กรรม เกิดจาก เจตนา เจตนา คือ ตัวกรรม
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
23 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
มิจฉาทิฐิ. ความเชื่อว่ามนุษย์ไม่มีวันออกจากวัฏฏสงสารได้


ความเชือของเดียรถี

เชื่อว่าคนเราไม่สามารถออกจากวัฏฏสงสารได้

เชื่อว่าวิญญาณ เป็นตัวของตน และเที่ยงแท้แน่นอน

จะต้องเวียนว่ายตายเกิดตลอดไป ไม่มีที่สิ้นสุด

ลัทธินี้ไม่เชื่อว่า ธรรมของพระพุทธเจ้าเมื่อปฏิบัติแล้วสามารถหยุดการเวียนว่ายตายเกิดได้

เป็นลัทธิที่ยึดมั่นถือมั่นว่า วิญญาณเป็นของของตนต้องปฏิสนธิไปอัตตโนมัตโดยไม่มีวันสิ้นสุด

ลัทธินี้สงเสริมการเกิด และตำหนิดธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนความไม่เกิด ว่าไม่มีจริง

ลัทธินี้ เป็นลัทธิของมาร.

[๓๒๙] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุวิญญาณ ... มโนวิญญาณ โดย
ความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนวิญญาณและตนไม่เป็นสองว่า มโนวิญญาณอัน
ใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน
อันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ... ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นตน
... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ
[๓๓๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความ
เป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเราแต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้น
แลมีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ เปรียบเหมือน
ต้นไม้มีเงา ... ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน นี้เป็น
อัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างนี้ ฯ
[๓๓๑] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
มีวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นวิญญาณในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม
... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๓
อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิปุถุชน ย่อมเห็น
วิญญาณในตนอย่างนี้ ฯ
[๓๓๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรา
นี้นั้นแลมีอยู่ในวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในวิญญาณ เปรียบเหมือน
แก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด ... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
ความเป็นตน นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๔ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างนี้ อัตตานุทิฐิมีความถือผิดด้วย
อาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

[๓๕๘] ทิฐิวิบัติ ๓ ทิฐิสมบัติ ๓ ฯ
ทิฐิวิบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นวิบัติว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่น
เป็นตัวตนของเรา ทิฐิวิบัติ ๓ เหล่านี้ ฯ
ทิฐิสมบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นอันถูกต้องว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่น
ไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทิฐิสมบัติ ๓ เหล่านี้ ฯ
[๓๕๙] ทิฐิอะไรว่า นั่นของเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้น ตามถือ
ส่วนสุดอะไร ทิฐิอะไรว่า นั่นเป็นเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้น ตามถือส่วน
สุดอะไร ทิฐิอะไรว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้นตามถือ
ส่วนสุดอะไร ฯ

[๓๕๗] บุคคล ๓ จำพวกมีทิฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฐิสมบัติ ฯ
บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฐิวิบัติ เดียรถีย์ ๑ สาวกเดียรถีย์ ๑
บุคคลผู้มีทิฐิผิด ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้มีทิฐิวิบัติ ฯ
บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฐิสมบัติ พระตถาคต ๑ สาวก
พระตถาคต ๑ บุคคลผู้มีทิฐิชอบ ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้มีทิฐิสมบัติ ฯ
นรชนใด เป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธ มีความลบหลู่ลามก
มีทิฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์ พึงรู้จักนรชนนั้นว่าเป็นคนเลว นรชนใด
เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีทิฐิ-
สมบัติ มีปัญญา พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ





Create Date : 23 สิงหาคม 2555
Last Update : 23 สิงหาคม 2555 19:41:50 น. 0 comments
Counter : 1097 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

shadee829
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add shadee829's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.