กรรม เกิดจาก เจตนา เจตนา คือ ตัวกรรม
Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
14 มกราคม 2555
 
All Blogs
 

อภิภายตนะ ( คือเหตุเครื่องครอบงำธรรมอันเป็นข้าศึกและอารมณ์ ) และ กสิณายตนะ (เพื่อ อภิญญา )

[๓๔๑] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญอภิภายตนะ (คือเหตุเครื่องครอบงำธรรมอันเป็นข้าศึก
และอารมณ์) ๘ ประการ. คือ
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณ
ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่หนึ่ง.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณ
ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่สอง.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณ
ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่สาม.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณดี และมี
ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่สี่.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน
มีรัศมีเขียว. ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่า ผ้าที่กำเนิด
ในเมืองพาราณสีมีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว
ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น
อภิภายตนะข้อที่ห้า.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน
มีรัศมีเหลือง. ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง หรือว่า
ผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน
มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณ
เหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ
อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน
มีรัศมีแดง. ดอกบานไม่รู้โรยอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่า ผ้าที่กำเนิด
ในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง
ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น
อภิภายตนะข้อที่เจ็ด.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน
มีรัศมีขาว. ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว หรือว่า ผ้าที่กำเนิด
ในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว
ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น
อภิภายตนะข้อที่แปด.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญอภิภายตนะ ๘ นั้นแล
สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๔๒] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญกสิณายตนะ ๑๐ คือ
๑. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๒. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอาโปกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๓. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งเตโชกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๔. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวาโยกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๕. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งนีลกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๖. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๗. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโลหิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๘. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโอทาตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๙. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอากาสกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๑๐. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อย
ทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญกสิณายตนะ ๑๐ นั้นแล
สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๔๓] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญฌานสี่.
ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน
ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงาน
สรงสนาน ผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อนจุรณสิ
ตัวนั้นซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกาย
นี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.
[๓๔๔] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. ดูกรอุทายี เปรียบ
เหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลไปมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านตะวันตก
ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึง
ทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้น
ทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.
[๓๔๕] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะเสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอัน
ปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.
ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัว
หลวง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำ
หล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มแช่ เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มี
เอกเทศไหนๆ แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึง
ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุข
ปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ ทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.
[๓๔๖] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่ง
แผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแล้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะ
ด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วเจริญฌานสี่นั้นแล สาวก
ของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
[๓๔๗] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔
เกิดแต่บิดามารดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอัน
ทำลายกระจัดกระจายเป็นธรรมดาและวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้.
ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไน
ดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย เขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวลร้อยอยู่
ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม
เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกไส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง
มีด้ายเขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวลร้อยอยู่ในนั้นฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล
ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่ากายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔
เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอัน
ทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่รู้ใน
กายนี้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วย่อมรู้ชัดอย่างนี้แล สาวก
ของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๔๘] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมนิมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่
ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง
เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ไส้ นี้หญ้าปล้อง หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชัก
ออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึง
คิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ชักดาบออกจากฝักนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ
งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด สาวกทั้งหลายของเรา
ก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกนั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงบรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๔๙] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำหายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้. ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนดิน
บนแผ่นดินก็ได้. เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้. ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์
มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือน
ช่างหม้อ หรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำ
ภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงา หรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด
เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง
เปรียบเหมือนช่างทอง หรือลูกมือของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณ
ชนิดใด พึงทำทองรูปพรรณชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล
ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่
ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้. ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้. เดินบนน้ำไม่แตก
เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้. เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้. ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์
ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้. ก็เพราะ
สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
บารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๕๐] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่
ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษ
เป่าสังข์ผู้มีกำลัง จะพึงยังคนให้รู้ตลอดทิศทั้งสี่โดยไม่ยากฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล
ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่
อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๕๑] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ
ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ
ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต
ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิต
มีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าเป็น
สมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่
หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว
เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้
ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล
ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ
ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ
ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต
ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิต
เป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิต
ไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเรา
เป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๕๒] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง
สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบ
ชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอด
สังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ใน
ภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น ได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดใน
ภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านอื่นอีก
จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไป
บ้านโน้นในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้ว
เรากลับจากบ้านนั้นมาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเรา ก็ฉันนั้นแล
ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง
สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ
ด้วยประการฉะนี้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๕๓] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์ ดังนี้. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนเรือนสอง
หลังที่มีประตูร่วมกัน บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ตรงกลางที่เรือนนั้น จะพึงเห็นหมู่ชนกำลังเข้าไปบ้าง
กำลังเดินวนเวียนอยู่บ้างที่เรือน ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่
เราบอกแล้ว ย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
ด้วยประการฉะนี้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๕๔] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือน
สระน้ำบนยอดเขา ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่ง
และหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง
ในสระน้ำนั้น เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบ
ต่างๆ บ้าง ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้ กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระนั้นดังนี้
ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่ง
เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเองใน
ปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๕๕] ดูกรอุทายี นี้แลธรรมข้อที่ห้าอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่.
ดูกรอุทายี ธรรมห้าประการนี้แล เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่ ฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. สกุลุทายีปริพาชกยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ดังนี้แล.
จบ มหาสกุลุทายิสูตร ที่ ๗.
-----------------------------------------------------

