กุมภาพันธ์ 2554

 
 
1
3
6
7
8
10
13
15
18
20
21
24
25
26
27
28
 
 
22 กุมภาพันธ์ 2554
All Blog
ทฤษฎีสองสูง

ทฤษฎีสองสูง ของ เจ้าสัวซีพี ธนินท์ เจียรวนนท์


เพิ่งจะมีโอกาสได้ดูตั้งแต่ต้นจนจบ เรื่อง ทฤษฎีสองสูง ของ เจ้าสัวซีพี ธนินท์ เจียรวนนท์ ที่ได้สัมภาษณ์ในรายการ จับเข่าคุย เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2551 และ 8 เมษายน 2551


ที่จริงแนวคิดนี้ผมเคยนั่งคิดเล่นๆ เหมือนกัน แต่ไม่ลึกซึ้ง และไม่สามารถหาทางออก จนความคิดจบลูปได้แบบที่ คุณธนินท์ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ ยอมรับครับ สุดยอดจริงๆ


เลยขอสรุปออกมาเป็นหัวข้อๆ ถ้าผิดลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ



  • ทฤษฎีสองสูง สรุปง่ายๆ คือ ให้ราคาสินค้าขึ้นสูง โดยเฉพาะเกษตร ที่เป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศมีรายได้สูง แต่ก็ต้อง ปรับเงินเดือนขึ้นสูงตาม ให้มีความสมดุลกัน

  • บ่อน้ำมันบนดินของไทยคือสินค้าเกษตร

  • ยางเป็นสินค้าที่ควรจะต้องมีราคาสูง เพราะมีไม่กี่ประเทศในโลกที่ปลูกได้ และความต้องการยางสูงมาก ซึ่ง 80% ของโลกมาจาก ไทย อินโดฯ มาเลฯ และควรจับมือกันขึ้นราคา อาจจะได้ 150 หรือแพงตามราคาน้ำมัน หรือสูงกว่าก็ยังได้

  • ตอนนี้จีนและอินเดียกำลังบูม ยาง ข้าว ปาล์มจะขายได้ มีสูง

  • สินค้าเกษตรตอนนี้ส่วนหนึ่งที่แพง เพราะคนบริโภคสูง และมีเครื่องจักรก็มาแย่งเราบริโภคด้วย เช่น ข้าวโพด อ้อย ปาล์ม นำไปเป็นเชื้อเพลิง

  • ถ้าจีนต้องการซื้ออะไีร ทั้งโลกปั่นป่วน 1200 ล้านคนนั้นใช้ พลังมหาศาล สินค้านั้นแทบจะผลิตไม่ทันทันทีดังนั้น ประเทศไทยควรศึกษาว่า อนาคต จีนต้องการอะไร และเค้าจะขาดอะไร (อินเดียก็เช่นกัน ควรศึกษาให้ลึกๆ ว่าแต่ละปี ถ้ารวยขึ้นมา เขาจะซื้ออะไร)

  • บลาซิล เครื่องจักนตัวที่ 5 ของโลก, ญี่ปุ่น+เอเซียน, อินโดฯ ซึ่ง มีทุกอย่างที่เรามี ยาง ข้าง ป่าไม้ น้ำมัน ปาล์ม แก๊ส , พม่า ทรัพยากรใต้ดินยังไม่ได้ใช้, เวียดนาม มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติ แก๊ส น้ำมัน ถ่านหิน คนขยัน อดุมสมบูรณ์, ไทย กำลังจะรวยแซงหน้าเค้า ถ้ารัฐบาลเข้าใจว่าเราก็มีน้ำมัน น้ำมันบนดินใช้ไม่หมด แพงด้วย

  • ในโลกนี้ประเทศที่รวยแล้ว เขาจะไม่ยอมให้สินค้าเกษตรถูกลง ถึงแม้เกษตรกรจะมีเพียงแค่ 1% ในประเทศ เขาถือว่าเป็นทรัพย์สมบัติของเขา ถึงแม้เราจะขายให้เขาถูก เขาก็ไม่ซื้อเกษตรกรเขาจะเจ๊ง อะไรปลูกได้ก็สนับสนุนปลูกหมด และ ขายแพง เพราะมองว่ามีค่าเหมือนน้ำมันเช่นกัน

  • คุณธนินท์ เทียบให้ฟังว่า เขาขายอาหารสัตว์ เป็นเบอร์ 1 แล้วมีคู่แข่ง ถ้าเบอร์1 ขาย 1 บาทเบอร์อื่นๆจะไปขาย 1 บาทตามได้อย่างไรลูกค้าก็คิดว่าควรจะซื้อเบอร์ 1 มากกว่า เหมือนกับข้าว ให้เราคุยกับเวียดนาม (เบอร์สองของโลก, อินเดียเป็นเบอร์สาม) ให้ขายไปก่อน ไปเลย 15 บาท ให้เขาเอากำไรไปก่อน เป็นใครใครก็เอาโดยไม่ต้องกลัวว่าเขาจะแย่งตลาด พอถึงทีเราขาย เราก็ขาย 18 บาทไปเลย เมื่อเวียดนามขายหมดแล้ว และเราไม่จำเป็นต้องขายหมด และที่เหลือยังถือว่าได้ฟรี (1) แถมเวียดนามพอใจมากที่เบอร์หนึ่งอย่างไทยใจกว้างปล่อยตลาดให้ก่อน เพราะขายอย่างไร เราก็ยังขายได้มากกว่าเขา เพราะ % การปลูกของเวียดนามมีเท่าเดิม ไม่ว่าจะขายก่อนขายหลังไทย แต่ข้าวเราต้องเตรียมพร้อม

