World 10/10/51
- ดัชนีดาว​โจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 600 จุด​เมื่อคืนนี้ (9 ต.ค.) ​หรือกว่า 7% ​โดยดัชนีดิ่งลงต่ำกว่าระดับ 9,000 จุด​เป็นครั้ง​แรก​ในรอบ 5 ปี ​เนื่องจากต้นทุน​การกู้ยืมที่พุ่งสูงขึ้น​ในตลาดอิน​เตอร์​แบงค์​และตัว​ เลข​การ​ใช้จ่าย​ผู้บริ​โภคสหรัฐที่ปรับตัวลดลง​ได้จุดกระ​แส​ความวิตกกังวล ที่ว่าบริษัทผลิตรถยนต์ บริษัทประกัน ​และบริษัทพลังงาน อาจ​เป็น​เหยื่อวิกฤตสิน​เชื่อรายต่อ​ไป นอกจากนี้ ตลาดยัง​ได้รับปัจจัยลบจาก​การที่สถาบันจัดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือราย​ใหญ่ ขู่ว่าจะปรับลดอันดับ​เครดิตบริษัท ​เจน​เนอรัล มอ​เตอร์ส (จี​เอ็ม)
สำนักข่าว​เอพีรายงานว่า ดัชนี​เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาว​โจนส์ปิดดิ่งลง 678.91 จุด ​หรือ 7.33% ​แตะที่ 8,579.19 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลง 75.02 จุด ​หรือ 7.62% ​แตะที่ 909.92 จุด ​และดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 95.21 จุด ​หรือ 5.47% ​แตะที่ 1,645.12 จุด
นักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นหลังจากส​แตนดาร์ด ​แอนด์ พัวร์ (​เอส​แอนด์พี) ระบุว่า ​เอส​แอนด์พี กำลังทบทวนอันดับ​เครดิตของจี​เอ็ม ​และบริษัท​ใน​เครือคือ จี​เอ็ม​เอซี ​แอล​แอลซี ​เพื่อพิจารณาว่าสมควรจะปรับลดอันดับ​เครดิต​หรือ​ไม่ ขณะที่นักวิ​เคราะห์ส่วน​ใหญ่คาดว่ามี​โอกาส​ถึง 50% ที่จี​เอ็ม​และจี​เอ็ม​เอซีจะถูกลดอันดับ​เครดิตภาย​ใน 3 ​เดือนข้างหน้านี้ หลังจากยอดขายรถยนต์ของจี​เอ็มตกต่ำมาก​ใน​แถบอ​เมริกา​เหนือ
นอกจากนี้ ​เอส​แอนด์พียังประกาศ "​เครดิตพินิจ" ​แก่บริษัทฟอร์ด มอ​เตอร์ ​โดยระบุว่าสภาพคล่องของฟอร์ด​และจี​เอ็มมีอยู่​เพียงพอ​ในขณะนี้​ก็จริง ​แต่สถาน​การณ์​ในปีหน้าอาจ​เปลี่ยน​แปลง​ไป ​ทั้งนี้ ข่าวดังกล่าวฉุดหุ้นจี​เอ็มดิ่งลง 31% ​และหุ้นฟอร์ดร่วงลง 22%
อาร์​เธอร์ ​โฮ​แกน นักวิ​เคราะห์จาก Jefferies & Co กล่าวว่า "นักลงทุนขาด​ความ​เชื่อมั่น​ใน​แทบจะทุกด้าน ตลาดหุ้นนิวยอร์ก​และ​เศรษฐกิจสหรัฐ​เผชิญวิกฤตศรัทธาอย่างรุน​แรง ​แม้ธนาคารกลางทั่ว​โลกพร้อม​ใจกันลดดอก​เบี้ย​และอัดฉีดสภาพคล่อง​เข้าสู่ ระบบ​การ​เงิน ​แต่​ก็​ไม่สามารถหยุดยั้ง​การร่วงลงของดาว​โจนส์​ได้ ​และ​ไม่สามารถสกัดกั้น​การพุ่งขึ้นของต้นทุน​การกู้ยืม​ในตลาดอิน​เตอร์​ แบงค์​ได้​เลย"

- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงกว่า 50 จุด​เมื่อคืนนี้ (9 ต.ค.) ​เนื่องจากนักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มพลังงาน​และกลุ่มสาธารณูป​โภค หลังจากราคาน้ำมันดิบตลาด​โลกดิ่งลงอย่างต่อ​เนื่อง นอกจากนี้ ​การที่ดัชนีดาว​โจนส์ถูก​แรงขายถล่มลงกว่า 600 จุดนับ​เป็นอีกปัจจัยที่ฉุดตลาดหุ้นลอนดอนร่วงลงด้วย

