แบร์แนแด็ท....น่ารัก....น่ารัก ขี้ลืม.....ขี้ลืม ...... หนังปายหนายหว่า buy แล้ววbuyอีก......... faith, hope and charity เฟศบุ๊ค http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
18 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 
Jackson Pollock :แจ็คสัน พอลล็อก A True Portrait of Life and Art.

In 1956 Time magazine dubbed Pollock "Jack the Dripper"


Source://www.nga.gov/feature/pollock/namuth2bluecover.jpg


Source://www.nga.gov/feature/pollock/bearded.jpg
Photograph © 1999 Estate of Hans Namuth.


Died. Jackson Pollock, 44, bearded shock trooper of modern painting, who spread his canvases on the floor, dribbled paint, sand and broken glass on them, smeared and scratched them, named them with numbers...; at the wheel of his convertible in a side road crack-up near East Hampton, N.Y.

--Time Magazine
August 20, 1956

My painting does not come from the easel. I prefer to tack the unstretched canvas to the hard wall or the floor. I need the resistance of a hard surface. On the floor I am more at ease. I feel nearer, more part of the painting, since this way I can walk around it, work from the four sides and literally be in the painting. ”

“ I continue to get further away from the usual painter's tools such as easel, palette, brushes, etc. I prefer sticks, trowels, knives and dripping fluid paint or a heavy impasto with sand, broken glass or other foreign matter added. ”


Source://estb.msn.com/i/33/
8EDA651DE4FEBB1BC0E1F9C5DBFFB6.jpg

“ When I am in my painting, I'm not aware of what I'm doing. It is only after a sort of 'get acquainted' period that I see what I have been about. I have no fear of making changes, destroying the image, etc., because the painting has a life of its own. I try to let it come through. It is only when I lose contact with the painting that the result is a mess. Otherwise there is pure harmony, an easy give and take, and the painting comes out well. ”





Controversy swirls over the alleged sale of No. 5, 1948 in 2006 for a reported $140 million

2. ภาพวาดชื่อ No.5,1948 (เมื่อปี 1948) โดยศิลปิน Jackson Pollock ซึ่งภาพนี้ถูกขายครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ปีที่แล้ว ในราคา 140 ล้านเหรียญสหรัฐ ขายโดยนาย David Geffen ให้กับนาย David Martinez โดยไม่ได้ผ่านการประมูล



แจ็กสัน พอลล็อก (Paul Jackson Pollock) จิตรกรชาวอเมริกัน ถึงแก่กรรมในอุบัติเหตุทางรถยนต์ ขณะอายุ 44 ปี พอลล็อกเกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2455 ที่เมืองโคดี มลรัฐไวโอมิง เรียนศิลปะที่ Manual Arts High School เมืองลอสแองเจลีส แคลิฟอร์เนีย


Souce://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/
thumb/e/ef/Pollock31.jpg/300px-Pollock31.jpg

Pollock's One: Number 31, 1950 occupies an entire wall by itself at the Museum of Modern Art, New York City

จากนั้นย้ายมายังนิวยอร์กเพื่อศึกษาศิลปะกับ โธมัส เบนตัน (Thomas Hart Benton) จิตรกรเขียนภาพฝาผนัง ปี 2488 เขาแต่งงานกับ ลี แครสเนอร์ (Lee Krasner) จิตรกรแนวนามธรรม (Abstract) จากนั้นทั้งสองก็ย้ายมาสร้างสตูดิโอทำงานศิลปะด้วยกันที่ลองไอส์แลนด์ นิวยอร์ก

Source://2modern.blogs.com/photos/
uncategorized/pollock.moby-dick

In 1952, Pollock’s first solo show ...

ในระยะแรกพอลล็อกเขียนภาพแนวนามธรรม แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ด้วยความที่เป็นคนจริงจัง และค่อนข้างเก็บตัว เขาจึงเครียดอยู่เสมอ แต่ก็ได้ภรรยาคอยให้กำลังใจมาตลอด ภายหลังทั้งคู่จึงหลบความวุ่นวายในเมือง ย้ายไปหาความสงบในชนบทและใช้โรงนาเป็นสตูดิโอทำงานศิลปะ


Source://www.nga.gov/feature/
pollock/pollockautumn1.jpg
Photograph © 1999 Estate of Hans Namuth. Courtesy Pollock-Krasner House

ที่นี่เองที่วันหนึ่ง พอลล็อกค้นพบเทคนิคการเขียนภาพแบบใหม่โดยบังเอิญ ขณะกระป๋องสีล้มลงใส่ภาพที่เขากำลังเขียน ต่อมาเรียกเทคนิคแบบนี้ว่า “กัมมันตจิตรกรรม” (Action Painting) หรือ “เอ็กเพรสชันนิสม์เชิงนามธรรม” (Abstract Expressionist) ซึ่งเป็นการทำงานศิลปะโดยการหยด สาด หรือเทสีลงบนผ้าใบ โดยไม่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบศิลป์ หรือแบบแผนใด ๆ แต่ปล่อยให้จิตสำนึกเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นนั้น แต่พอลล็อกยืนยันว่าผลงานศิลปะของเขาไม่ได้เกิดจาก “เหตุบังเอิญ” แต่เขาสามารถควบคุมมันได้


Source://www.nga.gov/feature/pollock/pollockautumn2.jpg
I can control the flow of the paint," Pollock contended. "There is no accident."


Source://www.nga.gov/feature/pollock/pollockkneelingcolor.jpg
Film still © 1999 Estate of Hans Namuth



Source://www.nga.gov/feature/pollock/sixpix.jpg
Photographs © 1999, Estate of Hans Namuth

It seems to me, Pollock observed, "that the modern painter cannot express his age, the airplane, the atom bomb, the radio, in the old forms of the Renaissance or of any other past culture. Each age finds its own technique."


