แบร์แนแด็ท....น่ารัก....น่ารัก ขี้ลืม.....ขี้ลืม ...... หนังปายหนายหว่า buy แล้ววbuyอีก......... faith, hope and charity เฟศบุ๊ค http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2551
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
24 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 
Sherlock Holmes - The Sign of Four (2001 ):คิดถึงเชอร์ล็อก โฮลมส์ กะด๊อกเตอร์วัตสัน

จำได้มั๊ยเอ่ยยย
อิอิ กะนักสืบคาบไปด์ที่ยาววววววววว และเมื่องานสืบสวนเรียบร้อยแล้วนอนคร๊อกฟื้ หรือไม่กะ......สีไวโอลีน ได้น่าลำคาณกวนใจด๊อกเตอร์วัตสันมั๊กมั๊ก ...และเป็นคู่ปรับกะตำรวจสก๊อตแลนด์ยาร์ดมาตลอด

บ้านของ เชอร์ล็อก โฮลมส์ อ๊อฟฟิคที่ทำงาน กะอยู่ที่ 221b Baker Street ลอนดอนจ๊ะ ในช่วงปี 1881-1904 เป็นนวนิยาย เขียนโดย Sir Arthur Conan Doyle กะตอนนี้กลายเป็นพิพิธภัณธ์ museum เชอร์ล็อก โฮลมส์ ปายซ๊ะแล้ววว.........คนอ่าน เชอร์ล็อก โฮลมส์ นึกว่า บ้านเลขที่ 221B เป็นบ้านเชอร์ล๊อก โฮลมส์จริงๆๆอะ เขียนจดหมายไปขอความช่วยเหลือกะมี



Source ://content.answers.com/main/content/wp/en/thumb/4/4c/420px-Sherlock_Holmes_museum.jpg

ดูหนังหรืออ่านหนังสือ ของเชอร์ล็อก โฮลมส์ กะด๊อกเตอร์วัตสัน .....บางเรื่องอย่าคิดอะไรม๊าก เอาน่า กะมานยุคนั้นอะ
ที่เค้าอ่านกานนหรือติดกานงอมแงม กะคลาสิค นิยายยาวกะ 4 เรื่อง เรื่องสั้นกะ 54 เรื่อง แปลมากกว่า 60 ภาษาอะ


The Sign Of Four trailer


The Sign of Four ปี1856 อินเดีย ทหารอังกฤษพยายามปราบปรามการลุกฮือของ Sepoy เจ้าชายแคว้น Agra ไปไปมามา มีการ deal กัน เรื่องสมบัติ



ลูกค้าของเชอร์ล๊อกโฮม กะด๊อกเตอร์วัตสัน คือ คุณมอนส์ตัน เธอมาพร้อมกับเล่าเรื่องปะหลาดให้ฟัง สั้นๆๆ ค่าจ้างราย ชั่วโมง พ่อของเธอเป็นทหารอยู่อินเดีย ที่หายตัวไประหว่างกลับลอนดอน ในปี1881 ที่พบอย่างเดียวในโรงแรมที่พ่อของเธอพัก คือกระดาษแผ่นหนามีรูปภาพแปลกๆ ......อาจเป็นปริศนาบางอย่าง เธอไม่เคยสิ้นหวังที่หาพ่อของเธอ สิ่งที่ประหลาดทุกปี เธอได้รับไข่มุกมา 6 ปี 6 เม็ด ไม่รู้ว่ามาจากใคร ส่งมาเพื่ออะไร จู่ๆๆเธอได้รับจดหมายฉบับหนึ่ง เป็นการนัดพบคืนนี้ พาเพื่อนมาได้สองคน ห้ามพาตำรวจมาด้วย .......และเค้าทั้งสามก็ไป

แผนที่ บอกถึง สัญญาลักษณ์กางเขนเล็กๆๆทั้งสี่ โจนาธาน สมอล , มูฮาเม็ดซิง, อับดุลลา ข่าน, ดอส อักยา สัญญาลักษ์ทั้งสี่เขียนจากเลือดผู้เขียน

ทั้งสี่รู้ที่ซ่อนขุมทรัพย์และจะแบ่งสมบัติกันในอนาคต เครื่องหมายแห่งสัจจะในหมู่โจร

ชอนโต น้องชายกับตันมอส์ตัน ตายไปเมื่ออาทิตย์ก่อนนี้ ทิ้ง มรดกให้ลูกชายแฝดสองคน บาร์โธโลมิว กะ มาดิอุส


คุณมอสตัน เชอร์ล๊อกโฮม ด๊อกเตอร์วัตสัน ไปพบ ลูกชาย ของ ชอนโต มาดิอุส เค้าเล่าให้ฟังว่า ก่อนพ่อเค้าตาย พ่อเค้าให้แบ่งสมบัติครึ่งหนึ่งให้ มอนสตัน และพ่อเค้าจะบอกที่ซ่อนทรัพย์สมบัติ ........แต่พ่อเค้าตายซ๊ะก่อน

และเค้าทั้งสี่กะรีบไปหา บาร์โธโลมิว คู่แฝดอีกคน .........ไปถึงบาร์โธโลมิวตายแล้ว .......และการสืบสวน โดยยาพิษตาย ยาพิษทำจากทางตะวันออก เชอร์ล๊อกโฮมให้ เพื่อนของเค้าที่เป็นหมอ ทำยาต้านพิษให้

ตำรวจสก๊อตแลนด์ยาร์ด จับมาดิอุส ในข้อหาฆาตกรรมคู่แฝด

เชอร์ล๊อกโฮมใช้สุนัขตามกลิ่นฆาตกรที่แท้จริง และสี่ชื่อในแผนที่มีคนเดียวเท่านั้นที่เป็นคนอังกฤษคือ โจนาธานสมอร์.......ฆาตกรตามหาขุมทรัพย์และฆ่าคนทั้งหมด .....เค้าเป็นเพื่อนกับ สมอร์ และสมอร์เอาแผนที่ให้ กัปตันมอลตันและชาร์โตว

