Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
4 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 

ตัดแต่งกิ่งยางพาราดี ๆ มีแต่ได้ ไม่มีเสีย

ใน ช่วงนี้ เป็นช่วงต้นฤดูฝน ชาวสวนยางพาราทุกคนล้วนมีงานหรือสิ่งที่ต้องทำ, ต้องจัดการมากพอสมควร เรื่องที่มีความสำคัญมาก ๆ เรื่องหนึ่งในการจัดการสวนยางพาราของเราก็คือ “การตัดแต่งกิ่งยาง” ซึ่งประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่งยางมีมากมายเชียวครับ เช่น ช่วยให้ทรงพุ่มของต้นยางพารามีความสมดุลย์, ทำให้ต้นยางโตเร็วและได้ขนาดพร้อมเปิดกรีดเร็วขึ้น, ทำให้ต้นยางพาราที่มีขนาดพร้อมเปิดกรีดมีจำนวนมากขึ้น, ลดต้นทุนการปราบวัชพืช, ลดต้นทุนจากการที่ต้องดูแลกรณียางพาราเป็นโรคหน้ากรีด, ทำให้ความชื้นในสวนยางพารามีความเหมาะสมต่อการไหลของน้ำยางนานขึ้น ทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้น, ลดปัญหาการถูกโค่นล้มจากลมและพายุ และสุดท้าย ทำให้ได้ต้นยางพาราที่มีลำต้นหรือเปลา(axle)กลมและตรง-ไม่มีปุ่มปม,ได้ขนาด ท่อนละ 1.2 เมตร จำนวน 2 ท่อน อันจะทำให้การขายไม้ยางพาราในอนาคตได้ราคาดีมากขึ้น

ก่อนที่เราจะลงมือตัดแต่งกิ่งต้นยางพารา เรามาดูธรรมชาติของต้นยางพารากันก่อนว่าเป็นอย่างไร สมมุติว่าเราปลูกยางพาราด้วยยางชำถุงขนาด 1 ชั้น และสมมุติว่าปลูกในต้นฤดูฝน ถ้าเป็นทางภาคใต้ ก็ประมาณเดือนพฤษภาคม นี้ หลังจากปลูกแล้วประมาณ 4-6 เดือน หรือผ่านการใส่ปุ๋ยมาสัก 2-3 ครั้ง ต้นยางของเรา(อาจไม่ทุกต้น)ก็เริ่ม ๆ ที่จะผลิตุ่มหรือตาเล็ก ๆ บริเวณเหนือก้านใบ หากเราไม่ตัดแต่งกิ่งเหล่านี้ออกไป สภาพสวนยางพาราของเราจะเป็นอย่างไร เรามาดูกันครับ

