เลือกประกันที่ใช่ ในราคาสบายๆ ได้บริการตลอด 24 ชั่วโมง กับ www.saveprakan.com
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
7 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 

ความรู้เกี่ยวกับประกันภัยยางรถยนต์

ในข้อยกเว้นความรับผิดของบริษัทประกันภัย สำหรับความเสียหาย ของรถยนต์คันที่ได้ทำประกันภัยไว้ในส่วนของยางรถยนต์ ตามเงื่อนไขของ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจกำหนดไว้ว่า “ การประกันภัยไม่คุ้มครองความเสียหายโดยตรงต่อยางรถยนต์ อันเกิดจากการฉีกขาดหรือการระเบิด เว้นแต่กรณี มีความเสียหายเกิดขึ้นต่อส่วนอื่นของรถยนต์ในเวลาเดียวกัน”

ความหมายของเงื่อนไขข้อนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะไม่ให้มีความคุ้มครองความเสียหายของยางรถยนต์ในกรณีที่ยางรถยนต์เกิดการฉีกขาดหรือระเบิด จากสภาพการใช้งานการทำความเข้าใจสำหรับความหมายของ เงื่อนไขกรมธรรม์ข้อนี้อาจจะเป็นเรื่อง ยุ่งยากสักเล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิเคราะห์จากตัว เงื่อนไขและคำอธิบายตามคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแล้วจะพบว่าเงื่อนไข ของ กรมธรรม์ประกัน ภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเจตนาที่จะให้ผู้เอา ประกันภัยรับผิดชอบในความเสื่อมสภาพของยางรถยนต์ที่เกิดความเสียหายอันเกิด จากการใช้งานตามปกติเอง ตัวอย่างเช่น ยางรถยนต์ที่เก่ามากๆ เพราะการใช้รถ ยนต์โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงยางรถยนต์ และเมื่อรถขับโดยใช้ความเร็วสูงๆ แรงเสียดทานของถนนกับเนื้อยางรถยนต์อาจ ทำให้ยางรถยนต์เก่านั้นเกิดระเบิดได้ กรณีเช่นนี้ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายของยางรถ ยนต์เอง เพราะในทางการประกันภัยไม่ได้ถือว่ายางรถยนต์ดังกล่าวเสียหายเพราะเกิดอุบัติเหตุ แต่เป็นเรื่องของความเสื่อมสภาพของส่วนควบคุมรถยนต์จึงไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองของกรมธรรม์

แต่ในกรณีที่รถยนต์เกิดอุบัติเหตุแล้วทำให้ยางรถยนต์เสียหายเพราะฉีกขาดหรือระเบิด กรณีเช่นนี้กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์จะให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายของยางรถยนต์ด้วย ตัวอย่าง เช่น รถยนต์คันที่ทำประกันภัยเสียหลักพลิกคว่ำ ทำให้รถกระแทกกับขอบฟุตบาทจนยางรถยนต์เกิดการระเบิดเสียหายเพราะแรงกระแทก หรือผู้เอาประกันภัยขับรถยนต์ชนขอบทางจนยางรถยนต์ฉีกขาด กรณีเช่นนี้ความเสียหายของยางรถ ยนต์ถือว่าเกิดจากอุบัติเหตุ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจจึงให้ความ คุ้มครองต่อยางรถยนต์ตามปกติ

สำหรับกรณีความเสียหายต่อส่วนอื่นของรถยนต์คันที่ทำประกันภัยนั้น แม้ว่า จะเกิดความเสียหายอันมีสาเหตุมาจากการที่ยางรถยนต์ระเบิด หรือฉีกขาดก็ตาม ในส่วนความเสียหายของตัวรถยนต์ ก็ยังคงได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์อยู่ดี เช่น รถคันที่ทำประกันภัยเกิดเสียหลักชนรถคู่กรณีที่ขับสวนทางมาสาเหตุเพราะยางระเบิด การชนกับรถคู่กรณีทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวรถยนต์ของคู่กรณีและรถยนต์คันที่ทำประกันภัยไว้ กรณีเช่น นี้ความเสียหายของคู่กรณีที่ถูกชน และความเสียหายของตัวรถคันที่ทำประกันภัยไว้ย่อมได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์

โดยบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยต้องชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด แต่ความเสียหายของยางรถยนต์ที่ระเบิดจะไม่ได้รับการชดใช้แต่อย่างใดเพราะเป็นการระเบิดเองโดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ

สำหรับความเสียหายของยางรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายเพราะอุบัติเหตุมิได้เสียหายเพราะการฉีกขาด หรือระเบิดอันเกิดจากความเสื่อมสภาพ หรือเสียหายเองนั้นการพิจารณาชดใช้ค่าเสียหายของยางรถยนต์ที่เสียหายจากอุบัติเหตุ เช่น ชนขอบฟุตบาทจนยางแตก หรือรถยนต์ชนกันอย่างรุนแรง จนยางระเบิด บริษัทประกันภัยจะชดใช้ ค่าเสียหายของยางตามหลักของกฎหมายในเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน นั่นคือจะชดใช้ตามสภาพเดิมของ ยางรถยนต์ที่เกิดความเสียหายในขณะ นั้น เช่น ยางรถยนต์ที่เปลี่ยนใหม่ก็จะชดใช้เป็นยางใหม่ แต่ถ้าเป็นยางรถ ยนต์ที่ใช้มานานแล้วก็อาจถูกหักค่าเสื่อมสภาพได้

เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรม ธรรม์ยิ่งเป็นเรื่องที่อาจเกิดความไม่เข้าใจกันได้ ดังนั้น ควรทำความเข้าใจ ให้ชัดเจนเพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่และการพิจารณาความรับผิดชอบนะครับ

ที่มา : สยามธุรกิจ //www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413353411




 

Create Date : 07 มิถุนายน 2554
1 comments
Last Update : 7 มิถุนายน 2554 23:10:14 น.
Counter : 2865 Pageviews.

 

แนะนำยางรถยนต์และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษายางรถยนต์

 

โดย: ยางรถยนต์ (ภัควันต์ ) 25 กันยายน 2556 10:38:14 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


natterwoods
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add natterwoods's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.