space
space
space
<<
กันยายน 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
11 กันยายน 2559
space
space
space

การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance)



การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน(CollaborativeGovernance)

ดร. ภคพร กุลจิรันธร

การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน(CollaborativeGovernance) (Chris Ansell& Alison Gash ) หมายถึงการจัดปกครองซึ่งหน่วยงานภาครัฐหนึ่งหน่วยงานหรือมากกว่าให้ผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่ใช่รัฐเข้ามามีส่วนในกระบวนการตัดสินใจแบบร่วมกันอย่างเป็นทางการมุ่งเน้นฉันทามติ และการอภิปรายร่วมกันโดยมีจุดมุ่งหมายในการกำหนดหรือนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติหรือการจัดการโครงการหรือทรัพย์สินต่างๆของรัฐ การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันเกิดขึ้นมาเพื่อการตอบสนองต่อความล้มเหลวของการดำเนินงานต่อเนื่องและค่าใช้จ่ายที่สูง และการเมืองที่เน้นการควบคุมการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ความขัดแย้งของพหุกลุ่มผลประโยชน์และความล้มเหลวในเรื่องภาระรับผิดชอบของการจัดการ

การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันประกอบด้วยการจัดการแบบมีส่วนร่วม (ParticipatoryManagement) การกำหนดนโยบายแบบการโต้ตอบกัน (InteractivePolicy Making) และการบริหารปกครองผู้มีส่วนได้เสีย (StakeholderGovernance) และการบริหารจัดการแบบร่วมมือกัน (CollaborativeManagement) เราชอบคำว่า การบริหารปกครอง (Governance) มากกว่าการบริหารจัดการ (Management)เพราะมันมีความหมายที่กว้างกว่า และครอบคลุมด้านต่างๆของกระบวนการปกครองรวมถึงการวางแผน การกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการ ในขณะที่คำว่า ความร่วมมือกัน (Collaborative) เป็นตัวบ่งชี้ถึงแนวทางที่มุ่งเน้นแบบปรึกษาหารือและฉันทามติ เราใช้คำตรงกันข้ามระหว่างความขัดแย้งนิยม (Adversarialism) หรือการจัดการนิยม (Managerialism) มากว่าที่จะใช้คำว่า การมีส่วนร่วม(Participatory) หรือการโต้ตอบ (Interactive)

รูปแบบของการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันมี4ตัวแปรกว้างๆคือ

1)การเริ่มต้นเงื่อนไข (Starting Conditions)เน้นไปยัง 3 ตัวแปรกว้างๆ คือ ความไม่สมดุล

ระหว่างทรัพยากรหรืออำนาจของผู้มีส่วนได้เสียที่แตกต่างกันแรงจูงใจที่ผู้มีส่วนได้เสียจะต้องให้ความร่วมมือกันและประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของความขัดแย้งหรือความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2)การออกแบบสถาบัน (Institutional Design) คือการจัดทำระเบียบการขั้นพื้นฐานและกฎ

ขั้นพื้นฐานสำหรับการร่วมมือซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการแบบร่วมมือที่มีความชอบธรรมตามกฎหมายกฎรากฐานและความโปร่งใสของกระบวนการเป็นลักษณะการออกแบบที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับความชอบธรรมของขั้นตอนและการสร้างความเชื่อมั่นความชอบธรรมของกระบวนการจึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียที่จะต้องได้รับจากการรับฟังอย่างเป็นธรรม