ในระยะแรกเขาได้รับอิทธิพลจากศิลปะแนวเหนือจริง (Surrealism) ศิลปะของชาวอเมริกันพื้นเมือง (Indian sandpainting) รวมทั้งตัวอักษรจีน จนในที่สุดก็ค้นพบเทคนิคส่วนตัวโดยผสมผสานความเรียบง่ายเข้ากับศิลปะบริสุทธิ์ ผลงานชิ้นสำคัญคือ “No. 5, 1948” ซึ่งมีราคาสูงถึง 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นภาพจิตรกรรมที่มีราคาสูงที่สุดในโลก เขาเคยกล่าวไว้ว่า “กระบวนการทำงานศิลปะสำคัญกว่าผลสำเร็จขั้นสุดท้าย”


Source://www.nga.gov/feature/pollock/lavendermist.jpg
Jackson Pollock, Number 1, 1950 (Lavender Mist),1950, National Gallery of Art, Ailsa Mellon Bruce Fund, 1976.37.1
"It is impossible to make a forgery of Jackson Pollock's work," Time magazine critic Robert Hughes claimed in 1982. It is a telling comment that gets to the heart of Pollock's authenticity as an artist."




jackson-number-18



Source://www.ibiblio.org/wm/paint/auth/
pollock/pollock.shimmering.jpg

"Shimmering Substance,"



Source://www.abstract-art.com/abstraction/l2_grnfthrs_fldr/
g0000_gr_inf_images/g004_pollock_32_1950.jpg

Jackson Pollock
Number 32, 1950
8 ft 10 in x 15 ft (269 x 457.5 cm)
Enamel on canvas
Kunstsammlung Nordrhein-Westfalen, Düsseldorf

Source: //www.sarakadee.com/web/
modules.php?name=News&file=print&sid=2243


Source://www.nga.gov/feature/pollock/paintcans.jpg
Photograph of Devoe and Raynolds paint cans, Courtesy of the Pollock-Krasner House

Pollock preferred the fluidity of commercial enamel house paints to the more viscous texture of traditional oils. This choice allowed him to weave a more intricate pictorial web, flinging swirls of paint onto the canvas


แจ็คสัน พอลลอค (Jackson Pollock) เป็นจิตรกรชาวอเมริกันผู้ล่วงลับที่โด่งดังด้วยผลงานภาพวาดแบบนามธรรม


Source: //www.thomasfloyd.com/media/pollock.jpg

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เมื่อประมาณ 2 ปีก่อนวงการศิลปะและแฟนๆ ของพอลลอคมีเรื่องให้ได้เมาท์กันเป็นการใหญ่ เมื่อมีคนใกล้ชิดกับพอลลอคออกมาประกาศว่า ได้ค้นพบผลงานชิ้นเล็กๆ ของพอลลอคที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ไม่มากไม่น้อยแค่ 32 ชิ้นเอง

จะให้เชื่อกันง่ายๆ ก็ผิดไป จึงมีการนำผลงานทั้งหมดไปผ่านการทดสอบทางเคมี, ตรวจสอบรูปแบบการลงสีเทียบเคียงกับผลงานชิ้นก่อนๆ ที่มีข้อมูลเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ รวมทั้งผ่านสายตาของผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาผลงานของพอลลอค ก่อนที่ผลงานบางส่วนถูกขายออกไปเงียบๆ

แต่แล้วเมื่อไม่นานมานี้ จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าเม็ดสีบางส่วนในบางภาพนั้นเป็นสีที่เริ่มมีการผลิตออกขายในช่วงหลังจากที่พอลลอคเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งก็หมายความว่าคนที่เอาสีเหล่านั้นป้ายลงไปบนภาพย่อมไม่ใช่ตัวศิลปิน ซึ่งก็แปลได้ว่าผลงานนั้นไม่ใช่ของแท้ หรือมีใครมือบอนเอาสีป้ายเข้าไปทีหลัง ฯลฯ แต่ที่แน่ๆ มันย่อมไม่อาจเรียกว่า เป็นผลงานของพอลลอคแท้ๆ ได้เต็มปาก

แม้จะไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้ซื้อและราคา แต่ถ้าเทียบกับมาตรฐานราคาผลงานของเขา ซึ่งเคยทำราคาปิดสูงติดอันดับโลกเทียบเคียงกับผลงานของปิกัสโซและกุสตาฟ คลิมท์ แล้วละก็...

คนที่ควักกระเป๋าจ่ายไปแล้ว คงต้องมีอาการ "หนาว" กันเป็นแถว

ชาธิป
Source: //www.bangkokbiznews.com/2007/04/21/
WW18_1810_news.php?newsid=65020


Source://upload.wikimedia.org/wikipedia/
commons/thumb/b/ba/Pollock-barn.jpg/180px-Pollock-barn.jpg

Pollock's Studio in Springs, NY.

The “strong graphic rhythms, zoomorphic imagery, and myths of man-beast transformation in the art of these cultures had made a deep impression [on Pollock]” [9]



Source://upload.wikimedia.org/wikipedia/
commons/thumb/1/12/Pollock-green.jpg/180px-Pollock-green.jpg


Jackson Pollock's grave in the rear with Lee Krasner's grave in front in the Green River Cemetery.

Pollock, “While he may well have talked up shamanism or alchemy, and even nurtured some superstitions about ritual and healing,” he never once suggested that this kind of thing shaped the way his paintings were made or should be understood” [10]

In 1944, Pollock stated “Some people find references to American Indian art and calligraphy in parts of my pictures. That wasn’t intentional; probably was the result of early memories and enthusiasms” [11]

Source: //en.wikipedia.org/wiki/Jackson_Pollock
//www.nga.gov/feature/pollock/painting8.shtm


Create Date : 18 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2550 19:44:39 น. 4 comments
Counter : 11946 Pageviews.

 
หนังเรื่อง POLLOCK(2000)
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Hi-Fi Today ฉบับที่ 5/2002
โดย ภัควดี เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2546 11:35:49 น.
เขียนได้สมบูรณ์แบบค่ะ ขออนุญาติเอามาลงค่ะ
Source: //fridaycollege.org/index.php?file=forum&obj=forum.forprint
(cat_id=tr-atetc,id=32,name=print.friendly)&PHPSESSID=54c63850ce.