และสุนัขกะตามกลิ่นมาถึง เรือรับจ้าง ตามหาเรือชื่อออลอร่า สีเขียวเหลือง และเรือลำนี้กำลังทาสีใหม่ และพบตัวฆาตกร ตำรวจสก๊อตแลนด์ยาร์ด ได้ยินและตามไปจับด้วย คนร้ายใช้ยาพิษ เชอร์ล๊อคโฮมมาทัน และใช้ยาต้านพิษช่วย ........และจับคนร้ายได้ สมบัติอยู่ก้นแม่น้ำเธมส์ สมุนคนร้ายใช้ยาพิษได้ตาย คนร้ายใช้ยาพิษสังหารตัวเองตามไปด้วย

คนทั้งสี่ในแผนที่ ตายไปเพราะไข้มาเลเรีย ชาร์โตวกับมอลสตันบังคับให้คนร้ายสารภาพ จำคุกในอินเดีย และคนร้ายกะหนีตามมาเอาสมบัติ

คุณมอลสตันและมาดิอุส ขายทรัพย์สมบัติทั้งหมดในลอนดอน ไปเปิดโรงเรียนช่วยเด็กๆๆด้านการศึกษา ที่อินเดีย และมาลาเชอร์ล๊อกโฮมกะด๊อกเตอร์วัตสัน

เชอร์ล็อก โฮลมส์ (อังกฤษ: Sherlock Holmes) เป็นนวนิยายสืบสวนหรือรหัสคดี ประพันธ์โดยนักเขียนและนายแพทย์ชาวสก็อต คือ เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตัวละคร เชอร์ล็อก โฮลมส์ เป็นนักสืบชาวลอนดอนผู้ปราดเปรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านทักษะการประมวลเหตุและผล โดยอาศัยหลักฐานและการสังเกตอันคาดไม่ถึงเพื่อคลี่คลายคดีต่างๆ


<

โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่องเชอร์ล็อก โฮลมส์ ไว้ทั้งสิ้นเป็นเรื่องยาว 4 เรื่อง และเรื่องสั้น 54 เรื่อง เกือบทุกเรื่องเป็นการบรรยายโดยเพื่อนคู่หูของโฮลมส์ คือ ดร. จอห์น เอช. วัตสัน หรือ หมอวัตสัน ในจำนวนนี้ มี 2 เรื่องที่โฮลมส์เป็นผู้เล่าเรื่องเอง และอีก 2 เรื่องเล่าโดยบุคคลอื่น เรื่องสั้นสองเรื่องแรกตีพิมพ์ใน Beeton's Christmas Annual ในปี ค.ศ. 1887 และ Lippincott's Monthly Magazine ในปี ค.ศ. 1890 แต่หลังจากที่ชุดเรื่องสั้นลงพิมพ์เป็นคอลัมน์ประจำใน Strand Magazine เมื่อปี ค.ศ. 1891 นิยายเรื่องนี้ก็โด่งดังเป็นพลุ เหตุการณ์ในนิยายอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1878 ถึง ค.ศ. 1903 และคดีสุดท้ายเกิดในปี ค.ศ. 1914


เซอร์ โคนัน ดอยส์

ประวัติ
โคนัน ดอยล์ ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้าง เชอร์ล็อก โฮลมส์ มาจากนายแพทย์ผู้หนึ่ง คือ นายแพทย์โจเซฟ เบลล์ ระหว่างที่เขาเป็นแพทย์ฝึกงานที่ โรงพยาบาลเอดินเบิร์กรอยัล[1] นายแพทย์อาวุโสสามารถระบุอาการและโรคของคนไข้ได้ทันทีเพียงจากการสังเกตสภาพภายนอก หรือสามารถอธิบายเรื่องราวได้มากมายจากข้อสังเกตเพียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้โคนัน ดอยล์ ทึ่งมาก และนำความสามารถนั้นมาเป็นองค์ประกอบหลักของนิยายของเขา นายแพทย์เบลล์ยังเคยช่วยเหลือการสืบสวนคดีของตำรวจบางคดีอีกด้วย[2]



โฮลมส์มีอารมณ์แปลก ๆ บางครั้งก็เศร้าซึม พูดน้อย บางครั้งก็ร่าเริง หมอวัตสัน เพื่อนคู่หูของเชอร์ล็อก โฮลมส์ ได้บรรยายถึงลักษณะต่าง ๆ ของโฮลมส์เอาไว้ในบันทึกคดีคราวต่าง ๆ กัน เช่น ในเวลาที่กำลังครุ่นคิดเรื่องคดี โฮลมส์จะไม่ทานข้าวเช้า (จาก ตอน ช่างก่อสร้างเจ้าเล่ห์ (the Norwood Builder) ) โฮลมส์ชอบทำการทดลองเคมี แล้วทิ้งข้าวของในห้องกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ (จาก ตอน ปริศนาลายแทง (Musgrave Ritual) ) โฮลมส์สูบไปป์จัดมาก มักกลั่นแกล้งตำรวจโดยการให้ข้อมูลปลอมหรือปกปิดหลักฐานบางอย่าง แต่ก็มีความเป็นสุภาพบุรุษและให้เกียรติแก่สตรีอย่างสูง (จาก ตอน นายหน้าขู่กิน (Charles Augustus Milverton) ) แต่นิสัยที่หมอวัตสันเห็นว่าเลวร้ายและยอมรับไม่ได้เลย คือ การที่โฮลมส์ชอบเสพโคเคนกับมอร์ฟีน ซึ่งวัตสันเห็นว่าเป็นความชั่วประการเดียวที่โฮลมส์มี[5]