3) ภาวะผู้นำ (Leadership) ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างและรักษากติกาพื้นฐานสร้างความเชื่อมั่น ให้ความสะดวกต่อการสนทนา และสำรวจผลประโยชน์ที่ได้ร่วมกัน LaskerAnd Weiss (2001, 31) ระบุว่า ภาวะผู้นำแบบร่วมมือต้องมีทักษะดังนี้ 1) สนับสนุนการการตื่นตัวในการมีส่วนร่วม 2) ทำให้เกิดความมั่นใจในเรื่องอิทธิพลและการควบคุมที่มีพื้นฐานแบบกว้างขวาง 3)ทำให้พลวัตรภายในกลุ่มเกิดผลผลิต 4) ขยายขอบเขตของกระบวนการให้มากขึ้นการประสบความสำเร็จในความร่วมมืออาจะต้องใช้ผู้นำให้หลากหลายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการมากกว่าอาศัยผู้นำเพียงคนเดียวHuxham And Vangen (2000) กล่าวเน้นว่าภาวะผู้นำแบบร่วมมือที่มีประสิทธิภาพอาจจะเหมาะสมในเรื่องเวลา ทรัพยากรและความพยายามในการใช้ทักษะ

4) กระบวนการความร่วมมือกัน(Collaborative Process) การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาเมื่อการสร้างความเชี่อมั่นเป็นสิ่งสำคัญความจำเป็นที่ต้องมีเวลาในการเพิ่มความเชื่อมั่นย่อมมีความสำคัญด้วย Gray(1989) ได้นิยามความหมายขั้นตอนการร่วมมือเอาไว้ 3 ขั้น ตอน คือ 1) การระบุปัญหา 2) การระบุเป้าหมาย 3) การนำไปปฏิบัติ ซึ่งแต่ละขั้นก็มีหลากหลายขั้นตอนรูปแบบขั้นตอนของความร่วมมือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกำหนดกลยุทธ์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลงการร่วมมืออาศัยวงจรชั้นดีระหว่างการติดต่อสื่อสาร ความเชื่อมั่น พันธสัญญาความเข้าใจ และปัจจัยนำออก

MichaelLipsky ได้ระบุในบทความ Street-level bureaucracy: Thecritical role of Street-level bureaucrats สรุปได้ว่า ผู้ปฏิบัติงานภาครัฐระดับต้นมีหน้าที่สำคัญในการเป็นตัวกลางเพื่อนำบริการสาธารณะไปส่งมอบให้กับประชาชน โดยส่วนมากนโยบายของรัฐบาลในเรื่องต่างๆจะถูกส่งผ่านตำรวจ หรือครู หรือทางอื่นๆซึ่งไม่ได้เป็นการถ่ายทอดจากรัฐบาลสู่ประชาชนโดยตรงตำรวจหรือครูจึงถือเป็นผู้ปฏิบัติราชการระดับต้นรูปแบบหนึ่งในการศึกษาเรื่องนี้ผู้ปฏิบัติงานระดับต้นจึงหมายถึงผู้ที่ต้องติดต่อใกล้ชิดกับประชาชนโดยตรงและยังหมายถึงบุคคลคลที่มีดุลยพินิจเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายสาธารณะให้กับประชาชนอีกด้วย แนวทางในการส่งมอบนโยบายสาธารณะของผู้ปฏิบัติงานระดับต้นให้กับประชาชนจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อจำกัดโอกาสและอุปสรรคต่างๆที่จะเกิดขึ้นให้เป็นไปตามบริบทของสภาพแวดล้อมและข้อโต้แย้งทางการเมืองอย่างเหมาะสมแต่ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานระดับต้นจะต้องมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของกลุ่มประชาชนและปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพเป็นและจะต้องทำงานภายใต้บริบททางการเมือง โดยแบ่งออกเป็นสองแนวทาง คือ 1. ผู้ปฏิบัติงานระดับต้นควรทำหน้าที่ตามที่รัฐบาลกำหนดขอบเขตไว้ให้ 2. ผู้ปฏิบัติงานระดับต้นต้องพิจารณาผลกระทบที่มีต่อความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างครอบคลุมซึ่งแนวทางนี้จะเป็นแนวทางที่แสดงให้เห็นถึงมิติของความเป็นพลเมืองอย่างชัดเจน ซึ่งแนวทางทั้งสองแนวทางจะชี้ให้เห็นถึงการทำหน้าที่เป็นตัวกลางของผู้ปฏิบัติงานระดับต้นระหว่างรัฐบาลกับประชาชนอย่างชัดเจน