Source://images.amazon.com/
images/P/B00005KHJJ.01.LZZZZZZZ.jpg

สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศเกิดใหม่ มีอายุแค่สองร้อยกว่าปี หากจะเทียบกับ อารยธรรมในเอเชีย ตะวันออกกลาง หรือยุโรป อารยธรรมแบบอเมริกัน คงเปรียบได้กับเด็กเตาะแตะ เพิ่งหัดเดิน

แต่ทว่า ประเทศเกิดใหม่ประเทศนี้ ลุกขึ้นจากการเป็นอาณานิคม กลายมาเป็นมหาอำนาจ อย่างรวดเร็ว มิหนำซ้ำ ตอนนี้ยังเป็น มหาอำนาจขั้วเดียว ในโลกด้วย สหรัฐอเมริกา เป็นมหาอำนาจ ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร วัฒนธรรมแบบอเมริกัน แทรกซึมครอบงำ ไปทั่วทุกซอกมุม ของชีวิตมนุษย์

ความจองหองแบบอเมริกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดา



Pollock: ศิลปะเพื่อตัวตน?

Pollock (2000)
กำกับการแสดง: Ed Harris
บทภาพยนตร์: Barbara Turner และ Susan Emshwiller, จากหนังสือชื่อ Jackson Pollock: An American Saga ของ Steven Naifeh และ Gregory White Smith
ถ่ายภาพ: Lisa Rinzler
ดนตรีประกอบ: Jeff Beal
นำแสดง: Ed Harris, Marcia Gay Harden, Amy Madigan, Jennifer Connelly, Jeffrey Tambor, Bud Cort, John Heard, Val Kilmer

Rate R 122 นาที


สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเกิดใหม่ มีอายุแค่สองร้อยกว่าปี หากจะเทียบกับอารยธรรมในเอเชีย ตะวันออกกลางหรือยุโรป อารยธรรมแบบอเมริกันคงเปรียบได้กับเด็กเตาะแตะเพิ่งหัดเดิน

แต่ทว่าประเทศเกิดใหม่ประเทศนี้ลุกขึ้นจากการเป็นอาณานิคมกลายมาเป็นมหาอำนาจอย่างรวดเร็ว มิหนำซ้ำตอนนี้ยังเป็นมหาอำนาจขั้วเดียวในโลกด้วย สหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร วัฒนธรรมแบบอเมริกันแทรกซึมครอบงำไปทั่วทุกซอกมุมของชีวิตมนุษย์


ความจองหองแบบอเมริกันจึงเป็นเรื่องธรรมดา

กระนั้นก็ตาม สหรัฐอเมริกาก็มีปมด้อยแฝงอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับยุโรป สำหรับปัญญาชนและชนชั้นกลางอเมริกัน ศิลปวัฒนธรรมทางด้านสถาปัตยกรรม ดนตรีและจิตรกรรมของยุโรป ยังเป็นสิ่งที่อเมริกันชนต้องแหงนคอตั้งบ่ามองดูด้วยความริษยาแกมหมั่นไส้นิด ๆ



ในขณะที่เป็นมหาอำนาจในทุกทาง ปัญญาชนอเมริกันรู้ดีว่าในสายตาของ “คนอื่น” อเมริกายังเปรียบเสมือนบ้านป่าเมืองเถื่อนทางวัฒนธรรม ตึกเอ็มไพร์สเตทหรือจะสู้พระราชวังแวร์ซายส์ เพลงคันทรี่หรือจะสู้โมสาร์ท (อย่าลืมว่าดนตรีร็อคในยุคต้นล้วนแต่เป็นของนำเข้าจากอังกฤษ!) ยิ่งทางด้านจิตรกรรมยิ่งแล้วใหญ่ ในขณะที่ยุโรปเกลื่อนกล่นไปด้วยจิตรกรและภาพวาด อเมริกาแทบไม่มีอะไรมาประชันในด้านนี้ได้เลย



เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะทำอย่างไร? มีวิธีจัดการกับปมด้อยนี้สองทางคือ ทางแรกเชิดหน้าช่างมันฉันไม่แคร์ ฉันจะเป็นเศรษฐีใหม่ไร้วัฒนธรรมอย่างนี้ใครจะทำไม ในเมื่อโลกทั้งโลกต้องยอมสยบอยู่ใต้แมคโดนัลด์และแมคโดนัลด์-ดักลาส (บริษัทผลิตอาวุธ) ของฉันอยู่แล้ว

ทางที่สองคือรอคอยและรอฉลองการอุบัติของอัจฉริยะสักคนที่จะมาช่วยเชิดหน้าชูตากู้หน้าและยกระดับวัฒนธรรมอเมริกันให้เป็น “อารยธรรม”



ในประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยใหม่ ศิลปินชาวอเมริกันที่พอจะถือเป็นทางออกที่สองในการลืมปมด้อยของชาวอเมริกันก็พอมีอยู่บ้าง คนหนึ่งที่โดดเด่นไม่น้อยหน้าใครก็คือ แจ็คสัน พอลล็อก (Jackson Pollock 1912-1956) พอลล็อกไม่เพียงเป็นศิลปินแนวหน้าในสำนักศิลปะที่เรียกกันว่า Abstract Expressionism เขายังเป็นผู้ริเริ่มเทคนิคในการสร้างงานจิตรกรรมแบบใหม่ที่เรียกว่า “drip and splash” รวมทั้งแนวจิตรกรรมในแบบ action painting (1)

เอ็ด แฮร์ริส นักแสดงชาวอเมริกัน มีความคิดที่จะสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับ “ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของอเมริกา” คนนี้มามากกว่าสิบปี เหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ก่อแรงบันดาลใจให้เขาก็คือ พ่อของเอ็ดซื้อหนังสือชีวประวัติของพอลล็อกมาให้ด้วยเหตุผลว่า ภาพของพอลล็อกบนปกหนังสือดูละม้ายคล้ายคลึงกับลูกชายของเขาเหลือเกิน เอ็ดเก็บความคิดที่จะสร้างหนังเรื่องนี้มานาน โดยตอนแรกตั้งใจจะอำนวยการสร้างและแสดงนำเท่านั้น แต่ลงท้ายเขาก็กำกับการแสดงเองเสียเลย