โฮลมส์ยังเป็นนักแสดงที่เก่งกาจ ดังปรากฏในตอน ซ้อนกล (the Dying Detective) และ จดหมายนัดพบ (the Reigate Squires) และตอนอื่น ๆ อีกหลายตอน เพื่อหันเหความสนใจของผู้ต้องสงสัย มิให้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักฐานบางอย่าง ในตอน สัญญานาวี (the Naval Treaty) โฮลมส์ได้แสดงให้เห็นว่าเขาชื่นชมนักอาชญวิทยาชาวฝรั่งเศส คือ Alphonse Bertillon ซึ่งเป็นผู้คิดค้นทฤษฎีในการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุเพื่อช่วยระบุตัวตนของอาชญากร นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า โฮลมส์เป็นนักอ่าน นักศึกษา มีความรู้ด้านอาชญวิทยาอย่างกว้างขวาง และให้ความนิยมนับถือบรรดานักสืบผู้ชำนาญเป็นอย่างมาก[6]

แม้โฮลมส์จะชอบกลั่นแกล้งตำรวจ แต่เขาก็เป็นมิตรที่ดีของสก๊อตแลนด์ยาร์ดโดยเฉพาะสารวัตรเลสเตรด และมักยกความดีความชอบในคดีให้แก่ฝ่ายตำรวจอยู่เสมอ ในตอน สัญญานาวี โฮลมส์เคยบอกว่า ในบรรดาคดีที่เขาสะสาง 53 คดี เขายกความสำเร็จให้เพื่อนตำรวจไปเสีย 49 คดี คงมีแต่เพียงหมอวัตสันที่บรรยายถึงความสามารถของเขาผ่านทางบันทึกเท่านั้น

โฮลมส์มีศัตรูตัวฉกาจ ชื่อ ศาสตราจารย์เจมส์ มอริอาร์ตี้ ศาสตราจารย์ผู้มีมันสมองปราดเปรื่องในด้านอาชญากรรม อีกทั้งยังเป็นตัวการเบื้องหลังในบางคดีที่เกิดขึ้นอีกด้วย คำพูดของโฮลมส์ที่ติดปากกันดี คือ "ถ้าเราตัดสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทั้งหมดออกไป สิ่งที่เหลืออยู่ ไม่ว่ามันจะดูเหลือเชื่อเพียงใด แต่มันก็เป็นความจริง"



Source ://www.britfilms.tv/images/news/SherlockSmall.jpg
[แก้] ความรู้และทักษะ
โคนัน ดอยล์ ได้บรรยายถึงพื้นฐานการศึกษาและทักษะของโฮลมส์ไว้ในนิยายตอนแรก แรงพยาบาท ว่า เขาเคยเป็นนักศึกษาสาขาเคมี ที่มีความสนอกสนใจไปสารพัด โดยเฉพาะวิชาความรู้ที่สามารถช่วยเหลือในการคลี่คลายคดีอาชญากรรม บันทึกคดีแรกของโฮลมส์ที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร คือ เรือบรรทุกนักโทษ (Gloria Scott) ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ทำให้โฮลมส์หันมายึดถืออาชีพนักสืบ เขามักใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ การสังเกตและการทดลอง มาใช้ประกอบในการพิจารณาคดีอาชญากรรมเสมอ แม้ว่าเขาจะชอบเก็บงำผลลัพธ์เอาไว้ และสร้างความประหลาดใจแก่ผู้อื่นโดยค่อย ๆ เผยปมของคดีให้ทราบทีละเล็กละน้อย

ในเรื่องยาว แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) หมอวัตสันเคยประเมินทักษะต่าง ๆ ของโฮลมส์ไว้ ดังนี้

ความรู้ด้านวรรณกรรม — ไม่มี
ความรู้ด้านปรัชญา — ไม่มี
ความรู้ทางดาราศาสตร์ — ไม่มี
ความรู้ด้านการเมือง — น้อยมาก
ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ — ไม่แน่นอน ชำนาญพิเศษด้านพืชมีพิษและฝิ่น แต่ไม่มีความรู้ด้านการทำสวนเลย
ความรู้ด้านธรณีวิทยา — ชำนาญ แต่มีข้อจำกัด สามารถบอกความแตกต่างระหว่างดินแต่ละชนิด เช่นหลังจากออกไปเดินเล่น สามารถระบุตำแหน่งที่ได้รับรอยเปื้อนดินบนกางเกงได้ว่ามาจากส่วนไหนของลอนดอน โดยดูจากสีและลักษณะของดิน
ความรู้ด้านเคมี — ยอดเยี่ยม โฮลมส์ได้รับตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์จากสมาคมเคมีแห่งราชสำนักอังกฤษ[7]
ความรู้ด้านกายวิภาค — แม่นยำ แต่ไม่เป็นระบบ
ความรู้ด้านอาชญวิทยา — กว้างขวาง ดูเหมือนจะรู้จักเหตุสะเทือนขวัญอย่างละเอียดทุกเรื่องในรอบศตวรรษ[6]
เล่นไวโอลินได้ดีมาก และยังเป็นเจ้าของไวโอลินสตราดิวาเรียส อันมีชื่อเสียง[8]
เป็นนักมวยและนักดาบ


