เปิดวังเก่า "วังปารุสกวัน" - ตอนที่ 1

วังปารุสกวัน




“วังปารุสกวัน” ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนินนอก เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสร็จสิ้นจากการสร้างพระราชวังดุสิตแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้สรร้างที่ประทับสำหรับพระราชโอรสองค์สำคัญไว้ใกล้ๆ กับพระราชวังดุสิต สำหรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (ต่อมาเสด็จขึ้นครองเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และพระโอรสองค์รองสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถให้อยู่ใกล้ๆ กัน โดยมีเพียงกำแพงกั้นเท่านั้น บนถนนราชดำเนินนอก ที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนนี้ขึ้น เพื่อเป็นเส้นทางพระราชดำเนินจากพระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวัง โดยตำหนักด้านทิศเหนือ เรียกว่าตำหนักจิตรลดา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของกรมตำรวจ ให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร



ส่วนตำหนักปารุสกวันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างวัลจันทรเกษม ซึ่งปัจจุบันเป็นกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพรระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารแทนตำหนักจิตรลดา จึงให้รวมตำหนักจิตรลดาและตำหนักปารุสกวันเข้าเป็นบริเวณเดียวกัน และทรงยกที่ดินให้กับพระอนุชาด้วย เพื่อแลกกับที่ดินบริเวณท่าว่าสุกรีของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ สำหรับชื่อของวังปารุสกวันนั้นมีความหมายคือเป็นชื่อของหนึ่งในสวนสี่แห่งของพระอินทร์ในสรวงสวรรค์ คือ สวนปารุสกวัน สวนมิสกวัน สวนจิตรลดา และสวนดุสิต

ตำหนักปารุสกวันเริ่มก่อสร้างเมื่อพ.ศ.2446 แล้วเสร็จพ.ศ.2448 โดยมีสถาปกนิกชาวอิตาเลียน 3 คนช่วยกันออกแบบ ได้แก่ นายตามาโย นายสก็อต และนายเบย์โรเลวี รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสั่งซื้อไม้สักจากห้างกิมเซ่งหลีเพื่อการสร้างพระที่นั่งอัมพรสถาน ตำหนักของสมเด็จพระพันวัสสาและวังปารุสกวันประมาณ 400 ต้น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2446 และได้ให้กรมโยธาธิการซื้ที่ดินของราษฎรในบริเวณนั้นหลายสิบรายเพื่อรวมให้เป็นผืนใหญ่ในราคาที่ยุติธรรม ได้พระราชทานทรัพย์เพื่อการนี้ทั้งหมดในการก่อสร้าง ดังมีค่าใช้จ่ายที่สามารถค้นหามาได้ดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายทำกำแพงวังปารุสกวันยาว 275 เมตร เป็นเงิน 22,075 บาท
2. ค่าก่อสร้างตัวตำหนัก ยกเว้นหลังคา เป็นเงิน 61,173 บาท
3. ค่าใช้จ่ายในการทำถนนภายในวัง เป็นเงิน 1,583 บาท
4. ค่าใช้จ่ายในการทำท่อน้ำและระบบระบายน้ำ เป็นเงิน 6,229 บาท
5. ค่าขุดสระ เพื่อกลบที่ดินทำสนามหญ้า เป็นเงิน 1,967 บาท
6. ค่าใช้จ่ายทำหลังคาตำหนัก เพดานภายใน ปูพื้นหินอ่อนบันได ทำประตูหน้าต่าง ปูนปั้นลวดลายต่างๆ รางน้ำ สายล่อฟ้า และทาสี รวมเป็นเงินอีก 72,797 บาท



จะเห็นได้ว่าทรงสิ้นพระราชทรัพย์ไปเป็นอันมากทีเดียว สำหรับค่าของเงินในสมัยนั้น เพื่อให้ทันกับการกลับจากการศึกษาวิชาทหารจากประเทศรัสเซียในพ.ศ.2448 ของพระราชโอรส แต่ก็ประสบอุปสรรคเป็นอย่างมากในการก่อสร้าง ดังจะเห็นได้จากพระราชหัตถเลขาเร่งรัดไปยังเสนาบดีกระทรวงวัง เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2448 ว่า



“ให้เตือนว่า ลูกชายเล็กจะเข้ามาในประมาณเดือนสี่นี้เป็นแน่แล้ว เรือนไม่แล้วจะอยู่ที่ไหน นี้จะขี้ปดกันต่อไปวิกนั้นไม่ได้ เพราะไม่มีที่อยู่ จดหมายสั่งโยธาวังให้ไปกวดเร่งให้บ้านลูกชายเล็กแล้วในสามเดือนนี้

จุฬาลงกรณ์ ปร”




ต่อมาได้มีพระราชหัตถเลขาเล่าอุปสรรคในการสร้างตำหนักนี้ให้ทูลกระหม่อมจักรพงษ์ดังนี้