สิ่งหนึ่งที่ดิฉันอยากกล่าวไว้ก่อนก็คือ อะไรก็ตามที่ดิฉันเขียนถึงพอลล็อกในบทความชิ้นนี้ เป็นการวิจารณ์หนังเรื่อง Pollock และตัวละครชื่อพอลล็อกที่สื่อออกมาในภาพยนตร์ มันย่อมไม่เกี่ยวกับตัวแจ็คสัน พอลล็อก ในความเป็นจริง ซึ่งเราก็ไม่มีทางรู้อยู่แล้วว่า ตัวจริง ๆ ของเขาเป็นอย่างไร

หนังเปิดฉากที่นิวยอร์คในช่วงทศวรรษ 1950 พอลล็อก (เอ็ด แฮร์ริส) เปิดนิทรรศการภาพเขียน ผู้คน โดยเฉพาะสาว ๆ พากันรุมล้อมให้เขาเซ็นชื่อลงในนิตยสาร Life ซึ่งมีบทความเกี่ยวกับตัวเขา มันเป็นช่วงแห่งความสำเร็จ หลังจากนั้นหนังรีบตัดภาพกลับไปในช่วงทศวรรษ 1940 ในสมัยที่พอลล็อกยังไม่มีชื่อเสียงและเพิ่งเริ่มต้นหนทางในอาชีพศิลปิน

ชีวิตของพอลล็อกดูจะเป็นชีวิตศิลปินตามแบบฉบับ เขาเป็นขี้เมามาตั้งแต่ยังไม่มีชื่อเสียง หนังแสดงให้เราเห็นว่า เขาเป็นคนที่มีปัญหาทางบุคลิกภาพ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ไม่เชื่อมั่นในตัวเองและเป็นโรคซึมเศร้าอ่อน ๆ โดยเฉพาะการดื่มเหล้าเป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ทำลายทั้งชีวิตและการงาน

ความสำเร็จของพอลล็อกส่วนหนึ่งมาจากแรงผลักดันของภรรยา ลี แครสเนอร์ (มาร์เซีย เกย์ ฮาร์เดน) เป็นศิลปินหญิง เธอพบกับเขาตั้งแต่เขายังหมกอยู่ในห้องเช่ากระจอก ลี “มองเห็น” ความเป็นศิลปินยิ่งใหญ่ในตัวพอลล็อก เธอเป็นทั้งเมียทั้งผู้จัดการส่วนตัวให้เขา จนดูคล้ายกับเธอแทบไม่มีเวลาเหลือสำหรับงานวาดรูปของตัวเองเลย

ลีทุ่มเททุกอย่างให้พอลล็อกและอยู่กับเขาถึง 15 ปี ยอมอดทนกับอารมณ์แปรปรวน การติดเหล้า พฤติกรรมไร้ความรับผิดชอบของสามี เธอพาเขาไปอยู่ชนบทและทำให้เขาเลิกดื่มเหล้าได้สำเร็จช่วงระยะหนึ่ง ช่วงนี้เองที่พอลล็อกได้ทำงานเต็มที่ รวมทั้งริเริ่มจิตรกรรมแนวใหม่ที่กล่าวไปข้างต้นด้วย

พอความสำเร็จมาเยือน ปัญหาก็ตามมา แม้ทั้งสองจะยินดีในความสำเร็จจนบางครั้งมีปัญหากับครอบครัวและเพื่อนฝูง แต่ชื่อเสียงและเงินทองนำพาผู้คนต่าง ๆ มาหาพอลล็อก คนในวงการนิตยสาร วิทยุ ภาพยนตร์ เข้ามาขอเขียนบทความ สัมภาษณ์ และถ่ายทำภาพยนตร์เกี่ยวกับตัวเขา พอลล็อกที่มีปัญหาทางอารมณ์อยู่แล้วจึงยิ่งควบคุมตัวเองไม่ได้ เขาหันกลับไปดื่มเหล้าอีก


ชีวิตศิลปินใหญ่ย่อมไม่ขาดไร้สาว ๆ หนึ่งในสาวคนรักคือ รูธ คลิงแมน (เจนนิเฟอร์ คอนเนลลี่) เธอคนนี้เองเป็นชนวนให้ลีโกรธพอลล็อก แต่ทั้งสองยังไม่ถึงขั้นหย่าร้าง ลีเดินทางไปยุโรป ส่วนรูธพาเพื่อนคนหนึ่งคือ อีดิธ เมทซเกอร์ มาเที่ยวที่บ้านศิลปิน พอลล็อกตกอยู่ในภาวะอารมณ์แปรปรวน ดื่มหนัก เขาขับรถจนเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตพร้อมอีดิธ รูธรอดตาย

ตอนจบของหนังมีตัวหนังสือบอกว่า ลี แครสเนอร์มีชีวิตต่อมาอีก 28 ปี เธอใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านหลังเดิมที่ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมากับพอลล็อก นอกจากนั้น เธอยังสร้างสรรค์ภาพวาดอีกจำนวนมากและได้รับการยอมรับอย่างสูงในวงการศิลปะ

ดิฉันเป็นคนที่ชอบดูหนังเกี่ยวกับศิลปินและนักเขียน แม้ว่าส่วนใหญ่จะดูแล้วผิดหวังก็ตาม! ที่ผิดหวังอาจเป็นเพราะดิฉันมักจะคาดหวังไปคนละทางกับหนังก็ได้ ดิฉันไม่สนใจชีวประวัติของศิลปินสักเท่าไร สิ่งที่ดิฉันอยากเห็นในหนังก็คือ ผู้กำกับภาพยนตร์ในฐานะคนทำงานศิลปะแขนงหนึ่ง สามารถอธิบายได้หรือไม่ว่า ทำไมศิลปินหรือนักเขียนคนนั้น ๆ จึงสร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างนั้น อะไรคือแรงบันดาลใจ? อะไรที่อยู่เบื้องหลังการทำงานทางศิลปะ?