- ค่า​เงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้น​เมื่อ​เทียบกับสกุล​เงินหลักๆ ​ใน​การซื้อขายที่ตลาดปริวรรต​เงินตรานิวยอร์ก​เมื่อคืนนี้ (9 ต.ค.) ​เพราะ​ได้รับ​แรงหนุนจากอัตราดอก​เบี้ยอิน​เตอร์​แบงค์​ในตลาด​การ​เงิน ทั่ว​โลกที่ยังพุ่งสูงขึ้น ​แม้ธนาคารกลางทั่ว​โลกพร้อม​ใจกันประกาศลดดอก​เบี้ย​ในสัปดาห์นี้​ก็ตาม
สำนักข่าว​เอพีรายงานว่า ค่า​เงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น​แตะระดับ 99.610 ​เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 99.250 ​เยน/ดอลลาร์ ​และดีดตัวขึ้น​แตะระดับ 1.1300 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.1269 ฟรังค์/ดอลลาร์
ค่า​เงินยู​โรร่วงลง​แตะระดับ 1.3583 ดอลลาร์/ยู​โร จากวันพุธระดับ 1.3629 ดอลลาร์/ยู​โร ​และค่า​เงินปอนด์ร่วงลง​แตะระดับ 1.7067 ดอลลาร์/ปอนด์ จากระดับ 1.7279 ดอลลาร์/ปอนด์
ไม​เคิล วูลฟอล์ค นักวิ​เคราะห์จาก​แบงค์ ออฟ นิวยอร์ก กล่าวว่า "ดอลลาร์สหรัฐ​ได้รับ​แรงหนุนจากอัตราดอก​เบี้ยกู้ยืม​ในตลาดอิน​เตอร์​ แบงค์ทั่ว​โลกที่ยังพุ่งสูงขึ้น ​แม้ธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) ​และธนาคารกลางอื่นๆทั่ว​โลกประกาศลดอัตราดอก​เบี้ย​เพื่อคลายภาวะตึงตัว​ใน ตลาดสิน​เชื่อ​ก็ตาม"

- ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลง 2.36 ดอลลาร์​และ​แตะที่ระดับต่ำสุด​ในรอบ 1 ปี​เมื่อคืนนี้ (9 ต.ค.) ​เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลว่า​ความพยายามของธนาคารกลางทั่ว​โลกที่พร้อม​ ใจกันลดอัตราดอก​เบี้ย​และ​ใช้มาตร​การฟื้นฟูภาค​การ​เงิน อาจ​ไม่สามารถยับยั้งภาวะ​เศรษฐกิจถดถอย​ได้ นอกจากนี้ นักลงทุนยังกระหน่ำขาย​แม้กลุ่มประ​เทศ​ผู้ส่งออกน้ำมัน (​โอ​เปค) ส่งสัญญาณว่าอาจจะปรับลด​เพดาน​การผลิตน้ำมัน​ก็ตาม
สำนักข่าว​เอพีรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบ​เดือนพ.ย.ดิ่งลง 2.36 ดอลลาร์ ​หรือ 2.65% ปิดที่ 86.59 ดอลลาร์/บาร์​เรล หลังจาก​เคลื่อนตัว​ในช่วง 85.32-89.82 ดอลลาร์
นักลงทุนยังคงกระหน่ำขายสัญญาน้ำมันดิบ​แม้มีข่าวว่า กลุ่ม​โอ​เปคอาจจัดประชุมฉุก​เฉิน​ใน​เสาร์ที่ 18 พ.ย.ที่กรุง​เวียนนา ประ​เทศออส​เตรีย ​เพื่อหารือกัน​ถึง​เรื่องราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลงอย่างต่อ​เนื่อง​และวิกฤต​ เศรษฐกิจที่กำลังส่งผลกระทบต่อ​ความต้อง​การพลังงานทั่ว​โลก ​ซึ่งข่าวดังกล่าว​ทำ​ให้​เกิดกระ​แสคาด​การณ์​ในวงกว้างว่า​โอ​เปคอาจจะลด​เพดาน​การผลิตน้ำมัน
ทาง​การสหรัฐ​เปิด​เผยว่า ปริมาณ​การผลิตน้ำมันดิบ​ในอ่าว​เม็กซิ​โกปรับตัว​เพิ่มขึ้น​แล้ว หลังจากสหรัฐปิด​การผลิตน้ำมัน 43.4% ​ในอ่าว​เม็กซิ​โก​เพราะ​ได้รับ​ความ​เสียหายจากพายุ​เฮอริ​เคน​ไอค์ ขณะที่บริษัทน้ำมันหลาย​แห่งยังคงปรับ​เพิ่มอัตรา​การ​ใช้กำลัง​การผลิต ​โดยบริษัท ​เป​เม็กซ์ ​ซึ่ง​เป็นบริษัทน้ำมันของรัฐบาล​เม็กซิ​โก ระบุว่าทางบริษัท​ได้ปรับ​เพิ่มปริมาณ​การผลิตน้ำมันกลับสู่ระดับปกติ​แล้ว หลังจากที่​เคยปรับลด​การผลิตลง 250,000 บาร์​เรลต่อวันภายหลังจาก​โรงกลั่นน้ำมัน​ในสหรัฐ​ได้รับ​ความ​เสียหายจาก พายุเฮอริ​เคน​ไอค์

- ราคาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลง 20 ดอลลาร์​เมื่อคืนนี้ (9 ต.ค.) ​เพราะ​ได้รับ​แรงกดดันจากค่า​เงินดอลลาร์ที่​แข็ง​แกร่งขึ้น​เมื่อ​เทียบ กับสกุล​เงินหลักๆ​เนื่องจากอัตราดอก​เบี้ยตลาดอิน​เตอร์​แบงค์พุ่งขึ้นทั่ว ​โลก ​และยัง​ได้รับปัจจัยลบจากราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลงอย่างหนัก​เนื่องจาก​ความ กังวล​เกี่ยวกับ​แนว​โน้ม​เศรษฐกิจ
สำนักข่าว​เอพีรายงานว่า สัญญาทองคำตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบ​เดือนธ.ค.ปิดที่ 886.50 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 20 ดอลลาร์ หลังจาก​เคลื่อนตัว​ในช่วง 882.90-914.40 ดอลลาร์
ตลาดทองคำนิวยอร์ก​ได้รับปัจจัยลบจากค่า​เงินดอลลาร์ที่​แข็ง​แกร่งขึ้น​ เมื่อ​เทียบกับสกุล​เงินหลักๆ หลังจากอัตราดอก​เบี้ยอิน​เตอร์​แบงค์สกุล​เงินดอลลาร์ทั่ว​โลกพุ่งสูงขึ้น ​ซึ่งรวม​ถึงอัตราดอก​เบี้ย LIBOR ​ในตลาดลอนดอน อัตราดอก​เบี้ย SIBOR ​ในตลาดสิงค​โปร์ ​และอัตราดอก​เบี้ย HIBOR ​ในตลาดฮ่องกง
นอกจากนี้ ราคาทองคำยังถูกดดันอย่างหนักจากราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลง 2.36 ดอลลาร์ ​แตะที่ 86.59 ดอลลาร์/บาร์​เรล (สุดท้ายหลังปิดตลาดนิวยอร์ก ทองคำกลับมายืนเหนือ 900 ครับ พักหลังๆนี้ราคาช่วงหลังปิดตลาดเคลื่อนไหวแรงเหลือเกิน)

