Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
26 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 

εღз เทศกาลดูเหยี่ยวอพยพ εღз

seabeach_mon ต้องขอขอบคุณ คุณ ArMoo //www.chumphontour.com มา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ ที่ช่วยส่งข้อมูลดี ๆ มาให้เสมอ เพื่อที่จะนำมาให้เพื่อน ๆ ที่บล็อคได้ รับข้อมูลข่าวสารกันนะคะ ถ้าใครว่าง ในช่วง 30 ก.ย. - 1 ต.ค. ก้อแวะมาชมกันได้นะคะ ที่จังหวัดชุมพรค่า


ขอเชิญร่วมอบรมเพิ่มความรู้ ในโครงการเทศกาลดูเหยี่ยวอพยพ ครั้งที่ 5 วันที่ 9 ก.ย. 49
สวัสดีค่ะ พี่น้องผู้รักนกทุกท่านคะ หลังจากที่ได้แจ้งข่าวคราวความคืบหน้าของกิจกรรมเทศกาลดูเหยี่ยวอพยพ ประเทศไทย ครั้งที่ 5 ประจำปี 2549 แล้วนั้น

บัดนี้มีกำหนดการอบรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งแบบของงานและคณะวิทยากรทุกท่านได้ให้โอกาสกับสำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง อ.เมือง จ.ชุมพร อีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

กำหนดการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้กับนกดูนกและนักท่องเที่ยวเทศกาลดูเหยี่ยวอพยพประเทศไทย ครั้งที่ 5 ประจำปี 2549วันที่ 9 กันยายน 2549
โดย สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง จ.ชุมพร ร่วมกับ สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
Bird life club และ Thai Raptor Group
ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ

08.00 - 08.45 น. ลงทะเบียน
08.45 - 09.00น. งานเทศกาลดูเหยี่ยวอพยพประเทศไทย ครั้งที่ 5 โดย คุณชูเกียรติ นวลศรี
09.00 - 09.15 น. พิธีเปิดการอบรมให้ความรู้
09.15 - 10.15 น. ชีวิตที่แปรปรวนและท้าทายสำหรับการอพยพของนกล่าเหยื่อ โดย คุณพินิจ แสงแก้ว
10.15 - 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 - 11.15 น. มารู้จักกลุ่มนกล่าเหยื่อในเมืองไทยกันเถอะ โดยคุณสุธี ศุภรัฐวิกร
11.15 - 12.00 น. เหยี่ยวนกเขาดูง่ายจำแนกยากไหม โดยคุณอุทัย ตรีสุคนธ์
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. เทศกาลดูนกโลก , การจัดกิจกรรมในพื้นที่ IBA, สถานการณ์ไข้หวัดนก, การร่วมกิจกรรมเพื่อติดตามนกทุกสถานการณ์ โดย คุณเพชร มโนปวิตร และ นส.พ.รัฐพันธ์ พัฒนรังสรรค์
14.00 - 15.00 น. การศึกษานกล่าเหยื่อและพฤติกรรมนกล่าเหยื่อ, การจำแนกนกอินทรีปีกลายเมื่อปีกลาย
โดย นส.พ.ไชยยันต์ เกษรดอกบัว
15.00 - 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 - 16.00 น. ดูนกชุมพรแบบประหยัดและได้นกใหม่ ( อีก ) สักตัว โดย คุณชูเกียรติ นวลศรี

จึงขอเรียนเชิญผู้สนใจทุกท่าน ร่วมการรับฟังการบรรยายจากท่านวิทยากรด้วยความยินดียิ่ง สำหรับอาหารกลางวันคงจะหารับประทานกันได้ภายในมหาวิทยาลัยค่ะ
เนื่องจากมีงบประมาณจำกัดเพียง 100 คน เราก็เลยขอความอนุเคราะห์จากทุกท่านได้ช่วยกันบริจาคค่ากาแฟ น้ำ นม คนละเล็กละน้อยแล้วแต่อารมณ์ดีกว่าค่ะ เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้เข้ารับการฟังบรรยายประมาณ 150 คน ส่วนพี่ Hadida สนับสนุนชุดกาแฟบางส่วนแล้ว ขอบคุณพี่ด้วยค่ะ แต่ถ้าใครจะมีขนมติดไม้ติดมือมาฝากก็ยินดี ถือว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน มาทักทายกันก่อนเริ่มดูนกภาคสนามกัน
ท่านใดมีความเห็นเพิ่มเติมยินดีค่ะ ขอบคุณคุณปลากระดี่ได้น้ำที่ออกแบบโลโก้ คุณป้าโอ๋ ที่อนุญาตใช้โลโก้หลักประจำงาน ถ้าหากหน่วยงานใดต้องการแสดงบูธกิจกรรมนกกรุณาแจ้งให้ผมทราบด้วยนะคะ เพื่อความเป็นระเบียบนั้นเอง bntern@yahoo.com