Source ://lodingo.com/product_images/books/One_Voice/BOSC_lge.jpg
มีความรู้กฎหมายอังกฤษเป็นอย่างดี
ในตอน ความลับที่หุบเขาบอสคูมบ์ (The Boscombe Valley Mystery) โฮลมส์ได้แสดงให้เห็นถึงความรู้เกี่ยวกับยาสูบเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในตอน รหัสตุ๊กตาเต้นรำ (The Dancing Man) โฮลมส์ได้แสดงถึงทักษะและไหวพริบในการถอดรหัส ส่วนความสามารถในการปลอมแปลงตัวของโฮลมส์ได้ใช้ประโยชน์หลายครั้ง เช่น การปลอมเป็นกะลาสีในตอน จัตวาลักษณ์ (The Sign of the Four) เป็นนักบวชผู้ถ่อมตนใน เหตุอื้อฉาวในโบฮีเมีย (A Scandle in Bohemie) เป็นคนติดยาใน ชายปากบิด (The Man with the Twisted Lip) เป็นพระชาวอิตาลีใน ปัจฉิมปัญหา (The Final Problem) หรือแม้แต่ปลอมเป็นผู้หญิงในตอน เพชรมงกุฎ (The Mazarin Stone) เป็นต้น

อย่างไรก็ดี มีบางเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า หมอวัตสันประเมินโฮลมส์ผิดไปบ้าง เช่น เหตุการณ์ในตอน เหตุอื้อฉาวในโบฮีเมีย ซึ่งโฮลมส์สามารถตระหนักถึงความสำคัญของเคานท์ฟอนแครมได้ทันที หรือในหลาย ๆ คราวที่โฮลมส์มักเอ่ยอ้างถึงถ้อยคำในพระคัมภีร์ไบเบิล เชกสเปียร์ หรือเกอเธ่ แต่กระนั้น โฮลมส์กลับเคยบอกกับหมอวัตสันว่า เขาไม่สนใจเลยว่าโลกหรือดวงอาทิตย์จะหมุนรอบใครกันแน่ เพราะมันไม่มีประโยชน์ต่อการคลี่คลายคดีสักนิด

โฮลมส์มีความสามารถในการวิเคราะห์หลักฐานทางกายภาพอย่างถูกต้องแม่นยำ กระบวนการตรวจสอบหลักฐานของเขามีหลายกรรมวิธี เช่น การเก็บรอยรองเท้า รอยเท้าสัตว์ หรือรอยล้อรถจักรยาน เพื่อวิเคราะห์การกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเกิดอาชญากรรม (เช่น ตอน แรงพยาบาท หรือ หมาผลาญตระกูล) หรือการวิเคราะห์ประเภทของยาสูบเพื่อระบุตัวตนของอาชญากร (เช่น ตอน จองเวร (The Resident Patient) หรือ หมาผลาญตระกูล) โฮลมส์เคยตรวจสอบร่องรอยผงดินปืน และเปรียบเทียบกระสุนที่พบในที่เกิดเหตุ ทำให้แยกแยะได้ว่าฆาตกรมีสองคน (จาก ตอน จดหมายนัดพบ และ บ้านร้าง (The Empty House) ) นอกจากนี้ โฮลมส์ยังเป็นคนแรก ๆ ที่มีแนวคิดในการตรวจสอบลายนิ้วมืออีกด้วย (จาก ตอน ช่างก่อสร้างเจ้าเล่ห์)


Source ://sherlock-holmes-museum.visit-london-england.com/the-sherlock-holmes-museum-4.gif
ในช่วงปีหลัง ๆ ระหว่างที่โฮลมส์หยุดพักผ่อนที่ซัสเซกส์ดาวน์ (ในตอน รอยเปื้อนที่สอง (The Second Stain) ) เขาได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งเพื่อบันทึกการสังเกตเรื่องวิถีชีวิตของผึ้ง ชื่อ "Practical Handbook of Bee Culture" นอกจากนี้ ยังมีงานเขียนด้านวิชาการอื่น ๆ ของโฮลมส์อีกหลายเล่ม เช่น "Upon the Distinction Between the Ashes of the Various Tobaccos" (การแยกแยะรายละเอียดระหว่างขี้เถ้าของยาสูบชนิดต่างๆ) หรือ บทความสองเรื่องเกี่ยวกับ "หู" ที่ได้เผยแพร่ใน Anthropological Journal เป็นต้น[4]


[แก้] ถิ่นที่อยู่

บ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ตามท้องเรื่อง โฮลมส์และหมอวัตสันรู้จักกันครั้งแรก เนื่องจากต่างต้องการหาผู้ร่วมเช่าห้องพักอยู่ด้วยกันในกรุงลอนดอนเพื่อลดค่าใช้จ่าย ห้องพักที่ทั้งสองเช่าเป็นบ้านของมิสซิสฮัดสัน ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ โดยพวกเขาเช่าพื้นที่ชั้นสองของบ้าน ส่วนมิสซิสฮัดสันอาศัยอยู่ชั้นล่าง และทำหน้าที่จัดเตรียมอาหารเช้าให้พวกเขาด้วย หมอวัตสันเคยย้ายออกจากบ้านเช่านี้ไปเมื่อคราวแต่งงาน ทว่าหลังจากภริยาเสียชีวิต หมอวัตสันก็ย้ายกลับมาอยู่กับเชอร์ล็อก โฮลมส์อีก


[แก้] การงานอาชีพ
โฮลมส์ทำงานเพียงอย่างเดียว คือ เป็นนักสืบเชลยศักดิ์ หมายถึง เป็นนักสืบเอกชนที่ทำงานตามการว่าจ้างเป็นคราว ๆ ไป อย่างไรก็ดี มีหลายครั้งที่โฮลมส์ทำคดีเพื่อช่วยเหลือเพื่อนตำรวจที่สก๊อตแลนด์ยาร์ด หรือเพื่อความบันเทิงส่วนตัว ลูกค้าส่วนใหญ่ของโฮลมส์เป็นผู้มีสตางค์ โฮลมส์จึงได้รับค่าจ้างอย่างงามจนสามารถใช้ชีวิตอย่างสบาย หมอวัตสันเคยเล่าไว้ในตอน ซ้อนกล เมื่อตอนที่เขาย้ายออกไปจากบ้านเช่า และโฮลมส์อาศัยอยู่เพียงลำพังว่า เงินค่าเช่าที่โฮลมส์จ่ายมิสซิสฮัดสันนั้นมากพอจะซื้อตึกหลังนั้นได้เลยทีเดียว

