ตุลาคม 2551

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
31
 
 
เส้นทางแห่งศรัทธาสู่..บุโรพุทโธ

ถนนที่มุ่งสู่บุโรพุทโธเป็นถนนที่ดีทีเดียว อีกทั้งรถราก็ไม่พลุกพล่านมากนัก..
เราใช้เวลาอึดใจใหญ่ๆ จากแดดโพล้เพล้ เข้าสู่พลบค่ำ... และ....

ท่ามกลางความมืด เราก็ตามแสงดาวแห่งศรัทธาจนมาถึงบุโรพุทโธด้วยหัวใจมุ่งมั่นและศรัทธา...

โรงแรมที่เราพัก คือ โรงแรมมโนหรา (Mahohara) เป็นโรงแรมที่อยู่ในเขตบุโรพุทโธเลย จึงสามารถตื่นขึ้นมาปุ๊บ ก็เดินผ่านรั้วเตี้ยๆ มาชมบุโรพุทโธได้เลย ค่าโรงแรมคืนละ 400,000 Rp. รวมค่าเข้าบุโรพุทโธ แบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง จนกว่าจะเช็คเอ้า แถมด้วยอาหารเช้า...
เราว่า..คุ้มค่าทีเดียวล่ะ

ทีนี้มาดู Rating โรงแรมกันดีกว่า เสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปภายในห้องมาด้วย ห้องไม่ใหญ่มากค่ะ แตนับว่าดีทีเดียว เลยให้ Rating ดังนี้ ค่ะ

ทำเล 5
ความสะอาด 3.5
บริการ 3.5
ความคุ้มค่า 4
เหมาะกับ.... ผู้ที่ต้องการใช้เวลากับบุโรพุทโธให้มากที่สุด
ไม่เหมาะกับ... ผู้ที่ชอบแสงสี เพราะไม่มีอะไรแถวนี้เลย...

โอเคกะห้องหับแล้ว ก็ถึงเวลาไปทานอาหารเย็นที่ร้านอาหารในโรงแรมนั่นเอง ราคาอาหารไม่แพงค่ะ
จานละ 20,000-30,000 Rp. รสชาติก็ใช้ได้ บรรยากาศดี เพราะจากร้านอาหารสามารถมองออกไปเห็นบุโรพุทโธได้เลย

พอท้องอิ่ม.... มองออกไปในท้องฟ้า เห็นแสงดาวกระพริบดังหิ่งห้อย ล้อกับแสงไฟริบหรี่บนบุโรพุทโธ ทำให้อดที่จะเดินไปดูใกล้ๆ ไม่ได้
.............................

ท่ามกลางแสงดาวสดใส... และสายลมเย็น เรายกมือไหว้ ตั้งจิตอธิษฐานขอให้พรุ่งนี้อากาศดีๆ เถอะ...
เพราะการมาครั้งนี้ บุโรพุทโธเป็นส่วนหนึ่งของจุดประสงค์ในการเดินทาง
คือ ตั้งใจว่า.. "จะมาเดินประทักษิณาค่ะ"

ก่อนเราจะไปอิ่มบุญกับบุโรพุทโธในวันพรุ่งนี้ ขอให้ข้อมูลการท่องเที่ยวสำหรับนักเดินทางสักนิดนะคะ



"บรมพุทโธ" หรือ "บุโรพุทโธ" ตามที่คนไทยเรียก หรือ "โบโรบูโด" (Borobudur) ตามภาษาอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง Yogyakarta ราว 40 ก.ม. ไม่ปรากฎว่า ผู้ใดเป็นผู้สร้างบุโรพุทโธ แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 9 ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา นิกายมหายาน