  • (1) ขายน้อยแต่เอาราคาดี เราเอาข้าวที่เหลือ(เกรดดี)ไปสร้างตลาดใหม่ ให้ฟรีๆ เช่น เกาหลีเหนือ ให้ข้าวหอมมะลิไปลอง ให้ลื่นคอ ติดใจ จนในชีวิตจำได้ว่าข้าวไทยอร่อย เมื่อใดเกาหลีเหนือรวย วันนั้นจะซื้อข้าวไทย เมหือนกับที่จีนทุกวันนี้เป็นอยู่ ถามคนจีนที่ไหนใคกร็รู้จักว่าข้าวไทยอร่อยที่สุด และติดใจที่สุด และคุณธนินท์เชื่อว่า ยังไงเกาหลีเหนือก็ต้องรวย ถ้าไม่ไปเซ็นเซอร์เขา

  • ปัจจุบัน 130 ล้านไร่พื้นที่เกษตร มี 67 ล้านไร่(2)ปลูกข้าว คุณธนินท์ เลยเสนอโมเดล ปฏิวัติการเกษตรใหม่ โดย เอา 25 ล้านไร่ที่ปลูกข้าว ที่ชลประทาน จัดรูปที่ดิน เอาน้ำตรงนี้ไปทำไส้ไก่ ทำถนนเข้าไร่นา ซึ่งคุณธนินท์เรียกว่าเป็นถนนเศรษฐกิจที่แท้จริง เพราะปัจจุบัน กว่าชาวนาจะขนสินค้าจากไร่นาสุดลูกหูลูกตามาถนนได้ เสียทั้งแรงงาน และเวลาอย่างมาก หากจัดรูปที่ดินเป็นรูปแบบให้เหมือนมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยเริ่มจากพื้นที่มีน้ำชลประทานพร้อม จำนวน 25 ล้านไร่ และทำให้สมบูรณ์แบบ ต้องการน้ำเข้าหรือออก ทำได้ตลอด ลงทุนประมาณ 3 แสนล้านบาท แต่ถ้าเอา 25ล้านไร่ สมมุติว่าขาย 15 บาท จะได้เงิน 9 แสนล้านบาท ราคานี้ได้แน่นอน ถ้าทำดีๆ ผลผลิตดีๆ จะได้ราคาแพงเท่าๆ กับน้ำมัน ไม่เช่นนั้นลงทุนไปไม่คุ้ม และปริมาณของผลผลิตที่ผลิตจาก 25 ล้านไร่ จะได้มากกว่า 67 ล้านไร่ในปัจจุบัน ซึ่งได้ตัวอย่างมาจากใต้หวัน (3)

  • (3) ใน ใต้หวัน เขาจะขุดดินเป็นคลองสองคลอง ขึ้นมาตรงกลางทำถนนให้รถปิ๊กอัพ หกล้อ เข้าไปได้ แล้วมีขาสองข้างติดรถ ข้างละ 500 เมตรสมมุติปล่อย 3 คันพร้อมกันมี ได้ทั้ง ยาฆ่าหญ้า ฆ่าศัตรูพืช ให้ปุ๋ยทีเดียว 1000 เมตร และขุดคลองระบายน้ำขนาดรถตุ๊กๆ วิ่งได้ ถ้าต้องการน้ำก็ให้ใช้คลองสองคลองที่ขุดทำถนนมาดูดน้ำใช้

  • (3) เกิดอาชีพ อย่งาน้อย 2 อาชีพ 1. อุตสารกรรมเพาะกล้าขาย ทำให้ลดเวลาการเติบโต เพราะกล้าแข็งแรง ใก้ผลผลิตได้สามรอบ ไม่มีโรค แต่ดินต้องไม่มีโรคด้วย 2. รับเหมาส่งขาย ดำนา ขุดอะไรให้เสร็จสรรพ 3. รับดูแลเรื่องน้ำ เรื่องเก็บเกี่ยว เรื่องศัตรูพืช

  • ต่อไปประเทศไทย 70-8% ต้องเป็นบริการ ส่วนคนงาน ต้องเป็นคนงานไฮเทค ส่วนชาวนา เหลือ 1.5% (ญี่ปุ่นตอนนี้เหลือ 4%) สมมุติว่า มีสวนผลไม้ ปีหนึ่งสุกครั้งเดียว แต่ตอนที่ยังไม่สุกถึงมีแรงงานก็ไม่รู้จะไปใช้อะไร แต่เวลาสุกแล้วเราคนเดียวก็เก็บไม่ทัน ดังนั้นต้องวางแผนว่า เก็บมะท่วงเสร็จ ต่อไปเก็บทุเรียน เก็บทุเรียนแล้วต่อไปจะเก็บอะไร ต้องมีบริษัทจัดการ คุณธนินท์ เลยยกตัวอย่าง ตอนจับไก่ ตอนแรกก็ให้ชาวบ้านลงแขก พอมีงานอะไรทีก็ไม่มาช่วยจับ นานๆมาจับครั้งหนึ่ง ทำให้ไก่เสียหาย ปีกหัก ขาหัก บางทีไม่มาจับ ทำให้โรงงานรอไก่ ไม่มีไก่ไปถึง ผู้ซื้อก็รอซื้อไก่ มาพักหลังคุณธนินท์เลยต้องสร้างมืออาชีพจับไก่ ได้ตรงเวลา ไม่เสียหาย หรือมีทีมวัคซีน ก็ลงไปทำให้เกษตรกร กลายเป็นยกเกษตรกรให้กลายเป็นเถ้าแก่ไปในตัว ความเสี่ยงไม่มี ชีวิตดีขึ้น