ในตอน แผนผังเรือดำน้ำ โฮลมส์ได้รับของรางวัลจากการคลี่คลายคดีให้แก่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เป็นเข็มกลัดมรกต คราวหนึ่งเขาได้รับเหรียญทองคำเป็นที่ระลึกจากไอรีน อัดเลอร์ (ตอน เหตุอื้อฉาวในโบฮีเมีย) อีกคราวหนึ่งในตอน โรงเรียนสำนักอธิการ (the Priory School) โฮลมส์ถึงกับถูมือด้วยความกระหยิ่มยิ้มย่องเมื่อเห็นตัวเลขในเช็คที่ท่านดยุคสั่งจ่าย ที่หมอวัตสันเองยังตื่นเต้นตกใจ แต่แล้วโฮลมส์ก็ตบเช็คใบนั้นแล้วร้องว่า "กันยากจนจริงหนอ"

//www.sherlock-holmes.co.uk/images/postcard2.gif
[แก้] ครอบครัว และความรัก
โฮลมส์มีพี่ชายหนึ่งคน คือ ไมครอฟต์ โฮลมส์ ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง แต่ไม่มีข้อมูลอื่นเกี่ยวกับครอบครัวของเขา นอกจากในเรื่องสั้นตอน ล่ามภาษากรีก ซึ่งโฮลมส์เอ่ยถึงย่าของตนว่าเป็นน้องสาวของเวอร์เน่ต์ (Vernet) ศิลปินชาวฝรั่งเศส โฮลมส์ไม่ได้แต่งงาน แต่เชื่อว่าเขาเคยมีความรักกับสตรีผู้หนึ่ง ซึ่งต่อมาเกิดเหตุที่ทำให้ทั้งสองไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ และโฮลมส์ไม่เคยสนใจผู้หญิงคนไหนอีกเลย หญิงสาวในความทรงจำของโฮลมส์ผู้นั้นมีชื่อว่า ไอรีน อัดเลอร์


Dr Watson (left) and Sherlock Holmes ...

การตีพิมพ์และการแปล

เชอร์ล็อก โฮลมส์ ฉบับแปลไทยครั้งแรกเชอร์ล็อก โฮลมส์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ในหนังสือพิมพ์ Beeton's Christmas Annual ค.ศ. 1887 โดยตอนแรกที่พิมพ์ คือ แรงพยาบาท หลังจากนั้น จึงได้ลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารสแตรนด์ ปี ค.ศ. 1892 เรื่องสั้นที่โคนัน ดอยล์ เขียนลงในสแตรนด์ ได้นำมาพิมพ์รวมเล่มครั้งแรก โดยสำนักพิมพ์ George Newnes ใช้ชื่อหนังสือว่า "The Adventures of Sherlock Holmes" ต่อมา ฉบับรวมเล่มนี้ได้ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา โดยสำนักพิมพ์ Harper & Brothers กรุงนิวยอร์ก ปี ค.ศ. 1892 เช่นเดียวกัน[9]

เชอร์ล็อก โฮลมส์ ได้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 60 ภาษา[10] และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ปี ค.ศ. 2004 เชอร์ล็อก โฮลมส์ ได้วางจำหน่ายเป็นหนังสือชุดพิเศษสำหรับนักสะสม ในโอกาสครบรอบวันเกิด 150 ปีของโฮลมส์[11]


เชอร์ล็อก โฮลมส์ ฉบับแปลไทยครั้งแรก

สำหรับประเทศไทย มีการแปลเรื่อง เชอร์ล็อก โฮลมส์ เป็นภาษาไทยครั้งแรก โดย หลวงสารานุประพันธ์ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารสารานุกูล ในช่วงปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) [12][13] ต่อมา อ. สายสุวรรณ แปลต้นฉบับเชอร์ล็อก โฮลมส์ จนครบทุกตอนทั้งเรื่องสั้นและเรื่องยาวเป็นคนแรก[14] ปี พ.ศ. 2535 สำนักพิมพ์ดอกหญ้า นำผลงานแปลของ อ. สายสุวรรณ มาจัดพิมพ์ใหม่ทั้งชุด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2549 สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ ได้นำเรื่อง เชอร์ล็อก โฮลมส์ มาแปลใหม่อีกครั้งทั้งชุดโดย มิ่งขวัญ แต่ใช้สำนวนแปลและชื่อเรื่องที่ต่างออกไป อย่างไรก็ดี ชุดที่ได้รับการกล่าวขวัญในหมู่นักอ่านว่าดีที่สุด คือ ชุดแปลของ อ. สายสุวรรณ[15][16]

Holmes & Watson


[แก้] ความนิยม และอิทธิพลต่องานอื่น
ความนิยมในประเทศอังกฤษ
เรื่องสั้น เชอร์ล็อก โฮลมส์ ที่ลงพิมพ์ในนิตยสารสแตรนด์ ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนผู้อ่านจำนวนมากเชื่อว่า เชอร์ล็อก โฮลมส์ มีตัวตนจริง และพากันเขียนจดหมายไปหาเพื่อขอความช่วยเหลือ จดหมายจำนวนมากที่ส่งไปยังบ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ ถูกตีกลับมายังที่ทำการไปรษณีย์ เนื่องจากบ้านเลขที่นั้นไม่มีอยู่จริง[17] กล่าวกันว่า โคนัน ดอยล์ มีรายได้จากนวนิยายเรื่องนี้มากกว่างานประจำของเขาเสียอีก

