การถือศีลอด
การถือศีลอด (อัซเซาม์)

การถือศีลอด คือ การงดเว้นข้อห้ามต่างๆ ตามที่ศาสนาบัญญัติ เช่น งดการกิน การดื่ม นับตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนถึงตะวันตก

ก. ข้อบังคับ (ฟัรดู) ในการถือศีลอด มี 4 ประการ

(1) เนียต (มีความตั้งใจในการถือศีลอด) ในเวลากลางคืนของทุกคืน กำหนดให้เนียตได้ระหว่างตั้งแต่ตะวันตกจนถึงแสงอรุณขึ้น การถือศีลอดของเด็กๆ นั้น ก็จำเป็น (วายิบ) ให้เนียตเช่นเดียวกัน แต่การถือศีลอดของเด็กนั้น ตกเป็นสุนัต การถือศีลอดสุนัตนั้น จะเนียตในเวลากลางวันก็ได้ แต่ต้องให้อยู่ระหว่างเวลานับแต่แสงอรุณขึ้น จนตะวันคล้อย ทั้งนี้ โดยยังมิได้ปฏิบัติการ ที่ทำให้เสียศีลอด การเนียตนั้น ให้เนียตดังนี้ "ข้าพเจ้าถือศีลอดวันพรุ่งนี้ ฟัรดูเดือนรอมฎอนปีนี้ เพื่ออัลลอฮฺ"

(2) งดเว้นการกิน การดื่ม และ การทำให้เสียศีลอด

(3) งดเว้นการประเวณี

(4) งดเว้นการอาเจียน โดยเจตนา

ข. เหตุที่ทำให้เสียศีลอด มี 8 ประการ

(1) เจตนากินหรือดื่ม แม้แต่เล็กน้อย

(2) เจตนาร่วมประเวณี

(3) เจตนาอาเจียน

(4) เจตนาทำให้อสุจิเคลื่อนออก จะด้วยวิธีใดก็ตาม

(5) เสียสติ โดยเป็นบ้า เป็นลม หรือ สลบ

(6) เจตนาทำให้สิ่งใดล่วงล้ำภายในอวัยวะที่เป็นรู เช่น จมูก ปาก หู ทวารหนัก ทวารเบา

(7) มีประจำเดือน และ คลอดลูก

(8) ตกมุรตัด

การเสียศีลอดด้วยเหตุดังกล่าว ต้องเป็นในเวลากลางวัน นับตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนตะวันตก และ มิได้ถูกบังคับ

ค. สุนัต (สิ่งที่ควรปฏิบัติ) ในการถือศีลอด

(1) ให้กินข้าวซู่ฮูร (อาหารดึก) หลังเที่ยงคืนแล้ว

(2) ให้ล่าช้าในการกินข้างซู่ฮูร คือ ให้ค่อนไปทางยามสาม

(3) ให้รีบแก้ศีลอด (บวช) เมื่อแน่ใจว่าตะวันตก

(4) ให้แก้ศีลอดด้วยผลอินทผาลัม ถ้าไม่มีให้แก้ด้วยน้ำ

(5) เมื่อละศีลอดแล้ว ให้อ่านดุอา

(6) เว้นจากการพูดหยาบคาย ชั่วช้าลามก เช่น นินทา พูดเท็จ ยุแหย่ และ เปรียบเปรย

(7) ให้อาบน้ำยุนุบ เฮด นี่ฟาส ก่อนแสงอรุณขึ้น (ถ้ามี)