หากมีโอกาสแนะนำหรือประชาสัมพันธ์กลุ่มอื่นๆ ที่สนใจก็ขอเชิญช่วยประชาสัมพันธ์ด้วยนะคะ





สำหรับงานเทศกาลดูเหยี่ยวอพยพประเทศไทย ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ.2549 กำหนดจัดในวันที่ 30 กันยายน - 1 ตุลาคม 2549 นี้นะคะ สถานที่ก็เป็นที่เดิม คือที่ทุ่งนา หมู่ที่ 6 บ้านอู่ตะเภา ตำบลท่ายาง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร


รายงานการพบเหยี่ยว ปี 2547
//merbers.thai.net/thairaptorwatch/raptor_count2004.html









เมื่อนักล่า…อพยพย้ายถิ่นจากเหนือลงใต้

เมื่อเอ่ยถึง เหยี่ยว คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก เพราะทุกคนย่อมรู้กันดีอยู่แล้วว่า เหยี่ยว เป็นนกล่าเหยื่อจำพวกหนึ่ง แต่ถ้าหากคนนั้นไม่ใช่นักดูนกคงไม่รู้หรอกว่า เหยี่ยวมีอยู่ด้วยกันสองวงศ์ คือ เหยี่ยวปีกแตก (Hawks) ในวงศ์ Accipitridae และ เหยี่ยวปีกแหลม (Falcons) ในวงศ์ Falconidae

เหยี่ยวปีกแตกนั้น ถึงแม้ว่าคำสามัญที่ชาวอังกฤษใช้เรียกกันคือ Hawk แต่เนื่องจากเหยี่ยวในวงศ์นี้มีความหลากหลายเป็นอย่างมากจนแยกออกได้หลายกลุ่ม จึงทำให้เหยี่ยวแต่ละกลุ่มได้ชื่อสามัญโดยเฉพาะแตกต่างกันไปอีกด้วย เช่น Kite, Buzzard, Harrier, Goshawk และ Sparrowhawk

ยิ่งกว่านั้น เหยี่ยวบางกลุ่มยังได้ชื่อภาษาไทยแตกต่างกันออกไป เช่น นกอินทรี (Eagles) และ อีแร้ง (Vultures) และเหยี่ยวบางชนิดยังได้ชื่อภาษาไทยแตกต่างออกไปอีกด้วย เช่น นกออก (White-bellied Sea Eagle) ซึ่งชาวบ้านเรียกตามเสียงร้องของนก และ พญาแร้ง (Red-headed Vulture)

เหยี่ยว นักล่าแห่งเวหา


ไม่ว่าจะเป็น เหยี่ยวปึกแตก หรือ เหยี่ยวปีกแหลม หรือ เหยี่ยวสกุลใดหรือชนิดใด ต่างมีลักษณะร่วมกันที่บ่งบอกถึงความเป็นนักล่าแห่งเวหาของมัน เพราะร่างกายทุกส่วนถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นนกล่าเหยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างของจะงอยปาก นิ้วเท้าและเล็บ แต่เนื่องจากเหยี่ยวแต่ละกลุ่มแต่ละชนิดมีวิธีการหากินที่แตกต่างกันไป จึงทำให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหากินคือ ปาก ปีก และเท้า แตกต่างกันไปด้วย


เหยี่ยวมีร่างกายแข็งแรงบึกบึน ลำตัวล่ำสัน ปกคลุมด้วยขนหนาแน่น คอค่อนข้างสั้นแต่ใหญ่และแข็งแรง หัวค่อนข้างโต และมีดวงตากลมโตอยู่ทางด้านข้างของหัว ซึ่งมีสายตาเฉียบคมมากทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีประสาทสัมผัสในเรื่องกลิ่นดีอีกด้วย ระบบย่อยอาหารดีมากเช่นกัน สำหรับชิ้นส่วนที่ย่อยไม่ได้เช่น ขน และกระดูกจะถูกสำรอกออกมาทางปากเป็นก้อนเล็กๆ เรียกว่า pellet


