คนไทยรักกัน
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
5 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 
การบินในไทย

"วันนี้ ได้เห็นแล้วกิจการบินของกองบินได้ดำเินไปได้อย่างดียิ่ง ของสิ่งนี้โบกเขาก็นับว่าเป็นของยากมากอยู่อย่างหนึ่ง
แต่ก็ได้เห็นคนไทยแท้ ๆ ทำได้อย่างดีจริง โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่น "

พระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2459




กิจการบินในประเทศไทย

ภายหลังจากที่พี่น้องตระกูลไรท์ประดิษฐ์เครื่องบินสำเร็จเป็นรายแรกของโลก เป็นเวลาเพียง 8 ปี ชาวฝรั่งเศสได้นำเครื่องบินมาแสดงการบิน
ให้ประชาชนดูที่สนามม้าสระปทุม ประกอบกับจอมพลพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงนครไขยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหมเสด็จไปยุโรป
ได้ทรงทราบข่าวว่าประเทศฝรั่งเศสกำลังปรับปรุงกิจการบินเป็นการใหญ่ เมื่อเสด็จกลับมาประเทศไทยแล้วจึงได้กราบทูลนายพลเอก สมเด็จ-
พระเจ้าาน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีเครื่องบินไว้ป้องกันประเทศ
ด้วยเหตุนี้ กิจการบินของไทยจึงได้เริ่มต้นขึ้น โดยจัดตั้งเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบก ด้วยเครื่องบินรุ่นแรก จำนวนเพียง 8 เครื่อง ตั้งอยู่
ที่นามม้าสระปทุม และได้มีกาาคัดเลือกบุคคลไปศึกษาวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส คือ
1. นายพันตรี หลวงศักดิ์ศับยาวุธ ( สุณี สุวรรณประทีป )
2. นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิชิกร ( หวง สินสุข )
3. นายร้อยไท ทิพย์ เกตุทัด
ซึ่งนายทหารทั้งสามท่านนี้ ปัจจุบันทางกองทัพอากาศไทยถือเป็น "บุรพการีของกองทัพอากาศไทย" และยังนับได้อีกว่าทั้ง 3 ท่านนี้เป็น "มนุษย์อากาศชุดแรกของไทย" อีกด้วย
นับตั้งแต่นั้นมา กิจการบินในประเทศไทยก็ได้รับพัฒนาเรื่อยมา มีการย้าย สนามบินจากสนามม้าสระปทุมมาที่ตำบลดอนเมือง และได้มีการยกฐานะ แผนกการบินขึ้นเป็นกองบินทหารบก ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 เป็นกรม อากาศยาน กองทัพบกในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2461 แยกตัวออกจากกองทัพบก เป็นกรมทหารอากาศ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2478 และได้รับการสถาปนาเป็น กองทัพอากาศ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480
และในช่วงเวลาขณะที่กิจการบินในประเทศไทยพัฒนาขึ้นนั้น ประเทศไทยของเราสามารถสร้างเครื่องบินใช้เองได้ตั้งแต่ พ.ศ. 2457 และมีการสร้างเครื่องบินเรื่อยมา แม้กระทั่งในปัจจุบัน ก็มีการซื้อลิขสิทธิ์เครื่องบินทหารแบบ "แฟนเทรนเนอร์" มาสร้าง ประกอบใช้ในราชการเอง