(8) ให้พยายามทำอิบาดะฮฺมากๆ เช่น ละหมาดสุนัตต่างๆ อ่านอัลกุรอาน และ ซิเกร

(9) ให้แจกจ่ายอาหารแก่ผู้ถือศีลอด

(10) ให้อ่านคำเนียต

(11) ให้ละหมาดต้ารอวีฮฺ เป็นประจำทุกคืน ตลอดเดือน

ง. สิ่งไม่ควรปฏิบัติ (มักรุฮฺ) ในการถือศีลอด

(1) ล่าช้าในการละศีลอดเมื่อได้เวลา

(2) ทะเลาะหรือวิวาทกัน

(3) เคี้ยวสิ่งต่างๆ

(4) ชิมรสอาหาร หรือ อื่นใด

(5) กรอกเลือด

(6) ดมดอกไม้หรืออื่นใดที่มีกลิ่นหอม

(7) สีฟันหลังตะวันคล้อย

(8) เอาน้ำบ้วนปาก หรือ ใส่จมูกจนเกินควร

จ. จำเป็นต้องอดในส่วนเวลาของวันที่เหลือ (อิมซาก)

บุคคลที่จำเป็นต้องอดในส่วนเวลาของวันที่เหลืออยู่ (วายิบอิมซาก) มี 5 ประเภท

(1) บุคคลที่ทำให้เสียศีลอด

(2) บุคคลที่ลืมเนียตในเวลากลางคืน

(3) บุคคลที่กินข้างซู่ฮูร คิดว่ายังเป็นเวลากลางคืนอยู่ ปรากฏภายหลังว่า แสงอรุณขึ้นแล้ว

(4) บุคคลที่ละศีลอด คิดว่าตะวันตกแล้ว ปรากฏภายหลังว่าตะวันยังไม่ตก

(5) บุคคลที่ไม่ได้ถือศีลอดในวันสงสัย คือวันที่ 30 เดือนซะบาน ปรากฏภายหลังว่า เป็นเดือนรอมฎอน

บุคคลดังกล่าวนี้ จำต้องอด งดการกิน การดื่ม และข้อห้ามต่างๆ ในส่วนของวันที่ยังเหลืออยู่ จนถึงเวลาละศีลอด เช่นเดียวกับผู้ที่ถือศีลอด กับต้องถือชดเชยในโอกาสต่อไปด้วย

ฉ. วันที่ห้าม (หาราม) ถือศีลอด มี 5 วัน

1. วันรอยอออกบวช (อีดิ๊ลฟิตริ)

2. วันรอยอฮัจญ์ (อีดิ๊ลอัฎหา)

3. วันที่ 11 เดือนฮัจญ์

4. วันที่ 12 เดือนฮัจญ์

5. วันที่ 13 เดือนฮัจญ์

ช. วันที่ควร (สุนัต) ถือศีลอด

1. วันอ้าร่อฟะฮฺ คือ วันที่ 9 เดือนฮัจญ์

2. วันอาซูรออฺ คือ วันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม

3. วันตาซูรออฺ คืน วันที่ 9 เดือนมุฮัรรอม

4. ทุกๆ วันจันทร์ และ วันพฤหัสบดี

5. วันอัยยามิ้นบิต คือ วันขึ้น 13, 14, 15 ค่ำของทุกเดือน

6. วันอัยยามิซซูด คือ วันแรม 13, 14, 15 ค่ำของทุกเดือน

7. วันเมียะราจ คือ วันที่ 27 ของเดือนร่อยับ

8. หกวันแห่งเดือนเซาวาล ดังพระวจนะของท่านศาสดามุหัมมัด (ช.ล.) ความว่า "ผู้ใดถือศีลอดเดือนรอมฎอน แล้วได้ถือศีลอดตามหลังอีก 6 เดือนในเดือนเซาวาล ก็เท่ากับเขาถือศีลอดตลอดปี" ได้กุศลผลบุญเท่ากับถือศีลอดฟัรดูทั้งปี


--------------------------------------------------------------------------------

ความหมายอัลหะดิษเกี่ยวกับการถือศีลอด
" การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนโดยศรัทธาและบริสุทธิ์ใจนั้น
เขาจะได้การอภัยโทษ ทั้งก่อนและหลังของเขา "
รายงานโดย อัลคอติบ จาก อิบบิอับบาส

" ใครถือศีลอดรอมฎอน และตามติดด้วยหกวันจากเดือนเซาวาล
เขาก็ (ได้รับผล) เปรียบดังได้ถือศีลอดตลอดปี "
รายงานโดย อะหมัด และท่านอื่นๆ จากอะบีอัยยูบ