ปีกสั้นหรือค่อนข้างยาว ซึ่งอาจกว้างหรือแคบ และปลายปีกแหลมหรือมน ขึ้นอยู่กับวิธีการหากินของเหยี่ยวแต่ละกลุ่มแต่ละชนิด เช่น อีแร้ง (Vultures) มีปีกยาวและกว้างเพราะต้องใช้ในการร่อน แต่เหยี่ยวในสกุล Accipiter ซึ่งต้องบินไล่ติดตามเหยื่อเข้าไปในระหว่างต้นไม้ในป่ามีปีกสั้นและปลายปีกมน แต่ส่วนใหญ่มีปีกที่แข็งแรงจึงทำให้บินทนและนาน หางสั้นหรือค่อนข้างยาว มีขนหาง 12-14 เส้น ใช้เป็นหางเสือในขณะบิน


ขนปลายปีก (primaries) มี 10 เส้น ถ้าเป็นเหยี่ยวปีกแตกในขณะบินจะแลเห็นขนปลายปีกแต่ละเส้นแยกออกจากกันเป็นรูป " นิ้ว " ยกเว้นเฉพาะเหยี่ยวค้างคาว (Bat Hawk) ซึ่งมีปลายปีกแหลมเช่นเดียวกับเหยี่ยวปีกแหลม ขนกลางปีก (secondaries) มี 12-16 เส้น


สันปากบนโค้งมากบ้างน้อยบ้าง ปลายจะงอยปากบนเป็นตะขององุ้มแข็งแรงและแหลมคม จะงอยปากล่างสั้นกว่าจะงอยปากบน และซ่อนอยู่ใต้จะงอยปากบนเมื่อหุบปากสนิท ลักษณะของปากเช่นนี้มีไว้สำหรับฉีกเหยื่อที่ใช้เท้าจับยึดไว้ออกเป็นชิ้นๆ


เนื่องจากเหยี่ยวแต่ละกลุ่มแต่ละชนิดเลี้ยงชีวิตด้วยเหยื่อและมีวิธีการล่าเหยื่อที่แตกต่างกัน จึงทำให้จะงอยปากของเหยี่ยวแต่ละชนิดแตกต่างกันไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยาวของจะงอยปาก ความโค้งของสันปากบน และลักษณะของขอบปากบนและล่าง


บริเวณโคนปากบนซึ่งมีรูจมูกเปิดออกมีลักษณะเป็นหนังเปลือยเปล่าที่นิ่มกว่าจะงอยปาก เรียกกันว่า เซเร (cere) เช่นเดียวกับโคนปากบนของ นกแก้ว (Parrots) และ นกสกัว (Skuas) และมักมีสีสดสวยเป็นสีเหลือง สีส้ม สีแดง หรือ สีเขียว


ขาใหญ่แข็งแรง ขาท่อนบน (thigh) มีขนปกคลุม ขาท่อนล่าง (tarsus) อาจมีขนปกคลุม แต่ส่วนใหญ่เปลือยเปล่า และทางด้านหน้าปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดใหญ่เรียงซ้อนทับกัน นิ้วเท้า (toes) แข็งแรง แต่มีความยาวแตกต่างกันไปในเหยี่ยวแต่ละกลุ่มแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับวิธีการหากินของมัน


นิ้วเท้ามีข้างละ 4 นิ้ว ยื่นไปข้างหน้า 3 นิ้ว และยื่นไปข้างหลัง 1 นิ้ว เรียกนิ้วเท้าแบบนี้ว่า anisodactyl และนิ้วทุกนิ้วอยู่ในระดับเดียวกัน (incumbent) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อการเกาะคอนและการล่าเหยื่อ นิ้วหลัง (hallux) เรียกว่า นิ้วที่ 1 ส่วนนิ้วหน้านั้น นิ้วที่อยู่ด้านในสุดของลำตัว เรียกว่า นิ้วใน (inner toe) หรือ นิ้วที่ 2 นิ้วถัดออกมา เรียกว่า นิ้วกลาง (middle toe) หรือ นิ้วที่ 3 และนิ้วที่อยู่ด้านนอกสุดของลำตัว เรียกว่า นิ้วนอก (outer toe) หรือ นิ้วที่ 4