แต่หนังส่วนใหญ่ที่ได้ดู มักจะเน้นไปที่ประวัติและความแปรปรวนคลุ้มคลั่งของศิลปินเสียมากกว่า หรือคนทำหนังกำลังจะบอกเราว่า ความคลุ้มคลั่งคือแรงบันดาลใจทางศิลปะ?

ตอนที่พอลล็อกไปหาลีที่ห้องพักของเธอเป็นครั้งแรก เขาเดินดูรูปศิลปะที่เธอวาด มีบทกวีบทหนึ่งเขียนติดไว้บนผนัง บทกวีของแรงโบด์ (Arthur Rimbaud 1854-91) กวีชาวฝรั่งเศสที่เป็นแรงบันดาลใจของหนุ่มสาวหัวก้าวหน้าจำนวนมาก บทกวีของแรงโบด์นั้นละเอียดอ่อน ไพเราะ งดงาม ในขณะเดียวกันก็ไม่ยึดติดกับกรอบประเพณี กฎเกณฑ์ทางสังคมและจารีตทางวรรณกรรม

แต่ถ้าคุณดูหนังชีวประวัติของแรงโบด์เรื่อง Total Eclipse ที่ลีโอนาร์โด ดีคาปริโอแสดงล่ะก็ ดูเหมือนชีวิตของแรงโบด์จะมีแต่ความทุเรศทุรัง เขาเป็นโฮโมเซ็กช่วล อารมณ์รุนแรง บ้าคลั่ง ถ้าความคลุ้มคลั่งผลิตผลออกมาเป็นงานที่คลุ้มคลั่ง เหมือนหนังเกี่ยวกับมาร์กี เดอ ซาด เรื่อง Quills มันก็ไม่น่าแปลกใจหรอก แต่เหตุไฉนความคลุ้มคลั่งของศิลปินส่วนใหญ่มักผลิตผลออกมาเป็นอะไรที่ห่างไกลจากความป่าเถื่อนเหลือเกิน?

ความจริงไม่มีใครเขาไปกะเกณฑ์ให้คนทำหนังต้องเป็นคนอธิบายเรื่องนี้หรอกค่ะ มันเป็นความคาดหวังส่วนตัวของดิฉันคนเดียว ในบรรดาหนังเกี่ยวกับศิลปินที่ดูมา เรื่องที่ใกล้เคียงที่สุดในการอธิบายแรงบันดาลใจของศิลปินคือเรื่อง Edvard Munch จิตรกรชาวนอรเวย์ เสียดายที่หนังเรื่องนี้หาไม่ได้ในเมืองไทย ต้องสั่งทางอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว และถ้าไม่ใช่คนชอบภาพวาดของมุงก์ล่ะก็ คงยากที่ใครจะทนดูหนังความยาว 3 ชั่วโมงเรื่องนี้ได้

อีกเรื่องที่ถือเป็นหนังคลาสสิกไปแล้วก็คือ Lust for Life ที่ เคิร์ก ดักลาส แสดงเป็นแวนโกะห์ และ แอนโทนี ควินน์ แสดงเป็นโกแกง แม้ว่าดิฉันอาจจะไม่ชอบเท่าเรื่อง Edvard Munch แต่ก็ถือว่าเรื่องนี้จัดอยู่ในอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะฝีมือการแสดงของแอนโทนี ควินน์ที่กินขาดในทุกฉาก


หันกลับมาที่หนัง Pollock ธรรมชาติในตัวของพอลล็อกกับแนวทางวาดภาพของเขาน่าจะไปด้วยกันได้ดี ภาพวาดในสไตล์ Abstract Expressionism และ action painting ที่เรามักดูไม่รู้เรื่อง และดูแล้วก็มักอดคิดในใจไม่ได้ว่า “แบบนี้ฉันก็วาดได้” เป็นแนวโน้มทางศิลปะที่หนีห่างจากโลกภายนอก ตามทฤษฎีแล้ว มันไม่ได้สะท้อนถึงธรรมชาตินอกตัว แต่เป็นผลผลิตโดยตรงของแรงขับดันจากจิตไร้สำนึกในตัวศิลปิน

เลยไม่น่าแปลกใจแม้แต่น้อยที่พอลล็อกเป็นศิลปินหัวแถวของศิลปะสำนักนี้ เพราะถ้ายึดถือตามทฤษฎี ยิ่งคลุ้มคลั่งเท่าไร ก็น่าจะยิ่งวาดรูปได้ดีเท่านั้น!

จึงดูเหมือนว่ากระบวนการสร้างสรรค์ทางศิลปะจะกลายเป็นเรื่องง่าย ๆ ไป แม้แต่เทคนิคการหยดและสาดสีที่เขาริเริ่มนำมาใช้ ก็เกิดขึ้นมาจากความบังเอิญ แต่เราพอจะยกประโยชน์ให้จำเลยได้ว่า ความบังเอิญแบบนี้ย่อมเกิดกับศิลปินทุกคนทุกเวลา เพียงแต่พอลล็อกเป็นผู้มองเห็นคุณค่าและนำมาใช้ในงานศิลปะ

แต่ดิฉันดูหนังแล้วก็อดสงสัยว่า สภาพแวดล้อมภายนอกน่าจะมีอิทธิพลต่อศิลปะสำนักนี้อยู่ไม่น้อย เวลาที่ดูหนังอย่าง Lust for Life หรือ Dreams ของคุโรซาวา หนังหรือสารคดีเกี่ยวกับศิลปินคนอื่น ๆ ภาพวาดธรรมชาติและผู้คนของศิลปินเหล่านี้มักจะมีที่มาจากธรรมชาติจริง ๆ หรือคนจริง ๆ ที่ศิลปินได้พบเจอและเก็บภาพประทับไว้ แม้กระทั่งหนังที่ไม่ได้เกี่ยวกับศิลปิน แต่ถ่ายภาพให้เหมือนภาพเขียนตามแบบงานอิมเพรสชั่นนิสต์อย่าง A Sunday in the Country ของผู้กำกับทาเวร์นิเยร์ ยังสวยจนต้องกลั้นหายใจ