" ใครถือศีลอดรอมฎอนและอีกหกวันจากเดือนเซาวาล และวันพุธและวันพฤหัสบดี
เขาย่อมได้เข้าสวรรค์ อย่างแน่นอน "
รายงานโดย อะหมัด จากชอหาบะฮฺคนหนึ่ง

" ผู้ใดอาเจียนออกมา (ไม่ได้แกล้ง) โดยในขณะนั้นเขากำลังถือศีลอดอยู่ แน่นอนเขาไม่ต้องถือศีลอดชดเชย
แต่ผู้ใดแกล้งอาเจียน เขาจะต้องถือชดเชย "
รายงานโดย อับหะกิม และท่านอื่นๆ จาก อะบีฮุรอยเราะฮฺ

" ใครถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และวันอะระฟะฮฺ อัลลอฮฺจะให้อภัยแก่เขาถึงสองปี
ปีหนึ่งที่ยังอยู่ข้างหน้าเขา (ที่ยังมาไม่ถึง) และอีกปีหนึ่งอยู่ข้างหลังเขา (ที่พ้นไปแล้ว) "
รายงานโดย อิบนุมายะฮฺ จาก กอตาดะฮฺ บินนุอฺมาน

" ใครถือศีลอดเพียงหนึ่งวันในเดือนมุหัรรอม
แน่นอนเขาจะได้รับผลตอบแทนในทุก ๆ วัน ๆ ละสามสิบความดี "
รายงานโดย อัตตอบะรอนีย์ จาก อิบนุอับบาส

" ใครถือศีลอดตลอดกาล (คือถือทุกวันไม่เว้น ตลอดทั้งปีชั่วชีวิต)
ที่จริงเขาไม่ได้ถือศีลอดและเขาไม่ได้ละศีลอด "
รายงานโดย อะหมัด จาก อับดิลลาฮฺ บินซิคคีร

" แท้จริงมวลความประพฤติจะถูกยก (สู่การตอบรับของอัลลอฮฺ) ในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี
ดังนั้น ฉันจึงชอบที่จะให้ความประพฤติของฉันถูกยก โดยที่ฉันกำลังถือศีลอด "
รายงานโดย อัซชีย์รอซีย์ และ อัลบัยฮะกีย์ จาก อะบีฮุรอยเราะห์ และ อุซามะฮฺ อิบนิซัยด์

"แท้จริงการรับประทานอาหารตอนดึก เป็นความศิริมงคล ซึ่งอัลลอฮฺทรงประทานแก่ท่านทั้งหลาย
ดังนั้น ท่านทั้งหลายอย่าทอดทิ้งมันเป็นอันขาด "
รายงานโดย อะหมัด, อันนะซาอีย์ จากชายคนหนึ่งที่เป็นชอหะบะฮฺ

"การถือศีลอดสามวันในแต่ละเดือนนั้น (เท่ากับ) เป็นการถือศีลอดตลอดปี
นั่นคือ (ถือศีลอด) ในวันขาวทั้งหมด คือเช้าของวันที่ 13 วันที่ 14 และวันที่ 15 "
รายงานโดย อัลบัยฮะกีย์ และท่านอื่นๆ จากยะรีร

" การถือศีลอดเป็นโล่ห์ ซึ่งบ่าวจะใช้มันเป็นเครื่องกำบังจากไฟนรก "
รายงานโดน อัตตอบะรอนีย์ จาก อุสมาน บินอะบิลอ๊าศ

"การถือศีลอดทำให้ลำไส้บาง (อาหารส่วนเกินที่สะสมในลำไส้จะไม่ตกค้างอยู่ในลำไส้)
ทำให้เนื้อ (ส่วนไขมัน) สูญสิ้น และทำให้ห่างจากความร้อนของนรก
แท้จริงอัลลอฮฺมีสำรับหนึ่ง (ซึ่งมีอาหารวางอยู่) บนนั้น เป็นสิ่งที่ดวงตาไม่เคยเห็นมาก่อน
และจิตใจไม่เคยคาดคิดมาก่อน ไม่มีผู้ใดทั้งสิ้นที่จะนั่งกับสำรับนั้น นอกจากมวลผู้ถือศีลอดเท่านั้น "
รายงานโดย อัตตอบะรอนีย์ และท่านอื่นๆ จาก อะนัส