การสร้างเครื่องบินขึ้นใช้เอง


พ.ศ. 2457 สร้างเครื่องบินแบบ "เบรอเกต์" ใชในราชการ
พ.ศ. 2465 สร้างเครื่องบินแบบ ข. 2 ( นิเออปอรต์ )
พ.ศ. 2466 สร้างเครื่องบินแบบ ข. 3 ( สปัด แบบ 7 )
พ.ศ. 2467 สร้างเครื่องบินแบบ ข. 4 ( นิเออปอรต์ เดอลาจ )
พ.ศ. 2470 ออกแบบและสร้างเครื่องบินแบบ ท.2 ( บริพัตร ) ซึ่งนับเป็นเครื่อบินแบบแรกที่ออกแบบ และสร้างโดยคนไทย
เครื่องบินแบบนี้ได้สร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก และใช้บินไปเจิรญสัมพันธไมตรีกัยเพื่อนบ้านหลายประเทศ
พ.ศ. 2472 อกแบบและสร้างเครื่องบินขับไล่แบบ ข.5 ประชาธิปก
พ.ศ. 2479 สร้างเครื่องบินโจมตี - ตรวจการณ์แบบ จ.1 ( คอร์แชร์ อีก 93 ) 25 เครื่อง
พ.ศ. 2480 สร้างเครื่องบินโจมตี - ตรวจการณ์แบบ จ.1 อีก 25 เครื่อง
สร้างเครื่องบินขับไล่แบบ ข. 10 รุ่นแรก 25 เครื่อง
พ.ศ. 2482 สร้างเครื่องบินขับไล่แบบ ข.10 รุ่นที่สอง 25 เครื่อง
พ.ศ. 2515 สร้างเครื่องบินฝึกแบบ ทอ. 4 จำนวน 25 เครื่อง
พ.ศ. 2517 สร้างเครื่องบินต้นแบบ ทอ. 5 จำนวน 1 เครื่อง
พ.ศ. 2525 ซื้อเครื่องบิน และลิขสิทธิ์การสร้างเครื่องบินฝึกแบบ แฟนเทรนเนอร์ จาก บริษัทไรน์ ฟุกซอย บาว
ประเทศเยอรมัน มาสร้างจำนวน 25 เครื่อง

จะเห็นว่ากิจการบินในประเทศไทยของเราเริ่มขึ้นในกิจการทหารก่อน ภายหลังกิจการบินจึงได้ขยายออกไปมีการจัดตั้ง
หน่วยบินในหน่วยราชการ อีกหลายแห่ง เช่น กองทัพเรือ กองบินตำรวจ หน่วยบินเกษตร ฯลฯ และมีการอนุญาตให้มีและใช้
อากาศยานเพื่อการบินธุรกิจ และการบินฝึก ทำให้เกิดสายการบินพาณิชย์ของประเทศไทยขึ้นในเวลาต่อมา
กิจการบินพาณิชย์ในประเทศไทย

กิจการบินพาณิชย์ของเรานั้นเริ่มในปี พ.ศ. 2462 ได้มีกิจการขนส่งทางอากาศเพื่อรับส่งผู้โดยสาร พัสดุ
และไปรษณีย์ภัณฑ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในระเทศไทย โดยกรมอากศยานทหารบกในสมัยนั้นได้เริ่มทดลองทำการบิน
เพื่อรับขนส่งเฉพาะไปรษณีย์ภัณฑ์ระหว่าง กรุงเทพฯ - จันทบุรี โดยใช้เครื่องบินแบบเบรเกต์ ปรากกฎว่าได้ผลดี
จึงได้ขยายเป็นทำการบินรับส่งผู้โดยสาร และพัสดุไปรณณีย์ขึ้นเป็นเครื่องแรก เมื่อ พ.ศ. 2465 ในเส้นทางเดิม
จากนั้นกิจการก็ได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ จนในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 ก็ได้มีการจัดตั้งบริษัท เดินอากาศ จำกัด
( Aerial Transport of Siam Co., Ltd. ) ขึ้นเพื่อดำเนินการขนส่งทางอากาศภายในประเทศ และรับเป็นตัวแทน
ให้บริษัทการบินต่างประเทศที่บินเข้ามาในประเทศไทย โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ต่อมานอกจากกิจการบินแล้ว บริษัท เดินอากาศ จำกัด ได้ทำการเดินรถประจำทางด้วยจึงเปลี่ยนชื่อเป็น
บริษัทขนส่ง จำกัด เมื่อเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2483
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น ทำให้เกิดการขาดแคลนอุปกรณ์และอะไหล่ ทำให้ต้องหยุดกิจการขนส่งทาง
อากาศในปี พ.ศ. 2489 ครั้งเมื่อสงครามยุติ กิจการบินพาณิชย์จึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีก โดยกองทัพอากาศดำเนินการ
ไปพลางก่อน กองทัพอากาศจึงได้เริ่มกิจการบินพาณิชย์อีกครั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489
จนเมื่อกระทรวงคมนาคม ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้วางแผนการดำเนินงานกิจการบินของประเทศไทย
เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ขอรับโอกิจการจากกองทัพอากาศมาดำเนินการเอง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2490 โดย
ใช้ชื่อว่า บริษัท เดินอากาศ จำกัด ( บดอ. ) Siamese Airways Co., Ltd. ( SAC. ) ด้วยเคร่องบินแบบ ดีซี 3
สี่เครื่อง แบบซี 45 สองเครื่อง แบบแอล 5 หกเครื่อง แบบแฟร์ไชลด์ หนึ่งเครื่อง แบบเรียวิน สองเครื่อง
และได้มีการจัดตั้ง บริษัท โอเวอร์ซีส์ (สยาม) จำกัด หรือ พี. โอ. เอ. เอส. ขึ้น ซึ่งบริษัท เดินอากาศ จำกัด
ก็มีส่วนถือหุ้นด้วย และได้ดำเนินการบินระหว่างประเทศโดยเฉพาะ คือ ปีนัง สิงคโปร์ ฮ่องกง พนมเปญ ไซ่ง่อน
ต่อมาในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ภายใต้นโยบายของรัฐบาล บริษัท เดินอากาศ จำกัด ได้รวมเข้ากับ
บริษัท การบินแปซิฟิก โอเวอร์ซีส์ (สยาม) จำกัด และใช้ชื่อใหม่ว่า "บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด "
AirwayS Co., Ltd. (TAC.) และกิจการก็ได้เจิรญก้าวหน้าเป็นลำดับ