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๕๔๙๘ - ๖๐๒๒. หน้าที่ ๒๔๑ - ๒๖๒. //www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=5498&Z=6022&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=314

แจกฌานอย่างละ ๑๖
[๑๗๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[๑๗๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[๑๗๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา
มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา
มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา
มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา
มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[๑๗๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[๑๗๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน
ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ
เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ
เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ
เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ
เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
แจกฌานอย่างละ ๑๖ จบ
-----------------------------------------------------
[๑๗๗] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
ที่มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีปีตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
ที่มีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
กสิณ ๘ แจกอย่างละ ๑๖
-----------------------------------------------------

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๑๔๘๐ - ๑๕๙๒. หน้าที่ ๖๑ - ๖๕. //www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=1480&Z=1592&pagebreak=0 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ //www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๔ //www.84000.org/tipitaka/read/?index_34

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า ในกรณี :- บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

และท่านพระสารีบุตรพร้อมทั้งพระอรหันทั้งหลาย

อนุโมทนาสาธุ




 

Create Date : 14 มกราคม 2555
4 comments
Last Update : 14 มกราคม 2555 19:14:50 น.
Counter : 2274 Pageviews.

 

ยินดีในบุญค่ะ

 

โดย: shada 14 มกราคม 2555 19:19:52 น.  

 

โทษอย่างเบา ของการผิดศิลห้า
พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๗๘/๕๐๘/๑ ปกน้ำเงิน ๗๘/๔๔๗/๙ ปกแดง
ปาณาติบาต มีโทษ ดังนี้
การฆ่าสัตว์แมลงตัวเล็ก ๆ เช่นมดดำ ชื่อว่า มีโทษน้อย
ฆ่าสัตว์เช่นนั้นที่ใหญ่กว่า มีโทษมากกว่า
ฆ่าสัตว์ประเภทนับเนื่องด้วยนกใหญ่กว่านั้น มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าสัตว์ประเภทเลื้อยคลานใหญ่กว่านั้น มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าสัตว์ประเภทกระต่าย มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าสัตว์ประเภทเนื้อ มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าโค มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าม้า มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าช้าง มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่ามนุษย์ผู้ทุศีล มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่ามนุษย์ผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่ามนุษย์ผู้ถึงสรณะ (คือผู้ถึงพระไตรสรณคมน์) มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าผู้ตั้งอยู่ในสิกขาบท ๕ มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าสามเณร มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าภิกษุผู้เป็นปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.
อทินนาทาน มีโทษ ดังนี้
การถือเอาสิ่งของ ของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษน้อย
ถือเอาสิ่งของ ของผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของผู้ถึงสรณะ มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของผู้ตั้งอยู่ในศีล ๕ มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของสามเณร มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของภิกษุปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.

ข้ออื่นๆก็ทำนองเดียวกันค่ะ

 

โดย: shada 14 มกราคม 2555 19:24:44 น.  

 

หายไปหลายวันขอโทษด้วยนะครับ กลับมาทักทาย..

 

โดย: bobobull 15 มกราคม 2555 19:43:00 น.  

 

อุภินฺนมตฺถํ จรติ อตฺตโน จ ปรสฺส จ
ปรํ สงฺกุปิตํ ญตฺวา โย สโต อุปสมฺมติ

ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว มีสติ ระงับได้ ผู้นั้นชื่อว่า
บำเพ็ญประโยชน์แก่คนถึง ๒ คน คือ ทั้งแก่ตนเอง และแก่คนอื่นนั้น

มีความสุขในการบำเพ็ญประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ตลอดไป...นะคะ



 

โดย: พรหมญาณี 16 มกราคม 2555 10:54:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


shadee829
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add shadee829's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.