" การถือศีลอด และ(การอ่าน) อัลกุรอาน เป็นสองอย่างที่ให้การสงเคราะห์แก่บ่าวในวันปรภพ
ศีลอดจะพูดว่า โอ้พระผู้เป็นเจ้า อันที่จริงข้าพเจ้าได้ยับยั้งเขา (มิให้เขารับประทาน) อาหาร (มิให้เขาบรรลุ)
ความกำหนัดในยามกลางวัน ดังนั้น ขอพระองค์ ได้โปรดดลข้าพเจ้าให้สงเคราะห์แก่เขาด้วยเถิด
และ อัลกุรอานจะพูดว่า โอ้พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าได้ยับยั้งเขาไว้ (มิให้เขา) นอนในยามกลางคืน
ดังนั้น ขอพระองค์ได้โปรดดลข้าพเจ้าให้สงเคราะห์แก่เขาด้วยเถิด "
รายงานโดย อัตตอบะรอนีย์, อัลหะกีม จาก อิบนิอัมริบนิลอ๊าศ

" ท่านจะต้องทำการถือศีลอด เพราะมันไม่มีสิ่งใดเทียบเท่าได้ (ในด้านกุศล) "
รายงานโดย อะหมัด และท่านอื่นๆ จาก อะบีอุมามะอฺ

"แท้จริงวันศุกร์ เป็นวันอีด และเป็นวันแห่งการรำลึก
ดังนั้น พวกท่านอย่าทำวันอีดของพวกท่าน ให้เป็นวันแห่งการถือศีลอด
และทว่าพวกท่านจงทำให้มันเป็นวันแห่งการรำลึก ยกเว้นในกรณีที่พวกท่านได้ผสมมันกับวันอื่น "
รายงานโดย อัลบุคอรีย์ จาก อิบนุอุมัร บินคอตตอบ

"เริ่มต้นแห่งเดือนรอมฎอน คือความเมตตา กลางเดือนรอมฎอน คือการให้อภัย
และปลายเดือนรอมฎอน เป็นการปลดปล่อยจากนรก "
รายงานโดย อิบนิอะซากิร จาก อะบีฮุรอยเราะหฺ

" ท่านศาสดาห้ามมิให้ถือศีลอดในวันอะระฟะฮฺ ณ ทุ่งอะระฟะฮฺ "
รายงานโดย อะหมัด และท่านอื่นๆ จากอะบีฮุรอยเราะหฺ

"ท่านศาสดาห้ามมิให้ถือศีลอดในวันอีดิลฟิตริและวันอีดิลนะฮฺริ"
รายงานโดย อัลบุคอรีย์ มุสลิม จาก อุมัร

"ท่านศาสดาห้ามมิให้ถือศีลอดหนึ่งวันก่อนเข้าเดือนรอมฎอน ในวันอีดิลอัดฮา
ในวันอีดิลฟิตริ และวันตัซรีกทั้งหมด (สามวันหลังจากวันอีดิลอัดฮา)"
รายงานโดย อัลบัยฮะกีย์ จาก อะบีฮุรอยเราะหฺ

"อัลลอฮฺทรงบันดาลดวงเดือนเป็นกำหนดเวลาแก่มวลมนุษย์
ดังนั้น พวกท่านจงถือศีลอดเพราะเห็นมัน และจงงดศีลอดเพราะเห็นมัน
แต่ถ้ามีความมือครึ้มเหนือพวกท่าน พวกท่านก็จงนับ (เดือนซะบาน) ให้ครบสามสิบวัน"
รายงานโดย อัลหะกิม จาก อิบนิอุมัร