หลังจากบุโรพุทโธรุ่งเรืองอยู่พักหนึ่ง ก็ถูกทิ้งร้างไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ปล่อยให้ภูเขาไฟเมอราปีซึ่งอยู่ใกล้ๆ พ่นเถ้าถ่านปกคลุมอยู่เป็นศตวรรษเชียวค่ะ จน ค.ศ. 1811 อังกฤษส่ง Thomas Stamford Raffles มาปกครองเกาะชวา ซึ่งชาวอังกฤษท่านนี้เป็นผู้หลงใหลศิลปะชวามาก ได้ยินเสียงร่ำลือว่า ในป่าแถวๆ หมู่บ้าน Bumisegoro มีคนพบพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก ก็ส่งคนไปสำรวจทันที ก็พบบุโรพุทโธอยู่ท่ามกลางป่ารกชัฎ ก็พยายามหักล้างถางพง และบูรณะบุโรพุทโธกันมาเรื่อยๆ จนในปี ค.ศ. 1973 UNESCO ได้เข้ามาให้ทุนอุดหนุน และขึ้นทะเบียนบรมพุทโธเป็นมรดกโลก ทำให้เราสามารถไปนมัสการบรมพุทโธได้อย่างทุกวันนี้แหล่ะค่ะ

สำหรับค่าเข้าชมบุโรพุทโธ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ คนละ 10$ โดยบัตรนักศึกษาสามารถใช้เป็นส่วนลดได้เหมือนที่ Prambanan ค่ะ

เวลาที่เปิดให้เข้าชม คือ 6.00-17.00 น. ค่ะ แต่.... สำหรับท่านที่ต้องการชมพระอาทิตย์ขึ้นที่บุโรพุทโธ
จะต้องเสียค่าเข้าชมเพิ่มอีก 250,000 Rp. แน่ะ โดยเค้าจะเปิดประตูให้เข้าชมได้ตั้งแต่ตีสี่ครึ่งเชียวค่ะ



โดยท่านที่พักที่โรงแรมมโนหราจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เสียเพิ่มน้อยลงหน่อย คือ 115,000 Rp.
แต่โห...แม้จะลดลงครึ่งราคาแล้ว เราก็ยังรู้สึกว่า

"โอ๊ะโอ.. แพงเอาการนะเนี่ย" เอาไว้ก่อนล่ะกัน

แม้จะมีคนแนะนำว่า "อย่าขี้เหนียวให้ซื้อตั๋วไปเลย เพราะพระอาทิตย์ที่นี่ขึ้นเร็ว"

ซึ่งเราก็เห็นด้วยนะ เพราะถ้าพระอาทิตย์ตกเร็วอย่างที่เจอมาเมื่อวานล่ะก็
พระอาทิตย์ที่นี่ก็คงจะตื่นเช้ากว่าบ้านเรา ซึ่งปกติกว่าพระอาทิตย์จะขึ้นก็ราว 6 โมงแหง๋ๆ

แต่ความงกก็ไม่เคยปรานีใคร... ก็แหมราคาเพิ่มอีกตั้งเท่าตัวเชียว ก็แค่พระอาทิตย์ขึ้นเอง...ที่ไหนๆ ก็เหมือนกันล่ะว้า...
ก็เลยตัดสินใจว่า ตื่นเกือบๆ 6 โมงเช้า แล้วค่อยไปรอขึ้นบุโรพุทโธตอน 6 โมงเป๋งดีก่า...
ดีซะอีก.. จะได้ตื่นสายได้อีกหน่อย...




เอารูปโรงแรมมโนหราไปชมก่อนนะค้า..... เดี๋ยวมาต่อกันตอนหน้าค่ะ...




Create Date : 27 ตุลาคม 2551
Last Update : 27 ตุลาคม 2551 20:48:37 น.
Counter : 426 Pageviews.

2 comments
  
บุโรพุทโธ หนึ่งในเป้าหมายทางศาสนา คิดไว้จะไปเยือนเหมือนกัน ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาฝาก จ๊ะ

400,000 Rp. กี่บาทไทยล่ะ...
โดย: บ้าได้ถ้วย วันที่: 27 ตุลาคม 2551 เวลา:21:05:50 น.
  
วิธีคำนวณเป็นบาท คือ ตัดศูนย์ 3 ตัวหลังออก แล้วคูณ 4 ค่ะ ดังนั้น 400000 Rp. ก็จะประมาณ 1600 บาทค้าาาา
โดย: Sea Sand n Star (Sea Sand n Star ) วันที่: 28 ตุลาคม 2551 เวลา:10:56:01 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Sea Sand n Star
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]