เล็บของเหยี่ยวมักโค้งยาวแข็งแรงและแหลมคม มีประโยชน์ในการขยุ้มจับเหยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเล็บที่นิ้วหลังซึ่งยาวและแข็งแรงมาก สามารถแทงทะลุตัวเหยื่อจนทำให้เหยื่อตายได้ทันทีเมื่อเหยื่อถูกกรงเล็บขยุ้มแม้เพียงครั้งเดียว แต่เหยี่ยวแต่ละกลุ่มแต่ละชนิดมีขนาด ความหนา และความโค้งของเล็บเท้าแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของเหยื่อที่มันต้องล่าเอามาเป็นอาหาร

เมื่อถึงเวลา นักล่าต้องอพยพ


เนื่องจากแหล่งอาหารในแต่ละท้องที่มีจำนวนจำกัด เมื่ออาหารในแต่ละท้องที่นั้นหมดไป สัตว์ที่เลี้ยงชีพด้วยอาหารเหล่านั้นจึงจำเป็นต้องอพยพย้ายถิ่นเพื่อไปหาอาหารในท้องที่อื่นเพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยต่อไปในธรรมชาติ มิเช่นนั้นจะต้องอดอาหารตายและสูญพันธุ์ไปในที่สุด


สัตว์หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นนก ปลา ผีเสื้อ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ค้างคาว และกวาง ต่างต้องอพยพย้ายถิ่นหาแหล่งหากินไปเรื่อยๆ แต่สัตว์บางชนิดอาจอพยพย้ายถิ่นเพื่อกลับไปผสมพันธุ์และให้กำเนิดลูกในถิ่นเดิมซึ่งครั้งหนึ่งพ่อแม่ของมันให้กำเนิดมันขึ้นมา สัตว์ที่อพยพย้ายถิ่นเหล่านี้เรียกว่า สัตว์ย้ายถิ่น (Migrants)


ในบรรดา สัตว์ย้ายถิ่น ทั้งหลาย นกมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการอพยพย้ายถิ่น เพราะนกมีปีกที่จะใช้บินเพื่อเดินทางไปไหนมาไหนได้ และเพราะนกมีความสามารถในการบินอพยพย้ายถิ่นนี่เอง นกจึงสามารถขยายหรือย้ายแหล่งหากินและแหล่งผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ไปอยู่ในท้องที่ต่างๆทั่วทุกทวีปได้ ถ้าหากมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ซึ่งสัตว์กลุ่มอื่นไม่อาจทำได้เช่นนก


นกเหล่านี้เรียกว่า นกอพยพย้ายถิ่นนอกฤดูผสมพันธุ์ หรือ นกอพยพย้ายถิ่นในฤดูหนาว เพราะนกเหล่านี้บินอพยพย้ายถิ่นจากแหล่งผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ (Breeding Ground) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปเอเชีย เข้ามาอาศัยและหากินในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในช่วงฤดูหนาว


พอถึงฤดูร้อนราวเดือนมีนาคมหรือเมษายนจึงเริ่มบินอพยพย้ายถิ่นจากแหล่งหากินในฤดูหนาว (Wintering Ground) ทางใต้ กลับไปผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ทางเหนือ และกลายเป็น นกอพยพย้ายถิ่นเข้าไปผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ (Breeding Visitor) หรือ นกอพยพย้ายถิ่นในฤดูร้อน (Summer Visitor) ของทวีปเอเชียตอนเหนือ พอลูกของมันโตแล้ว จะใกล้ฤดูหนาวพอดี มันจะเริ่มบินอพยพย้ายถิ่นลงใต้ใหม่ เป็นเช่นนี้เรื่อยๆไปทุกปี ตามสัญชาตญาณของมัน


นกอพยพย้ายถิ่นเหล่านี้ บางกลุ่ม เช่น นกเป็ดน้ำ (Waterfowl) และนกชายเลน (Waders) บินอพยพย้ายถิ่นในเวลากลางคืน แต่นกบางกลุ่ม เช่น เหยี่ยว นกแซงแซว (Drongoes) นกจาบคาหัวเขียว (Blue-tailed Bee-eater) นกกิ้งโครง (Starlings) และนกอีเสือ (Shrikes) บินอพยพย้ายถิ่นในเวลากลางวัน


