One Look At You And I Fall Apart One Touch I Feel You Deep In My Heart One Word From You Just To Makt It Start
Group Blog
 
<<
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
16 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
ฟิตเนส!สัญญาทาส เซ็นได้..ก็ฉีกได้

จากไทยรัฐ หน้า 6 วันนี้

ฟิตเนส!สัญญาทาส เซ็นได้..ก็ฉีกได้ [26 มี.ค. 51 - 17:44]

สัญญาทาสฟิตเนส ไม่ว้าว! เป็นมหากาพย์เรื่องยาว มีปัญหายืดเยื้อมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว

“ลดราคาจากเดือนละ 10,000 บาท เหลือ 2,800 บาท สมาชิกจะขอยกเลิกเมื่อใดก็ได้” ข้อเชิญชวนพิเศษ จากพนักงานขาย ฟิตเนส บริษัทใหญ่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร... ที่ใครหลายคนได้ยินผ่านหู

ผู้บริโภคหลงเชื่อ หลวมตัวทำสัญญาโดยไม่ได้ดูรายละเอียดให้รอบคอบ สัญญาฉบับนี้จะเป็นสัญญาทาส มีข้อผูกมัดมากมาย

โดยเฉพาะต้องจ่ายเงินให้ครบ 1 ปี จึงจะสามารถยกเลิกสัญญาได้ และถ้าจะเลิกสัญญา ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน

ใครจะคาดคิด เซ็นชื่อแป๊บเดียว จ่ายเดือนเดียวจะยกเลิก ก็ทำไม่ ได้ ถึงจะไม่ได้ใช้บริการก็ต้องจ่ายเงินต่อเนื่องไปจนครบสัญญา 12 เดือน

สัญญาปากเปล่าของพนักงานขายยอดนิยมอีกอย่าง คือ “สมัครแล้วไม่ได้มาเล่น โอนสิทธิให้คนอื่นได้”

ข้อนี้สำคัญ เป็นเหตุผลให้หลายคนยอมสมัคร เพราะคิดว่าโอนสิทธิให้ใครก็ได้ แต่เปล่าเลย เอาเข้าจริงๆ จะโอนให้ญาติ ก็มีปัญหาสารพัด

ประสบการณ์จาก คุณอยู่ดีดี จะรับโอนสิทธิฟิตเนสจากญาติ ตีพิมพ์ในนิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 80 คอลัมน์เสียงผู้บริโภค ตอน “มหากาพย์ปัญหา ฟิตเนส ไม่ว้าว!”

เซลส์บอกว่า เมื่อต้องการโอนสิทธิ ผู้ที่จะรับโอนต้องไปติดต่อด้วยตัวเอง อ้างว่าเลขสมาชิกคนแรกโอนไม่ได้ หรือถ้าโอนได้ก็เฉพาะนามสกุลเดียวกันเท่านั้น

ไปถึงเซลส์พยายามยื่นข้อเสนอให้สมัครสมาชิกใหม่ บอกว่า แบบที่สมาชิกคนเก่าสมัครไว้ ไม่รวมโยคะ โยคะร้อน ถ้าโอนจะต้องจ่ายเงินเพิ่ม ซึ่งแพงกว่าสมัครใหม่

กรณีนี้คุณอยู่ดีดีปฏิเสธข้อเสนอ ต่อมาไม่นานนักก็มีเซลส์อีกคนโทร.มาติดต่อ อ้างว่าลูกค้ารายอื่นอยากโอนสมาชิกรายปี เพื่อไปสมัครแบบตลอดชีพ ถ้าจะรับโอนต้องจ่ายค่าโอน 2,000 บาท บวกกับค่าสมาชิกล่วงหน้า 3 เดือน รวมสุทธิเป็นเงิน 4,937 บาท

คราวนี้...คุณอยู่ดีดีตอบตกลง พร้อมกับไปทำสัญญาใหม่ มีเอกสารเรียบร้อย เซลส์บอกว่าอีก 2 เดือน จะได้รับบัตรสมาชิก ถ้าจะมาใช้บริการ ให้ใช้สัญญาฉบับนี้ไปก่อน

ผ่านไปสองสัปดาห์ เซลส์คนเดิมติดต่อมาอีก บอกว่า มีสิทธิพิเศษวันสุดท้าย สมัครสมาชิกแบบตลอดชีพ ค่าสมัครแพงกว่ารายปี 2 เท่า แต่ต้องหาคนมาสมัครรายปีแทน

คุณอยู่ดีดีเห็นว่าคุ้ม จึงโทร.บอกญาติอีกคนว่าสนใจไหม ปรากฏญาติตกลง เซลส์ก็รับปากว่าจะสลับชื่อให้ โดยที่ให้ญาติคนนี้สมัครแบบตลอดชีพไปก่อน

