"ฝัน" แม้จะไกล แต่เราจะไปให้ถึง สักวัน... www.cafeorchids.com
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
15 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 

เริ่มต้นศึกษากล้วยไม้..กับหลักการจำแนกกล้วยไม้...

หลายๆคนอาจเพิ่งเริ่มต้นศึกษาเรื่องกล้วยไม้.. หรือบางคนอาจจะเพิ่งรู้จักหรือพลัดหลงเข้ามาในโลกของกล้วยไม้ บางคนอาจจะไม่รู้จักแม้แต่ชื่อหรือสกุลกล้วยไม้เลย ไม่รู้ว่าต้องจัดการปลูกหรือดูแลกล้วยไม้ต้นนั้นอย่างไร..

จริงๆแล้วบทความนี้ควรเป็นบทความแรกๆที่เพื่อนคนที่เพิ่งเริ่มต้นเข้าสู่โลกกล้วยไม้น่าจะอ่าน แต่หากเพื่อนๆท่านไหนเป็นเซียนหรือศึกษากล้วยไม้มาพอสมควรแล้ว อาจจะไม่มีประโยชน์เท่าใดนัก...

แต่หลายๆคนที่รักกล้วยไม้มักไม่ค่อยจะเบื่อที่จะอ่านหรือศึกษาเรื่องกล้วยไม้ บางครั้งเรื่องง่ายๆบางเรื่อง เราเองอาจจะมองข้ามไป โดยที่เมื่อครั้งนึงได้หันกลับมาศึกษา... จะทำให้เรารู้สึกได้ว่า... ทำใมเรามองข้ามเรื่องนี้ไปได้นะ....


การจำแนกหรือแบ่งแยกกล้วยไม้สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษากล้วยไม้อย่างเราๆควรใช้วิธีกว้างๆใว้ก่อนเพื่อที่จะได้สามารถแยกและจดจำได้ง่ายๆ... โลกนี้คงมีกล้วยไม้เป็นหลายพันหลายหมื่นชนิด.. คงยากที่เราๆจะจดจำได้หมด.. ผมเองก็คงยังรู้จักกล้วยไม้ได้เพียงเล็กน้อยมากๆ.. แต่คงต้องใช้เวลาและความตั้งใจในการศึกษา ดังนั้นตอนนี้เราจะจำแนกกล้วยไม้ด้วยวิธีง่ายๆกันก่อน..

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆจากหนังสือหลายๆ ฉบับ.. หากข้อความหรือคำเขียนผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยและสามรถแนะนำเพิ่มเติมได้ จะขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง..

.. ท่องโลกกล้วยไม้กันได้เลยครับ...


1.จำแนกกล้วยไม้ตามลักษณะอาศัย

1.1 กล้วยไม้อิงอาศัย (epiphytic orchid) เป็นกล้วยไม้ที่อาศัยบนไม้ยืนต้น โดยจะมีรากในการช่วยยึดเกาะและสามารถจะใช้รากนั้นในการหาอาหารน้ำ เพื่อนำมาใช้เลี้ยงลำต้น เช่น สกุลหวาย สกุลช้าง สกุลเข็ม สกุลแวนด้า และสกุลอื่นๆ

1.2 กล้วยไม้ดิน (terrestrial orchid) เป็นกล้วยไม้ที่มีส่วนของรากอาศัยอยู่ตามหน้าดินหรือใต้ผิวดิน บางชนิดเติบโตมีใบได้ทุฤดูกาลแต่บางชนิดชนิดก็เติบโตได้เพียงบางฤดูกาล และจะพักตัวเหลือเพียงหัวใว้ในฤดูกาลที่ไม่เหมาะสม เช่นพวกสกุลลิ้นมังกร

1.3 กล้วยไม้อาศัยบนหิน (lithophytic orchid) เป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโต โดยใช้รากเกาะยึดอาศัยอยู่บนหิน มักพบอยู่ไกล้มอส เช่นกลุ่มสกุลเอื้องหมาก สิงโตบางชนิด..