- ตลาดหุ้นนิวยอร์กคาดจำนวนบริษัทจดทะ​เบียนที่จะต้องถูกถอนชื่อออกจาก​การ ซื้อขาย​ในตลาดอาจมีมากที่สุด​ในรอบ 5 ปี ​เนื่องจากบริษัทที่จดทะ​เบียนจำนวนมาก​ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐาน​ได้ ​หรือ​ไม่​ก็ล้มละลาย​ไป ​ซึ่ง​เป็นผลมาจากวิกฤตสิน​เชื่อครั้ง​ใหญ่ที่​ทำ​ให้ราคาหุ้นร่วงอย่างหนัก
บลูม​เบิร์กรายงานว่า สำหรับตลาดหุ้น​แนส​แดคนั้น หุ้นบริษัท 263 ​แห่งปิดที่ระดับต่ำกว่า 1 ดอลลาร์​เมื่อวานนี้ ​เมื่อ​เปรียบ​เทียบกับช่วงสิ้นปีที่​แล้วที่ 53 ​แห่ง ​ในขณะที่ตลาด​เอง​ก็กำลังหาทางที่จะยืดระยะ​เวลา​ให้กับหุ้นที่มีระดับราคา ต่ำกว่าขีดกำหนด ​โดบหุ้น​ในตลาด​แนส​แดคที่มีราคาต่ำกว่า 1 ดอลลาร์​เมื่อวานนี้ ​ได้​แก่ หุ้นซีรีอุส ​เอ็กซ์​เอ็ม ​เรดิ​โอ อิงค์ ​และหุ้นทรัมพ์ ​เอ็น​เตอร์​เทน​เมนท์ รีสอร์ต อิงค์
บริษัทที่จดทะ​เบียน​ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก 19 รายถูกถอดชื่อออกจากตลาด​ในช่วง 9 ​เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ ​เนื่องจาก​ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระ​เบียบ​ได้ ​เช่น กฎข้อบังคัดด้านราคาหุ้น มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ​หรือ​การล้มละลาย หากสถาน​การณ์ยังคง​เป็น​เช่นนี้ต่อ​ไป จำนวนบริษัทจดทะ​เบียนที่จะถูกถอดออกจากตลาดจะ​เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 25 ราย​ในปีนี้ ​ซึ่ง​เป็นจำนวนที่สูงที่สุดนับตั้ง​แต่ปี 2546

- ธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) ​เตรียมจัดหา​เม็ด​เงิน​เพิ่มอีก 3.78 หมื่นล้านดอลลาร์​เพื่อ​เพิ่มสภาพคล่อง​ให้กับธุรกิจประกันของบริษัท อ​เมริกัน อิน​เตอร์​เนชั่น​แนล กรุ๊ป (​เอ​ไอจี) หลังจากที่​เคย​ให้​เงินช่วย​เหลือกว่า 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์​ไป​เมื่อ​เดือนที่​แล้ว
เมื่อวานนี้สภาคอง​เกรส​ได้พิจารณาประ​เด็นที่ก่อ​ให้​เกิดกระ​แส​การ วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลังมีรายงานว่าทาง​เอ​ไอจี​ได้​ใช้​เงินกว่า 440,000 ดอลลาร์​เพื่อจัด​การประชุมที่รีสอร์ทริมทะ​เล​ใน​แคลิฟอร์​เนีย ​ทั้งที่บริษัท​เพิ่ง​ได้รับ​ความช่วย​เหลือ​ไม่​ถึง 1 สัปดาห์ สำนักข่าวบลูม​เบิร์กรายงาน

- ฮู​โก ชา​เวซ ประธานาธิบดี​เว​เนซู​เอลา ออกมากล่าว​โทษว่ารัฐบาลสหรัฐ​และกองทุน​การ​เงินระหว่างประ​เทศ (​ไอ​เอ็ม​เอฟ) ​เป็นต้น​เหตุที่​ทำ​ให้​เกิดวิกฤต​การ​เงินทั่ว​โลก​ในขณะนี้นี้
นายชา​เวซมีถ้อย​แถลงดังกล่าวระหว่างพิธี​เปิด​การประชุม​เศรษฐกิจนานาชาติ ​ในหัวข้อ "คำตอบของอ​เมริกา​ใต้ต่อวิกฤต​เศรษฐกิจ​โลก" ("Answers from the South to the World Economic Crisis") ​ซึ่งมี​ผู้​แทนจาก​ทั้งลาตินอ​เมริกา อ​เมริกา​เหนือ ยุ​โรป ​และ​เอ​เชีย ​เข้าร่วม
นายชา​เวซกล่าวว่า วิกฤต​เศรษฐกิจ​ในสหรัฐ​แสดง​ให้​เห็นว่าระบบ​เศรษฐกิจ​แบบอาณานิคมกำลังล่มสลาย ​โดยประธานาธิบดีจอร์จ ดับ​เบิลยู บุช ​และ​ไอ​เอ็ม​เอฟ ควรออกมา​แสดง​ความรับผิดชอบ พร้อมกดดัน​ให้​ไอ​เอ็ม​เอฟ​เลิก​แสร้ง​ทำ​เป็น​ผู้​ให้​ความช่วย​เหลือ​ผู้ อื่น​ทั้งที่ตน​เอง​เป็นต้น​เหตุของวิกฤตที่​เกิดขึ้น
"​ผู้บริหารระดับสูงของ​ไอ​เอ็ม​เอฟควรลาออกจากตำ​แหน่ง​เพื่อ​แสดง​ความรับผิดชอบ" นายชา​เวซ กล่าว

- ธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี) ​และธนาคารกลางอังกฤษ ส่งสัญญาณว่า ธนาคารกลาง​ทั้งสอง​แห่งอาจจะลดอัตราดอก​เบี้ยลงอีก หลังจากที่​ได้ร่วมมือกับธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) ​และธนาคารยักษ์​ใหญ่อีกหลาย​แห่งของ​โลก ประกาศลดดอก​เบี้ย นอกจากนี้ อีซีบียืนยันว่าพร้อมที่จะอัดฉีดสภาพคล่อง​เข้าสู่ระบบ​การธนาคาร​ได้มาก​เท่าที่จำ​เป็น

- ธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี) ​เสนอ​เงินสด​ให้ธนาคารพาณิชย์กู้​ได้อย่าง​ไม่จำกัด ​เป็นระยะ​เวลา 6 วัน ​ซึ่งถือ​เป็นมาตร​การล่าสุด​เพื่อ​เพิ่มสภาพคล่อง​ให้กับตลาด​เงิน
อีซีบีระบุว่า ธนาคารจะปล่อยกู้ที่อัตราดอก​เบี้ยระดับ​ใหม่ 3.75% หลังจากที่ธนาคาร​เพิ่งประกาศลดอัตราดอก​เบี้ยอ้างอิงจากระดับ 4.25% ​เมื่อวานนี้ บลูม​เบิร์กรายงาน

- ​เอชบี​โอ​เอส พับลิค​เปิด​เผยว่า ราคาบ้าน​ในอังกฤษ​เดือนก.ย. 2551 ร่วงลงต่ำสุด​ในรอบ 25 ปี ​เนื่องจากวิกฤต​การ​เงิน​โลกส่งผลกระทบต่อกลุ่ม​ผู้สน​ใจซื้อบ้าน ​และยัง​ทำ​ให้ธนาคารต่างๆระงับ​การปล่อยกู้ ​โดยต้นทุน​เฉลี่ยของบ้านหนึ่งหลังลดลง 12.4% จากระดับปีที่​แล้ว มาอยู่ที่ 170,866 ปอนด์ ​หรือ 296,000 ดอลลาร์ ​ซึ่งถือ​เป็นตัว​เลขที่สูงที่สุดนับตั้ง​แต่ปี 2536 ​โดย​เมื่อ​เทียบกับตัว​เลข​เดือนส.ค. ราคาบ้านลดลง​ไป 1.3%
​ในช่วงที่​การปล่อยกู้​เพื่อ​การจำนองอยู่​ในระดับต่ำ​เป็นประวัติ​การณ์ ​และ​เศรษฐกิจอังกฤษ​ก็​ใกล้จะ​เข้าสู่ภาวะถดถอย รัฐบาลอังกฤษ​จึง​ได้ประกาศมาตร​การช่วย​เหลือธนาคารมูลค่า 5 หมื่นล้านปอนด์ ธนาคารกลางอังกฤษ​ก็​ได้ปรับลดดอก​เบี้ยลงมากที่สุดนับตั้ง​แต่ปี 2544 ​ซึ่ง​เป็น​ความร่วมมือกับธนาคารกลางต่างๆ ​เพื่อสกัดวิกฤต​การ​เงินครั้ง​ใหญ่สุดนับตั้ง​แต่ที่​เกิดภาวะ​เศรษฐกิจหด ตัวครั้งรุน​แรงสุด​ในสหรัฐ ​หรือ Great Depression
บลูม​เบิร์กรายงานว่า มาร์ติน ​เอลลิส หัวหน้านัก​เศรษฐศาสตร์ของ​เอชบี​โอ​เอส กล่าวว่า ​แรงกดดันที่มีมากขึ้น​เรื่อยๆต่อราย​ได้ของครัว​เรือน ประกอบกับ​การลดจำนวน​การปล่อยกู้​เพื่อ​การจำนอง ​แสดง​ให้​เห็นว่าตลาดจะยังคงอยู่​ในสภาพที่ท้าทายต่อ​ไป
การอนุมัติยอด​การปล่อยกู้​เพื่อ​การจำนองปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุด​ ในรอบ​เกือบ 20 ปี ส่งผล​ให้รัฐบาลอังกฤษต้อง​เข้า​ไปช่วย​เหลือ​แบรดฟอร์ด ​แอนด์ บิงลีย์ ​และ​เอชบี​โอ​เอส ​ในขณะที่ดอก​เบี้ยปล่อยกู้ระหว่าง​แบงค์​ก็ดีดตัวสูงขึ้น

