ธันวาคม 2554

 
 
 
 
1
3
4
6
7
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
30
31
 
All Blog
ลงทุนหุ้นแบบพอเพียง

บ่อยครั้งที่ผมมักได้ยินคำกล่าวที่ว่า คนที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้น หากินกับการทำกำไรจากหุ้น มักเป็นพวกที่หิวเงินและชอบล่าเงิน แต่จากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสมาในตลาดแห่งนี้ ผมกลับมองว่าคำพูดเหล่านั้นไม่เป็นจริงไปทั้งหมด เพราะคนส่วนมากที่ประสบความสำเร็จ ต่างล้วนแต่ไม่ใช่คนโลภที่หิวกระหายในเงิน แต่คนเหล่านั้นเป็นคนที่รู้จักคุณค่าของเงิน รู้จักการรอคอยการงอกเงยและเติบโตของเงินแทบทั้งนั้น ยอมรับครับว่าในที่แห่งนี้กลิ่นของเงินมันหอมหวลชวนให้เราอยากกระโจนเข้าไปหาจริงๆ



 


 


 


 


 



 


แต่อย่างไรเสีย สัจธรรมพื้นฐานที่นักลงทุนอย่างเราต้องตระหนัก หรือจะใช้คำว่าสำเนียกก็ได้คือ "ไม่มีอะไรฟรีในโลกนี้" ทุกอย่างเรามักจะต้องจ่ายค่าตอบแทน มากน้อย ช้าเร็วก็ว่ากันไป สิ่งหนึ่งที่เป็นคำสอนที่ผมได้รับจากรุ่นพี่ที่แนะนำเรื่องการลงทุน ตั้งแต่สมัยผมเริ่มลงทุนใหม่ๆ ซึ่งผมยังจำได้ดี นั้นก็คือเรื่องของความพอเพียง แน่นอนว่าตอนแรกที่คำนี้ ถูกถ่ายทอดเข้าสู่โสตประสาทของผม ความฉงนสงสัยก็วิ่งเข้ามา เพราะความไม่เข้าใจว่าในตลาดที่ทุกคนจ้องแต่จะฉกฉวย กอบโกยเอาผลกำไรเข้าสู่กระเป๋าตนเอง เรายังสามารถใช้ความพอเพียงอยู่ได้อีกหรือ?? จนเมื่อเวลาล่วงเลยผ่านมาหลายปี จากการลองผิดลองถูกมากมายหลายตลบ จนความคิดได้ตกผลึก และแล้วคำตอบของคำถามก็ปรากฎขึ้น มันเป็นความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงการลงทุนแบบพอเพียง ไม่เกินตน พอประมาณ ตามแบบอย่างปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงที่ได้สังสอนเรามา 




ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้เป็นเรื่องของ ชาวไร่ชาวนา หรือเรื่องของความล้าหลัง แต่กลับเป็นแนวคิดพื้นฐาน ที่สำคัญต่อการเติบโตและการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน แน่นอนว่าถ้าเรามีความคิดที่จะร่ำรวยแบบยั่งยืนจากการลงทุนในหุ้นไม่ว่าจะแบบ VI หรือ VS ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้แหละครับคือคำตอบ หรือเป็นกุญแจดอกสำคัญที่เปิดประตูสู่ความสำเร็จให้ท่าน 




ผมขอเขียนเรื่องปรัญาเศราฐกิจพอเพียงกับการลงทุนในหุ้น จากมุมมองและประสบการณ์ของผม อาจจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ผมเชื่อว่ามันทำได้และเป็นไปได้จริงจากการพิสูจน์การลงทุนในตลาดหุ้นแห่งนี้มา 5 ปีแล้ว









1. พอประมาณ : คือการลงทุนแบบสอดคล้องกับทรัพยากรที่เรามี ทั้งเรื่องของ เงินทุนและเวลา (สำหรับติดตามราคาหุ้น) หลีกเลี่ยงการลงทุนแบบเกินตัว เพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงเกินไป หลายครั้งเรามักจะนำเงินกู้มาใช้ในการลงทุน เมื่อผิดพลาดก็มักจะไม่ยอมจำกัดการขาดทุน ยอมถือติดดอยทำให้ต้องเสียดอกเงินกู้มากมาย จนสุดท้ายอาจจะถูกบังคับขาย ขาดทุนในที่สุด เราควรพอใจในผลตอบแทนที่เราได้รับ รู้จักยินดีกับกำไรที่ได้มาแบบพอประมาณไม่โลภเกินตัว หรือพยายามไปเปรียบเทียบกับนักลงทุนคนอื่น 