1.4 กล้วยไม้น้ำ เป็นกล้วยไม้กลุ่มเล็กๆ ซึ่งจะมีส่วนของรากแหย่ลงไปในน้ำ เพื่อหาอาหารมาเลี้ยงลำต้น เช่นพวกกล้วยไม้น้ำทุกชนิด



2. จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต

2.1 การเจริญเติบโตทางปลายยอด (monopodial vegetative) เป็นการเติบโตของส่วนยอดแบบไม่จำกัด คือมีเนื้อเยื่อที่เจริญทางปลายยอดที่สามารถเจริญได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และสามารถสร้างเนื้อเยื่อที่ด้านข้างได้ โดยยอดใหม่ก็จะเจริญทางปลายยอดได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน เช่น สกุลช้าง สกุลเข็ม สกุลแวนด้า เป็นต้น

2.2 การเจริญเติบโตทางด้านข้าง (sympodial vegetative) เป็นลักษณะการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อที่มีอยู่ทางปลายยอดอย่างจำกัด แต่จะสร้างเนื้อเยื่อใหม่จากจุดที่เจริญด้านข้าง ของลำต้น ลำต้นที่สร้างขึ้นใหม่อาจเกิดชิดติดกับลำต้นทำให้มีลักาณะเป็นกอแน่น เช่น พวกสกุลซิมบิเดียม สถุลหวาย เป็นต้น หรือบางสกุลอาจจะสร้างต้นใหม่ห่างกันอยู่บนเหง้าที่ทอดยาว เช่นสกุลสิงโต เป็นต้น



3. จำแนกตามลักษณะการหาอาหาร

3.1 กล้วยไม้ที่สามารถสังเคราะห์อาหารได้ ( autophytic orchid) เป็นกล้วยไม้กลุ่มที่พบมากที่สุดในโลก เป็นกล้วยไม้ที่มีคลอโรฟิลด์และสามารถสร้างอาหารได้เองด้วยการสังเคราะห์แสง

3.2 กล้วยไม้กินซาก (saprophytic orchid ) เป็นกล้วยไม้กลุ่มเล็กๆที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เองเนื่องจากไม่มีคลอโรฟิลด์ แต่จะอาศัยอาหารจากจุลินทรีย์บางชนิด สามารถพบได้ช่วงที่ออกดอกเท่านั้น เช่นพวกเอื้องแฝง กล้วยส้มสยาม เป็นต้น


จำแนกกล้วยไม้ตามระบบราก

หนังสือหลายๆฉบับใช้วิธีจำแนกกล้วยไม้ด้วยวิธีนี้เนื่องจากง่าย และยังสามารถนำมาใช้ในการเลือกเครื่องปลูกให้เหมาะสมได้ด้วย... ซึ่งส่วนมากแล้วเราจะแยกระบบรากเป็น 4 แบบ ดังนี้...

1. รากดิน เป็นกล้วยไม้ที่มีรากซึ่งเกิดจากหัวที่อวบน้ำอยู่ใต้ดิน กล้วยไม้แบบนี้มักจะพบในป่าที่มีการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลแบบชัดเจน เมื่อฤดูแล้งก็จะพักตัวอยู่ในดิน เมื่อถึงหน้าฝนก็จะแตกหน่อและใบอ่อนโผล่พ้นดินมาให้เห็น เช่น เท้าคูลู และสกุลนางอั้ว..เป็นต้น

2. รากกึ่งดิน กล้วยไม้ประเภทนี้มักจะไม่มีหัวอวบน้ำเหมือนประเภทรากดิน มักพบตามธรรมชาติขึ้นอยู่ตามพื้นดิน บางครั้งอาจจะพบว่าใบจะร่วงหลุดเมื่อหน้าแล้งแต่ตาหน่อที่ตอก็ยังดีอยู่ เมื่อได้รับความชื้นที่เหมาะสมก็จะแตกหน่อใหม่ได้อีก ลำลูกกล้วยอาจอยู่ใต้ผิวดินหรือบนผิวดินก็ได้ ส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ตามพื้นที่มีหินผุหรือใบไม้กองทับถมกันซึ่งกล้วยไม้จะอาศัยสิ่งเหล่านี้เป็นอาหารด้วย ได้แก่กล้วยไม้ สกุลรองเท้านารี สกุลเอื้องพร้าว สกุลสปาโทกล๊อตลิส เป็นต้น