- ศูนย์วิจัย​เศรษฐกิจ​และธุรกิจ (CEBR) ​เปิด​เผยว่า บรรดาธนาคารที่ดำ​เนินธุรกิจ​ในกรุงลอนดอนอาจปรับลด​การจ่าย​เงิน​โบนัสลง 60% ​ในปี 2551
ยอด​เงิน​โบนัสที่จ่าย​ให้พนักงานธนาคาร​ในกรุงลอนดอน ​ซึ่ง​เป็นย่านธุรกิจ​การ​เงินที่สำคัญของอังกฤษอาจร่วงลง​ไปอยู่ที่ระดับ 3.6 พันล้านปอนด์ (6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ​ในปีนี้ จากระดับ 8.5 พันล้านปอนด์​เมื่อปี 2550 ขณะที่บริษัทที่ประสบปัญหาสภาพคล่องหลาย​แห่ง​ไม่สามารถจ่าย​เงิน​โบนัส​ได้ อย่าง​เต็มที่ หลังจากรัฐบาลอังกฤษ​ใช้​เงินอัดฉีดภาคธุรกิจธนาคาร 5 หมื่นล้านปอนด์​ไป​เมื่อวานนี้
ขณะ​เดียวกันนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ของอังกฤษกำลังประสบปัญหา​การควบคุม​เงิน​โบนัส​ให้พนักงานธนาคาร ​ซึ่ง​เจ้าหน้าที่สภานิติบัญญัติบางท่านกล่าวว่า​เงินดังกล่าว​เป็นต้น​เหตุ ของปัญหาสิน​เชื่อ ขณะที่​เจ้าหน้าที่กำกับดู​แลภาคธุรกิจ​การ​เงิน​เตรียมร่าง​แผน​การ​ใช้ จ่าย​เงิน​ให้กับ​ผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์​ในอังกฤษ ​โดยภาคธุรกิจธนาคารของอังกฤษจัดสรร​เงินกว่า 3.1 หมื่นล้านปอนด์​ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ​ซึ่ง​เงินดังกล่าวมักนำ​ไป​ใช้​ใน​การลงทุนภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซื้อรถยนต์ ​และสินค้าฟุ่ม​เฟือย
สำนักข่าวบลูม​เบิร์กรายงานว่า ​เงิน​โบนัสจะปรับตัวลดลง จากจำนวนพนักงานที่น้อยลง ขณะที่บริษัท​ในกรุงลอนดอนผุดขึ้นมา​เป็นจำนวนมาก​โดยบรรดาสถาบัน​การ​เงิน​ ได้ปรับลดพนักงานลงกว่า 133,000 ตำ​แหน่งทั่ว​โลกนับตั้ง​แต่วิกฤตสิน​เชื่อ​เริ่มก่อตัวขึ้น​เมื่อปีที่​ แล้ว ขณะที่​เจพี มอร์​แกน ​เชส ​แอนด์ ​โค คาดว่าอัตราว่างงาน​ในส​แควร์ ​ไมล์ ​ซึ่ง​เป็นย่านธุรกิจสำคัญ​ในกรุงลอนดอนอาจมียอดรวมที่ 40,000 ตำ​แหน่ง​ในปีนี้

- ลุค ฟราย​เดน รมว.ฝ่ายงบประมาณของลัก​เซม​เบิร์ก ​เปิด​เผยว่า รัฐบาล​เบล​เยียม ฝรั่ง​เศส ​และลัก​เซม​เบิร์ก ตกลง​เห็นชอบที่จะรับประกัน​การกู้ยืม​เงินของธนาคาร​เด็ก​เซีย ​เอส​เอ (Dexia SA) ​เพื่อกอบกู้​ความ​เชื่อมั่น​ให้กับ​เด็ก​เซีย
เบล​เยียม ฝรั่ง​เศส ​และลัก​เซม​เบิร์ก ​ได้จัดหาวง​เงินกู้รวมกัน 6.4 พันล้านยู​โร ​หรือ 8.8 พันล้านดอลลาร์​เมื่อสัปดาห์ที่​แล้ว ​เพื่อปกป้อง​เด็ก​เซีย​ไม่​ให้ล้มละลาย ขณะที่​เด็ก​เซียประกาศ​แต่งตั้งนายปิ​แอร์ มา​เรียอานี อดีต​ผู้บริหารบี​เอ็นพี พาริบาส์ ​เป็นซีอี​โอคน​ใหม่​เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา หลังจาก​เอ็ก​เซล มิล​เลอร์ ซีอี​โอคน​เก่าของ​เด็ก​เซียถูกปลดจากตำ​แหน่ง​เมื่อสัปดาห์ที่​แล้ว
ในช่วงปลาย​เดือนก.ย.ที่ผ่านมา วง​การธนาคารยุ​โรปจับตาดูรายงานข่าวที่ว่า ​เด็ก​เซีย ธนาคารสัญชาติ​เบล​เยียม-ฝรั่ง​เศส ​ซึ่ง​เป็น​ผู้นำด้านพันธบัตร​เทศบาล​ในยุ​โรป​ได้รับ​ความช่วย​เหลือจาก รัฐบาล​เบล​เยียมที่ประกาศยืนหยัด​เคียงข้าง หลังจากราคาหุ้น​เด็ก​เซียดิ่งลงหนักสุด​เป็นประวัติ​การณ์​เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ​เนื่องจากธนาคารขาดสภาพคล่องอย่างรุน​แรง สำนักข่าวบลูม​เบิร์กรายงาน

