ไฟเย็นก็เป็นไฟ

ยิงจากแถวสอง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
14 กรกฏาคม 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ยิงจากแถวสอง's blog to your web]
Links
 

 
ออมเงินประจำ เรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็ทำได้

Fixed Deposit Account

ออมเงินประจำ
เรื่องง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้


หลายๆ คนคงคุ้นเคย และรู้จักกับการ ‘' กันอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่หลงลืมเรื่องการออมเงินในรูปแบบนี้ไป อาจเป็นเพราะยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถออมเงินได้เท่ากันทุกเดือนหรือเปล่า รายจ่ายจะพอหรือเปล่าหากต้องหักไปลงในบัญชีเงินฝากประจำ ฯลฯ

อีกอย่าง มันเป็นเรื่องการออมเงินกึ่งบังคับ เพราะหากจะถอนออกมาใช้ก่อนกำหนด บางธนาคารก็จะให้ดอกเบี้ยเท่ากับบัญชีออมทรัพย์ หรือบางธนาคารอาจจะต้องปิดบัญชีนี้ไปเลย ฉะนั้นต้องไปทำความเข้าใจ และเจาะลึกลงรายละเอียดกันอีกครั้งแล้วล่ะค่ะ


มาเริ่มทำความเข้าใจ เรื่องของบัญชีเงินฝากประจำกันใหม่ !
บัญชีเงินฝากประจำ สามารถเลือกฝากได้ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป (3, 6, 12, 24 และ 36 เดือน) แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องฝากเงินเท่ากันในทุกๆ เดือน อย่าง เปิดบัญชีฝากประจำในครั้งแรก จำนวน 3,000 บาท ก็ต้องมาฝาก 3,000 บาท ทุกๆ เดือน เป็นระยะเวลาตามที่คุณเป็นผู้เลือกตั้งแต่แรก โดยส่วนใหญ่แล้ว ทางธนาคารจะมีอัตราการฝากขั้นต่ำอยู่ที่ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท

และเพื่อความสะดวกในการออมเงิน คุณสามารถเปิดบัญชีออมทรัพย์เพื่อผูกกับบัญชีฝากประจำได้เลย โดยทางธนาคารจะหักเงินจากบัญชีออมทรัพย์ของคุณโดยอัตโนมัติ เข้าสู่บัญชีฝากประจำทันที และคุณสามารถปรับสมุดเงินฝากเพื่อตรวจสอบยอดเงินฝากได้เลย นอกจากนี้การเปิดบัญชีเงินฝากประจำสามารถใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อหรือค้ำประกันได้อีกด้วย


ดอกเบี้ยที่ได้รับแตกต่างจากดอกเบี้ยแบบออมทรัพย์
ดอกเบี้ยของการฝากแบบประจำนั้นจะได้สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์อย่างแน่นอน ซึ่งสามารถตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยได้ที่ธนาคารทุกสาขาก่อนที่จะทำการเปิดบัญชีเงินฝากประจำ และบางธนาคารจะมีโบนัสพิเศษให้สำหรับคนที่ฝากครบกำหนดอีกด้วย

ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่จะได้นั้น จะขึ้นอยู่กับวันที่คุณไปเปิดบัญชีเงินฝากด้วยว่า ในช่วงดังกล่าว ดอกเบี้ยขึ้นลงมากน้อยแค่ไหน อย่าง วันที่คุณเปิดบัญชีเงินฝาก แบบ 24 เดือน ฝากเงินจำนวน 3,000 บาท ในช่วงประกาศช่วงนั้น ดอกเบี้ยเงินฝากประจำอยู่ที่ 1.50 บาท คุณก็จะได้รับดอกเบี้ยจำนวน 1.50 บาทจนครบกำหนด 24 เดือน เป็นต้น


ตัวอย่าง เงินฝากประจำกับธนาคารต่างๆ
ธนาคารกสิกรไทย เงินฝากทวีทรัพย์ เปิดบัญชีเงินฝากเดือนละ 1,000-25,000 บาท โดยนำฝากในจำนวนเท่าๆ กันทุกเดือนเป็นระยะเวลา 24 เดือน อัตราดอกเบี้ยสูง รับโบนัสเพิ่มอีก 2.50% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ เมื่อฝากครบกำหนด และไม่ต้องเสียภาษีจากดอกเบี้ยที่คุณได้รับเมื่อครบกำหนด แต่หากถอนก่อน กำหนดทางธนาคารจะคิดดอกเบี้ยอีกรูปแบบหนึ่ง และเพื่อความสะดวกในกรณีที่คุณมีบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารกสิกรไทยอยู่แล้ว สามารถใช้บริการหักเงินอัตโนมัติได้เลย ซึ่งสามารถตรวจสอบยอดเงินได้โดยการปรับสมุดเงินฝากได้ที่ธนาคารทุกสาขา ในทุกๆ วันที่สองของช่วงต้นเดือน


ธนาคารทหารไทย เงินฝากประจำ 3 เดือน 6 เดือน และ12 เดือน เปิดบัญชีครั้งแรกขั้นต่ำ 1,000 บาท และสามารถฝากเพิ่มได้ครั้งละ 500 บาทขึ้น และเมื่อครบกำหนดธนาคารจะคำนวณดอกเบี้ยในแต่ละยอดเงินฝากตามอัตราที่กำหนด หากถอนก่อน 3 เดือน ธนาคารจะไม่จ่ายดอกเบี้ย แต่หากถอนหลัง 3 เดือน แต่ยังไม่ครบกำหนด ทางธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยเท่ากับบัญชีออมทรัพย์



ธนาคารกรุงเทพ เงินฝากสินมัธยะทรัพย์ทวี เปิดบัญชีครั้งแรกตั้งแต่ 1,000-25,000 บาท ฝากเท่ากันทุกๆ เดือนเป็นเวลาอย่างน้อย 24 เดือน ก็จะได้รับดอกเบี้ยตามกำหนด และไม่เสียภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย การฝากเงินจะต้องไม่เกินวันทำการสุดท้ายของธนาคารเดือนนั้นๆ หากถอนก่อนกำหนด ทางธนาคารจะทำการปิดบัญชีเงินฝาก และจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษี แต่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยตามเงินฝากสะสมทรัพย์

จุดเริ่มต้นของการออมเงิน อย่างง่ายที่สุด คือ การนำเงินเข้าสู่ระบบธนาคาร ให้ธนาคารช่วยเก็บเงินให้เรา หากต้องการออมเงินอย่างสม่ำเสมอและออมเพื่ออนาคต ชนิดที่ต้องบังคับตัวเองไปในตัว การฝากเงินแบบสะสมทรัพย์ คงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เดือนนี้อยากให้คุณแวะเข้าธนาคารในใจสักที่ แล้วไปสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ไม่แน่... คุณอาจจะได้การออมในรูปแบบที่เหมาะสมกับตัวคุณ และอย่าลืมนะคะว่า การออมเงินไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อตัวคุณเองและครอบครัว

เครดิต เรื่อง : ศรัญญา โรจน์ทักษ์ชีพ




Create Date : 14 กรกฎาคม 2557
Last Update : 14 กรกฎาคม 2557 18:15:38 น. 0 comments
Counter : 1916 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.