ในบรรดานกอพยพย้ายถิ่นในเวลากลางวันเหล่านี้ เหยี่ยวนับว่าเป็นกลุ่มของนกที่ได้รับความสนใจจากนักดูนกและนักปักษีวิทยามากที่สุด ในเวลาบินอพยพย้ายถิ่น เหยี่ยวจะอาศัยกระแสอากาศร้อนที่ลอยตัวสูงขึ้นช่วยในการพยุงตัวให้ลอยวนขึ้นไปแล้วบินร่อนอพยพไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไปถึงแหล่งหากินในฤดูหนาวหรือแหล่งผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ในฤดูร้อน


ในบรรดาเหยี่ยวทั้งสิ้นที่พบในโลกนี้ซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 304 ชนิด อย่างน้อย 183 ชนิด หรือ ราวร้อยละ 62 ของเหยี่ยวทั้งหมดเป็นเหยี่ยวที่บินอพยพย้ายถิ่นตามฤดูกาล (seasonal migrant) ซึ่งเรียกกันว่า เหยี่ยวอพยพย้ายถิ่น (migrating raptor)


พี. เคอร์ลิงเยอร์ (P. Kerlinger) กล่าวไว้ในหนังสือ Flight Strategies of Migrating Hawks ของเขา ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ของ มหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก (University of Chicago) เมื่อปี พ.ศ. 2532 ว่า เหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น เหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นถาวร (complete migrants) เหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นบางส่วน (partial migrants) และ เหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นเฉพาะกาลหรือเฉพาะท้องที่(irruptive or local migrants)


เหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นถาวรคือ เหยี่ยวซึ่งอย่างน้อยประชากรร้อยละ 90 ของเหยี่ยวชนิดนั้นบินอพยพย้ายถิ่นออกจากแหล่งผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ (breeding range) ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (non-breeding season) ไปอาศัยและหากินในแหล่งอื่น ซึ่งในโลกนี้มีเพียง 19 ชนิดเท่านั้น และพบในประเทศไทยถึง 7 ชนิด


เหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นบางส่วนคือ เหยี่ยวซึ่งบางตัว แต่มิใช่ทุกตัวในชนิดนั้น บินอพยพย้ายถิ่นระหว่างแหล่งผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ (breeding range) กับแหล่งอาศัยและหากินนอกฤดูผสมพันธุ์ (non-breeding range) ซึ่งในโลกนี้มีถึง 104 ชนิด แต่พบในประเทศไทยเพียง 30 ชนิด


เหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นเฉพาะกาลหรือเฉพาะท้องที่คือเหยี่ยวซึ่งมิได้บินอพยพย้ายถิ่นระหว่างแหล่งผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ (breeding range) กับแหล่งอาศัยและหากินนอกฤดูผสมพันธุ์ (non-breeding range) แต่บินอพยพย้ายถิ่นเฉพาะในบางครั้ง เพื่อหาแหล่งหากินใหม่ หรือเพื่อหลบหนีความหนาวเย็น ซึ่งในโลกนี้มี 60 ชนิด แต่พบในประเทศไทยเพียง 7 ชนิด


การบินอพยพย้ายถิ่นของเหยี่ยวนั้น มีทั้งการบินอพยพย้ายถิ่นตามแนวเส้นแวง (longitudinal) และตามระดับความสูง (elevational) และการบินอพยพย้ายถิ่นตามแนวเส้นรุ้ง (latitudinal) แต่เหยี่ยวแต่ละตัวในแต่ละชนิดมีการบินอพยพย้ายถิ่นที่แตกต่างกันในเรื่องของระยะเวลาและลักษณะทางภูมิศาสตร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเพศและอายุของเหยี่ยวแต่ละตัว ซึ่ง พี. เคอร์ลิงเยอร์ (P. Kerlinger) เรียกปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า การอพยพย้ายถิ่นที่แตกต่าง (differential migration)


เมื่อพิจารณาถึงการบินอพยพย้ายถิ่นของเหยี่ยวในโลกนี้ จะเห็นว่าใน ซีกโลกภาคเหนือ (Northern Hemisphere) มีการบินอพยพย้ายถิ่นของเหยี่ยวมากกว่าใน ซีกโลกภาคใต้ (Southern Hemisphere) แต่ทั้งนี้อาจสะท้อนให้เห็นว่า ในซีกโลกภาคใต้ไม่ค่อยมีใครหรือประเทศไหนทำรายงานเกี่ยวกับการบินอพยพย้ายถิ่นของเหยี่ยวเท่าไรนัก


ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง "โลกหลากวิถี" หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
//www.thairath.co.th/thairath1/2546/column/world/oct/25_10_46.php









 

Create Date : 26 สิงหาคม 2549
30 comments
Last Update : 9 กันยายน 2549 21:00:22 น.
Counter : 3183 Pageviews.