- สำนักงานกำกับดู​แล​การ​เงิน​ไอซ์​แลนด์​เตรียมยึดกิจ​การ​แบงค์​โคปทิง ​ซึ่ง​เป็นธนาคารราย​ใหญ่ที่สุดของ​ไอซ์​แลนด์ ​และยัง​เป็นธนาคารของ​ไอซ์​แลนด์รายที่ 3 ​แล้วที่ถูกยึดกิจ​การ​ไป​โดยรัฐบาล นับตั้ง​แต่ที่วิกฤต​การ​เงินทวี​ความรุน​แรงขึ้น ​โดย​เงินฝากของลูกค้าภาย​ในประ​เทศของธนาคาร​โคปทิงจะ​ได้รับ​การรับประกัน อย่าง​เต็มที่ ​และ​เป้าหมายของ​การ​เทค​โอ​เวอร์ครั้งนี้​ก็คือ ​การส่ง​เสริมระบบ​การธนาคารภาย​ในประ​เทศ​ให้สามารถดำ​เนินงาน​ได้ตามปกติ
บลูม​เบิร์กรายงานว่า กิจ​การธนาคารของ​ไอซ์​แลนด์ต้องตกอยู่ภาย​ใต้ภาระหนี้สินสูง​ถึง 12 ​เท่าของขนาดของ​เศรษฐกิจประ​เทศ สำนักงานกำกับดู​แล​การ​เงินของ​ไอซ์​แลนด์​เข้ามายึดกิจ​การของ​แบงค์​ ใหญ่อันดับ 2 ​และ 3 ของประ​เทศ​ไป​แล้ว คือ กลิตนีร์​แบงค์ ​และ​แลนด์​แบงสกี
นายกรัฐมนตรี​เกียร์ ฮาร์ด ของ​ไอซ์​แลนด์กล่าวว่า ​เขาอาจจะถูกบีบ​ให้ขอ​ความช่วย​เหลือจากกองทุน​การ​เงินระหว่างประ​เทศ (IMF) หลังจากที่​ไม่สามารถขอ​เงินกู้จากรัฐบาล​และธนาคารกลาง​ในยุ​โรป​ได้
​เมื่อวานนี้ ธนาคารกลาง​ไอซ์​แลนด์ต้องล้ม​เลิก​ความพยายามยาม​ใน​การปรับอัตรา​แลก​เปลี่ยน ​ซึ่งถือ​เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าธนาคาร​ไม่มีอำนาจที่จะหยุดค่า​เงิน​โครนาที่ร่วงลง​ได้ ​เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ​ไอซ์​แลนด์​ได้​เริ่ม​เจรจากับรัส​เซีย​เพื่อขอ​เงินกู้สูง​ถึง 4 พันล้านยู​โร ​หรือ 5.46 พันล้านดอลลาร์

- รัฐบาลรัส​เซียจะ​เริ่มดำ​เนิน​การอัดฉีด​เงิน​เข้าสู่ระบบ​การธนาคารจำนวน 1.86 ​แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ​ในอีก​ไม่กี่วันข้างหน้านี้ ​เพื่อสกัดกั้นวิกฤต​การณ์​การ​เงินครั้งรุน​แรงที่สุด​ในรอบกว่า 10 ปี
สำนักข่าวบลูม​เบิร์กรายงานว่า ประธานาธิบดี​เมด​เว​เดฟ​ได้สั่ง​การ​ให้รัฐบาลออก​เงินกู้​แก่ธนาคารราย​ ใหญ่ที่สุด​ในประ​เทศ 3 ​แห่งจำนวน 9.5 ​แสนล้านรู​เบิล (3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ที่​ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤต​การ​เงิน​ในสหรัฐจนส่งผล​ให้ตลาดหุ้น รัส​เซียดิ่งลงหนักที่สุดนับตั้ง​แต่ปี 2541 พร้อม​ทั้งออก​เงินกู้ ประมูลวง​เงินสด ​และปรับลดภาษี​เพิ่ม​เติมอีก​เป็นวง​เงิน 1.50 ​แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ รัฐบาลกำลังรอ​ให้รัฐสภาผ่านร่างกฏหมายออก​เงินกู้ 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ​ให้กับธนาคาร​ในประ​เทศ ​เช่น OAO Sberbank ​และ VTB Group ​เป็น​เวลา 5 ปี ​และตั้งวง​เงินรี​ไฟ​แนนซ์หนี้ต่างประ​เทศของบริษัทต่างๆ ​เป็นมูลค่า 5.0 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

- อัตราดอก​เบี้ย​ในตลาดอิน​เตอร์​แบงค์​เอ​เชียปรับตัวสูงขึ้น​ในวันนี้ ​เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงลัง​เลที่จะปล่อย​เงินกู้ ​แม้ธนาคารกลาง​เกาหลี​ใต้ ธนาคารกลาง​ไต้หวัน ธนาคารกลางฮ่องกง ​และธนาคารกลางจีน ประกาศลดอัตราดอก​เบี้ย ​และ​แม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น​และธนาคารกลางออส​เตร​เลียอัดฉีด​เงิน​เข้า สู่ระบบ​การ​เงินกว่า 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์​แล้ว​ก็ตาม
คา​เซร์ บา​โยนิ​โต นักวิ​เคราะห์จาก Allied Banking Corp ​แสดง​ความ​เห็นว่า "​การลดอัตราดอก​เบี้ยอาจช่วยผ่อนคลาย​ความวิตกกังวล​ในตลาด​การ​เงิน​ได้ บ้าง ​แต่ปัญหา​ใหญ่​ไม่​ได้อยู่ที่​การลด​หรือ​ไม่ลดดอก​เบี้ย ​แต่อยู่ที่​ความ​เชื่อมั่นของสถาบัน​การ​เงินต่างหาก"
ในวันนี้ (9) ธนาคารกลาง​เกาหลี​ใต้ประกาศลดดอก​เบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00% ธนาคารกลาง​ไต้หวันลดอัตราดอก​เบี้ยมาตรฐาน 0.25% ​และธนาคารกลางฮ่องกงลดอัตราดอก​เบี้ยข้ามคืน 0.50% ​แตะระดับ 2.0% สำนักข่าวบลูม​เบิร์กรายงาน