" ท่านศาสดาจะหมั่นเพียรในสิบวันสุดท้าย (ของรอมฎอน) ต่อสิ่งที่ท่านไม่เคยหมั่นเพียรในเดือนอื่นๆ "
รายงานโดย อะหมัด และท่านอื่นๆ จากอาอิฉ๊ะ

" ท่านศาสดาชอบละศีลอดกับอินทผลัมสามเม็ด หรือ สิ่งอื่นใดที่ไม่ถูกไฟมาก่อน "
รายงานโดย อะบูยะลา จาก อะนัส

" ท่านศาสดาถือศีลอดในวันที่สิบ (ของมุฮัรรอม) และท่านใช้ให้ถือศีลอดในวันนั้น "
รายงานโดย อะหมัด จาก อะลีย์

" ท่านศาสดาถือศีลอดในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี "
รายงานโดย อิบนุมายะฮฺ จาก อะบีฮุรอยเราะหฺ

"ท่านศาสดาไม่รับรองการปฏิญาณในการเลิกศีลอด นอกจาก(ต้องเป็น) ชายสองคน
(ยืนยันและปฏิญาณว่าเห็นเดือนจริง)
รายงานโดย อัลบัยฮะกีย์ จาก อิบนิอับบาส และ อิบนิอุมัร

" ท่านศาสดายังไม่ทำการละหมาดมักริบ จนกว่าท่านจะละศีลอด ถึงแม้จะเพียงดื่มน้ำครั้งเดียวก็ตาม "
รายงานโดย อัลหะกิม และท่านอื่นๆ จาก อะนัส

" บุคคลใดประสงค์จะถือศีลอด (ในวันรุ่งขึ้น)
เขาจะต้องรับประทานอาหารตอนดึก กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ได้ "
รายงานโดย อะหมัด จาก ยาบิร

"บุคคลใดทำการอิอฺติกาฟ โดยมีศรัทธาและบริสุทธิ์ใจ
เขาจะได้รับการอภัยโทษที่ล่วงพ้นมาแล้วของเขา "
รายงานโดย อะบูยะลา

"บุคคลใดเลี้ยงอาหารละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอด เขาได้รับกุศลเท่าเทียมกับผู้ถือศีลอดนั้น
โดยที่เขามิบกพร่องกว่ากุศลที่ผู้ถือศีลอดนั้นได้รับ แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม"
รายงานโดย อะหมัด และท่านอื่นๆ จาก ซัยดิ บินคอลิด อัลยุฮะนีย์

" เมื่อคนใดของพวกท่านละศีลอด เขาจงละด้วยอินทผลัม เพราะมันมีความศิริมงคล
แต่ถ้าเขาไม่มีอินทผลัม ก็ให้เขาละศีลอดด้วยน้ำ เพราะมันเป็นสิ่งสะอาด "
รายงานโดย อะหมัด และท่านอื่นๆ จาก สุไลมาน บินอามิร อัฎฎิบบีย์

" เมื่อย่างเข้าสู่เดือนรอมฎอน ประตูสวรรค์จะถูกเปิด ประตู้นกก็จะถูกปิด และมารร้ายจะถูกล่ามโซ่ "
รายงานโดย อะหมัด จาก อะบีฮุรอยเราะหฺ

" เมื่อถึงวันที่คนใดในพวกท่านถือศีลอด เขาก็จงอย่าได้หยาบคาย และเขาอย่าก้าวร้าว
ดังนั้น หากมีบุคคลใดบริพาทเขาหรือชวนเขารบ "เขาจะต้องกล่าวว่า "ฉันกำลังถือศีลอด" "
รายงานโดย มาลิก และท่านอื่นๆ จากอะบีฮุรอยเราะหฺ

"ในการถือศีลอด ไม่มีการโอ้อวด"
รายงานโดย ฮันนาด, อัลบัยฮะกีย์ จาก อิบนิซิฮาบอัซซุฮฺรีย์