 

หวัดีค่ะ...ขอบคุณสำหรับข่าวสารดี ๆ ที่นำมาฝากนะคะ
ขอเที่ยวในบล๊อกนี้ก่อนละกันค่ะ...อิอิ ขอบคุณที่แวะไปบอกข่าวนะคะ...สบายดีนะคะ

 

โดย: ratchy69 26 สิงหาคม 2549 22:06:35 น.  

 

ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูลแนะนำเที่ยวที่เอาไปฝากกัน
อยากไปค่ะ แต่อยู่ไกลเกิน ปีหน้าถ้ามีโอกาส หวังว่าคงได้ไปเที่ยวค่ะ

ดีจังเลยค่ะ น่ารักจัง ช่วยโปรโมทให้จังหวัดตัวเองด้วย

BG น่ารักจัง

 

โดย: Blomster_DK 26 สิงหาคม 2549 22:50:45 น.  

 

ึขอบคุณสำหรับข่าวดีๆ ที่เอามาฝากนะจ๊ะ แต่ปีนี้ไม่ได้ไปนะค่ะกลับเมืองไทยปีหน้า ก็ว่าจะไปเยี่ยมป้าที่นั้นอยู่แล้วคงได้มีโอกาสไปดูค่ะ บายขอให้มีความสุขวันสุดสัปดาห์

 

โดย: ญ ดอท ดีโค๊ะ (takom ) 26 สิงหาคม 2549 23:23:55 น.  

 

มาเยี่ยมคนชุมพรค่ะ

เสียดายไม่ได้ไปร่วมงานด้วย คงมีโอกาสบ้างนะคะ

ปล จขบ เป็น ผญ หรือ ผช กันแน่ค่ะ เห็นเขียนตอนท้ายๆที่ใช้คำแทนตัวว่า ผม งง ค่ะ

 

โดย: แตนต่อย IP: 84.73.51.14 27 สิงหาคม 2549 5:08:16 น.  

 

น่าสนใจ และน่าไปมากๆ เลยค่ะ

แต่ปีนี้คงไม่มีโอกาสได้ไปแน่ๆๆ

ขอบคุณนะคะที่นำข่าวมาให้ทราบ แล้วจะบอกเพื่อนๆ ที่สนใจนะคะ

 

โดย: ไข่มุกน้อย 27 สิงหาคม 2549 10:14:51 น.  

 

น่าสนใจจังเลยค่ะ...........อยากไปๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

แต่ไกลจัง ฮือๆๆๆๆๆๆๆๆ

 

โดย: namtanzay 27 สิงหาคม 2549 12:39:21 น.  

 





สวัสดีเช้าวันอาทิตย์ ของ เนเธอร์แลนด์ นะจ้า


แค่ความรู้สึกที่อ่อนไหว
มันเบ่งบานอยู่ในใจของเธอและฉัน
เฝ้าถนอมให้เติบโตขึ้นทุกวัน
ให้ป็นความผูกพันธ์ระหว่างใจ


** มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงเสมอนะจ้า **


เสียดายที่ไม่ได้อยู่เมืองไทย ไม่งั้นไปแน่นอนเลยอะจ้า

 

โดย: จอมแก่นแสนซน 27 สิงหาคม 2549 13:06:20 น.  

 

เข้ามาอ่านข่าวสารตามคำชวนแล้วค่ะ แล้วจะช่วยประชาสัมพันธ์ให้นะค่ะ

 

โดย: แอน (thattron ) 27 สิงหาคม 2549 15:33:16 น.  

 

ขอบคุณ คุณratchy69, คุณBlomster_DK, คุณหญิง ดอท ดีโค๊ะ (takom), คุณแตนต่อย, คุณไข่มุกน้อย,
คุณnamtanzay, คุณจอมแก่นแสนซน, นะคะที่จะช่วยประชาสัมพันธ์ให้ นะคะ ส่วนที่คุณแตนต่อยถามว่าเป็น ญ หรือ ช เราเป็นผู้หญิง 100 % ค่า แต่ว่า ที่มีคำว่าผมแถมไปด้วยเพราะว่าไปก๊อปข้อมูลมาอ่ะค่ะ อ่านไม่ครบถ้วน เลยมีผสมกันไป หุหุหุ ไว้โอกาสหน้าจะรอบคอบกว่านี้นะคะ

 

โดย: seabeach _mon IP: 124.157.183.222 27 สิงหาคม 2549 15:49:47 น.  