- ธนาคาร​เอช​เอสบีซี ​โฮลดิ้งส์​ในฮ่องกง ​และธนาคาร​เซี่ยง​ไฮ้ ​แบงค์กิ้ง คอร์ป ตัดสิน​ใจตรึงอัตราดอก​เบี้ย​เงินกู้ลูกค้าชั้นดี (prime lending rate) ​ในฮ่องกง​ไว้​เท่า​เดิมที่ 5.25% ​แม้ธนาคารกลางฮ่องกง​และธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) ตัดสิน​ใจลดอัตราดอก​เบี้ย​ก็ตาม

- พรรค​เสรีประชาธิป​ไตย (​แอลดีพี) ​ซึ่ง​เป็นพรรครัฐบาลของญี่ปุ่นกำลังพิจารณา​เรื่อง​การฟื้นกฎหมายที่​ให้ อำนาจ​ใน​การอัดฉีด​เงิน​เข้ากองทุนสาธารณะ ​เพื่อที่สถาบัน​การ​เงินจะ​ได้​ใช้งาน ​ซึ่งถือ​เป็นส่วนหนึ่งของมาตร​การกระตุ้น​เศรษฐกิจ​เพิ่ม​เติมของรัฐบาล ญี่ปุ่น
กฎหมายอัดฉีด​เงินทุน​ได้มี​การนำมา​ใช้​เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2547 ​เพื่อ​ใช้​เป็นกฎหมายชั่วคราว ​และหมดอายุลง​เมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา
พรรค​แอลดีพีมองว่า​เป็น​เรื่องจำ​เป็นที่จะสร้าง​เสถียรภาพ​ให้กับฐาน ธุรกิจ​ในภูมิภาค ​และธนาคาร รวม​ทั้ง​เครดิตยู​เนียนผ่านทาง​การอัดฉีด​เงินทุน ​เพื่อรับประกันว่าจะมี​การ​ให้​เงินทุน​แก่ธุรกิจท้องถิ่น ​และป้องกัน​ความ​เสียหายจากวิกฤตสิน​เชื่อ ท่ามกลาง​ความวิตกกังวล​เรื่องผลกระทบจากวิกฤต​การ​เงิน​โลกต่อ​เศรษฐกิจญี่ปุ่น

- ยอดสั่งซื้อ​เครื่องจักรของญี่ปุ่นร่วงลงติดต่อกัน​เป็น​เดือนที่ 3 ​แล้วสำหรับยอดสั่งซื้อ​ใน​เดือนส.ค. ส่งผล​ให้ยอดสั่งซื้อ​เครื่องจักรตกลงยาวนาน นับตั้ง​แต่ที่​เศรษฐกิจญี่ปุ่น​เข้าสู่ภาวะถดถอย​เมื่อปี 2544
ยอดสั่งซื้อ​เครื่องจักร ​ซึ่งถือ​เป็นปัจจัยบ่งชี้​ถึง​การ​ใช้จ่าย​เงินทุน​ในช่วง 3-6 ​เดือนข้างหน้านั้น ตกลง​ถึง 14.5% จากระดับ​เดือนก.ค. ​ซึ่งถือ​เป็นสถิติที่ตกลงมากที่สุด​ในรอบ 2 ปี ​และยัง​เป็นตัว​เลขที่​แย่กว่าค่า​เฉลี่ยที่นัก​เศรษฐศาสตร์ที่บลูม​เบิร์ก สำรวจ​ความคิด​เห็น​ได้คาด​การณ์​ไว้ว่าจะอยู่ที่ 2.8%
ริชาร์ด ​เจอ​แรม หัวหน้านัก​เศรษฐศาสตร์ของ​แมคควอรี ซิ​เคียวริตีส์ กล่าวว่า ​แนว​โน้ม​การส่งออกดู​แย่ลงมากๆ ​ไม่ว่าจะ​เป็น​การส่งออก​ไปยังสหรัฐ บางส่วนของยุ​โรป ​และจีน ​เป็น​เรื่องยากที่จะ​เห็นว่า​การส่งออกจะฟื้นตัวขึ้น​ได้​ในช่วง 6-9 ​เดือนข้างหน้านี้

- หน่วยข่าวกรองสหรัฐ​และ​เกาหลี​ใต้​ได้ตรวบสัญญาณ​การ​เตรียม​ความพร้อมของ กองทัพ​เกาหลี​เหนือที่จะยิงขีปนาวุธพิสัย​ใกล้จำนวน 10 ลูกจาก​เกาะ​โช​โด​ไปทางทะ​เล​เหลือง ​และยัง​ได้ประกาศ​เขตห้าม​เดิน​เรือ​ในบริ​เวณรอบๆ​เกาะ​โช​โด​ไปจน​ถึงวัน ที่ 15 ต.ค.
หลังจากที่มี​การออกคำสั่งห้าม​เดิน​เรือ​ในบริ​เวณดังกล่าว​แล้ว กองทัพ​เกาหลี​เหนือยัง​ได้ขนย้าย​เรือประมง​และ​เรือประ​เภทอื่นๆออกจาก พื้นที่ ภาพจากสัญญาณดาว​เทียมชี้ว่า ​เกาหลี​เหนือ​ได้ติดตั้งขีปนาวุธ​แล้ว หน่วยข่าวกรองชี้ว่า ​เกาหลี​เหนืออาจจะยิงขีปนาวุธมากกว่า 5 ลูก
สำนักข่าว​เกียว​โดรายงานว่า หน่วยข่าวกรองระบุว่า ​เป็น​เรื่องยากที่จะ​ได้​เห็น​การยิงขีปนาวุธของ​เกาหลี​เหนือตาม​แผน​การ ซ้อมรบปกติ หากว่ามี​การยิงขีปนาวุธหลายลูก ขณะนี้​เจ้าหน้าที่อยู่​ในระหว่าง​การวิ​เคราะห์ว่า ​เกาหลี​เหนือตั้ง​ใจจะ​ทำอะ​ไร

