ธันวาคม 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
10
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
9 ธันวาคม 2554
All Blog
การปลูกกล้วยไม้
การปลูกกล้วยไม้

เนื่องจากในรอบปีแต่ละปีนั้น มีการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลตาม และความชุ่มชื้นก็ตาม อัตราการเจริญของกล้วยไม้ต่างๆในแต่ละฤดูกาล ก็มีความสอดคล้องกับบทบาทการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่นเดียวกันกับพันธุ์ไม้อื่นๆ ประเทศไทยตั้งอยู่ค่อนมาทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร (equator) ของโลก ซึ่งมีผล กำหนดลักษณะฤดูกาลไว้อย่างแน่ชัด การปลูกและการขยายพันธุ์ ไม้ควรยึดหลักปฏิบัติในระยะต้นๆของฤดูเจริญเติบโต เพื่อให้ กล้วยไม้ได้มีโอกาสตั้งตัวและเจริญแข็งแรงดี ก่อนถึงฤดูกาลที่กล้วยไม้จะต้องมีการเจริญช้าลง หรือบางชนิดก็พักตัว ฤดูเจริญ เติบโตของกล้วยไม้เริ่มต้นระหว่างปลายฤดูแล้งต่อต้นฤดูฝนหรือประมาณเดือนมีนาคม-มิถุนายนกล้วยไม้ที่อยู่ในสภาพซึ่งควรจะได้พิจารณาปลูกใหม่ ได้แก่ กล้วยไม้ที่มีอายุมากอยู่ในสภาพทรุดโทรม สมควรที่จะตัดแยก และปลูกใหม่ กล้วยไม้ที่แตกกอขนาดใหญ่มากเกินไป หรืออยู่ในสภาพที่ระบบรากหมดอายุ การตัดแยกปลูกใหม่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงสมบูรณ์ให้แก่กล้วยไม้ได้ นอกจากนั้น การหาพันธุ์กล้วยไม้มาจากธรรมชาติเพื่อนำมาปลูก ก็ควรกระทำในฤดูนี้ด้วย ภาชนะปลูกอาจใช้กระถางดินเผา หรือกระเช้าไม้ แล้วแต่ความเหมาะสม หากเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศคือ มีรากใหญ่และโปร่ง เช่น กล้วยไม้หลายชนิดที่ขึ้นอยู่ตาม ต้นไม้ในธรรมชาติ อาทิเช่น กล้วยไม้สกุลแวนดา เป็นต้น ควรใช้ภาชนะปลูกที่มีลักษณะโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ส่วนเครื่องปลูกก็ควรยึดหลักการเช่นเดียวกันคือ ใช้เครื่องปลูกที่โปร่ง เช่น ถ่านไม้ เป็นต้น ในสมัยก่อนได้เคยมีผู้นิยมใช้รากเฟิร์นบางชนิด มีลักษณะเป็นเส้นสีดำเรียกกันว่า ออสมันดา(osmunda) เป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้กันอย่างแพร่หลาย ต่อมาออสมันดาหายากและมีราคาแพงยิ่งขึ้น จึงได้มีการสนใจใช้กาบมะพร้าวแห้งเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้บางชนิด ต่อมาในภายหลังได้พิจารณาเห็นว่า การใช้ถ่านไม้นับเป็นวิธีการที่สะดวกกว่า จึงได้มีผู้นิยมมากขึ้นเป็นลำดับ แต่ก็มีผู้ซึ่งพยายามงดเว้นการใช้เครื่องปลูกใดๆทั้งสิ้น สำหรับกล้วยไม้ประเภทที่ มีรากอากาศ โดยให้รากเกาะอยู่ในภาชนะปลูกเท่านั้น ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่พอใจ ทั้งจำเป็นต้องมีการปรับวิธีการเลี้ยงดูให้สอดคล้องกับสภาพดังกล่าว เช่น มีการให้น้ำและให้ปุ๋ยมากขึ้นกล้วยไม้เหมือนพันธุ์ไม้ที่พบทั่วๆไปทั้งหลาย ซึ่งมีความต้องการน้ำ ปุ๋ย และการเลี้ยงดูตามสมควร กล้วยไม้ประเภทที่มีรากอากาศนั้น มีผิวรากหนา และมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้มาก จึงสามารถอยู่ในอากาศได้ดี และยังดูดความชื้นจากอากาศบาง ส่วนได้ด้วย โดยปกติในสภาพฝนฟ้าอากาศโปร่งและแจ่มใสการรดน้ำให้กล้วยไม้วันละครั้งในเวลาเช้าอย่างทั่วถึง นับว่า เป็นการเพียงพอ ส่วนปุ๋ยนั้นโดยทั่วๆไป ควรมีการให้ปุ๋ยละลายน้ำรดกล้วยไม้ประมาณสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง และใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ฟอสเฟต และโพแทสเซียม ในอัตราส่วนประมาณเท่าๆ กัน ปุ๋ยผสมนี้ควรเป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดี และใช้ในอัตราประมาณร้อยละ ๐.๑-๐.๕ ของปริมาณน้ำ ก็นับว่าเป็นการเพียงพอการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชใน การเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นสิ่งพึงระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะสารเคมีเหล่านี้เมื่อมีพิษมีภัยต่อศัตรูกล้วยไม้ได้ฉันใด ก็ย่อมมีพิษมีภัยต่อชีวิตคนได้ฉันนั้น การเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกทั่วๆไป ย่อมมีเรือนหรือสวนกล้วยไม้อยู่ในบริเวณบ้าน การใช้ยาอันตรายทั้งหลาย จึงเป็นการเสี่ยงต่อชีวิตคนในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างยิ่งจึงขอแนะนำว่า คนเลี้ยงต้นไม้ที่ฉลาดและมีเหตุผลนั้น จะให้ความสนใจเลี้ยงและทะนุบำรุงต้นไม้ ให้เจริญแข็งแรงและสมบูรณ์ มีความต้านทานศัตรูได้ดีอยู่เสมอ ดีกว่าการใช้ยาป้องกันกำจัดศัตรู การใช้ยาจึงควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ และพิจารณาปฏิบัติเมื่อมีความจำเป็นจริงๆล



วิธีการปลูกกล้วยไม้ ในกระเช้าไม้ลูกกล้วยไม้แวนดาที่นำออกจากกระถางเดี่ยว ขนาด ๑ นิ้ว



วางลูกกล้วยไม้ลงตรงกลางกระเช้าไม้สัก ขนาด ๔ นิ้ว



ใส่ถ่านก้อนขนาดพอเหมาะสมลงไปโดยรอบ






Create Date : 09 ธันวาคม 2554
Last Update : 9 ธันวาคม 2554 14:42:49 น.
Counter : 649 Pageviews.

1 comments
  
โดย: new pek วันที่: 9 ธันวาคม 2554 เวลา:14:46:24 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

riser01
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]