ปี ค.ศ. 1893 เมื่อโคนัน ดอยล์ เริ่มคิดพล็อตนิยายได้ยากขึ้น และต้องการจะหันไปทุ่มเทกับงานเขียนด้านอื่นที่เขาเห็นว่ามีคุณค่ามากกว่า เขาได้เขียนเรื่องสั้นตอน ปัจฉิมปัญหา (The Final Problem) ให้เชอร์ล็อก โฮลมส์ พ่ายแพ้ในการต่อสู้กับศาสตราจารย์มอริอาตี้และพลัดตกเหวไป เพื่อจบบทบาทของเชอร์ล็อก โฮลมส์เสีย ผลปรากฏว่า ผู้อ่านพากันต่อว่าต่อขานโคนัน ดอยล์ อย่างเคียดแค้น สมาชิกนิตยสารสแตรนด์ บอกยกเลิกสมาชิกภาพถึงกว่าสองหมื่นคน บางคนถึงกับไว้ทุกข์ให้แก่เชอร์ล็อก โฮลมส์ มีจดหมายจำนวนมากส่งไปถึงโคนัน ดอยล์ เพื่อเค้นถามข้อเท็จจริงว่า โฮลมส์ตกเหวไปแล้วตายจริงหรือเปล่า จนในที่สุดโคนัน ดอยล์ ทนไม่ไหว จึงปล่อยเรื่องยาว หมาผลาญตระกูล ออกมาในปี ค.ศ. 1901 ทำให้ผู้อ่านตื่นเต้นยินดีมาก แต่ก็ยังไม่หายสงสัย เพราะเหตุการณ์ในเรื่อง หมาผลาญตระกูล เป็นเหตุการณ์ก่อนที่เขาจะต่อสู้กับศาสตราจารย์มอริอาตี้ ข้อกังขาว่าโฮลมส์ตกเหวแล้วตายหรือไม่ จึงยังมิได้ไขกระจ่าง[18]

ในที่สุด โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่องสั้นชุด "คืนชีพ" (The Return of Sherlock Holmes) ในปี ค.ศ. 1903 เป็นการตอบคำถามว่า เชอร์ล็อก โฮลมส์ ยังไม่ตาย หลังจากนั้น เขาก็แต่งเรื่องยาวและเรื่องสั้นอีกหลายเรื่อง[19]

ในปี ค.ศ. 2002 สมาคมเคมีแห่งราชสำนักอังกฤษ ได้มอบตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ (Extraordinary Honourary Fellowship) ให้แก่ เชอร์ล็อก โฮลมส์ ในฐานะนักสืบคนแรกที่นำศาสตร์ทางเคมีไปประยุกต์ใช้กับงานสืบสวน ในโอกาสครบรอบหนึ่งร้อยปีการคลี่คลายคดี หมาผลาญตระกูล และครบรอบหนึ่งร้อยปีการรับบรรดาศักดิ์อัศวินของเซอร์ อาเธอร์ โคนัน ดอยล์[20]

ปี ค.ศ. 2007 หนังสือพิมพ์ Beeton's Christmas Annual 1887 ซึ่งตีพิมพ์เรื่อง เชอร์ล็อก โฮลมส์ ตอนแรกสุด ได้รับประมูลไปในราคา 156,000 เหรียญสหรัฐ[21]

SIR ARTHUR CONAN DOYLE CREATOR OF SHERLOCK HOLMES RARE


[แก้] สมาคม
ปี ค.ศ. 1934 มีการก่อตั้ง สมาคมเชอร์ล็อก โฮลมส์ ขึ้นในกรุงลอนดอน และ หน่วยลาดตระเวนถนนเบเกอร์ ก็ตั้งขึ้นในกรุงนิวยอร์ก สมาคมทั้งสองนี้ยังคงมีกิจกรรมต่อเนื่องอยู่จนถึงปัจจุบัน และยังมีสมาคมเชอร์ล็อก โฮลมส์ ตั้งขึ้นในประเทศอื่น ๆ อีก เช่น ในเดนมาร์ก อินเดีย และญี่ปุ่น


พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮล์มส์ บนถนนเบเกอร์
[แก้] พิพิธภัณฑ์
ระหว่างงานเทศกาลใหญ่ในอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1951 มีการก่อสร้างห้องนั่งเล่นของเชอร์ล็อก โฮลมส์ เพื่อแสดงในนิทรรศการเชอร์ล็อก โฮลมส์ โดยจำลองของสะสมของโฮลมส์และองค์ประกอบต่าง ๆ ตามที่มีระบุในนิยาย หลังปิดงานนิทรรศการ ข้าวของเหล่านั้นนำไปเก็บไว้ที่ผับเชอร์ล็อก โฮลมส์ ในกรุงลอนดอน และบางส่วนนำไปเก็บไว้กับพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของโคนัน ดอยล์ ในเมืองลูเซนส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมา ในปี ค.ศ. 1990 มีการก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮลมส์ ที่บ้านเลขที่ 239 ถนนเบเกอร์ ในกรุงลอนดอน[17] และที่เมืองไมริงเกน ที่สวิตเซอร์แลนด์ในปีต่อมา แต่พิพิธภัณฑ์สองแห่งนี้แสดงข้อมูลของโคนัน ดอยล์ มากกว่าข้อมูลของโฮลมส์

พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮลมส์ ที่ "221 บี ถนนเบเกอร์" นับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในโลกที่ตั้งขึ้นสำหรับตัวละครในนิยาย[22]


[แก้] อนุสาวรีย์
อนุสาวรีย์เชอร์ล็อก โฮลมส์ ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าสถานีรถไฟใต้ดินถนนเบเกอร์ นอกจากนี้ ยังมีอนุสาวรีย์เชอร์ล็อก โฮลมส์และวัตสัน ที่สถานทูตอังกฤษในกรุงมอสโคว์ เป็นผลจากความโด่งดังของโฮลมส์ที่นำไปจัดทำเป็นรายการโทรทัศน์ในรัสเซีย [23]

