กุมภาพันธ์ 2553

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
All Blog
การเลือกหุ้นเข้าพอร์ต

     วันเสาร์สบาย เป็นวันที่ผมใช้เวลาพักผ่อนกลับไปที่บ้านสวน นอนเล่นฟังเสียงนกเสียงไม้และเสียงจิ้งหรีด จิบกาแฟร้อนท่ามกลางสายลมใต้ต้นไม้ใหญ่ ผมเฝ้ามองต้นโมกใหญ่ต้นหนึ่งมันผ่านร้อนหนาวมาเกือบสิบปี ผมเองยังจำวันแรกที่ซื้อมันมาจากร้านขายต้นไม้ คอยรดน้ำพรวนดินจนต้นโตสูงใหญ่เป็นร่มเป็นเงาให้กับบ้านจนถึงทุกวันนี้ การซื้อหุ้นในมุมมองของผมมันก็เหมือนกับการปลูกต้นไ่ม้ ต้องอดทนและรู้จักการเฝ้ารอให้ผลตอบแทนมันงอกงาม แน่นอนว่าจะมาถึงจุดนั้นได้ มันต้องเริ่มต้นจากการเลือกต้นพันธุ์ที่ดี บวกกับจังหวะและโอกาสที่ดีด้วย เขียนอยางนี้ผมเองไม่ใช่ VI ผมเป็นนักลงทุนที่เล่นหุ้นในลักษณะการมองหุ้นเป็นเหมือนน้ำทะเลมีขึ้นและมีลง จบเป็นรอบ แต่ผมเองก็ชื่นชมวิธีคิดและนำเทคนิคการวิเคราะห์หุ้นแบบ VI ที่ศึกษาจากหนังสือหลายเล่มของเซียนนักลงทุนแบบ VI โดยเฉพาะวิธีการเลือกหุ้น


      ผมเองเลือกหุ้นทีมีพื้นฐานดีและมีอนาคตในการทำธุรกิจ ณ ขณะเวลานั้นๆ วิธีการเลือกหุ้นของผมมีวิธีคิดง่ายๆคือ ผมเลือกหุ้นที่ผมรู้จักอย่างน้อยต้องสัมผัสได้ถึงผลิตภัณฑ์และบริการของกิจการธุรกิจนั้น ข้อดีของการเลือกหุ้นที่เรารู้จักก็คือเราสามารถมั่นใจและอุ่นใจว่าถึงแม้เราจะถือหุ้นยาว(แม้จะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม) บริษัทที่เราถือหุ้นอยู่นี้ยังคงมีอนาคตและดำเนินต่อไปได้ กรณีนี้ผมเองเจอมากับตัวในช่วงวิกฤตปี 52 ที่ผ่านมาผมเองมี หุ้นที่เลือกใน watch list อยู่ตัวหนึ่งนั้นคือ PTT ตอนนั้นราคา PTT อยู่ที่ 150 บาทลดลงจากก่อนหน้าในเดือนเดียวกันปี 51 เกือบเท่าตัว ตอนนั้นผมเองที่ทดลองซื้อ PTT เพราะว่าตัวเองต้องเติมน้ำมันที่ปั้ม PTT บ่อยเป็นลูกค้าประจำทุกๆสัปดาห์ สังเกตดูทุกปั้มแถวๆที่ผมพักอาศัย ก็ยังมีรถเข้าใช้บริการอย่างหนาแน่น รวมไปถึงจำนวนรถที่ต้องรอคิวเพื่อเติม NGV นั้นคือเหตุผลที่ทำให้ผมมั่นใจว่าต่อให้ราคาลดลงไปมากกว่านี้ก็ไม่น่าจะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทมากนัก(รวมถึงปันผลที่จะได้รับ) วิธีการเดียวกันนี้เองก็ทำให้ผมใช้สำรวจธุรกิจที่ผมจะเลือกลงทุนทุกตัวที่อยู่ใน watch list ผมเลือกลงทุนในหุ้นที่ผมเองเป็นลูกค้าและประทับใจในสินค้าและบริการ แบ่งกระจายความเสี่ยงไปตามประเภทอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้ค่าความสัมพันธ์ของหุ้นแต่ละตัวเกี่ยวข้องกันน้อยที่สุด อธิบายง่ายคือถ้าหุ้น A ลงในกรณีปกติหรือเกิดขึ้นเพราะข่าว ก็ยังอุ่นใจได้ว่าหุ้น B ยังไม่ลงไปด้วยหรือมีผลกระทบไม่มาก เพื่อทำให้เรามีแผนสำรองในการรับมือเช่น อาจจะขายหุ้นที่มีกำไรเพื่อชดเชยการขาดทุนจากการ cut lose 


watch list ผมมีหุ้นทั้งหมด 10 ตัวประกอบด้วยธุรกิจที่ผมใช้บริการสม่ำเสมอ เช่น ธนาคาร,โรงพยาบาล,อสังหาริมทรัพย์,พลังงาน,ค้าปลีก,ITและกลุ่มของอาหาร หุ้นแต่ละตัวล้วนอยู่ใน SET50 ที่เป็นที่รู้จัก ที่สำคัญเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องดีเป็นที่นิยม โดยให้นำหนักการลงทุนเป็นพิเศษกับหุ้นในกลุ่มที่ผมคิดว่าจะเป็นธุกิจที่เติบโตได้ดีหรือบูมสุดๆในปีนั้น ผมจะทำการศึกษาและเรียนหุ้นทุกตัวที่เลือกและเก็บลงใน watch list เช่นการไปดาวน์โหลด NAV ย้อนหลังหลายๆปีมาดูเพื่อศึกษาช่วงคลื่นหรือจังหวะในการขึ้นและลงของหุ้นตัวนั้น ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีอะไรตายตัวแต่ข้อดีของวิธีการนี้ที่ผมสัมผัสได้คือมันช่วยในช่วงการตัดสินใจในจังหวะที่ต้องใช้อารมณ์ในการรับมือกับสถานการณ์ รวมไปถึงเป็นข้อมูลที่จะใช้กำหนดแผนการเล่นของหุ้นตัวนั้นๆว่าเหมาะสมจะเล่นแบบ สั้น กลาง หรือยาว ผมเองใช้เวลาในการศึกษาหุ้นแ่ต่ละตัวค่อนข้างนาน จนบางครั้งโดนเพื่อนแซวว่าป๊อดมัวแต่จดๆจ้องๆ บ้างก็ว่าถ้าช้าจะตกขบวน แต่ผมว่าการทำการบ้านมากๆ ย่อมปิดโอกาสพลาดของเราไปได้มาก การเล่นหุ้นที่ถูกชะโหลกและเข้าขากับเราเปรียบเสมือนกับการเริ่มต้นที่ดีแน่นอนว่าย่อมมีชัยไปกว่าครึ่งครับ



image form: freefoto.com







Free TextEditor



Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2553 23:34:39 น.
Counter : 1998 Pageviews.

1 comments
  
แนะ
พิมพ์เว้นบรรทัดด้วย
มองแล้วตาลาย
โดย: jejeeppe วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:15:55:52 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

coffee4you
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



พูดคุยติดตามเรื่องราวเทคนิคการเล่่นหุ้น
Free Ebook