เมื่อต้นยางพาราโตขึ้น ก้านหรือกิ่งบางส่วนจะหลุุดร่วงไปเองตามธรรมชาติ กิ่งที่เหลือ(เรียกรวม ๆ ว่า "ทรงพุ่ม" ของต้นยาง ทั้งในแถวต้นยางและระหว่างแถวก็จะเจริญเติบโตมาชนกันเร็วกว่าสวนยางพาราที่ มีการตัดแต่งกิ่ง ทำให้สภาพสวนยางมีร่มเงามาก วัชพืชจึงมีน้อย ทำให้ค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืชน้อยตามลงไปด้วย เช่นกัน
หากจะคิดเป็นไร่ ราคาไม้ยางที่ได้ขนาดดี ๆ จะซื้อขายกันในราคาประมาณไร่ละ 5-7 หมื่นบาทลำ ต้นหรือเปลาของต้นยางพาราจะมีขนาดโตและสูงไม่เท่ากัน เปลาหรือพื้นที่สำหรับเอาไว้กรีดยางในระดับความสูง 1.5 เมตรนั้น คงได้ แต่เราอาจไม่ได้ลำต้นยางหรือเปลาที่เหมาะสมต่อการจะได้ขายไม้ยางในอนาคต ที่ต้องมีเปลาตรงสูง 2.4 เมตร(ได้ขนาดท่อนละ 1.2 เมตร จำนวน 2 ท่อน)
เมื่อถึงกำหนดที่ควรเปิดกรีดได้ จำนวนต้นยางพาราที่ได้ขนาดเปิดกรีดจะมีเปอร์เซ็นต์ไม่สูง คือต้นยางที่แตกกิ่งมากลำต้นก็จะอ้วนโต ส่วนต้นที่ไม่ค่อยแตกกิ่ง(จะสูงชลูด)ก็จะยังไม่ได้ขนาดพร้อมเปิดกรีด
เมื่อทำการเปิดกรีดยางใหม่โดยเฉพาะในหน้าฝนชุก มีโอกาสที่สวนยางพาราจะถูกเชื้อราเข้าทำลายหน้ากรีด ทำให้หน้ากรีดเน่า เนื่องจากสวนยางที่มีทรงพุ่มหนาแน่น ไม่โปร่ง จะมีความชื้นมากซึ่งจะเอื้อต่อการระบาดของเชื้อรา นั่นเอง แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีผลดีต่อการกรีดยางในหน้าร้อน
การกรีดยางในหน้าร้อนในสภาพสวนแบบนี้ น้ำยางจะไหลได้นานกว่าเพราะในสวนยางมีความชื้นมากกว่าสวนยางที่โปร่งหรือสวนยางที่แตกกิ่งน้อย
ทรงพุ่มที่หนาแน่นจะเสี่ยงต่อการถูกลมกระหน่ำพัด ทำให้ต้นยางพาราโค่นล้มได้โดยเฉพาะในเขตการไม่ยอมไว้กิ่งเลยหรือต้นยางไม่แตกกิ่งจะทำให้ต้นยางมีขนาดลำต้นไม่โตเท่าที่ควรพื้นที่ปลูกยางที่มีลมแรงเป็นประจำ

ในทางตรงกันข้าม หากว่าเกษตรกรชาวสวนยางพารามุ่งหวังที่จะให้ได้ต้นยางที่มีเปลาตรงมากเกินไป โดยการตัดกิ่งยางออกหมด ทำให้ต้นยางสูงชะลูด ไม่มีกิ่งหลงเหลืออยู่เลย มีแต่ยอด ผลที่จะตามมา ก็จะตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และการทำแบบนั้น กลับทำให้ต้นยางไม่เจริญเติบโตหรือมีลำต้นไม่ใหญ่พอสำหรับตลาดไม้ยางพารา เพราะการตัดแต่งกิ่งออกก็จะทำให้ใบยางมีน้อยลง ซึ่งใบมีหน้าที่สังเคราะห์แสงสร้างอาหารไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนของต้นยางให้ เจริญเติบโต และรวมถึงผลผลิตน้ำยางด้วย แถมบางครั้งผลของการตัดแต่งกิ่งที่มากเกินไป ในบางสภาวะ ก็อาจทำให้ต้นยางถึงกับเกิดอาการตายจากยอดได้ เช่นกัน

==========




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2554
3 comments
Last Update : 4 ตุลาคม 2554 22:22:54 น.
Counter : 2899 Pageviews.

 

ขอบคุณครับ ติดตามๆๆๆ
cheap black friday sale 2011

 

โดย: aodblo22 4 ตุลาคม 2554 22:33:24 น.  

 

ขอบคุณครับ ติดตามๆๆๆ
<cheap black friday sale 2011

 

โดย: aodblo22 4 ตุลาคม 2554 22:36:36 น.  

 

ขอบคุณครับ ติดตามๆๆๆ
<cheap black friday sale 2011

 

โดย: aodblo22 4 ตุลาคม 2554 22:36:59 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


savingonsale
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add savingonsale's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.