ที่เมืองไมริงเกน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮลมส์แล้ว ยังเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์เชอร์ล็อก โฮลมส์ด้วย เมืองนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของสวิตเซอร์แลนด์ โดยแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่ง คือ น้ำตกไรเคนบาค (Reichenbach Falls) ซึ่งเป็นสถานที่ที่โฮลมส์ ต่อสู้กับ มอริอาร์ตี้ จนพลัดตกเหวไป[24]

//www.sherlock-holmes.co.uk/images/postcard2.gif
[แก้] อิทธิพล
ภาพลักษณ์ของเชอร์ล็อก โฮลมส์ คือ การสวมเสื้อคลุม หมวก และคาบไปป์ กลายเป็นสัญลักษณ์ของนักสืบ ภาพยนตร์และละครหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนักสืบมักแต่งตัวตามอย่างโฮลมส์เช่นนี้ และยังมีนวนิยายแนวสืบสวนอีกหลายเรื่องที่ได้รับอิทธิพลจาก เชอร์ล็อก โฮลมส์ โดยตรง เช่น

หนังสือและภาพยนตร์การ์ตูนจากประเทศญี่ปุ่น เรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ได้รับอิทธิพลจากเชอร์ล็อก โฮลมส์ค่อนข้างมาก ทั้งบุคลิกของตัวละครหลัก และชื่อของตัวละครที่นำมาจากชื่อกลางของเซอร์ อาเธอร์ โคนัน ดอยล์
ตัวละครหลักในละครทีวีเรื่อง เฮาส์ เอ็ม.ดี. คือ เกรกอรี่ เฮาส์ ก็ได้รับอิทธิพลจากเชอร์ล็อก โฮลมส์ ทั้งในการชอบใช้ยา (เฮาส์ติดยาแก้ปวด ส่วนโฮลมส์สูบไปป์และเคยใช้โคเคน) ความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าเพื่อแก้ปัญหาที่คนอื่นแก้ไม่ได้ เฮ้าส์ใช้เทคนิคเดียวกันกับโฮลมส์ในการตรวจวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยของเขา เพื่อนสนิทของเฮ้าส์ คือ ดร.เจมส์ วิลสัน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากชื่อที่คล้ายกัน คือ เฮ้าส์-โฮลมส์ กับ เจมส์ วิลสัน-จอห์น วัตสัน นอกจากนี้ ยังมีตัวละครที่ชื่อ มอริอาตี้ (ชื่อเดียวกับอริของโฮลมส์) ปรากฏตัวในตอนสุดท้ายของฤดูกาลที่สอง และเกือบจะสังหารเฮ้าส์ได้สำเร็จ[25] นอกจากนั้นที่อยู่ของเฮาส์คือเลขที่ 221B เช่นเดียวกับโฮลมส์

[แก้] การดัดแปลงไปยังสื่ออื่น
เชอร์ล็อก โฮลมส์ เป็นตัวละครที่มีชื่อเสียงมาก และมีการนำไปจัดแสดงเป็นละครเวทีหรือภาพยนตร์มากมาย เช่นเดียวกับ แฮมเล็ต หรือ แดร็กคูล่า ที่ถูกนำไปสร้างและแต่งเติมเรื่องราวไปอีกเป็นจำนวนมาก หนังสือกินเนสส์บุ๊คบันทึกว่า เชอร์ล็อก โฮลมส์ เป็น "ตัวละครที่มีผู้แสดงมากที่สุด" คือ มีนักแสดงมากกว่า 75 คนที่รับบทเป็นโฮลมส์ ปรากฏในภาพยนตร์มากกว่า 211 เรื่อง[26]


[แก้] ภาพยนตร์
ในระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1939 - 1946 เบซิล รัธโบน แสดงเป็น เชอร์ล็อก โฮลมส์ โดยมีไนเจล บรูซ เป็นหมอวัตสัน แสดงร่วมกันในภาพยนตร์ 15 เรื่อง นับเป็นภาพยนตร์ชุดเชอร์ล็อก โฮลมส์ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นอกจากนี้ นักแสดงคนอื่น ๆ ที่เคยแสดงเป็น โฮลมส์ ได้แก่ มอริส คอสเตลโล, บัสเตอร์ คีตัน, คริสโตเฟอร์ ลี, ปีเตอร์ กุชชิ่ง, จอร์จ ซี สก๊อต, ไมเคิล เคน, คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์, แมท ฟรีเวอร์, จอห์น เนวิล, โรเจอร์ มัวร์, ปีเตอร์ คุก, และ เลโอนาร์ด นิโมย[27]


[แก้] ละครวิทยุ
สถานีวิทยุบีบีซี ออกอากาศละครชุดเชอร์ล็อก โฮลมส์ ในปี ค.ศ. 1974 โดยมี แบร์รี่ ฟอสเทิร์ล รับบทเป็นโฮลมส์ และเดวิด บัค เป็นหมอวัตสัน ต่อมา ในปี ค.ศ. 1989 มีการออกอากาศอีกครั้งแบบเต็มชุด เริ่มตั้งแต่ตอน แรงพยาบาท และปิดชุดด้วยตอน หมาผลาญตระกูล คลิฟ เมอริสัน รับบทเป็นโฮลมส์ และไมเคิล วิลเลียมส์ เป็นหมอวัตสัน[27]


Source ://static.zooomr.com/images/339182_2a395b4374.jpg
[แก้] รายการโทรทัศน์
เชอร์ล็อก โฮลมส์ เป็นตัวละครจากนิยายคนแรกที่มีการนำมาดัดแปลงเป็นรายการโทรทัศน์ โดยตอน พินัยกรรมประหลาด (The Three Garridebs) ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937 จากเวที Radio City Music Hall ในกรุงนิวยอร์กโดยสมาพันธ์เครือข่ายวิทยุอเมริกัน (American Radio Relay League) ภาพการแสดงสดจะนำมาประกอบกับบทบรรยายข้างใต้ก่อนออกอากาศ หลุยส์ เฮคเตอร์ แสดงเป็นนักสืบโฮลมส์ และวิลเลียม พอดมอร์ แสดงเป็นหมอวัตสันเพื่อนคู่หู[28]