  • (3) ข้าว 25 ล้านไร่, 30 ปลูกยาง ตรงที่น้ำน้อยกว่า อีก 12 ล้านไร่ ปลูกปาล์มในที่ลุ่มที่เหมาะสม ถ้าแบ่งตามนี้ แค่ข้าว 25 ล้านไร่ จะได้กว่า 9 แสนล้านบาท (ซึ่งมากกว่าปลูก 67 ล้านไร่แบบเก่า ที่ได้ 2แสนกว่าล้านบาท มากกว่าเดิม 3.5 เท่า) ยาง 30 ล้านไร่ (ที่แบ่งมาจากพื้นที่ปลุกข้าว ไม่รวมพื้นที่ที่ปลูกยางอยู่แล้ว) จะได้ 1.2 ล้านล้านบาท ถ้ารวมปาล์มด้วยจะได้ 2.3 ล้านล้านบาท รายได้มากขึ้นกว่า 10 เท่า (ยิ่งถ้าราคาขึ้นตามน้ำมัน จะมากกว่านี้) ซึ่งจะได้ตามนี้ต้องแปลงพื้นที่ดิน ต้องลงทุนให้เป็นระบบ




  • คุณธนินท์ บอกว่าถ้าทำตามแนวคิดเขา เราแทบพิมพ์เงินได้เลย เพราะที่โผล่ขึ้นมา คือทองบนดินบนประเทศไทย เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ได้ภาษามูลค่าเพิ่ม แล้วก็ขึ้นเงินเดือนได้เลย

  • ห้ามกดราคาข้าว เพราะเหมือนทองคำ เป็นทรัพย์สมบัติชาติ เหมือนที่ญี่ปุ่นทำ ปล่อยให้ราคาข้าว 200 ไม่ลดเหลือ 20-30 บาท เพราะเขามองว่ามีค่าเหมือนน้ำมัน ถ้าหากข้าวถูกลงคนไทยก็จนลง แม้ในประเทศกินข้าวแพงขึ้น ก็ต้องเพิ่มเงินเดือนให้สมดุลสูงตามกัน

  • เมื่อชาวนารวยขึ้น จับจ่ายมากขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น ข้าราชการเงินเดือนขึ้น มีเงินจับจ่ายต่อ สมมุติ สร้างบ้าน 1 หลัง สามารถหมุนได้ 6-7 รอบ และแต่ละรอบได้เงินภาษี ฉุดให้อุตสาหกรรมหลายอย่างสูงตัวขึ้น เช่น สายไฟ เหล็ก กระเบื้อง ไม้ ปูน หลอดไฟ ฯลฯ ถ้าโรงงานไม่ขายตรง พ่อค้าคนกลาง ก็ได้ต่อ มีการขนส่งสินค้า ก็เปิดกับโลจิสติก ช่างไม้ คนงาน ช่างปูน เฟอร์นิเจอร์ ทำให้คึกคักไปหมด

  • คุณธนินท์ บอกว่า ยอมกินข้าวแพง แต่ขึ้นเงินเดือนให้สูงสมดุลกัน ถือว่าไม่เป็นเงินเฟ้อ

  • เงินจะได้จากภาษี จากสินค้าที่ขายแพง พอสินค้าแพงเท่าตัว ภาษีมากขึ้นเท่าตัว พอได้เงินเท่าตัว คนก็จับจ่าย อุตสาหกรรมเกิด บริการเกิด แม่ค้าหาบเร่ แท็กซี่เกิด คึกคัก

  • แนวคิดนี้คุณธนินท์ ยกตัวอย่างใต้หวันเมื่อ 40 ปีก่อน เงินเดือนเขาน้อยกว่าไทย 8 เท่า แต่่ปัจจุบันสูงกว่าไทยไม่ต่ำกว่า 8 เท่า

  • เมื่อเกษรตรกรได้ดี ก็จะเริ่มค้นหาเทคโนโลยี หรือผู้มีเทคโนโลยี ทำให้เขาได้เพิ่มผลผลิต สุดท้าย แบงค์ก็กล้าปล่อยกู้ นักลงทุนก็กล้าลงทุน แต่ถ้าหากไปกดเขาให้ราคาถูก ความเสี่ยงสูง ก็ไม่มีใครกล้าลงทุน แบงค์ก็ไม่กล้าปล่อยกู้ คนจนก็ยิ่งจน

  • คุณธนินท์ บอกว่ายังดีที่รัฐบาลก่อนๆ มี BOI มีการส่งเสริมอุตสาหกรรม มีการส่งเสริมท่องเที่ยว คนไทยก็หนีไปทำงานต่างประเทศ เลยทำให้ไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไร แต่ที่จริงแล้ว ทรัพย์สมบัติของชาติกำลังหายไป คนไทยน่าจะรวยกว่านี้เยอะ

  • คุณธนินท์ บอกว่าให้เรายกราคาเกษตรให้ตีคู่ไปกับราคาน้ำมัน เพราะน้ำมันมนุษย์ สำคัญกว่าน้ำมันเครื่องจักร ทำไมเราไม่ดึงขึ้นมาคู่กับเขา แล้วถ้าคนจนบ่น ก็ใช้วิธีขึ้นเงินเงินเดือนอย่าไป อย่าไปกดราคาของ แต่ให้ไปเพิ่มเงินเดือนแทน

  • เมื่อก่อน 35 ปีก่อน ข้าราชการจบใหม่ ป.ตรี 1,200 บาท วันนี้ได้ 6,800 บาท เมื่อก่อนซื้อทองได้ 3 บาท วันนี้ 50 สตางค์ ยังซื้อไม่ได้เลย (1)

