หลักการสอน (หลักการแสดงธรรม)
๙. อุทายิสูตร

[๑๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง
โกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระอุทายีผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่ง
แสดงธรรมอยู่ ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่
ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรม
อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย
ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ภายใน
แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
๕ ประการเป็นไฉน คือ
--> ภิกษุพึงตั้งใจว่า เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ ๑
--> เราจักแสดงอ้างเหตุผล ๑
--> เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู ๑
--> เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม ๑
--> เราจักไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น ๑
แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น

ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ฯ

จบสูตรที่ ๙
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๔๓๐๑ - ๔๓๑๖. หน้าที่ ๑๘๗.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=4301&Z=4316&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=159



[219] ธรรมเทสกธรรม 5 (ธรรมของนักเทศก์, องค์แห่งธรรมกถึก,
ธรรมที่ผู้แสดงธรรมหรือสั่งสอนคนอื่นควรตั้งไว้ในใจ
— qualities of a preacher; qualities which a teacher should establish in himself)


1. อนุปุพฺพิกถํ (กล่าวความไปตามลำดับ คือ แสดงหลักธรรมหรือเนื้อหาวิชา
ตามลำดับความง่ายยากลุ่มลึก มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปโดยลำดับ
— His instruction or exposition is regulated and gradually advanced.)
2. ปริยายทสฺสาวี (ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัดในแต่ละแง่แต่ละประเด็น
โดยอธิบายขยายความ ยักเยื้องไปต่างๆ ตามแนวเหตุผล
— It has reasoning or refers to causality)
3. อนุทยตํ ปฏิจฺจ (แสดงธรรมด้วยอาศัยเมตตา คือ สอนเขาด้วยจิตเมตตา
มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่เขา — It is inspired by kindness; teaching out of kindliness.)
4. น อามิสนฺตโร (ไม่แสดงธรรมด้วยเห็นแก่อามิส คือ สอนเขามิใช่เพราะมุ่งที่ตนจะได้ลาภ
หรือผลประโยชน์ตอบแทน — It is not for worldly gain.)
5. อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ (แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือ
สอนตามหลักตามเนื้อหา มุ่งแสดงธรรม แสดงธรรม ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น
— It does not hurt oneself or others; not exalting oneself while contempting others.)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
//84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=219



Create Date : 26 กันยายน 2554
Last Update : 26 กันยายน 2554 13:34:10 น.
Counter : 1001 Pageviews.

1 comments
  
โดย: aodblo22 วันที่: 26 กันยายน 2554 เวลา:14:59:37 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sky-hook-damper
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กันยายน 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30