" การเงียบเฉยของผู้ถือศีลอดนํ้น (ได้ผลเทียบเท่า) การกล่าวตัสบีฮฺ การนอนของเขา (ได้ผลเทียบเท่า)
การทำนมัสการ การวอนขอของเขา ได้รับการตอบสนอง และความประพฤติของเขาได้รับการทวีคูณ "
รายงานโดย อะบียะลา จาก อิบนิอุมัร บินคอตตอบ

" เดือนรอมฎอนถูกแขวนไว้ระหว่างฟ้าและดิน มันจะไม่ถูกยกไปยังอัลลอฮฺ นอกจากโดยซะกาตฟิตริ "
รายงานโดย อิบนุชาฮีน จาก ยะบีร บินอับดิลลาฮฺ วัฎฎิย๊าอฺ

" ผู้ถือศีลอดในระหว่างเดินทาง ก็เหมือนกับผู้ที่ไม่ถือศีลอดในวันปกติ (ไม่ออกเดินทาง) "
รายงานโดย อิบนุมายะฮฺ จาก อับดิรเราะห์มาน บินเอาฟ์

" การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน (ได้ผลเท่า) กับสิบเดือน
และการถือศีลอดหกวันหลังจากนั้น (ได้ผลเท่า) กับสองเดือน
ดังนั้น จึงเป็นศีลอดตลอดปี "
รายงานโดย อะหมัด จาก กุรเราะหฺ บินอิยาซ



การถือศีลอดตามบัญญัติของอิสลาม

1. บัญญัติเกี่ยวกับการถือศีลอด

1.1 ความหมายของการถือศีลอด

อัลฮะฟิซ อิบนฺ หะญัร ให้ความหมายไว้ในหนังสืออัลฟัตฮฺของเขาว่า "อัลเศามฺหรืออัลศิยาม" ทางด้านภาษาคือ การละเว้นหรือการระงับ เช่นคำตรัสของอัลลอฮฺ ที่ว่า

ความว่า "แท้จริงฉันได้บนบานที่จะระงับการพูดไว้ต่อพระผู้ทรงกรุณาปรานี"

ส่วนความหมายทางด้านบัญญัติศาสนา คือการระงับจากการกิน การดื่ม การร่วมรสระหว่างสามีภริยา และการพูดจาไร้สาระตลอดจนการกระทำที่ขัดกับคุณธรรม

1.2 ชนิดของการถือศีลอด

การถือศีลอดแบ่งออกเป็นสองชนิดด้วยกัน คือ การถือศีลอดฟัรฎู และการถือศีลอดซุนนะฮฺ

การถือศีลอดฟัรฎู แบ่งออกเป็นสามประเภท คือ
1. การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
2. การถือศีลอดเพื่อไถ่บาปหรือไถ่โทษ
3. การถือศีลอดเพื่อบนบาน

1.3 บัญญัติการถือศีลอดเดือนรอมฎอน

การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเป็นสิ่งจำเป็นวายิบ ซึ่งมีหลักฐานยืนยันจากกิตาบุลลอฮฺ และซุนนะฮฺ และบรรดานักวิชาการทางศาสนา (อุละมาอฺ)

1.3.1 หลักฐานที่มาจากอัลกุรอานคือ คำตรัสของอัลลอฮฺ ในซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 183 และ 185 ที่ว่า



ความว่า "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย! การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้า ดังเช่นได้ถูกบัญญัติแก่ประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง" (2/183)



ความว่า "เดือนรอมฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมา เพื่อเป็นแนวทางที่ถูกต้องสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดแจ้งจากแนวทางที่ถูกต้องและเป็นการจำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าปรากฏอยู่ในเดือนนั้น ก็จงถือศีลอดของเดือนนั้น" (2/185)

1.3.2 ส่วนหลักฐานที่มาจากซุนนะฮฺ ก็คือ มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนฺอุมัร ๐ แจ้งว่า แท้จริงท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