  • (1) คุณธนินท์ บอกว่า เหตุการนี้ผิด เงินเดือนเรายังเท่าเดิม แต่น้ำมันแพงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราก็ไปกดราคาน้ำมันเค้าไม่ได้ เราเลยต้องมากดน้ำมันของเรา (สินค้าเกษตร) ซึ่งเป็นสมบัติของชาติให้ราคามันต่ำลงไปอีก แล้วประเทศไทยจะเงยหน้าอ้าปากได้อย่างไร เมื่อคนส่วนใหญ่ยังยากจน

  • ไม่ต้องกลัวว่าราคาสูงแล้วจะขายไม่ออก เพราะเป็นสินค้าที่ต้องใช้ เช่น ยางพารา ความต้องการนำไปผลิตรถยนตร์มาสูง คุณธนินท์ เลยบอกว่า บางพาราเราน่าจะแพงกว่าน้ำมันด้วยซ้ำไป เพราะทำยากกว่า น้อยกว่า แต่คนต้องการสูง ผลิตได้ไม่กี่ประเทศ

  • คุณธนินท์ ไม่เห็นด้วยกับการเอาเงินไปให้เกษตรกร เพราะไม่รู้ว่าเงินถึงมือเกษตรกรจริงหรือเปล่า แต่ให้เอาเงินก้อนนี้มาช่วยผู้บริโภคมากกว่า ขึ้นเงินเดือนให้ประชาชน ถ้าอะไรแพงอะไรถูก เขาก็เลือกซื้อได้ สรุป ให้สองสูงดีกว่าสองต่ำ

  • คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าดัชนีค่าครองชีพสูงหรือเงินเฟ้อ ซึ่งไม่ใช่ แต่นี่คือการปรับโครงสร้างให้เหมาะสมตามความเป็นจริง คุณธนินท์บอกว่า เงินเฟ้อคือมีเงินแต่ไม่มีของ นั่นคือเฟ้อจริง แต่ถ้ามีเงินมีของ แต่ของแพง ไม่ถือว่าเฟ้อ และยิ่งของสิ่งนั้นเป็นของในประเทศไทย นั่นเองคือทรัพย์สมบัติของชาติ

  • พิธีกรถามว่า ถ้าคุณธนินท์เป็นรัฐบาลจะทำอย่างไร คุณธนินท์ตอบว่า อย่างแรกปล่อยราคาของขึ้นไปเลย แล้วรีบปรับเงินเดือนให้ขึ้นตาม ถ้าไม่มีก็ให้ไปกู้มาขึ้นเงินเดือนให้สมดุลกับราคาของ และเชื่อไ้ด้ว่า จะได้ภาษีมาคืนได้ และงบประมาณจะไม่ขาดดุล แต่ถ้ายิ่งกด ต่อไปจะขาดดุล ภาษีไม่มี คนไม่มีเงิน

  • คุณธนินท์บอกให้มองดูประเทศอื่น หรือญี่ปุ่น เขาทำอย่างไร ราคาสินค้าญี่ปุ่นสูงที่สุดในโลก แล้วคนของเขาอยู่กันได้อย่างไร

  • คุณธนินท์บอกว่าถ้ารัฐบาลทำแบบนี้ ตบมือสองครั้ง ดังแน่นอน เหมือนสมัยคุณทักษิณ ปล่อยเงิน 70,000 ล้านบาท กองทุนหมู่บ้าน ยังดัง นี่ปล่อยแล้วให้ชาวบ้านได้เงินทั้งประเทศเป็นแสนๆล้าน และยิ่งคนในรัฐบาลเก่งๆ ทำได้ดีกว่าที่คุณธนินท์คิดไว้ จะได้เป็นล้านๆ คราวนี้ภาษีก็ได้มากตาม แต่เวลานี้ไทยเรายัง สองต่ำอยู่ สิ่งที่รัฐบาลกลัวก็เพราะไม่รู้จะเอาเงินจากไหนมาเพิ่มเงินเดือน คุณธนินท์เลยบอกว่าให้ไปกู้เอา เพราะตัวเขาเองหรือนักธุรกิจอื่นๆ เขามี 1 กู้ 2 เพราะรู้แน่ๆ ว่าได้คืนจึงกล้าทำ หากรัฐบาลกู้แล้วปล่อยเงินเดือนสูง คนมีเงินใช้จ่าย ภาษีมาก เกษตรกรเกิด ทุกอย่างก็คึกคัก

  • คุณธนินท์ มองว่านี่คือโอกาส ไม่ใช่วิกฤติ ต้องทำตอนนี้ เขาบอกว่าสินค้าเกษตรต้องแพง แล้วปล่อยอย่างต่างประเทศ เมื่อตัวใดถูก เขาก็จะซื้อแพงจากเกษตรกร เพื่อนำไปทำอย่างอื่นๆ ต่อ เช่น ยุโรปนมถูก รัฐบาลเขาก็ซื้อแพงแล้วมาย้อมสีขายคนเอเซียถูกๆ เพราะเขามองว่าถ้าเกษตรกรของเขาจน ประเทศก็จะจนตาม หรือญี่ปุ่นที่สินค้าเกษตรราคาสูงมาก เช่น แคนตาลูป ลูกละ 100 เหรียญ (2)

  • (2) ดังนั้น ณ เวลานี้ ของเกษตรแพงขึ้น รัฐบาลไม่ต้องเอาเงินไปหนุนซื้อถูกขายแพงเพราะราคามันแพงอยู่แล้ว จึงเป็นช่วงที่ทำได้ง่ายที่สุด