 

ป้าก็อยากไปเที่ยวนะคะ แต่สังขารมันไม่อำนวยเท่าไรเลย ไว้ตามไปทางblogดีกว่านะ ขอบคุณมากค่ะที่ไปชวนป้า ป้าจะมาเที่ยวบ่อยๆนะคะ

 

โดย: ป้าหู้เองค่ะ (fifty-four ) 27 สิงหาคม 2549 23:34:38 น.  

 

ถ้าเป็นเมื่อ 30 ปีก่อน ป้ามดคงจับจ้องลงทะเบียนด้วยแน่ๆเลยค่ะ

 

โดย: ป้ามด 28 สิงหาคม 2549 10:26:34 น.  

 

ค่า ถ้าเจอใครสนใจจะแจ้งข่าวให้ทราบเลยนะคะ

 

โดย: LEE (lyfah ) 28 สิงหาคม 2549 12:16:52 น.  

 





สวัสดีตอนเย็นของ เนเธอร์แลนด์ นะจ้า


มาแล้วดีกว่าไม่มา
นอนหรือยังน๊าคนดี
ถ้ายังไม่ยอมนอน
ก็รีบเข้านอนเสียนะ..คนดี..


** มาส่งเพื่อนเข้านอน หลับฝันดีนะจ้า **


ปล. เมื่อเช้าไปทำงานอะเลยไมีเวลาเอาดอกไม้มาฝากงัยก็อย่างอนก๊านนะจ้า

 

โดย: จอมแก่นแสนซน 28 สิงหาคม 2549 23:04:23 น.  

 

หวัดดีกันก่อนเลย
เจี๊ยบยังไม่ทันได้อ่านนะค่ะ ดูก่อน
วันนี้เขามาช้าไปหน่อย ดึกแล้ว
แต่จะแวะมาทักทายกันก่อน หลังจากที่หายไปหลายวันแต่ก็ยังคิดถึงเหมือนเดิมนะค่ะ
ใว้จะแวะมาใหม่นะค่ะ

บาย

 

โดย: นางฟ้า ตาโต 30 สิงหาคม 2549 5:53:09 น.  

 

หวัดดีครับ ผมยิดดีรับใช้ครับว่าจะให้ทำอะไรก็ขอไห้บอกมาผมจะรีบทำให้ทันที่วันหลังว่างไปทานกาแฟที่บล็อคสิผมบอกพวกเพื่อนบ้างแล้ว่าชุมพรจะมีงานแต่ไม่รู้ว่าพวกเขาจะไปที่ไดนะครับ

 

โดย: ปลาหมึกกะตอย (katoy ) 31 สิงหาคม 2549 15:33:23 น.  

 





สวัสดีตอน ห้าทุ่มของ เนเธอร์แลนด์ นะจ้า


ผูกพันเป็นสายใย
ร้อยเรียงไว้ให้เนิ่นนาน
ความห่วงใยอาทร
ถักทอสานไว้ภายใน
ความคิดถึงของสองคน
จะยืนยงและยิ่งใหญ่
ต้องอดทนและจริงใจ
คอยมอบให้กันและกัน


** ขอให้ทำงานราบรื่นและมีความสุขนะจ้า **

 

โดย: จอมแก่นแสนซน 1 กันยายน 2549 4:10:18 น.  

 

แวะมาเยี่ยมค่ะ สบายดีนะคะ บีจี น่ารักค่ะ

 

โดย: รวมการเฉพาะกิจ 1 กันยายน 2549 11:04:54 น.  

 

หวัดดีครับไม่เห็นเเวะไปดูรูปกาแฟอีกเลยนี้ผมจึงต้องมาเชิญถึงบล็อค์คุณเลยนะเนียหวังว่าคงจะได้คุยกับคุณได้นะครับผมไม่ทราบชื่อต้องขอโทษด้วยนะครับ

 

โดย: ปลาหมึกกะตอย (katoy ) 1 กันยายน 2549 12:59:06 น.  