ส่วนในหนังเรื่อง Pollock ไม่ว่าจะเป็นเมืองนิวยอร์ค หรือแม้แต่บ้านชนบทที่พอลล็อกกับลีย้ายไปอยู่ ดูแล้วมันช่างไม่มีทิวทัศน์ที่เจริญตาเจริญใจเอาเสียเลย มันช่างแห้งเหี่ยวชวนหดหู่ มิน่าเล่า ศิลปินเลยไม่อยากวาดรูปธรรมชาติ หันไปวาดอะไรที่คนธรรมดาอย่างเราดูไม่รู้เรื่องแทน

ส่วนรูปผู้คนนั้น พอลล็อกก็คงไม่นิยมวาด เพราะในขณะที่แวนโกะห์เดินท่อม ๆ หิ้วผ้าใบกับจานสีไปวาดรูปคนปลูกมันฝรั่งกับคนทำงานในเหมืองแร่ ชั้นแต่คนขายของชำผู้อารีในเมืองชนบทเล็ก ๆ ที่พอลล็อกไปอยู่ พอลล็อกเขายังไม่ยอมพูดคุยด้วยเลยค่ะ! ไมตรีนี้ดูจะสานต่ออยู่ครั้งเดียวก็ตอนที่เขาเอารูปไปแลกเบียร์มาได้ลังหนึ่งเท่านั้น!

แต่ในทางตรงกันข้าม พอลล็อกกลับนิยมชมชอบพูดคุยกับผู้คนในวงการศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นนักวิจารณ์ นายหน้าค้างานศิลป์ ศิลปินร่วมรุ่นอย่างเดอ คูนนิง (วาล คิลเมอร์) ฯลฯ

ในช่วงประสบความสำเร็จสูงสุด มีนักถ่ายสารคดีคนหนึ่งมาขอถ่ายทำภาพยนตร์เกี่ยวกับตัวเขา การถ่ายทำใช้เวลานานและกดดันพอลล็อกมาก ลี แครสเนอร์ถึงกับบอกพอลล็อกว่า ถ้าไม่อยากถ่ายหนัง ก็บอกเลิกเขาไปสิ แต่พอลล็อกไม่ยอมโดยให้เหตุผลกำกวมทำนองว่า มันไม่สุภาพที่จะพูดอย่างนั้น (แต่ไม่เห็นเขาห่วงเรื่องมารยาทสังคมเวลาเจอกับเจ้าของร้านชำเลย) การถ่ายทำหนังสารคดีนี้จบลงด้วยการที่พอลล็อกหันไปดื่มเหล้าอีก แถมยังล้มโต๊ะไก่งวงและงานเลี้ยงที่เมียอุตส่าห์ทำมาเลี้ยงแขกจนระเนนระนาด

(ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมหลังจากพอลล็อกเสียชีวิตไป ลี แครสเนอร์ถึงประสบความสำเร็จในการทำงานศิลปะ เธอย่อมมีเวลาวาดภาพมากขึ้นแทนที่จะต้องมานั่งทำอาหารเพียงเพื่อให้สามีมาล้มโต๊ะทิ้ง!)



ตรงนี้กระมังที่พอลล็อกในหนังเรื่องนี้มีอะไรแตกต่างจากศิลปินและนักเขียนในหนังเรื่องอื่น ไม่ว่าแรงโบด์จะเป็นคนดีหรือคนเลว สูงส่งหรือถ่อยสถุล แต่ที่แน่ ๆ คือเขาไม่เคยก้มหัวให้เงินตราหรืออำนาจ โมสาร์ท ใน Amadeus ยังกล้าหันก้นให้พระราชาและชอบคลุกคลีกับคนชั้นต่ำ แต่ในหนังเรื่องนี้มีมากกว่าสองสามครั้งที่เราเห็นพอลล็อกยอมทำทุกอย่างเพื่อต้อนรับนักวิจารณ์หรือนายหน้าค้าภาพวาด รวมทั้งการขึ้นเตียงกับเพกกี้ กุกเกนไฮม์ (เอมี่ เมดิแกน) เจ้าแม่วงการศิลปะด้วย


แต่หนังของ เอ็ด แฮร์ริส เรื่องนี้ ไม่ได้ตั้งใจจะเสียดสีพอลล็อกแน่ ๆ ส่วนจะตั้งใจเสียดสีวงการศิลปะหรือไม่ ดิฉันว่ามันลักลั่นจนดูไม่ออก หรือถ้าตั้งใจเสียดสีจริง ๆ มันก็ไม่ขำ ถ้าจะพูดถึงการเสียดสีศิลปินและวงการศิลปะ หนังที่สนุกสุดเหวี่ยงต้องเรื่อง The Moderns ที่ คีธ คาร์ราดีน กับ จอห์น โลน แสดง

หนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังเสียดสี (เพราะดูแล้วไม่ขำ) ไม่ใช่หนังที่ศึกษาบุคลิกภาพและจิตใจของตัวละคร (เพราะความคลุ้มคลั่งของพอลล็อกไม่มีที่มาที่ไป) ไม่ใช่หนังที่ตีแผ่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (เพราะแม้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพอลล็อกกับลีที่อยู่กันมาสิบกว่าปี ก็ยังดูตื้นเขิน แล้งอารมณ์ พอลล็อกรักลีหรือเปล่า? ลีรักพอลล็อกเพราะตัวเขาหรือเพราะพลังทางศิลปะของเขา? ยิ่งอย่าไปพูดถึงความสัมพันธ์ของพอลล็อกกับคนอื่น ๆ ) ไม่ใช่หนังที่ศึกษาถึงแรงบันดาลใจของศิลปิน (เพราะหนังตอบง่าย ๆ ว่า คุณจะวาดรูปเก่งถ้าคุณเกิดมาบ้า!) แล้วหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร?