จำนวนของผู้ปฏิบัติงานระดับต้นเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเนื่องจากอยู่ในยุคที่ประชากรสูงอายุมีจำนวนมากขึ้นประชาชนจึงหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับบริการทางด้านสุขภาพและการศึกษามากขึ้นทั้งนี้ทั้งนั้น งบประมาณที่ต้องเสียไปส่วนมากจะเสียไปกับเงินเดือนของตำรวจ ครูนักสวัสดิการสังคม นอกเหนือจากนั้นขอบเขตงานที่เพิ่มขึ้นของผู้ปฏิบัติงานระดับต้นก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยรัฐจึงให้เอกชนจึงเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการกุศล (charity)เพื่อดูและประชาชนในกลุ่มยากจน ผู้ปฏิบัติงานระดับต้นบางครั้งก็ประสบกับปัญหารายได้ไม่เพียงพอจึงเกิดการก่อตั้งสหภาพขึ้นมาเพื่อต่อรองผลประโยชน์ในเรื่องการเพิ่มรายได้ของผู้ปฏิบัติงานระดับต้นขึ้นซึ่งยิ่งเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติงานระดับต้นบางตำแหน่ง เช่น ตำรวจและครูก็ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้สังคมเป็นสังคมที่สมบูรณ์แบบ

นโยบายสาธารณะที่กำหนดมาจากฝ่ายการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะส่งผลให้ความสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงานระดับต้นกับประชาชนที่เคยดีต่อกันเกิดเป็นปัญหาได้เพราะส่วนมากนโยบายที่เปลี่ยนไปนั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบกับประชาชนโดยตรงนั่นเองผู้ปฏิบัติงานระดับต้นจะต้องทำหน้าที่ของตนเองตามหลักคุณธรรมในฐานะตัวแทนของรัฐบาลในการกำกับดูแลสังคมเนื่องจากประชาชนผู้ได้รับผลประโยชน์จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ปฏิบัติงานระดับต้นโดยตรงและให้คาดหวังว่าผู้ปฏิบัติงานระดับต้นจะปฏิบัติงานและพัฒนาการบริการของภาครัฐให้มีความเหมาะสมกับพวกเขาหน้าที่ในการควบคุมสังคมของผู้ปฏิบัติงานระดับต้นจึงต้องได้รับการวิจารณ์หรือตำหนิจากสังคมผลกระทบจากวิกฤติทางการเงินและระบบเศรษฐกิจมีผลต่อการทำงานของภาคส่วนการให้บริการเพราะทำให้เกิดปัญหาในการให้บริการสาธารณะไม่ได้ดีเหมือนเดิมวิกฤติข้างต้นส่งผลต่อการเลิกจ้างและอื่นๆอีกมากมาย และจากมุมมองของประชาชนหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานระดับต้นต้องครอบคลุมทั้งหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนของรัฐบาลและการทำงานประจำที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชนและผู้ปฏิบัติงานระดับต้นอื่นๆซึ่งจริงๆแล้วหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานระดับต้น จะต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้างความสมดุลระหว่างการจัดหาบริการสาธารณะกับงบประมาณรายจ่ายสาธารณะให้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ปฏิบัติงานระดับต้นเป็นตัวแทนของรัฐบาลที่ประชาชนให้ความคาดหวังว่าจะได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและยุติธรรมผู้ปฏิบัติงานระดับต้นจึงต้องรู้เรื่องข้อจำกัดต่างๆทั้งของรัฐบาลและพลังมวลชน 




 

Create Date : 11 กันยายน 2559
0 comments
Last Update : 11 กันยายน 2559 18:17:45 น.
Counter : 4235 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

สมาชิกหมายเลข 972112
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 972112's blog to your web]
space
space
space
space
space