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2520 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้ทำสัญญาร่วมหุ้นกับสายการบิน เอส.เอ.เอส. ซึ่ง
เป็นสายการบินของกลุ่มประเทศสแกนดิเนวีย ก่อตั้ง บริษัท การบินไทย จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจการบินพาณิชย์ระหว่าง
ประเทศ ด้วยเครื่องบินแบบ ดีซี 6 ปี และได้ขยายกิจการก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จนในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2520
สัญญาร่วมกับสายการบิน เอส.เอ.เอส. ก็สิ้นสุดลง ทำให้ฝ่ายไทยมีสิทธิในการบริหารกิจการทั้งหมด

จนกระทั่งในปัจจุบัน กิจการบินพาณิชย์ของไทยได้ขยายตัวออกไปอย่างมาก ทั้งการขยายตัวเป็นบริษัทมหาชน
ของการบินไทย และมีบริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด ที่ทำการบินภายในประเทศอีกด้วย


ส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบินในประเทศไทย


การท่าอากาศยาน แต่เดิมท่าอากาศยานส่วนใหญ่ในประเทศไทยอยู่ภายใต้การดำเนินการของราชการ คือ
กรมกาาบินพลเรือน กองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม แต่เมื่อธุรกิจท่าอากาศยานขยายตัวมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้ง
" การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย " หรือ ที่เรียกย่อ ๆ ว่า " ทอท. " ขึ้น โดยมีท่าอากาศยายอยู่ในความ
รับผิดชอบ 4 แห่ง คือ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต และยังมีโครงการท่าอากาศยานแห่งที่ 2
ในบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า "หนองงูเห่า" ซึ่งอยู่ในตำบลบางโฉลง ตำบลหนองปรือ ตำบลราชาเทวะ ของอำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของกิจการขนส่งทางอากาศร่วมกับสนามบินดอนเมือง
แบบช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน
วิทยุการบิน เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ติดตามควบคุมและนำรองการจราจรทางอากาศด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย
ซึ่งเจ้าหน้าที่จะประสานงานกับ
หน่วยต่าง ๆ เช่น อุตุนิยมวิทยา ข่าวอากาศ ซึ่งการทำงานของวิทยุการบินจะรับงานเป็นช่วง ๆ ตาม
พื้นที่รับผิดชอบตลอดเส้นทางบิน




Create Date : 05 ธันวาคม 2551
Last Update : 5 ธันวาคม 2551 8:21:33 น. 1 comments
Counter : 2023 Pageviews.

 
สวัสดีครับ

ข้อมูลละเอียด น่าสนใจมากครับ


โดย: basbas วันที่: 5 ธันวาคม 2551 เวลา:17:03:41 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

prempcc
Location :
ภูเก็ต Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มารวมรวบข้อมูลการท่องเที่ยวกับเราเพี่ยงส่งรวมและคำบรรยายเล็กน้อยมาที่ prempcc@hotmail.com


Friends' blogs
[Add prempcc's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.