ดิฉันคิดว่าในฐานะผู้กำกับการแสดง เอ็ด แฮร์ริส ไม่ประสบความสำเร็จกับหนังเรื่องนี้ แม้ว่าเวลาอันยาวนานที่เขาอยากสร้างหนังเรื่องนี้จะน่าประทับใจ แต่ผลงานที่ออกมาดูเหมือนจะบอกว่า เขาไม่เข้าใจในตัวแจ็คสัน พอลล็อกและจิตรกรรมอย่างลึกซึ้งสักเท่าไร สิ่งเดียวที่เอ็ด แฮร์ริสเข้าใจก็คือ แจ็คสัน พอลล็อก คือจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ของอเมริกา

หนังเรื่องนี้จึงไม่ใช่หนังเกี่ยวกับศิลปินที่อยากวาดรูป แต่เป็นหนังเกี่ยวกับศิลปินที่วาดรูปเพื่อจะกลายเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา

Pollock ได้เข้าชิงออสการ์สาขาผู้แสดงนำฝ่ายชายและผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิง โดยมาร์เซีย เกย์ ฮาร์เดนคว้ารางวัลนี้ไปอย่างชนิดที่เรียกว่าพลิกโผพอสมควร นอกจากนี้ เธอยังได้อีกรางวัลจาก New York Film Critics Circle Awards ในขณะที่ เอ็ด แฮร์ริส แพ้ รัสเซลล์ โครว์ ไปในปีนั้น แต่เขาได้รางวัลจาก Toronto Film Critics Association Awards มาปลอบใจแทน

แต่ดิฉันดูการแสดงของนักแสดงทั้งคู่อย่างไม่ค่อยประทับใจสักเท่าไร ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะบทภาพยนตร์ไม่สามารถถ่ายทอดความสัมพันธ์ที่ ลี แครสเนอร์ มีต่อ แจ็คสัน พอลล็อก ได้อย่างลึกซึ้ง ถ้าจะมีอะไรที่เป็นส่วนดีที่สุดในหนังเรื่องนี้ ก็น่าจะเป็นการแสดงของ เอ็ด แฮร์ริส เฉพาะในช่วงที่เขาวาดรูป เขาแสดงได้มีพลังและทำให้เรารู้สึกว่า “ไม่ใช่ใคร ๆ ก็วาดได้”


(1) สำหรับท่านที่สนใจ ในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะฉบับราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติคำศัพท์ Abstract Expressionism ว่า “ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม” และ action painting ว่า “กัมมันตจิตรกรรม” ส่วนเทคนิค “drip and splash” นั้นไม่มีบัญญัติไว้ แต่คำนี้แปลได้ง่าย ๆ ว่า เทคนิคการหยดและสาดสี

ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Hi-Fi Today ฉบับที่ 5/2002
โดย ภัควดี เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2546 11:35:49 น.


Source: //movies.yahoo.com/movie/1803471117/photo/stills

และประวัติของนักแสดง ED HARRIS เค้าเรียนด้านศิลปะมาโดยตรงด้วย

เอ็ด แฮร์ริส (Ed Harris)



Ed Harris ดารา ฮอลลีวู้ดผู้นี้ ดูเหมือนจะ ไปได้ดีกับบทบาท นักแสดงสมทบ ในภาพยนตร์ เพราะบทเหล่านั้น ทำให้เขาได้รับ การเสนอชื่อ เข้าชิงรางวัลออสการ์ หลายครั้งเลยทีเดียว เขาได้รับ โอกาสให้แสดง ความสามารถ อย่างเต็มที่ กับบทบาท ที่กินใจ ทั้งจากเรื่อง The Abyss, Needful Things และ Stepmom และมาถึงตอนนี้ บทบาทที่เขาแสดง ในภาพยนตร์ เรื่องล่าสุด ก็เข้าตา คณะกรรมการ อคาเดมี่ จนได้รับการ เสนอชื่อให้เข้าชิง รางวัลออสการ์ ในฐานะดารานำ ไปเรียบร้อยแล้ว