ขั้นตอนกระบวนการดูเหมือนราบรื่น ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร บังเอิญญาติคุณอยู่ดีดี คนที่สมัครแบบตลอดชีพไม่ว่าง ไม่ได้มารับบริการที่ฟิตเนสเลย ผ่านไปสองเดือน คุณอยู่ดีดีเห็นว่าตัวเองมีสิทธิ และญาติก็ทำสัญญาตลอดชีพ จึงโทร.ไปจองเล่นโยคะ

ปรากฏว่า เซลส์คนเดิมที่ติดต่อไว้ลาออกไปแล้ว เจอเซลส์คนใหม่ ค้นข้อมูลในระบบ ไม่พบว่าคุณอยู่ดีดีโอนสิทธิมาตั้งแต่แรก

“เขาพูดทำนองว่า...สัญญาที่ทำกับเซลส์คนนั้นไม่มีผลอะไร เซลส์อาจไม่นำเงินเข้าบริษัท พร้อมเสนอขายแพ็กเกจสมาชิกใหม่ไปในที”

เซลส์คนใหม่อ้างว่า บริษัทจะรับผิดชอบ ให้ส่วนลดเท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายไป แต่คุณอยู่ดีดีปฏิเสธ ตอบว่า ญาติไม่ได้มาเล่นแล้ว จะสมัครใหม่ไปทำไม ยังไงก็โอนสิทธิตลอดชีพให้ได้อยู่ดี

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนะนำว่า กรณีคุณอยู่ดีดี เล่ห์การขายของเซลส์ทำให้เกิดปัญห าสับสนวุ่นวาย แถมยังหลอกให้ลูกค้าไปดึงญาติมาถูกต้มเป็นทอดๆ แบบว่าสมัครแล้ว ไม่อยากใช้จะขอคืนเงินไม่ได้

“เชื้อเชิญให้สมัครไว้ก่อน รับปากทุกอย่าง เอาเข้าจริงก็โอนไม่ได้ ข้อมูลหาย เซลส์ลาออก ให้สมาชิกสมัครใหม่ เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับตัวเอง”

ปัญหาที่เกิดขึ้น ต้องรีบถอนตัว บอกเลิกสัญญาให้เร็วที่สุด ถึงจะจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ก็มีทางออก

ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยสัญญา ปี 2542 ประกาศให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา

การใช้บัตรเครดิตไปซื้อสินค้าหรือบริการอะไรก็แล้วแต่ รวมทั้งบริการฟิตเนส ถ้าผู้บริโภคไม่ต้องการซื้อสินค้า หรือบริการใดๆ สามารถที่จะขอยกเลิกการซื้อสินค้า หรือรับบริการภายในระยะเวลา 45 วัน นับตั้งแต่วันที่สั่งซื้อสินค้าหรือขอรับบริการ

หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันถึงกำหนดการส่งมอบสินค้าหรือบริการ

กรณีที่มีการกำหนดระยะเวลาส่งมอบสินค้าหรือบริการเป็นลายลักษณ์ อักษร ถ้าผู้บริโภคพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้รับสินค้า หรือไม่ได้รับบริการ หรือได้รับแต่ไม่ตรงตา มกำหนดเวลา หรือได้รับแล้วแต่ไม่ครบถ้วน หรือชำรุดบกพร่อง หรือไม่ถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์

เมื่อเหตุเป็นเช่นที่กล่าวมา บริษัทบัตรเครดิตจะต้องระงับการเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภค หรือในกรณีที่เรียกเก็บเงินไปแล้ว ถ้าเป็นการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ จะต้องคืนเงินให้กับผู้บริโภคภายในระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ผู้บริโภคแจ้ง

สรุปว่า ถ้าสมาชิกไม่พอใจบริการฟิตเนสด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ให้ปฏิบัติดังนี้

ข้อแรก ทำหนังสือบอกเลิกสัญญาการขอใช้บริการภายใน 45 วัน นับแต่วันทำสัญญา แล้วนำหนังสือส่งไปที่บริษัทบัตรเครดิต เพื่อระงับการเรียกเก็บเงินโดยทันที

ข้อสอง การขอเรียกเงินคืนที่ได้จ่ายไปแล้ว จะต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า ไม่ได้รับบริการ ตามกำหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงกัน หรือได้รับบริการแต่ไม่ครบถ้วน ไม่เป็นไปตามสัญญา หรือไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์

การแก้ปัญหาสัญญาทาสทั้งหมดนี้ ให้ผู้บริโภคแจ้งต่อบริษัทบัตรเครดิตเพื่อขอรับเงินคืน และบริษัทจะต้องคืนเงินภายใน 60 วัน

ข้อสาม หากบัตรเครดิตไม่ยินยอม ให้แจ้งเรื่องไปที่ สคบ. หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฐานบริษัทบัตรเครดิตผิดสัญญา

ข้อที่สี่ กรณีจ่ายเงินโดยใช้เงินสด ผู้บริโภคก็บอกเลิกสัญญาเองได้ ด้วยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง...ถ้าพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้รับบริการ หรือได้รับแต่ไม่ตรงตาม กำหนดเวลา ได้รับแล้วแต่ไม่ครบถ้วน...มีอุปกรณ์ชำรุดบกพร่อง ไม่พอเพียง หรือไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์