“สวนดุสิต
วันที่ 24 ธันวาคม ร.ศ.124
ถึง ลูกชายเล็ก



เรื่องบ้านได้เร่งกันมามากมาย พระสถิตออกยุ่งๆ ทิ้งงาน เขาว่าแกเล่นเบี้ยจนที่สุดนี้เปนอันเชื่อได้ว่าจะแล้วเสร็จในสามเดือนตั้งแต่วันนี้ ถ้ามาถึงก่อนนั้นก็จะต้องอาไศรยวังสราญรมย์ฤาเรือนที่สวนดุสิต

ตึกลูกโต (ทรงหมายถึงตำหนักจิตรลดาที่อยู่ใกล้กันของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ) นั้นแล้วนานแล้ว แต่แกไม่ขึ้นว่าจะให้ครอนิชเซ่อ (สถาปนิกอังกฤษที่จะมาสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม) มาถึงก่อน

ที่แท้เหนจะคับแคบกว่าที่วังสราญรมย์ จะเล่นลเมงลครอไรไม่ได้ ออกจะไม่อยู่

ในปีนี้งานวันเกิดแม่เล็กจะทำเปนพิเศศ มีความยินดีที่จะได้พบกันเร็วแล้ว



จุฬาลงกรณ์ ปร”




แต่ในที่สุด เมื่อทูลกระหม่อมจักรพงษ์เสด็จมาถึงเมืองไทย ตำหนักก็พร้อมที่จะเป็นที่พำนักถาวรของพระองค์ โดยที่พระบรมราชชนกหาได้ทราบไม่ว่าพระองค์นั้นได้ทรงแอบนำพระชายาชาวรัสเซียมาด้วย โดยให้อาศัยอยู่ที่สิงคโปร์ก่อน เสด็จเข้ามาเมืองไทยเพียงพระองค์เดียวก่อนเพื่อดูเหตุการณ์และหยั่งเชิง แต่เรื่องนี้ก็หาได้รอดไปจากพระเนตรพระกรรณของรัชกาลที่ 5 ไปได้ ดังที่ทรงพระราชหัตถเลขาไปยังทูลกระหม่อมจักรพงษ์ ดังนี้



“สวนดุสิต
วันที่ 8 พฤษภาคม ร.ศ.125
ถึง เล็ก



พระรัตนาญัตติมีโทรเลขมาว่า นายพุ่มไม่ยอมกลับกรุงเทพ ว่าลาออกจากราชการแล้ว เรื่องราวเปนอย่างไรกัน

อนึ่ง เรื่องของตัวเองที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ เรียกตัวว่า มาดามพิศณุโลกนั้น มีอย่างไรฤา



สยามินทร์”




ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าพระราชหัตถเลขาฉบับนี้ทรงกริ้วและเย็นชาอยู่ในที กล่าวคือ คำขึ้นต้นแทนที่จะเรียกลูกชายเล็ก กลับทรงเรียกเล็กเฉยๆ และคำลงท้ายก็ห้วนๆ ลงพระปรมาภิไธยว่า สยามินทร์แทนที่จะเป็นจุฬาลงกรณ์ ปร ดังที่ทรงเคยใช้




โปรดติดตามตอนต่อไป...



ที่มา : พลอยแกมเพชร ปีที่ 6 ฉบับที่ 137 15 ตุลาคม 2540
บล็อกที่เกี่ยวข้อง: [บล็อกย้อนอดีต] รวบรวมภาพ เล็ก - จุลจักร จักรพงษ์ ขึ้นปกครั้งแรกให้พลอยแกมเพชร เมื่อ 10 ปีก่อน






Create Date : 13 เมษายน 2550
Last Update : 16 เมษายน 2550 2:45:40 น. 0 comments
Counter : 1940 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

snodgrass
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





แสงหนึ่ง - ครอบครัว "ศรีณรงค์"
บรรเลงสดในรายการ "จับเข่าคุย"



ทำให้ใจเต้นแรง


บล็อกล่าสุด

รวมรูปคนดัง (6 มี.ค. 51) - Catherine Zeta Jones, Rachel McAdams, Maria Sharapova และอีกมากมาย

รวมรูปคนดัง (ครั้งยิ่งใหญ่) - Winona Ryder, Natalie Portman, Maria Sharapova และอีกมากมาย

รวมรูปคนดัง (ครั้งยิ่งใหญ่) - Jessica Alba, Kate Beckinsale, Jennifer Hawkins และอีกมากมาย

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ในความทรงจำของ "หมึกแดง"

บทความเก่าของคุณ ปิติ เลิศลุมพลีพันธุ์ "สนามวิจารณ์ : คารวะแด่ Morricone"

: Users Online
Group Blog
 
 
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
13 เมษายน 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add snodgrass's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.