Group Blog
 
<<
มีนาคม 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
26 มีนาคม 2558
 
All Blogs
 
เจาะลึก กลูเตน-ปลอดกลูเตน แบบไหนดีต่อสุขภาพเราจริง ๆ

ประโยชน์ของกลูเตน คือ เป็นตัวช่วยให้ขนมปังฟูขึ้น และเนื้อนุ่ม นอกจากนี้ กลูเตนในข้าวสาลียังอุดมไปด้วยโปรตีนถึง 23 กรัมต่อข้าวสาลีประมาณ ¼ ถ้วย ซึ่งมากกว่าเนื้อวัว เนื้อปลา และเนื้อไก่ประมาณ 85 กรัมอีกด้วย 

          กลูเตนจะส่งผลเสียกับ "ผู้ที่แพ้กลูเตน" โดยมีอาการคล้ายกับคนที่แพ้นมวัว แม้กินเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ ท้องอืด ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการชาตามแขนและขา 

          สำหรับความเชื่อในการเลือกรับประทาน "อาหารปลอดกลูเตน" (Gluten-free) จะส่งผลดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่ 

          นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ อธิบายว่า การเลือกกินอาหารที่ไม่มีกลูเตน ไม่ได้ทำให้ผอมหรือสุขภาพดี สำหรับคนไทยอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักกลูเตนกันมากนัก แต่ในต่างประเทศมีประชากรที่แพ้กลูเตนมากมาย ผลิตภัณฑ์ปลอดกลูเตน จึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมทัั้งผลิตภัณฑ์ฟาสต์ฟู้ด และเบเกอรี่ ก็ออกผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีกลูเตนมาเพื่อเอาใจผู้บริโภค ซึ่งแท้จริงการรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด หรือเบเกอรี ก็มีความเสี่ยงต่อสุขภาพในเรื่องของไขมัน โซเดียม ความหวานที่มีปริมาณสูงอยู่แล้ว 

          "กลูเตนเป็นเพียงโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่ไม่เป็นอันตรายสำหรับคนทั่วไป เพียงแต่ต้องรับประทานอย่างพอเหมาะ นอกจากผู้ที่มีอาการแพ้กลูเตน หรือโรคความผิดปกติในช่องท้องจากการที่กลูเตนไปขัดขวางการดูดซึ­มอาหาร ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ก็มีโอกาสเกิดโรคดังกล่าวน้อย" 

เจาะลึก กลูเตน-ปลอดกลูเตน แบบไหนดีต่อสุขภาพเราจริง ๆ

          ทั้งนี้ การอ่านฉลากก่อนซื้อ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ได้รับสารอาหารตรงตามความต้องการ เนื่องจากฉลากอาหารเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานที่จะบอกว่าอาหารนั้น­ผลิตที่ใด มีส่วนประกอบอะไร มีการปรุง การเก็บรักษาอย่างไร ผลิตหรือหมดอายุเมื่อใด มีการใช้สารหรือวัตถุเจือปนชนิดใด รวมถึงมีคำเตือนที่ควรระวัง และได้รับอนุญาตหรือผ่านการตรวจสอบจาก อย.หรือไม่ โดยดูจากเครื่องหมาย อย. ซึ่งมีเลขสารระบบอาหาร 13 หลัก อยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย.จะช่วยให้เราดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม 

          นอกจากนี้ สุพิศ ยังแนะนำวิธีการตรวจสอบฉลากโภชนาการก่อนการเลือกซื้อ ดังนี้ 

 1. ตรวจดูว่าปริมาณพลังงานต่อ 1 หน่วยบริโภคเท่าไร 

 2. ตรวจดูว่าปริมาณไขมันและไขมันอิ่มตัวมีเท่าไร ในแต่ละวันเราควรได้รับไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 20 กรัมต่อวัน เนื่องจากไขมันอิ่มตัวเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คอเลสเตอรอลในร่า­งกายสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ 

 3. ตรวจดูว่ามีปริมาณน้ำตาลเท่าไร ในแต่ละวันเราควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 24 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนชา น้ำตาลที่ได้รับเกินกว่าที่ต้องการจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมทำ­ให้เป็นโรคอ้วน และส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด 

 4. ตรวจดูว่ามีปริมาณเกลือ (โซเดียม) ในแต่ละวันเราควรได้รับโซเดียมไม่เกิน 2300 มิลลิกรัม การได้รับโซเดียมมากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไต และโรคความดันโลหิตสูง 

          "อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป เป็นอาหารที่ปลอดกลูเตนโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เช่น ผลไม้และผักสด ปลา ไก่ เนื้อไร้มัน ถั่วชนิดต่าง ๆ ถั่วลันเตา ข้าวกล้อง ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่าง ๆ น้ำมันมะกอก เช่นนี้แล้ว การเลือกรับประทานอาหารให้พอดี ถูกหลักอนามัย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้สุขภาพร่างกายก็จะแข็งแรงสมวัยได้" คุณสุพิศ กล่าวทิ้งท้าย 




Create Date : 26 มีนาคม 2558
Last Update : 26 มีนาคม 2558 19:43:40 น. 0 comments
Counter : 937 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1025194
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1025194's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.