Ed Harris เกิดที่ Tenafly, New Jersey ในปี 1950 เขาได้ก้าว เข้าสู่วงการแสดง เมื่ออายุเพียง แปดขวบ ในภาพยนตร์ ที่สร้างเพื่อออกฉาย ทางโทรทัศน์ และ เลขแปดอีกเช่นกัน ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับ ชีวิตของเขา เพราะเขา ใช้เวลาถึงแปดปี ในการเรียนจนจบ ปริญญาตรี จากนั้น เขาก็เข้าศึกษาต่อ ที่มหาวิทยาลัย โคลัมเบีย และ เป็นนักกีฬาฟุตบอล ของทีมมหาวิทยาลัย อีกด้วย หลังจากเรียนที่นั่นไ ด้สองปี เขาก็ย้าย ข้ามประเทศ ไปเรียนที่ มหาวิทยาลัย แห่งรัฐโอกลาโฮมา ที่ซึ่งเขา ได้เริ่มเรียน วิชาศิลปะ อย่างจริงจัง Ed เรียนจบ และ ได้รับ B.F.A. สาขาวิชา การละครจาก California Institute of Arts เมื่อเขาอายุ 25 ปี และเขาก็พร้อมแล้ว ที่จะเข้าสู่ วงการแสดง อย่างเต็มตัว เขาเริ่มต้น สะสมประสบการณ์ การแสดงด้วย งานในวงการโทรทัศน์ และ ยังได้แสดง ในภาพยนตร์ บางเรื่องด้วย ต่อมาในปี 1983 ชื่อของเขา ก็เริ่มเป็นที่รู้จัก ในวงการ เมื่อภาพยนตร์ ที่ไม่ค่อย ประสบความสำเร็จนัก เรื่อง The Right Stuff ได้ออกฉาย จากนั้น Ed ได้รับรางวัล Obie จากบทบาทของเขา ในละครบรอดเวย์ของ Sam Shepard เรื่อง Fool For Love มาถึงช่วง ท้ายๆของยุค 80 Ed ได้รับบทเล็กๆ น้อยๆไม่มากนัก แต่เรื่องที่ เขาได้รับความสนใจ ที่สุดในช่วงนั้น คงจะเป็นเรื่อง Places in the Heart ซึ่งเป็นภาพยนตร์ ที่ได้รับรางวัล ออสการ์ และเป็นภาพยนตร์ เรื่องที่ทำให้ Ed ได้รู้จักกับ ภรรยาของเขา Amy Madigan นักแสดงสาว ที่แสดงในเรื่องนั้นเช่นกัน ยุค 80 ของ Ed ปิดท้ายด้วย การได้รับบทเด่น ในภาพยนตร์ของ James Cameron เรื่อง The Abyss ภาพยนตร์ ดราม่าเกี่ยวกับ โลกใต้น้ำเรื่องนี้ ได้รับเสนอชื่อ เข้าชิงรางวัล ด้านเทคนิคยอดเยี่ยม แต่การแสดงของ Ed กับ Mary Elizabeth Mastrantonio ต่างหาก ที่ทำให้มัน กลายเป็นภาพยนตร์ ยอดนิยม ที่ยังคงมีการ หาเช่าและซื้อ มาเก็บไว้ แม้ว่าจะผ่านมาแล้ว ถึงสิบปีก็ตาม ในปี 1992 Ed ได้แสดงใน ภาพยนตร์เรื่อง Glengarry Glen Ross เชือดเฉือนบทบาท กับดาราใหญ่ๆ หลายคน อาทิเช่น Al Pacino, Jack Lemmon, Kevin Spacey และ Alec Baldwin แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ กลับไม่ค่อย ได้รับความนิยม ในหมู่คนดูมากนัก ในปี 1995 บทบาทของ Ed ในเรื่อง Apollo 13 ของ Ron Howard ทำให้เขา ได้เข้าชิงออสการ์ กับบทนักแสดงสมทบ เป็นครั้งแรก ในชีวิต ต่อมาในปี 1998 ภาพยนตร์ ดราม่าของ Peter Weir เรื่อง The Truman Show ก็ทำให้เขา ได้เข้าชิงอีกครั้ง กับบทของ Christoff โปรดิวเซอร์ รายการซีรี่ส์ ทางโทรทัศน์ ที่มีคนดู มากที่สุดในโลก และด้วยความที่เขา อยากจะสร้างสรรค์ งานด้านอื่น นอกเหนือจาก การเป็นนักแสดง เขาจึงได้กำกับ ภาพยนตร์ ที่เปิดเผย ชีวิตอันยุ่งเหยิง ของศิลปิน ชาวอเมริกัน Jackson Pollock ซึ่งเขาไม่เพียง แต่กำกับเท่านั้น แต่ยังร่วมแสดง ในภาพยนตร์ เรื่องนั้นด้วย และ นั่นเป็นครั้งแรก ที่เขาได้เข้าชิง รางวัลออสการ์ ในฐานะดารานำ

Ed Harris มีผลงานมากมาย ที่สร้างชื่อให้เขา โดยที่ตัวเขาเอง ไม่ใส่ใจว่า จะต้องมีชื่อ เป็นดารานำ อยู่บนโปสเตอร์ ภาพยนตร์เรื่องนั้นหรือไม่ แต่การได้เข้าชิ งรางวัลออสการ์ ในฐานะดารานำ อาจจะทำให้เขา มีงานแสดง มากขึ้นตามมา และ มีโอกาสได้เห็น ชื่อของตนเอง ขึ้นก่อนดาราคนอื่น ก็เป็นได้

Source: //www.movieseer.com/ActorProfileBil.asp?aID=916&Channel=1


Source: //us.movies1.yimg.com/movies.yahoo.com/images/hv/photo/movie_pix/sony_pictures_classics/pollock/ed_harris/pollock2.jpg

//imagecache2.allposters.com/images/pic/MMPH/246454~Ed-Harris-Posters.jpg


โดย: Bernadette วันที่: 18 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:04:47 น.  

 
เข้ามาดูครับ น่าสนใตนะครับ
แต่อ่านไม่หมดแล้วจะมาตามอ่านต่อครับ


โดย: ชำ-อนัตตา (ชำ-อนัตตา ) วันที่: 19 พฤศจิกายน 2550 เวลา:1:45:58 น.  

 
เข้ามากรี๊ดป๋า Ed Harris ก่อน ป๋ากำกับเองรึนี่.....อืม

เด๋วอ่านจบแล้วจะมาเมนท์ให้นะ


โดย: Michiru วันที่: 19 พฤศจิกายน 2550 เวลา:7:38:12 น.  

 
ยอดเยี่ยมมากๆ ครับ ขอรออ่านคนต่อๆไปครับผม


โดย: chaarts (prakornpat ) วันที่: 14 ธันวาคม 2550 เวลา:8:55:39 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Bernadette
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




In the name of the Father, and of the Son, and of the Holy Spirit

The Ave Maria asks Mary to "pray for us sinners."

Amen

PaPa for all Father W e pray year of priests.



Card Michael Michai Kitbunchu, Archbishop of Bangkok, is the first member of the College of Cardinals from Thailand.

source :http://www.asianews.it/news-en/Michai-Kitbunchu,-first-cardinal-from-Thailand-3038.html

พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู คณะเชนต์ปอล part1

ฺBishop ฟรังซิส เซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พิธีรับPallium Metropolitans Bangkok Thailand >

สารคดี เทศกาลแห่ดาว สกลนคร Welcome
Sakonnakorn Christmas Thailand
Metropolitans Tarae Sakornakorn Thailand


Orchestra and four vocal Choir - *Latin* Recorded for the Anniversary of the Pope Benedict XVI April 19 This is the Anthem of the Vatican City. The Songs are called Inno e Marcia Pontificale ...

We are Catholic.

หน้าเฟส อัพรูป หาที่อัพรูปใหม่อยู่ http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3


MusicPlaylist
MySpace Music Playlist at MixPod.com

Friends' blogs
[Add Bernadette's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.