ปี ค.ศ. 1968 สถานีโทรทัศน์บีบีซี ดัดแปลงเรื่องราวของนักสืบผู้ยิ่งใหญ่นี้ออกอากาศทางช่อง บีบีซี 1 โดยมี ปีเตอร์ กุชชิ่ง รับบทเป็นโฮลมส์ และไนเจล สตอค เป็นหมอวัตสัน แต่ละครโทรทัศน์ชุดที่โด่งดังที่สุด คือ ชุดที่ ทอม เบเกอร์ รับบทเป็นโฮลมส์ ในตอน หมาผลาญตระกูล ในปี ค.ศ. 1982[27]

เรื่องยาวของโคนัน ดอยล์ ตอน หมาผลาญตระกูล เป็นตอนที่มีการนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์มากที่สุดถึง 18 ครั้ง ครั้งล่าสุดออกอากาศทางช่อง บีบีซี 1 เมื่อช่วงคริสต์มาส ปี 2003 นำแสดงโดยริชาร์ด ร็อกซเบิร์ก เป็นโฮลมส์ และ เอียน ฮาร์ท เป็นหมอวัตสัน[27]


//www.holmesonscreen.com/Brett3.jpg
เจเรมี เบรต (Jeremy Brett

สำหรับนักแสดงผู้รับบทเป็น เชอร์ล็อก โฮลมส์ ที่โด่งดังที่สุด (และอาจเป็นผู้แสดงได้ดีที่สุด) คือ เจเรมี เบรต (Jeremy Brett) ซึ่งรับบทเป็นโฮลมส์ ทั้งสิ้น 42 ครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 จนถึงวาระสุดท้ายในปี ค.ศ. 1995[27][29]

ในช่วงปี ค.ศ. 1979 - 1986 รายการโทรทัศน์ในรัสเซีย จัดทำละครชุด "เชอร์ล็อก โฮลมส์" นำแสดงโดย วาสิลี ลิวานอฟ (Vasily Livanov) ผลจากการแสดงอันยอดเยี่ยมของเขาทำให้เขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ[23]

Source ://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81_%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C



Create Date : 24 มิถุนายน 2551
Last Update : 24 มิถุนายน 2551 21:44:30 น. 5 comments
Counter : 9342 Pageviews.

 
สวัสดีครับหนูแบร์ฯ พี่ดีเจฯมาเยี่ยมนะครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลแน่นปึ๊ก พี่ดีเจอ่านเกือบครึ่งชั่วโมง เพราะชอบ ตอนเด็ก ๆ ติดหนังสือนักสืบ เชอร์ล๊อค โฮมส์ เหมือนกัน สนุก วางไม่ลง แต่ที่เป็นหนังยังไม่เคยดู


โดย: dj booboo วันที่: 24 มิถุนายน 2551 เวลา:22:51:59 น.  

 



โดย: Opey วันที่: 25 มิถุนายน 2551 เวลา:7:48:33 น.  

 
สวัสดีครับหนูแบร์ฯ พี่ดีเจฯมาเยี่ยมนะครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลแน่นปึ๊ก พี่ดีเจอ่านเกือบครึ่งชั่วโมง เพราะชอบ ตอนเด็ก ๆ ติดหนังสือนักสืบ เชอร์ล๊อค โฮมส์ เหมือนกัน สนุก วางไม่ลง แต่ที่เป็นหนังยังไม่เคยดู



โดย: dj booboo วันที่: 24 มิถุนายน 2551 เวลา:22:51:59 น.


ตอบ ฮั่นแน่เจอแฟนพันธ์แท้ เชอร์ล๊อกโฮมแล้วววววววว

งั๊บ อ่านหนังสือกะดูหนัง ดูการ์ตูนย์ เหมือนกาลลลลงั๊บบบบ


โดย: Bernadette วันที่: 25 มิถุนายน 2551 เวลา:8:20:46 น.  

 
โดย: Opey วันที่: 25 มิถุนายน 2551 เวลา:7:48:33 น.

ตอบ สวัสดีตอนเช้าจ๊า


โดย: Bernadette วันที่: 25 มิถุนายน 2551 เวลา:8:23:30 น.  

 
friendster Glitter Graphics


โดย: Opey วันที่: 26 มิถุนายน 2551 เวลา:18:01:51 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Bernadette
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




In the name of the Father, and of the Son, and of the Holy Spirit

The Ave Maria asks Mary to "pray for us sinners."

Amen

PaPa for all Father W e pray year of priests.



Card Michael Michai Kitbunchu, Archbishop of Bangkok, is the first member of the College of Cardinals from Thailand.

source :http://www.asianews.it/news-en/Michai-Kitbunchu,-first-cardinal-from-Thailand-3038.html

พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู คณะเชนต์ปอล part1

ฺBishop ฟรังซิส เซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พิธีรับPallium Metropolitans Bangkok Thailand >

สารคดี เทศกาลแห่ดาว สกลนคร Welcome
Sakonnakorn Christmas Thailand
Metropolitans Tarae Sakornakorn Thailand


Orchestra and four vocal Choir - *Latin* Recorded for the Anniversary of the Pope Benedict XVI April 19 This is the Anthem of the Vatican City. The Songs are called Inno e Marcia Pontificale ...

We are Catholic.

หน้าเฟส อัพรูป หาที่อัพรูปใหม่อยู่ http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3


MusicPlaylist
MySpace Music Playlist at MixPod.com

Friends' blogs
[Add Bernadette's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.