  • คุณธนินท์ บอกว่า ถ้าสองต่ำหัวใจวาย เพราะข้างบนก็ต่ำข้างล่างก็ต่ำ เปรียบเทียบจีน ที่เคยเป็นสองต่ำ และเติ้งเสี่ยวผิงต้องเปลี่ยน

  • คุณธนินท์ บอกว่าบาทแข็งดีกว่าบาทอ่อน เช่น เราซื้อน้ำมันได้ถูก มีโอกาสซื้อเครื่องจักรซื้ออุปกรณ์ถูก นำมาพัฒนาคุณภาพเราได้ แล้วปัญหาการส่งออก ถ้าเราส่งออกของถูก กำไรเราก็ไม่มาก ได้แต่น้อย เพราะผู้ซื้อรู้ว่าบาทเราอ่อน ก็เอาเงินบาทอ่อนมาคำนวณต้นทุนเรา กำไรก็น้อยอยู่ดี ขึ้นราคาก็ไม่ได้ (ตรงนี้คุณธนินท์บอกว่าตัวเขาก็เคยเป็น) แต่ถ้าบาทแข็ง ส่งออกเดือดร้อน แต่เป็นชั่วคราวเท่านั้น เพราะสุดท้ายคนซื้อก็ต้องยอมรับได้ว่า้ต้นทุนมาแพง เขาก็ต้องซื้อ จะเดือดร้อนแค่ตอนเปลี่ยนราคา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็อยู่ที่ว่าเขาต้องการสินค้าเราหรือเปล่า ถ้าหากบาทอ่อนแต่ไม่ต้องการ ก็ขายไม่ได้อยู่ดี แต่ถ้าต้องการซื้อ ต่อให้บาทแข็งก็ซื้อ ดังนั้นเราต้องพัฒนาสินค้าของเราให้เป็นความต้องการของตลาดโลกให้ได้

  • อย่ามัวแต่สนว่าให้บาทอ่อนเพื่อแข่งกับคนอื่น เพราะเหมือนกับไฟไหม้บ้าน เผาตัวเอง หมดเนื้อหมดตัว ถ้าบาทแข็งเปรียบเหมือนน้ำท่วม แม้ทั้งสองอย่างจะเสียหายเหมือนกัน แต่น้ำท่วมเสียหายน้อยกว่า ลองวิเคราะห์ว่า บาทแข็งเรา import save เงินไปเท่าไร โดยเฉพาะน้ำมัน เครื่องจักร วัตถุดิบ หากบาทอ่อน คนเสียหายจะมีบริษัทใหญ่ๆ 70% ที่ export ได้ และส่วนใหญ่ก็จะซื้อจากต่างประเทศมาประกอบและขาย ในส่วนที่ซื้อจากต่างประเทศถือว่าเจ๊ากัน เช่น ซื้อมา 80% หากบาทอ่อนเราจะเสีย 10% ที่ต้องลดราคา ถ้าบาทแข็งซื้อถูก นะไปขายถูก ไม่ได้ไม่เสีย เหมือนพวกโรงงานรถยนตร์ ซึ่งบริษัทพวกนี้ต้องแก้ไขปรับปรุงตัวเอง ซึ่งรวมถึง CP ด้วย ตรงนี้คุณธนินท์บอกว่าอย่าไปห่วงเขามาก แม้เขาจะมีเสียงดัง เราต้องการเมืองเพื่อการบ้าน ไม่ใช่การเมืองเพื่อการเมือง

  • คุณธนินท์ บอกว่าถ้านักการเมืองต้องการคอรัปชั่นชื่อเสียง เขาก็คอรัปชั่นเพื่อให้ชื่อเสียงดีบ้านเมืองเป็นอย่างไรไม่สน นี่ถือว่าไม่เป็นนักการเมืองที่ดี แต่ถ้านักการเมืองที่ดี ต้องรับใช้ประเทศชาติ ประโยชน์ประชาชนเป็นใหญ่ ชื่อเสียงเราต้องเป็นที่สอง อย่าไปสร้างภาพตัวเอง ถึงแม้ตอนแรกคนจะไม่เข้าใจ และตัวเองจะเสียชื่อ แต่วันหนึ่งประวัติศาสตร์จะจารึกไว้เราทำเพื่อชาติ

  • บาทอ่อน จะมี 30% ที่เดือดร้อน ซึ่ง 70% เป็นบริษัทใหญ่ เขาปรับตัวได้ไม่ต้องไปสนใจ เพราะเกิดเดือดร้อนชั่วคราว และคราวนี้ก็มาดูแล 30% ที่เหลือว่าเขามีปัญหาอะไร จะช่วยได่้อย่างไร เช่น ถ้าสินค้าเขาไม่เหมาะสมกับโลก อย่างไรเราก็สู้เขาไม่ได้ แนะนำให้ทำอย่างอื่น หากเขาสู้ได้แต่ขาดเงิน ก็ให้กู้ผ่อนระยะยาว จนพ้นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ แต่หากดันให้อ่อนไปตลอด จะเสียทั้งคู่

  • คน export ไม่ได้รวยอย่างที่คิด เพราะโดนผู้ซื้อกดราคา จำไว้ว่าผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดราคา ไม่ใช่คนขายเป็นผู้กำหนด ยกเว้นสินค้าที่จำเป็น เช่น ยาง ข้าว เรานี่แหละคือผู้กำหนด