อย่างนี้...ผู้บริโภคต้องทำหนังสือบอกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการด้วยตนเองส่งไป ส่วนค่าใช้จ่ายที่เรียกร้องมา ขอแนะนำว่าให้ไปต่อสู้ในชั้นศาล

บางกรณีสมาชิกทนไม่ไหว อยากยกเลิกสัญญาทาส ไม่ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ คุณ Mandy_may ร้องเรียนว่า สมัครสมาชิกกับฟิตเนสแห่งหนึ่ง ไม่ค่อยได้ใช้บริการจึงอยากเลิกสัญญา แต่ฟิตเนสระบุว่า ไม่ได้ เพราะยังไม่ครบตามที่ทำสัญญาไว้

หลายงวดผ่านไป ไม่ได้ชำระเงิน ฟิตเนสก็ติดต่อให้ไปชำระ บังเอิญเป็นช่วงเวลาที่คุณ Mandy_may ขาดสภาพคล่อง ก็ไม่ได้ติดต่อกลับ ไม่นานก็ได้ รับจดหมายจากสำนักกฎหมาย ให้ชำระหนี้ที่เหลือประมาณหมื่นกว่าบาท

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแนะว่า กรณีอย่างนี้ไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น พิจารณาตามรูปการณ์ น่าจะเป็นการทวงหนี้แบบลักไก่ เผื่อฟลุก

“คนส่วนใหญ่เมื่อได้รับจดหมายทวงหนี้ มักจะไปจ่ายเงินกันทั้งนั้น อย่างนี้ก็หวานหมูเข้าทางเขาแน่นอน”

ย้ำว่า...ถ้ามีความจำเป็นต้องขึ้นโรงขึ้นศาล ไม่ว่าผู้บริโภคจะเป็นฝ่ายโจทก์หรือจำเลย มูลนิธิฯมีเครือข่ายทนายอาสา ยินดีให้ความช่วยเหลือด้านทนายความโดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนของทนายความ

สิทธิผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญในสังคม ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบขนาดนี้ หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคต้องลงดาบให้หนัก

ไม่ใช่แค่ชดใช้ค่าเสียหาย...คืนเงินแล้วก็จบกันไป ต้องฟันไปถึง กรรมการฯ ฐานประกอบธุรกิจอันขัดต่อความผาสุกแห่งสาธารณชน... จำคุก หรือปิดบริษัท.



Create Date : 16 เมษายน 2551
Last Update : 16 เมษายน 2551 16:12:46 น. 2 comments
Counter : 797 Pageviews.

 
สรุปว่า ถ้าสมาชิกไม่พอใจบริการฟิตเนสด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ให้ปฏิบัติดังนี้

ข้อแรก ทำหนังสือบอกเลิกสัญญาการขอใช้บริการภายใน 45 วัน นับแต่วันทำสัญญา แล้วนำหนังสือส่งไปที่บริษัทบัตรเครดิต เพื่อระงับการเรียกเก็บเงินโดยทันที

ข้อสอง การขอเรียกเงินคืนที่ได้จ่ายไปแล้ว จะต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า ไม่ได้รับบริการ ตามกำหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงกัน หรือได้รับบริการแต่ไม่ครบถ้วน ไม่เป็นไปตามสัญญา หรือไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์

การแก้ปัญหาสัญญาทาสทั้งหมดนี้ ให้ผู้บริโภคแจ้งต่อบริษัทบัตรเครดิตเพื่อขอรับเงินคืน และบริษัทจะต้องคืนเงินภายใน 60 วัน

ข้อสาม หากบัตรเครดิตไม่ยินยอม ให้แจ้งเรื่องไปที่ สคบ. หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฐานบริษัทบัตรเครดิตผิดสัญญา

ข้อที่สี่ กรณีจ่ายเงินโดยใช้เงินสด ผู้บริโภคก็บอกเลิกสัญญาเองได้ ด้วยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง...ถ้าพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้รับบริการ หรือได้รับแต่ไม่ตรงตาม กำหนดเวลา ได้รับแล้วแต่ไม่ครบถ้วน...มีอุปกรณ์ชำรุดบกพร่อง ไม่พอเพียง หรือไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์

อย่างนี้...ผู้บริโภคต้องทำหนังสือบอกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการด้วยตนเองส่งไป ส่วนค่าใช้จ่ายที่เรียกร้องมา ขอแนะนำว่าให้ไปต่อสู้ในชั้นศาล


โดย: สงครามกวี วันที่: 16 เมษายน 2551 เวลา:16:13:52 น.  

 
//www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E6458866/E6458866.html

ขอบคุณ คุณ XOOMER จากกระทู้ดังกล่าว

อืมห์ น่ะ ชีวิตมีทางเลือก จริงๆ


โดย: สงครามกวี วันที่: 16 เมษายน 2551 เวลา:16:14:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สงครามกวี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สงครามกวี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.