แม้แต่เรื่องทรัพยากรเวลา ซึ่งถือเป็นยุทธปัจจัยที่มีค่าสำหรับนักลงทุน ทั้งเรื่องของเวลาศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการลงทุน และส่วนของเวลาเฝ้าติดตามราคาหุ้น บางคนใช้ทรัพยกรเวลาไม่เหมาะ ลงทุนหุ้นประเภทที่ต้องใช้การติดตามราคาอย่างใกล้ชิดทั้งที่ ตัวเองนั้นมีภาระงานประจำ มีภาระประจำวันที่ยุ่ง เมื่อใช้ทรัพยกรเวลาเกินตัว ผมก็คือ แทนที่จะกำไร ได้ผลตอบแทนสูงสุดท้าย ก็ขาดทุน หรือไม่ได้รับผลตอบแทนดังหวัง 




2. มีเหตุผล : เราต้องรู้จักระงับความโลภด้วยเหตุผล ไม่หลงไปกับความอยากได้กำไรเยอะๆ 10-20% ในเวลาอันสั้น ซึ่งนั้นมีความเป็นเหตุเป็นผลที่น้อย แถมเรายังต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นความเสี่ยงแบบมากมายตามมา(ซึ่งแมงเม่ามักมองไม่เห็นในตอนเข้าซื้อ) หลายครั้งคนเรามักจะพูดถึงแต่การได้กำไร แต่มักจะละเลยที่จะพูดถึงผลที่ตามมาเมื่อขาดทุน ดังนั้นการจะเลือกลงทุนในหุ้นตัวใด ประเภทใด เราควรใช้เหตุผลในการพิจารณาให้ถ่องแท้ ทำความเข้าใจในหุ้นที่เราจะลงทุน มองให้เห็นความเสี่ยงที่จะเกิด และโอกาสที่จะได้กำไร จงอย่ามองแค่ผลตอบแทนที่นำมาล่อ หรือถูกกล่าวอ้างถึงเพียงอย่างเดียว




3. ภูมิคุ้มกันที่ดี : การลงทุนในหุ้นเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง แต่แท้จริงแล้วในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ไม่เสี่ยง ใจความสำคัญมันจึงอยู่ที่การที่เราเข้าใจและรู้จักความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในการลงทุนมากน้อยแค่ไหน การเรียนรู้และเข้าในความเสี่ยง จะทำให้เราสามารถป้องกันและจำกัดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี และนั้นก็จะเป็นภูมิคุ้มกันชั้นเลิศ ในการลงทุน 




สำหรับผม การบริหารจัดการเงิน(Money Mangement) ถือเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการลงทุน ผมจะมีวินัยกับการลงทุนอย่างยิ่งยวดโดยเฉพาะเมื่อต้องทำการ cut loss เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และเป็นการจำกัดความเสี่ยง ที่เกิด เพื่อให้เห็นภาพผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผมไม่มีมีวันลืมถึงประโยชน์ของการ cut loss 




ในช่วงปลายปี 2550 ยังเป็นช่วงที่มีข่าวเรื่องปัญหาเศรษฐกิจที่สหรัฐออกมาเป็นระยะๆ เป็นสัญญาณภาวะตลาดหมีบนวิกฤตการเงินซับไพม์ ช่วงแรกดัชนีหุ้นหลังจากที่ขึ้นอย่างต่อเนื่องมาทั้งปีก็มีการชะลอตัว และแกว่งตัวในกรอบ แต่ข่าวดีปลอบใจก็ออกมาเป็นระยะ ไม่มีอะไรให้น่ากังวลใจ จนถึงช่วงเดือนที่ 11 ข่าวร้ายต่างๆและการประกาศภาวะวิกฤตการเงินก็เกิดขึ้นหุ้นทั้งกระดาน ต่างเดินหน้าดิ่งลงต่อเนื่องอย่างไม่ได้นัดหมาย ติดต่อกัน จากสัปดาห์เป็นเดือน มีข่าวร้ายๆมากมายสไตล์แมงสาปไม่ได้มาตัวเดียว แบบการละลายของวาณิชธนกิจ เลห์แมน บราเตอร์ส ปัญหาสภาพคล่องของ AIG 




 