  • บาทเราตอนนี้ไม่ได้แข็ง แต่เป็นเพราะอเมริกา ดอลล่า อ่อน ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องไป export อเมริกา แต่ไป import แทน ส่วนประเทศที่ค่าเงินแข็งกว่าเรา ต้อง export เช่น ยุโรป อินเดีย จีน ให้จับทางให้ถูก ว่าเขา้ต้องการอะไร และขายสิ่งนั้นให้เขา จะเกิดการซื้ออย่างมโหฬาร จะกิน จะใช้อะไร ซึ่งมากกว่างานบริการไม่รู้กี่เท่า

  • คุณธนินท์ บอกว่า ที่รัฐบาลก่อนไปเซ็นกับญี่ปุ่น เราได้เปรียบ (เรื่องข้าวไม่ต้องไปสนใจเพราะเรายังขายที่อื่นได้อีกเยอะ) เพราะหลังจากเซ็นปุ๊บ อุตสาหกรรมญี่ปุ่น โยกย้ายฐานมาผลิตที่เมืองไทยมากมาย และถ้าเราให้สิทธิเปลี่ยนคนญี่ปุ่นบริษัทญี่ปุ่นให้กลายเป็นสัญชาติไทย ซึ่งเขามีทั้งเงิน ทั้งเทคโนโลยี ทั้งตลาดในญี่ปุ่น เท่ากับเราเรียนลัด ไปเอาคนเก่งของเขามาใช้ได้ทันที เหมือนกับที่อเมริกาทำกับยุโรปตะวันตก

  • อเมริกาฉลาดมากที่ไปล่าเอาคนเก่งๆในยุโปรตะวันตก ให้ทุนไปเรียนอเมริกาฟรี ถ้าเรียนเก่ง มีผลงาน ให้สิทธิสัญชาติอเมริกาไปทันที ชุบมือเปิบ ซึ่งเมืองไทยเราก็น่าสนใจทำมาก

  • ยกตัวอย่าง พม่า เข้ามาในไทยเป็นล้าน หากเอาคนเก่งๆ มาใช้สักแสนคน จะเกิดประโยชน์มาก เพราะเอาทั้งเงิน ทั้งความรู้ ทั้งตลาด มาให้เรา แถมสอนคนไทยให้เก่งด้วย รัฐบาลได้ภาษีด้วย

  • (3) คุณธนินท์ ยกตัวอย่างว่า บริษัท CP รัฐบาลมีหุ้นส่วน 70% อย่างน้อย โดยไม่ต้องลงทุน ตรงนี้คุณสรยุทธิ์ งง ว่าไปมีหุ้นส่วนกันตอนไหน คุณธนินท์เลยอธิบายว่า1. มาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม หาก CP มีกำไรต่อยอดเท่าไร ขาดทุนหรือไม่ไม่รู้ รัฐเอาไปเลย 7% เปล่าๆ ก็เท่ากับแบ่งกำไรคนละ 50-50
    2. ต้องเสียกำไรสุทธิอีก 30%
    3. ปันผลผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นต้องเสียให้รัฐอีก 10%
    4. ภาษีเงินเดือนของพนักงานให้รัฐอีกไม่รู้เท่าไร
    เติ้งเสี่ยวผิงบอกว่า ไม่ว่าแมวดำหรือแมวขาว หากจับหนูได้ก็เป็นแมวที่ดี ตรงนี้ ถ้าเราเอาคนเก่งๆ รายได้ดี เข้ามาในไทย ภาษีก็ได้อีกมาก และเอาภาษีตรงนี้ มาสร้างคนไทยให้เก่ง มีสวัสดิ์การดีขึ้น ให้การศึกษาดี สร้างงานต่างๆ ได้ รักษาได้ฟรี ตามประเทศที่เจริญๆ แล้ว

  • ท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญยิ่งของไทย (เค้าเรียกว่า อุตสารกรรมที่ไม่มีปล่องไฟ) ซึ่งเรามีจุดแข็งตรงรอยยิ้ม นิสัยดี ซึ่ง ยุโรป จีน มาเที่ยวเยอะ (อเมริกาไม่ค่อยมา) เราเอาจุดแข็งตรงนี้ไปขายในราคาสูง เช่น สร้างหมอ ให้ไทยเป็นจุดศูนย์กลางการรักษาของภูมิภาคนี้ เราสร้างนางพยาบาลที่ยอดเยี่ยม รักษาในไทย และส่งออกไปรักษาทั่วโลกได้รายได้สูงกลับมา หรือเราสร้างคนไทยเป็นพนักงานขาย สร้างเป็นกัปตันเครื่องบิน สรุปง่ายๆ ว่า ด้วยจุดแข็งของไทยนอกจากจะขายของแล้ว คุณธนินท์บอกให้ขายทรัพยากรมนุษย์ด้วย เพราะสำคัญที่สุด แต่ในเวลาเดียวกัน เราก็อย่าลืม ใช้ทรัพยากรมนุษย์พม่า เช่น สมัยก่อนที่รบกัน ตีชนะเขาเอาทองกับคนไทยไป เพราะเขามีที่แต่ไม่มีคนทำ หรือในอเมริกา ทำไมต้องเอานิโกรเข้ามา ก็ด้วยเหตุเดียวกัน ในวันนี้ เขาเดินเข้ามาเองเฉยๆ เราต้องใช้เขาให้เกิดประโยชน์ เลือกคนเก่งๆ แข็งแรงๆ มาใช้

  • คนพม่า นำมาใช้ในแรงงานที่คนไทยไม่ทำ และคนไทยต้องกลายเป็นแรงงานที่มีฝีมือ มีความรู้ ทำงานภาคบริการ