ความว่า "อัลอิสลามตั้งอยู่บนหลักการณ์ 5 ประการคือ การปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงมุฮัมมัดเป็นร่อซูลของอัลลอฮฺ การธำรงไว้ซึ่งการละหมาด การบริจาคทานซะกาต การประกอบพิธีฮัจย์ ณ บ้านของอัลลอฮฺ และการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน" บันทึกโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม

และมีรายงานจากอะบูฮุรอยเราะฮฺ ๐ แจ้งว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

ความว่า "เดือนรอมฎอนได้มาหาพวกท่าน เป็นเดือนอันประเสริฐ การถือศีลอดของมันได้ถูกบัญญัติแก่พวกท่าน" อัลฮะดีสบันทึกโดย อะหมัด ด้วยสายสืบที่ศ่อเฮียะฮฺ

1.3.3 และบรรดาอุละมาอฺมีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า การถือศีลอดเดือนรอมฎอนเป็นสิ่งจำเป็น และว่าเป็นรุกุ่นหนึ่งของอิสลาม ผู้ใดปฏิเสธ คือไม่ยอมรับว่าเป็นวายิบ เขาผู้นั้นเป็นกาฟิร คือผู้ปฏิเสธศรัทธาและออกนอกอิสลาม



2. การถือศีลอดเดือนรอมฎอนเป็นสิ่งจำเป็น

2.1 ผู้ใดสมัครใจทำความดีก็เป็นการดีแก่เขา

ดังได้กล่าวมาแล้วถึงคุณประโยชน์ต่างๆ ของการถือศีลอด ดังนั้นอัลลอฮฺ ๐ จึงได้บัญญัติให้มีการถือศีลอดเดือนรอมฎอนแก่บรรดามุสลิม และเมื่อการหักห้ามจิตใจให้ห่างไกลจากความเคยชินต่างๆ เป็นการกระทำที่ยากลำบาก ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้การบัญญัติการถือศีลอดล่าช้าไปเป็นปีฮิจเราะฮฺที่สอง และเมื่อจิตใจได้แปรเปลี่ยนไปสู่การให้ความเป็นเอกภาพ (แด่อัลลอฮฺ) และให้ความยิ่งใหญ่แก่พิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนาได้แล้ว การปรับเปลี่ยนก็ได้มีขึ้นเป็นลำดับ โดยเริ่มขึ้นด้วยการสมัครใจพร้อมกับเรียกร้องให้มีการเชิญชวนในการถือศีลอด เพราะปรากฏว่าเป็นการยากลำบากแก่บรรดาศ่อฮาบะฮฺ ๐ คือผู้ใดประสงค์จะไม่ถือศีลอดพร้อมกับมีการไถ่บาปก็กระทำได้ ดังเช่นคำตรัสของอัลลอฮฺ ๐ ในอายะฮฺที่ว่า



ความว่า "และสำหรับบรรดาผู้ที่ถือศีลอดโดยลำบากยิ่ง ก็ให้ชดใช้ (การถือศีลอด) ด้วยการให้อาหารแก่คนยากจนขัดสนหนึ่งคน แต่ผู้ใดสมัครใจทำความดีก็เป็นการดีสำหรับเขา และการที่พวกเจ้าถือศีลอดนั้นเป็นการดียิ่งแก่พวกเจ้าหากพวกเจ้ารู้" (2/184)

2.2 ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าปรากฏอยู่ในเดือนนั้นก็จงถือศีลอด

ต่อมาอายะฮฺหลังจากนั้นได้ถูกประทานลงมา จึงได้ยกเลิกอายะฮฺก่อน ผู้ที่ได้กล่าวเช่นนั้นคือสาวกผู้มีฐานะสูง 2 ท่าน คือ อับดุลลอฮฺ อิบนฺอุมัร และสะละมะฮฺ อิบนฺอัลอักวะอฺ ๐ ได้กล่าวว่า อายะฮฺก่อนได้ถูกยกเลิกไปโดยอายะฮฺหลัง คือ