3. รากกึ่งอากาศ หมายถึงกล้วยไม้ที่อาศัยอยู่บนดิน บนหิน หรือบนต้นไม้ ถ้าอยู่บนดินก็มักพบในบริเวณที่มีใบไม้ทับถมอยู่หนาๆ หรือที่สูงซึ่งน้ำไม่ขังอยู่ได้นาน รากกึ่งอากาศ เซลล์ผิวของรากจะหนาและมีลักษณะคล้ายฟองน้ำคือเก็บและดูดน้ำใว้ได้มาก รากมีขนากเล็กกว่ารากอากาศและชอบซ่อนตัวอยู่ในเครื่องปลูก ไม่ชอบอากาศแน่นทึบมากๆ เช่นกล้วยไม้สกุลแคทลียา สกุลหวาย สกุลออนซิเดียม เป็นต้น

4. รากอากาศ กล้วยไม้รากอากาศมักพบขึ้นอยู่ตามต้นไม้ รากจะมีลักษณะใหญ่และหยาบ ถ้าหักดูจะพบว่ารากจริงจะเป็นเส้นเล็กแข็งอยู่ด้านใน ส่วนผิวรากจะทำหน้าที่ดูดซับน้ำ เก็บน้ำ ทำให้สามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดี กล้วยไม้รากอากาศจะไม่ชอบอยู่ในสภาพที่เปียกแฉะนานเกินไป ชอบที่โปร่งที่สามารถทำให้รากแห้งได้เร็ว กล้วยไม้พวกนี้ได้แก่.. สกุลช้าง สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลแวนด้า สกุลแมลงปอ เป็นต้น...


...Sak...




 

Create Date : 15 ธันวาคม 2553
5 comments
Last Update : 15 ธันวาคม 2553 21:27:27 น.
Counter : 1672 Pageviews.

 

แวะมาทักทายยามดึกคะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ที่นำมาแบ่งปันคะ ต้นไม้ที่บ้านที่นนทบุรีมีอยู่ 3 ต้น แขวนไว้อย่างเดียวเลยคะ มีต้นหนึ่งซื้อมาจากแม่สอด ยังไม่เคยออกดอกเลยคะ น่าจะเป็นตระกูลหวาย ต้องเอาลงดินหรือเปล่าคะ ถึงจะเติบโตได้ดี

 

โดย: Maew-Tua-Lek 15 ธันวาคม 2553 23:33:26 น.  

 


มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

ผมก็ชอบกล้วยไม้เหมือนกันครับ แต่ไม่ค่อยมีความรู้ทางวิชาการแบบนี้เลยครับ อาศัยว่าผมใช้วิธีถามเอาในกระทู้ครับ

ตอนนี้อยากทราบวิธีแยกกอกะเรกะร่อนนะครับ

อิอิ

 

โดย: อาคุงกล่อง 16 ธันวาคม 2553 0:04:15 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณษา

แวะมาทักทาย และอ่านข้อมูลดี ๆ ค่ะ

 

โดย: Violeta Lady 16 ธันวาคม 2553 14:29:45 น.  

 

ดีจังครับ ...วันนี้มาอ่านสารานุกรมกล้วยไม้ ขอบคุณครับที่เอามาแบ่งความรู้กัน

 

โดย: Patteera 16 ธันวาคม 2553 18:00:33 น.  

 

แอบมาเก็บความรู้ ค่ะ ^_^

 

โดย: Som IP: 182.52.155.191 25 กันยายน 2557 23:28:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


อุษาญาณิน
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




"เรือนไม้หอม"
เป็นแค่ คนตัวเล็กๆ สองคน ที่ใฝ่ฝัน ว่าวันนึง...อยากจะมีสวนกล้วยไม้ของเราเอง ตั้งแต่ติดฝักเป็นรหัสของเราเอง ออกขวดเอง เลี้ยงนิ้วเอง เลี้ยงไปจนมีดอกให้ชื่นชม และจำหน่ายเอง โดยที่จะสามารถ บอกผู้ซื้อได้ว่า กล้วยไม้ชนิดนี้ ปลูก เลี้ยง และสามารถดำรงชีวิตได้ในภาคใต้...

ฝันอาจจะไกล..แต่เราจะไม่ถอย...สู้ สู้ สู้ตาย!!!
New Comments
Friends' blogs
[Add อุษาญาณิน's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.