  • ทำไมเราต้องใช้แรงงานคนไทย ทำไมเราไม่สร้างคนไทยขึ้นมาใช้แรงงานคนอื่น ซึ่่งตรงนี้ต้องมีนโยบาย ให้เหมือนในอเมริกาไปเลย ให้คนเก่ง คนรวย กลายเป็นคนไทยไปเลยธุรกิจกลายเป็นของไทยไปเลย

  • บางครั้งการเข้ามาของต่างชาติอาจจะมีเสียหายบ้าง แต่ก็ส่วนน้อย แต่ในส่วนรวมจะได้ประโยชน์ เช่น มีการจ้างงาน มีภาษี ซึ่งแน่นอนรัฐมีหุ้นส่วนแน่นอนอยู่แล้ว อย่างน้อย 70% เหมือน CP (3)

  • ปัจจุบันเราเหมือนตีหัวเข้าบ้าน เราบอกคนต่างประเทศว่า คุณมาได้ชั่วคราวนะ BOI ให้ 8 ปี พอครบ 8 ปีก็เรื่องของคุณ ตรงนี้เขาเลยรีบทำกำไร แล้วก็จากไป ซึ่งไม่ทำเมืองไทยพังก็ดีนักหนาแล้ว ดังนั้น ต้องเปิดให้เขาเข้ามาได้อิสระ เป็นบริษัทคนไทย เป็นคนไืทยได้เลย โดยเฉพาะธุรกจิที่ประเทศไทยกำลังต้องการ

  • ย้ำ หากเขาเข้ามาพัฒาประเทศไทยได้ ให้สิทธิคนไทยเลย เหมือนอเมริกา

  • ย้ำ คนไทยชาวไร่ชาวนา ให้กลายเป็นเถ้าแก่ ให้เป็นภาคบริการ และเลือกเอาแรงงานพม่าที่แข็งแรงมาเป็นคนงานแทน

  • อุปสรรคของประเทศไทย คือ ทำอย่างไรให้รัฐบาลเข้าใจ ต้อง อธิบายให้เขารู้ ยกตัวอย่างให้เห็น เช่น ใต้หวัน และ เกาหลีใต้ ล้วนใช้สองสูงทั้งนั้น

  • รัฐบาลทำถูกหมด ไม่ว่าจะ BOI, แผนสภาพัฒน์ แต่ภาคที่ใหญ่ที่สุดของไทยเราไม่เคยมอง เรามองแต่ค่าแรงขั้นต่ำแรงงานได้เท่าไร แต่ไม่เคยสนใจเกษตรกรต่อปีรายได้เท่าไร

  • เกษตรกรที่จนที่สุด ความรู้น้อยที่สุด เสี่ยงมากที่สุด เช่น ซื้อลุกหมูมาเลี้ยง อาหารจะถูกแพง ยังไม่รู้เลย ขายให้ใครก็ไม่รู้ ราคาขายเท่าไรก็ไม่รู้ 5 เดือนกว่าจะโต ถ้าป่วยเสียค่ายาเท่าไร ถ้าป่วยตายก็ตายหมด ยังไม่มีประกันชีวิตหมูด้วย คนจนสุดเสี่ยงตั้ง 5 เดือน เสี่ยงทุกประตู ซึ่งประตูสุดท้ายเสี่ยงราคา ถ้าถึงตอนหมูโค พ่อค้าไม่มาจับหมูตรงเวลา จากที่จะได้กำไร ก็ถือว่าขาดทุนแล้ว แค่เลยไป 10 วัน เพราะมันเหมือนคน ไม่โตแล้ว มีแต่ลงพุง มีแต่มันมาก เนื้อน้อย ราคาตกอีก แถมต้องกินอาหารเลยกำหนดอีก เลี้ยงเลยกำหนดเวลาอีก และค่าใช้จ่ายในบ้านก็ต้องมี จะเอาเงินทีไ่หนจ่าย แต่ถ้าหากเวลานั้นหมูขายดี คนแย่งซื้อ ก็รวย

  • วงจร 3 ปี มีโอกาสขาดทุน 1 ปี ยิ่งประเทศเจริญ อาจจะ 4 ปี เพราะเขาวางแผน แต่ถ้าประเทศกำลังพัฒนา เมื่อใครทำอะไรดีคนอื่นทำตาม วงจรกำไรก็สั้นหน่อย เพราะคนมันคิดว่าขายได้ดีก็ทำตามและขายมากเพื่อให้กำไรมากตาม คนเราโลภมากลาภหาย เพราะต่างคนต่างเลี้ยง ไม่ได้คุยกัน สมมุติ หากคน 1% ผลิตเพิ่ม ก็อาจจะทำให้คน 99% เสียหายไปหมด ซึ่งสินค้าเกษตรเป็นแบบนี้หมด ยิ่งแย่งกันขาย ยิ่งขาดทุน

