคนี้ค่ะ )
 
 

โดย: จันทร์ IP: 115.67.246.80 วันที่: 28 กรกฎาคม 2552 เวลา:21:50:04 น.  

 
 
 
ผมอ่านในหนังสือเจอ ที่ว่าดื่มน้ำย่านางพร้อมปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน

หรือคำว่า ปรับสมดุลร้อนเย็น คือทำยังไงครับ
 
 

โดย: sopon IP: 118.174.18.52 วันที่: 10 สิงหาคม 2552 เวลา:22:12:19 น.  

 
 
 
ขอแนะนำให้ทานวันละแก้วตอนเช้าทุกวัน ภายใน 1 เดือนท่านจะเห็นผลว่าหลายโรคทีเดียวจะบรรเทาอย่างน่าอัศจรรย์ โดยเฉพาะ
ท่านที่สูงวัย
 
 

โดย: Paknang999 IP: 61.90.88.105 วันที่: 9 กันยายน 2552 เวลา:20:05:03 น.  

 
 
 
ที่น่าสนใจ คือช่วยชะลอความแก่ได้ด้วย
 
 

โดย: Ang IP: 118.175.86.51 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2552 เวลา:10:39:02 น.  

 
 
 
ขอบคุณผู้ที่ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรของไทยจะรีบไปบอกญาติให้กินเดี๋ยวนี้เลย 55555
 
 

โดย: อ้อแอ้ IP: 125.26.39.91 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:12:41 น.  

 
 
 
เป็นกอสวยดีน่าจะใช้จัดสวนได้ อยากทราบวิธีปลูก ใครทราบขอเป็นวิทยาทานด้วยค่ะ
 
 

โดย: Ratree IP: 58.147.7.38 วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:17:32:52 น.  

 
 
 
ได้มาแล้ว
ไม้เลื้อย
ย่านาง

ชื่อ ย่านาง

วงศ์ MENISPERMACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tiliacora triandra (Colebr.) Diels
ชื่อพื้นเมือง จอยนาง ผักจอยนาง ย่านาง
ภาคกลาง เถาย่านาง, เถาหญ้านาง, เถาวัลย์เขียว, หญ้าภคินี
เชียงใหม่ จ้อยนาง, จอยนาง, ผักจอยนาง
ภาคใต้ ย่านนาง, ยานนาง, ขันยอ
สุราษฎร์ธานี ยาดนาง, วันยอ
ภาคอีสาน ย่านาง
ไม่ระบุถิ่น เครือย่านาง, ปู่เจ้าเขาเขียว, เถาเขียว, เครือเขางาม

ส่วนที่เป็นผัก เถาและใบ (ใช้เป็นเครื่องปรุงรส) คั้นน้ำต้มกับหน่อไม้เพื่อลดรสขื่นขมของหน่อให้มีรสหวาน
ฤดูกาล / รส ตลอดปี-ฤดูฝน / รสจืด
การขยายพันธุ์ หัว เพาะเมล็ด
ย่านางเป็นพืชที่ขึ้นในดินทุกชนิด และปลูกได้ทุกฤดู ขยายพันธุ์โดยการใช้หัวใต้ดิน เถาแก่ที่ติดหัว ปักชำยอด หรือการเพาะเมล็ด เป็นไม้ที่ปลูกง่ายโดยปลูกเป็นหลุมหรือยกร่องก็ได้

ประโยชน์ทางยา
สารเคมีที่สำคัญ
รากย่านางมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ Tiliacorine, Tiliacorinine, Nortiliacorinine A, Tiliacotinine 2-N-oxde และ tiliandrine, tetraandrine, D-isochondendrine (isberberine)

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ »
จากการวิจัยพบว่า สารเคมีที่พบในรากย่านางคือ Alkaloid ซึ่งมี
Tiliacorinine, Nortiliacorinine A, Tiliacorinine-2-N-Oxide แต่ไม่สามารถรายงานการออกฤทธิ์ในการลดไข้ กองวิจัยการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ รายงานว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน

การทดลองทางห้องปฏิบัติการ
จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากรากย่านางมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียชนิด ฟัลซิพารัมในหลอดทดลอง

รสและคุณค่าทางโภชนาการ
ใบย่านางรสจืด
คุณค่าทางโภชนาการ ข้อมูลจากหนังสือ Thai Food Composition Institute of Nutrition, Mahidol University (สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล) พบว่า ปริมาณสารสำคัญที่มีมากและโดดเด่นในใบย่านาง คือ ไฟเบอร์ แคลเซี่ยม เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ

ใบ รสจืดขม รับประทาน ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้หัว ไข้กลับซ้ำ ใช้เข้ายาเขียว ทำยาพอก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดงเถา
ราก รสจืดขม กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ ปรุงยาแก้ไข้รากสาด ไข้กลับ ไข้พิษ ไข้ผิดสำแดง ไข้เหนือ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ รับประทานแก้พิษเมาเบื่อแก้เมสุรา แก้พิษภายในให้ตกสิ้น บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจบวม ถอนพิษผิดสำแดง แก่ไม่ผูก ไม่ถ่าย แก้กำเดา แก้ลม
ทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อย เกี่ยวพันไม้อื่น เถากลมขนาดเล็ก แต่เหนียว มีสีเขียว เมื่อเถาแก่จะมีสีเข้ม บริเวณเถามีข้อห่างๆ เถาอ่อน มีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ

ราก มีหัวใต้ดิน รากมีขนาดใหญ่
ใบ เป็นใบเดี่ยวคล้ายใบพริกไทย ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่ หรือรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5-10 ซม. กว้าง 2-4 ซม. ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. ในภาคใต้ใบค่อนข้างเรียวยาวแหลมกว่า สีเขียวเข้ม หน้าและหลังใบเป็นมัน

ดอก ออกตามซอกใบ ซอกโคนก้าน จากข้อเถาว์แก่เป็นช่อยาว 2-5 ซม. ช่อหนึ่งๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลีอง 3-5 ดอก ออกดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ขนาดโตกว่าเมล็ดงาเล็กน้อย ต้นเพศผู้จะมีดออกสีน้ำตาล อับเรณูสีเหลืองอ่อน ดอกย่อยของต้นเพศผู้จะมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกมีขนสั้นๆ ละเอียด ปกคลุมหนาแน่น ออกดอกช่วงเดือนเมษายน

ผล รูปร่างกลมเล็ก ขนาดเท่าผลมะแว้ง สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดง หรือสีแดงสด และกลายเป็นสีดำในที่สุด
เมล็ด เมล็ดแข็งรูปเกือกม้า
แหล่งที่พบ ย่านางเป็นพืชที่พบในแหล่งธรรมชาติ ป่าทั่วไปที่มีความชุ่มชื้น บริเวณป่าผสมผลัดใบ ป่าดงดิบ และป่าโปร่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งภาคอื่นๆ ก็มีกระจายทั่วไป

การปลูก ย่านางเป็นพืชที่พบในแหล่งธรรมชาติบริเวณป่าผสมผลัดใบ ป่าดงดิบและป่าโปร่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งภาคอื่นก็มีกระจายทั่วไป ย่านางเป็นพืชที่ขึ้นในดินทุกชนิดและปลูกได้ทุกฤดู ขยายพันธุ์โดยการใช้หัวและการเพาะเมล็ด
ประโยชน์ทางยา ราก รสจืด สรรพคุณแก้ไขทุกชนิด เช่น ไข้ผิดสำแดง ไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ เป็นยากระทุ้งพิษ
ประโยชน์ทางอาหาร ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล เถาและใบของย่านางนิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส มีมากในฤดูฝนและมีทุกฤดูกาล
การปรุงอาหาร ชาวอีสานใช้เถาใบอ่อน ใบแก่ ตำคั้นเอาน้ำสีเขียวและนำไปต้มกับหน่อไม้ปรุงเป็นแกงหน่อไม้ หรือซุบหน่อไม้ บางแห่งนำไปแกงกับขี้เหล็กเป็นการปรุงอาหารที่เชื่อว่าย่านางจะช่วยลดรสขื่นขมของหน่อไม้ได้ดี ทำให้หน่อไม้มีรสหวาน อร่อย นอกจากนี้น้ำคั้นจากย่านาง ยังนำไปใส่แกงขนุนแกงอีลอก อ่อมและหมกซึ่งเป็นอาหารอีสานอีกด้วย
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
รสจืด ใบย่านาง 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 95 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม เหล็ก 7.0 มิลลิกรัม วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.36 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม

ส่วนที่ใช้เป็นยา »
รากแห้ง

รสและสรพรคุณยาไทย »
รากย่านางสามารถใช้แก้ไข้ได้ทุกชนิด

วิธีใช้ »
รากแห้งใช้แก้ไข้ โดยใช้ครั้งละ 1 กำมือ
(หนัก 15 กรัม) ต้มน้ำ ดื่ม 3 ครั้งก่อนอาหาร

น้องอ้อมรวบรวมให้อา
 
 

โดย: ศิริพร IP: 58.147.7.38 วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:18:51:36 น.  

 
 
 
-ขอบคุณคะคุณหลานน้องอ้อม
 
 

โดย: Ratree IP: 58.147.7.38 วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:19:10:25 น.  

 
 
 
อยากสี่คนงามว่ะ
 
 

โดย: tor IP: 110.164.75.146 วันที่: 13 กันยายน 2554 เวลา:19:18:37 น.  

 
 
 
อยากโดนว่ะ
 
 

โดย: นรเศรษฐ์ IP: 110.164.75.146 วันที่: 13 กันยายน 2554 เวลา:19:20:31 น.  

 
 
 
ย่านนางเยี่ยมมาก เจ๋งเป้ง เลยค่ะ
 
 

โดย: มยุรี IP: 118.173.159.210 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2554 เวลา:11:52:48 น.  

 
 
 
ที่บ้านทำดื่มกันทุกวันค่ะ ดีจริงๆนะคะ ยาย พ่อ แม่ และก็น้องชายก็ดื่มค่ะ รับรองนะคะว่าดีจริง ถ้ากลัวว่าจะมีกลิ่นแรงผสมกับใบเตยก็ได้ค่ะ และยังสามารถใส่น้ำเชื่อมผสมลงไปให้มีรสหวานเล็กน้อยได้นะค่ะ
 
 

โดย: daa IP: 125.27.245.70 วันที่: 24 ธันวาคม 2554 เวลา:12:30:16 น.  

 
 
 
ดื่มย่านางคั้นเองทุกวันครับ. สุดยอดแห่งสมุนไพร ทางใภาคใต้ มีชื่อเป็นภาษายาวีด้วย. แสดงว่ามีมานานแล้วเพราะเห็นตั้งแต่ย้งเด็กๆ
 
 

โดย: อภิชาติ IP: 118.173.197.143 วันที่: 24 มกราคม 2555 เวลา:12:20:48 น.  

 
 
 
ปลูกยากไหมค่ะ น่าปลูกเป็นพุ่มสวยดีคะ
 
 

โดย: สุภาพรรณี IP: 61.90.97.49 วันที่: 6 เมษายน 2555 เวลา:15:44:33 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากที่ให้ความรู้
 
 

โดย: อาเลง IP: 223.204.141.166 วันที่: 6 สิงหาคม 2555 เวลา:7:29:41 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากที่ให้ความรู้
 
 

โดย: อาเลง IP: 223.204.141.166 วันที่: 6 สิงหาคม 2555 เวลา:7:29:41 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ชุม เมืองใต้
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มองไปข้างหน้า เรายังตามหลังคนอี่นอยู่
มองไปข้างหลัง คนที่ตามหลังเรายังมีอยู่
ทำดีที่สุดในวันนี้ อย่าไปใส่ใจสิ่งใดๆ
ขอเพียงอยู่ในครรลองที่ถูกต้อง
อนาคตจะเป็นของเราเอง
Click the dove and get your love!

glitter-graphics.com
BradWest~ onomoney
[Add ชุม เมืองใต้'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com