ของเล่นฮาเฮ ดูสบายๆ ขำๆ

sawmoon
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add sawmoon's blog to your web]
Links
 

 
สิ่งสำคัญในงานล่าม

ล่ามไม่ใช่สำคัญแค่มีความรู้ด้านภาษาที่จะแปลเท่านั้น

ความรู้ในเนื้องานและเรื่องราวความเป็นมาก็สำคัญมาก

หลายครั้งที่คนงานไทยคุยกับคนญี่ปุ่นสื่อสารกันได้โดยที่ไม่ใช่ล่ามก็ทำงานได้ ก็เพราะเค้ารู้เนื้อหางาน แค่ชี้แสดงให้ดูก็เข้าใจได้

หลายครั้งที่คนงานไทยฟังคนญี่ปุ่นพูดออกทั้งๆที่รู้ศัพท์แค่สองสามคำ

หากรู้เนื้อหางานเกือบทั้งหมดแล้วแม้ว่าจะฟังได้ไม่หมดก็สามารถจับใจความได้

ความจำก็เป็นอีกอย่างนึงเหมือนกันที่สำคัญ

ฟังประโยคออกหมด ไม่ติดศัพท์อะไร แต่จำไม่ได้ว่ารายละเอียดมันมีอะไรบ้าง เค้าบอกมาห้าอย่าง จำได้แค่สามอย่างก็แปลได้ไม่ครบ

การจดรายละเอียดเป็นทางออกเพื่อช่วยกันลืม

ความสามารถในการดึงคำศัพท์ออกมาใช้งานได้ทันทีที่ต้องการใช้เป็นสิ่งสำคัญในการพูด

แม้ว่าบางครั้งรู้ศัพท์เยอะแต่ไม่ค่อยได้ใช้ การดึงออกมาใช้ก็จะช้า หรือนึกไม่ออก

จึงเป็นสาเหตุให้หลายคนอ่านออกได้เยอะ แต่พูดไม่ค่อยได้ เพราะไม่ค่อยได้ฝึกนึกแล้วพูดออกมา

หากพูดออกมาบ่อยๆกระบวนการนึกจะค่อยๆหมดไป มันจะเป็นความชินปาก สมองต้องการอย่างนี้คำพูดมันออกมาเองกลายเป็นกระบวนการอัตโนมัติไป

หากเข้าใจวัตถุประสงค์ที่พูดของผู้พูดได้ก็จะทำให้ล่ามง่ายขึ้น เพราะแม้จะเปลี่ยนคำพูดไปแต่ก็สามารถทำให้ผู้ส่งสารได้คำตอบในสิ่งที่ต้องการ แต่การเปลี่ยนคำพูดก็ต้องอยู่ที่สถานการณ์และวัตถุประสงค์ การแปลบางอย่างไม่สามารถเปลี่ยนวิธีการพูดได้ เช่นการแปลในศาล การแปลที่ต้องการอรรถรส แปลคำตำหนิของคนญี่ปุ่น(หากคนญี่ปุ่นต้องการให้แรงก็ต้องแรง)

หากทนายในศาล ถามคำถามโจทย์ใช้ประโยคว่า “ไม่เป็นความจริงไม่ใช่เหรอ” แต่คุณแปลว่า “เป็นความจริงใช่หรือไม่”ก็จะผิดวัตถุประสงค์ของทนาย

บางครั้งทนายต้องการใช้ประโยคปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เพื่อให้ผู้ตอบคำถามตอบยาก หรือบางครั้งตอบผิด หรือเข้าใจผิด ซึ่งมีผลต่อความเชื่อถือในชั้นศาล

ความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราวก็สำคัญ หากฟังญี่ปุ่นมาแล้วพูดภาษาไทยไม่เข้าใจการสื่อสารก็ไม่สำเร็จ

และอีกสิ่งนึงคือเรื่องของใจ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ งานล่ามเป็นงานที่เห็นผลทันที แปลดีแปลไม่ดี พูดรู้เรื่อง ฟังรู้เรื่องขนาดไหน หากทำไม่ดีคนจะรู้ได้เลยทันที หรือบางครั้งฟังไม่ออกแต่เริ่มแปลไม่ครบ แปลมั่ว อาการมันจะออกสักทาง ผู้ฟังจะทราบได้ไม่ยาก

จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่อาจจะโดนว่า หรือถูกเมินเนื่องจากดูเป็นคนไม่มีความน่าเชื่อถือในช่วงแรกที่ยังไม่เก่ง ยังไม่แข็งแกร่งพอ หากผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ พัฒนาตัวเองจนถึงขั้นที่คนรอบข้างยอมรับได้เมื่อไหร่ก็จะแข็งแกร่งและไม่ค่อยกลัวในงานล่าม

 แต่การที่ผู้ใช้งานว่าก็มีเหตุผลอยู่ เพราะเราสื่อสารให้เค้าได้ไม่ดีงานของเค้าก็มีปัญหา ซึ่งเค้าก็เป็นผู้ต้องรับผิดชอบจะว่าผู้ใช้ล่ามไม่ดีฝ่ายเดียวก็ไม่ได้

หากใจมีทัศวิสัยที่ไม่ดีจะทำให้การพัฒนาไปได้ช้า หากใจทนต่อการต่อว่า หรือคำวิจารณ์ไม่ได้ก็อาจจะทนทำต่อไปไม่ได้ หากอายก็ทำให้ไม่กล้าใช้และการที่จะเก่งขึ้นก็ยาก พูดง่ายๆคือช่วงแรกให้หน้าด้านไปก่อน

ช่วงแรกจะไม่ได้รับการยอมรับจากผู้คน ความเชื่อถือจะไม่ค่อยมี ต้องทนไปก่อน พอใช้ได้แล้วคนจะค่อยเชื่อถือเรา เป็นธรรมดาของวงจรด้านภาษา

เรื่องของภาษาเป็นงานที่ใช้เวลา มีกระบวนการการเรียนรู้ของมัน แต่ทุกคนสามารถทำได้ หลักฐานง่ายๆก็คือทุกคนพูดภาษาบ้านตัวเองได้ และเป็นธรรมดาที่ตอนแรกทุกคนจะยังพูดไม่ค่อยคล่องเหมือนเด็กๆ

การจะพัฒนาช้าหรือเร็วก็อยู่ที่ชั่วโมงการใช้งาน ชั่วโมงการเรียนรู้

ในเรื่องเทคนิคเสริมอื่นๆ

หากผู้ใช้ล่ามเอ็นดูเราได้ก็จะทำให้การเป็นล่ามง่ายขึ้น เวลาที่แปลผิด หรือมีปัญหาแปลไม่ได้ก็จะได้ความเข้าใจและได้รับโอกาสจากผู้ใช้ล่าม ทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น หากผู้ใช้ล่ามไม่เข้าข้างเรา คอยเอาแต่จับผิด คิดปลด ดิสเครดิตตลอด ทำงานล่ามก็จะไม่ต่างกับเดินบนกะทะร้อน แม้จะทำได้แต่โดนว่าตลอดก็คงไม่มีความสุขแต่เงินดี

หากจัดลำดับสิ่งความสำคัญในการทำงานล่าม

อันดับหนึ่งคือ ด้านภาษา(รวมการดึงศัพท์)

อันดับสองคือ ด้านรู้เนื้อหางาน (บางครั้งหากรู้เนื้องานเยอะก็แปลได้แม้ฟังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ในกรณีที่ไม่มีโอกาสได้รู้เนื้อหางานก็ต้องพึ่งความรู้ด้านภาษาอย่างเต็มที่)

อันดับสามคือ ใจ (ผมว่าสิ่งนี้สำคัญไม่แพ้ความรู้ด้านภาษา เพราะช่วยเพิ่มความรู้ด้านภาษา และทำให้อดทนทำงานล่ามต่อไปได้)

อันดับสี่ คือ ความจำ จะสำคัญมากขึ้นถ้าต้องแปลประโยคยาวๆ (หมากล้อมช่วยทำให้ความจำดีขึ้น)

อันดับห้าคือ เข้าใจวัถตุประสงค์ บางครั้งไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ก็ยังแปลได้

อันดับหก คือ การถ่ายทอด บางครั้งพูดแบบไม่เป็นประโยคก็ยังถ่ายทอดได้ เช่น พูดเป็นคำๆ

อ่านบทความอื่นๆได้ที่ //www.toytorich.com/article




Create Date : 13 กรกฎาคม 2555
Last Update : 13 กรกฎาคม 2555 12:33:29 น. 0 comments
Counter : 2124 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.