  • คุณธนินท์ บอกว่า สินค้าเกษตร ควรจะต้องมีเจ้ามือ มารับความเสี่ยง มาวิเคราะห์พัฒนาเทคโนโลยี ให้กับเกษตรกร เพื่อลดความเสี่ยงเขากับเรื่องการตลาด ส่งเสริมการขาย ซึ่งปล่อยให้เกษตรกรทำเองไม่ได้เช่น ค้นคว้า หมู พันตัว กินน้อย โตเร็ว เพื่อลดจำนวนเกษตรกรลง พอถึงเวลาจับหมู วันเดียวก็ไม่ให้ช้า ต้องจับไป และทำความสะอาดเล้าทันที เพื่อไม่ใหเสียค่าแรงงานวันนั้น, ต้องสร้างเล้าหมูในท้องถิ่นที่ได้ราคา, ต้องทำให้ขี้หมูเป็นแก๊สปั่นไฟ, พอเอาขี้หมูผ่านแก๊สแล้ว จะกลายเป็นปุ๋ยชั้นดี ไม่มีกลิ่น ดังนั้น เวลาจะเลี้ยงหมู ต้องศึกษาว่า สิ่งแวดล้อมที่เลี้ยงหมูดีไหม ขี้หมูได้ราคาไหม หมูจะขายทีไ่หน (ต้องพึ่งโลติสติก) ซึ่งจะขายตรไงหนก็สร้างเล้าที่นั่น ซึ่งตรงนั้น ต้องมีระบบ ให้เจ้ามือวิเคราะห์ และจัดการให้กับเกษตรกรรายย่อย โอนความเสี่ยงให้นายทุนแทน เพราะนายทุนยังไงก็ขายได้ทุกวัน แต่เกษตรกร 5 เดือนขายได้ครั้งเดียวคุณธนินท์บอกว่าเป็นระบบที่ยุติธรรม และเป็นธรรมต่อสังคม ทำให้คนเลี้ยงหมูเป็นเถ้าแก่ กำไรตายตัว เลี้ยงมากก็ได้กำไรมากขึ้น แต่พ่อค้ากลายเป็นเกษตรกรมีความเสี่ยงคุณธนินท์ ให้ความเห็นว่า การทำแบบนี้ ไม่ใช่ CP ผูกขาด เพราะมีความเสี่ยง แต่ถ้าการผูกขาด คือการได้แน่ๆั ชัวส์ๆ และการที่ CP เป็นพ่อค้าคนกลางขายอาหารหมู วัคซีนหมู ยารักษาโรคหมู ไม่ใช่ว่าจะขายแพงได้ เพราะถ้าเขาขายแพง เขาก็ต้องซื้อแพง เพราะต้นทุนมันสูง หากเขาขายแพงแล้วซื้อหมูกลับมาถูก ก็ไม่มีคนมาร่วมค้าด้วยและยิ่งมีการบวกราคานั่น ราคานี่มากเท่าไปให้เกษตรกร ก็ต้องบวกให้ตัว CP เองด้วย สุดท้าย เข้าเนื้อตัวเอง เพราะ CP ต้องรับผิดชอบราคาให้เกษตรกร หากราคาสินค้าสูง ก็ขายไม่ได้ แต่ถ้าเกษตรกรรับความเสี่ยงเอง และ CP บวกๆ ทุกขั้นตอน อันนี้ถือว่า CP ได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว วิธีการนี้คุณธนินท์ บอกว่า ก็ยังมีกำไร แต่ก็ได้น้อยลง แต่ยอม เพื่อให้ CP มีต้นทุนที่ถูก เพื่อไปสู้กับตลาด เพราะราคาตลาด CP กำหนดเองไม่ได้ ผู้บริโภคเป็นผู้กำหนดคุณธนินท์ บอกว่า สมัยก่อน ต้องเสีย หลายต่อ เช่น ค่าอาหาร 1 ต่อ ยา 1 ต่อ วัคซีน 1 ต่อ ซึ่งแพงกว่า แต่ถ้าใช้วิธีนี้ เสียต่อเดียว ถูกกว่า

    (ตรงนี้ผมมองว่า win-win แต่ยังไง CP ก็ได้ประโยชน์ เพราะกึ่งผูกขาด ราคาหมูถูก CP กำไรน้อย ราคาหมูแพง CP กำไรมาก และทำให้ CP มีหมูป้อนโรงงานได้ตลอด หากให้ผมพูดตรงๆ ก็เหมือนกับ CP เป็นเจ้าของเล้าหมูทั้งหมด ซึ่งมีเกษตรกรเป็นยามเฝ้าเล้า ที่มีเงินเดือนแน่นอนคงที่ และ CP มีหน้าที่ส่งคนไปตรวจสอบยาม ดูแลสินค้า ถ้าวันใดหมูราคาตก CP ก็กำไรน้อยหน่อย แต่วันใดหมูราคาสูง CP ก็ได้กำไรเยอะ แต่ผมไม่แน่ใจว่าเกษตรกรจะได้เงินเท่าเดิมหรือไม่ หรือได้เงินค่าหมูสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก)



  • คุณธนินท์ พูดถึงการเลี้ยงวัวว่า ถ้าหากเอาพันธุ์นมที่คุณภาพดีคนคว้ามาร้อยปีจากต่างประเทศเข้ามผสมกับวัวไทย เพื่อมาเลี้ยงในบรรยากาศบ้านเรา อาจจะได้แค่ 8 กิโล แต่ถ้าเราลงทุนสูงแต่แรก สร้างโรงเลี้ยงวัวให้บรรยากาศดีๆ วัวอยู่สบายๆ ไม่ต้องแปลงพันธุ์ จะทำให้ได้ปริมาณมาตรฐานที่วัวนั้นทำได้คือ 20 กิโล ซึ่งคุ้มค่ากว่า ตรงนี้คุณธนินท์ บอกว่าคนเลี้ยงวัวต้องยอมลงทุน ตรงนี้คุณธนินท์บอกว่าคุ้ม เพราะเขาทำแล้วได้ผล




อ้างอิงจาก


//lab.tosdn.com/?p=178










Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2554 19:21:22 น.
Counter : 1040 Pageviews.

1 comments
  
เกี่ยวกับทฤษฎีสองสูงพอสรุปให้แล้ว เห็นภาพขึ้นเยอะเลยค่ะ
ขอบคุณมากนะคะ
โดย: ต้นข้าวบาร์เล่ย์ วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:12:10:54 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

coffee4you
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



พูดคุยติดตามเรื่องราวเทคนิคการเล่่นหุ้น
Free Ebook