 

สวัสดีค่า ขอบคุณนะค่ะ สำหรับแหล่งท่องเที่ยวอ่านไปก้องงๆ นิดหน่อย เพราะไม่ค่อยรู้เรื่องนกเท่าไหร่ แฮะๆ..
แต่เรื่องทำเค้กนี้อ่ะ พอรู้เรื่องอ่ะค่ะ .......แฮะๆ
สบายดีนะค่ะ

 

โดย: แพนด้าเริงระบำ 3 กันยายน 2549 4:42:04 น.  

 

ป้ามาชวนไปเที่ยว หมู่บ้าน"บางคอทู่"กันค่ะ ริ้ววว....

 

โดย: ป้าหู้เองค่ะ (fifty-four ) 3 กันยายน 2549 22:40:08 น.  

 

แวะมาราตรีสวัสดิ์ นอนหลับฝันดีนะคะ

 

โดย: LEE (lyfah ) 5 กันยายน 2549 1:34:12 น.  

 

ได้ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นอีกแล้ว
เหยี่ยว กับ อีแล้ง และนกอินทรีย์ เป็นนกประเภทเดี่ยวกันหรือค่ะพึ่งจะรู้นะเนี้ย แต่พออ่านชื่อของเธอแต่ละตัวแล้ว คนล่ะอารมณ์เลยเนอะ

คิดถึงเหมือนเดิมนะค่ะ

 

โดย: นางฟ้า ตาโต 5 กันยายน 2549 3:52:11 น.  

 

ความรู้ทั้งนั้นเลย

 

โดย: BaLL182 5 กันยายน 2549 22:22:56 น.  

 

แวะมาเยี่ยมค่ะ สบายดีหรือป่าวค่ะ...ส่งเสียงหน่อย...

 

โดย: แอน (thattron ) 6 กันยายน 2549 11:55:33 น.  

 

อยากไป แต่รู้ช้าไป ไม่ทันแล้วติดเวร
สงสัยต้องเข้ามาเยี่ยมบ่อยๆแล้ว

 

โดย: ไซโคแมน 7 กันยายน 2549 1:40:42 น.  

 

...นอนหลับฝันดีนะจ๊ะ ดูแลสุขภาพด้วยน้า...

 

โดย: ป้าหู้เองค่ะ (fifty-four ) 8 กันยายน 2549 0:06:50 น.  

 




แวะมาเยี่ยมจ้า

 

โดย: midori-jp 12 กันยายน 2549 10:20:40 น.  

 

ผมคิดว่าผมทำการผมเลยดูอย่างเดียวไม่ได้อ่านเลย ฮิฮิ

 

โดย: เต้ ฮิฮิ IP: 203.188.27.66 6 พฤศจิกายน 2549 21:29:24 น.  

 

นกปากห่าง หรือนกหลายๆ ชนิด ที่มักบินรวมกลุ่ม และวน เป็นวงกลม เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงอะไรหรอคะ ใครรู้ช่วยกรุณาตอบหน่อยค่ะ

 

โดย: j IP: 161.200.255.162 19 กุมภาพันธ์ 2551 13:51:11 น.  

 

ส่งต่อด้วยนะ ส่งรัก พรุ่งนี้เป็นวันรักแห่งชาติ ถ้าเห็นข้อความนี้แสดงว่าคุณถูกรัก จงส่งข้อความนี้ให้ครบ10คน ภายใน143นาที ต่อจากนี้แล้วพรุ่งนี้จะเป็นวันที่ ที่สุดของคุณ เที่ยงคืนนี้ รักที่แท้จริงของคุณจะปรากฎออก แต่ถ้าคุณ ไม่ส่งจดหมายนี้ตามที่กล่าว คุณจะประสบแต่ความปวดร้าว ที่โดนทุกคนรอบข้างรังเกียจ และ ไม่สนใจใย คุณเลย คนส่งให้อีกที(ห้ามส่งคืนนะ) อย่าลบหลู่นะ แล้วจะพบกับรักแท้จิงๆๆๆ

 

โดย: ...ขอโทษ IP: 164.115.20.175 30 กันยายน 2551 23:02:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


seabeach_mon
Location :
ชุมพร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ก่อนอื่น ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ พี่ ๆ ที่ให้เราได้มีวันนี้นะคะ โดยเฉพาะป้ามด และคุณรำเพยขอบคุณมาก ๆ ค่ะ เพราะเป็นต้นแบบที่ทำให้วันนี้ เราได้มีโอกาสทำบล็อคให้เพื่อนๆ ได้ดูกันนะคะ


Color Codes ป้ามด


Friends' blogs
[Add seabeach_mon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.