ความว่า "เดือนรอมฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาเพื่อเป็นแนวทางที่ถูกต้องสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดแจ้งจากแนวทางที่ถูกต้อง และเป็นการจำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าปรากฏอยู่ในเดือนนั้นก็จงถือศีลอดใช้ในวันอื่น อัลลอฮฺทรงประสงค์ความสะดวกแก่พวกเจ้า และพระองค์ไม่ประสงค์ความยากลำบากแก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะได้ให้ครบถ้วนจำนวน (แห่งการถือศีลอด) และเพื่อพวกเจ้าจะได้แซ่ซร้องความเกรียงไกรแด่อัลลอฮฺ ในการที่พระองค์ทรงชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องแก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะได้ขอบคุณ" (2/185)

มีรายงานจากอิบนฺอะบีลัยลา กล่าวว่า "บรรดาสาวกของมุฮัมมัด ๐ ได้เล่าให้เราฟังว่า รอมฎอนถูกกำหนดขึ้นดังนั้นจึงทำความลำบากให้แก่พวกเขา ต่อมามีบางคนได้ให้อาหารแก่คนยากจนขัดสนคนหนึ่งทุกๆ วันโดยไม่ถือศีลอดในหมู่ผู้ที่ประสบความยากลำบาก ในการนี้เป็นการผ่อนผันแก่พวกเขา ต่อมาได้มีการยกเลิกด้วยอายะฮฺนี้ และการที่พวกเจ้าถือศีลอดนั้นเป็นการดียิ่งแก่พวกเจ้า คือได้ถูกใช้ให้ถือศีลอด"

หลังจากนั้นการถือศีลอดเดือนรอมฎอนได้กลายมาเป็นเสาหลักของอิสลามและเป็นรุกุนหนึ่งของศาสนา ดังคำกล่าวของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า "อิสลามตั้งอยู่บนหลักการณ์ 5 ประการคือ การปฏิญาณตนว่า แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงมุฮัมมัดเป็นร่อซูลของอัลลอฮฺ การธำรงไว้ซึ่งการละหมาด การจ่ายซะกาต (ทานบังคับ) การถือศีลอดเดือนรอมฎอน และการประกอบพิธีฮัจย์"




Create Date : 01 ตุลาคม 2550
Last Update : 1 ตุลาคม 2550 16:00:38 น.
Counter : 1577 Pageviews.

7 comments
  
อัสลามมุอาลัยกุม เทอเก่งจังได้เป็นมุสลิมปะ อยู่จังหวัดไรหรอ ทำเวบเก่งจัง เรียนจบไรมาหรอ
โดย: อิบรอฮีม IP: 124.120.232.232 วันที่: 14 ตุลาคม 2550 เวลา:17:12:22 น.
  
ดีมาก
โดย: ปอร์ IP: 118.175.87.10 วันที่: 29 มกราคม 2551 เวลา:9:32:32 น.
  
ดีจัง
โดย: บา IP: 125.27.166.161 วันที่: 27 พฤษภาคม 2551 เวลา:12:11:37 น.
  
เก่งจัง....อยู่น่ารักป่าวเนาะ....โพสรูปดูบ้างเดะ....วัสลาม?
(สมัครสมาชิกไงหนอ?)
โดย: hod IP: 118.173.175.134 วันที่: 7 สิงหาคม 2551 เวลา:23:33:44 น.
  
เราควรเทิดทูนสถาบันมหากษัตริย์ไว้เหนือหัว
เรารักในหลวง
โดย: คนหวังดี IP: 222.123.230.178 วันที่: 1 ธันวาคม 2551 เวลา:17:52:45 น.
  
อยาให้บอกเวลาละศีลอด
โดย: นิมุสตอฟา IP: 125.25.100.106 วันที่: 26 สิงหาคม 2552 เวลา:15:01:20 น.
  
ขอบคุณความรู้ที่มีให้นะ มีประโยชน์มากเลยขอบคุณ
โดย: issarin raiyai IP: 118.173.229.5 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2554 เวลา:22:10:22 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sopheamai
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2550

 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
1 ตุลาคม 2550