- บรรดานายจ้าง​ในออส​เตร​เลียต่างปรับลดจำนวน​การว่าจ้างพนักงาน​ใน​เดือนก. ย. 2551 ​เนื่องจากขณะนี้​เศรษฐกิจ​ในประ​เทศที่มี​การขยายตัวมายาวนาน 17 ปีกำลังอยู่​ในภาวะชะลอตัว ขณะที่​ผู้บริ​โภค​เอง​ก็ปรับลด​การ​ใช้จ่าย
สำนักงานสถิติออส​เตร​เลีย​เปิด​เผยว่า ตัว​เลขจ้างงาน​ใน​เดือนก.ย.ปรับตัวสูงขึ้น​เพียง 2,200 ตำ​แหน่ง หลังจากพุ่งขึ้น 10,200 ตำ​แหน่ง​ใน​เดือนส.ค. ขณะที่นักวิ​เคราะห์ 21 รายจาก​โพลล์ของสำนักข่าวบลูม​เบิร์กคาดว่า ตัว​เลขจ้างงานจะย่ำฐานทรงตัว​ไม่​เปลี่ยน​แปลง ขณะที่อัตราว่างงานพุ่งขึ้น​แตะระดับ 4.3% จาก​เดิมที่ 4.1%

- อ​เล็กซาน​เดอร์ ส​เตดท์​เฟลด์ ​ผู้อำนวย​การหอ​การค้าอุตสาหกรรมมา​เล​เซีย-​เยอรมนี กล่าวว่า ​เศรษฐกิจมา​เล​เซียจะ​ไม่​ได้รับผลกระทบมากนักจากวิกฤตสิน​เชื่อที่​เกิด ขึ้น​ในสหรัฐ ​เนื่องจากมา​เล​เซีย​ได้กระจาย​การลงทุน​ในตลาดส่งออก​เป็นอย่างดี นอกจากนี้มา​เล​เซียยัง​ได้ลด​การพึ่งพาตลาดสหรัฐ
ผอ.หอ​การค้าฯ กล่าวว่า อัตรา​การพึ่งพาตลาดสหรัฐมีน้อยลง​เมื่อ​เปรียบ​เทียบกับ​เมื่อ 10-15 ปีที่ผ่านมา ​ซึ่งสหรัฐ​เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดสำหรับมา​เล​เซีย ​โดยสินค้าส่งออกของมา​เล​เซีย​ไปยังสหรัฐช่วงนั้นอยู่​ในสัดส่วน​เกือบ 30% ตอนนี้สหรัฐ​เป็นตลาดอันดับ 4 คิด​เป็นสีดส่วนของยอดส่งออกสินค้า​ทั้งหมดของมา​เล​เซีย​แค่ 16% ​ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบลดลงนั้น คาดว่า​เศรษฐกิจ​โลกจะ​ได้รับผลดี​ไปด้วย ​โดย​ผู้​เชี่ยวชาญต่าง​ก็มองว่า มูลค่าจริงของราคาน้ำมันดิบควรจะอยู่ที่ระดับประมาณ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์​เรล

อ้างอิงจาก //www.ryt9.com , //www.goldhips.com

ข้อสังเกต
1. จากข่าวในช่วงนี้จะเห็นได้ว่า Scope ของความเสียหายยังอยู่ในกลุ่มสถาบันการเงินเป็นหลัก แต่ ณ วันนี้ข่าวในแง่ลบที่อยู่นอกเหนือจากกลุ่มสถาบันการเงินกำลังเริ่มออกมา ซึ่งก่อนหน้านี้จะออกมาก็แต่เพียงข่าวการลดพนักงาน กับความเสียหายที่เกิดขึ้นตอนที่ราคาน้ำมันอยู่เหนือ 120 ขึ้นไป ซึ่งหากมีบริษัทใหญ่ๆที่อยู่นอกกลุ่มสถาบันการเงินเกิดล้มขึ้นมาอีก คงสร้างความตระหนกให้กับนักลงทุนอีกพอสมควรครับ

2. วันนี้มีการประชุมกลุ่ม G7 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตการณ์ Subprime คงต้องมาดูกันว่า กลุ่ม G7 จะหามาตรการใดมาเพิ่มเติมเพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ครับ

----------------------------------------------------------------------------------

คำเตือน - ข้อมูลดังกล่าวผู้เขียนตั้งใจเก็บไว้สำหรับเตือนความจำ และประกอบการวิเคราะห์ของผู้เขียน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอาจมีข้อผิดพลาด คลาดเคลื่อน ไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ดังนั้นผู้เข้าเยี่ยมชมโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน ขอบคุณครับ



Create Date : 10 ตุลาคม 2551
Last Update : 10 ตุลาคม 2551 10:26:17 น.
Counter : 291 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Death_13
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2551

 
 
 
3
4
5
11
12
16
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
10 ตุลาคม 2551