ผมเอง ขณะที่เกิดวิกฤตพอร์ตถือหุ้น PTT เต็มเหนี่ยวหลังจากที่ทยอยซื้อสะสมมาเรื่อยๆ ตอนนั้นต้นทุน PTT อยู่ที่ 390 บาท ซึ่งราคาเคยขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 440 (10-2007) เคยทำกำไรให้ผมชื่นใจอยู่พักหนึ่ง เมื่อเกิดวิกฤตจากกำไร กลายเป็นขาดทุน จนมาถึงจุด cutloss ที่ 10% ตอนนั้นผมไม่คิดว่ามันจะรุนแรง (ปลอบใจตัวเอง ว่าหุ้นพื้นฐานดี คนไทยยังต้องใช้น้ำมัน) แต่ด้วยวินัยการเทรด ก็เลยยอมตัดขาดทุนหลังจากยื้อและทนต่อสู้กับจิตใต้สำนึก ที่ ขาดทุน 20% หลังจากนั้นผมก็ล้างพอร์ตด้วยการตัดขาดทุนอีกหลายตัว ใครจะเชื่อว่า ในวิกฤตการเงินครั้งนั้นหุ้นนำตลาดที่มี มาร์เก็ตแคปต้นๆแบบ PTT จะมีราคาลดลงได้ถึง 147 บาท ในเดือน 11 ปี 2008 เล่นเอาหลายคน ในแวดวงการเงิน การธนาคารออกมาร้องเสียหลงพร้อมกันว่า หุ้นไทยตอนนี้ราคาถูก ถูกกว่าพื้นฐาน หุ้นบางตัวบริษัทมาตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้นเอง ราคายังลดลงต่อได้อีกเกือบ 30% หลายตัวในตลาด MAI ราคาดิ่งแบบติดดิน




วันนั้นถ้าผมไม่หยุดการขาดทุนที่ 20% ยอมทิ้งเงินหลายแสนแบบไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผมคงกอดหุ้นติดอยู่บนยอดดอยหลายปี ถึงแม้จะซื้อถั่วขาลงตามธรรมเนียมนิยมแบบแมงเม่า ก็คงยังไม่ได้ลงจากดอย ที่สำคัญคงต้องแช่แข็งเงินทุน เสียโอกาสในการลงทุนเพื่อทำกำไรในตลาดขาขึ้น ในช่วงปี 2009 - 2011 ที่แค่เลือกหุ้นในกลุ่ม SET100(จะปาเป้าก็ได้นะ) แล้วกอดไว้เฉยๆก็กำไรเป็น100 % ได้แล้ว(เพราะดัชนีพุ่งจาก 408 ไป 1148 ใน 3 ปีต่อมา) 




ที่หยิบยกเรื่องนี้ก็เพราะอยากให้รู้ว่า อนาคตไม่มีทางล่วงรู้ สิ่งที่เราทำได้ก็คือสร้างภูมิคุ้มกัน เตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงอย่างไม่ประมาท




สามข้อที่กล่าวมาจะไม่สามารถสมบูรณ์ได้ถ้าขาดอีก 2 เงื่อนไข นั้นคือ 




เงื่อนไขด้านความรู้ : ความรู้ที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในการลงทุน ศึกษาให้เข้าใจอย่างท่องแท้ ไม่ใช่รู้เอาไว้อวดรู้ แบบผิวเผินเพียงอย่างเดียว ที่สำคัญการศึกษาหาความรู้ควรใช้ปัญญาพิจารณาต่อยอดให้เหมาะกับ รูปแบบการลงทุนของตัวเราให้มากที่สุด




เงื่อนไขด้านคุณธรรม : หัวใจสำคัญคือ การใช้หลักธรรมมาประยุกต์ในการดำเนินในโลกการลงทุน ในสังคมนักลงทุน ทั้งเรื่อง ความอดทน การรู้จักรอคอย ความขยันหาความรู้ใส่ตนเอง ความรอบคอบ มีทัศนคติที่เป็นบวก มีวิสัยทรรศในการลงทุนที่กว้างไกล ที่สำคัญต้องมีจิตใจสุจริต ไม่คิดหลอกลวง หรือเอาเปรียบคนอื่นๆ 




ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นดั่งธงชัยที่นำเราสู่ความสำเร็จระยะยาวได้ การลงทุนหัวใจคือต้องรักษาทุนและทำให้มันงอกเงย ถ้ากำไรหลายแสนหลายล้าน แล้ววันหนึ่งต้องหมดตัว ขาดทุนหมดหน้าตัก จากความผิดพลาด สิ่งที่สะสมมาก็จะหายไปหมดแบบนี้เท่ากันคุณแพ้อย่างสิ้นเชิง ดังนั้น รวยช้าๆรวยอย่างพอเพียง ดีที่สุดครับ






อ้างอิงเพิ่มเติม


//th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง


//th.wikipedia.org/wiki/วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์


//www.learners.in.th/blogs/posts/77559






Free TextEditor



Create Date : 08 ธันวาคม 2554
Last Update : 8 ธันวาคม 2554 11:52:19 น.
Counter : 1158 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

coffee4you
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



พูดคุยติดตามเรื่องราวเทคนิคการเล่่นหุ้น
Free Ebook