ไฟเย็นก็เป็นไฟ

ยิงจากแถวสอง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Group Blog
 
<<
มีนาคม 2560
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
22 มีนาคม 2560
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ยิงจากแถวสอง's blog to your web]
Links
 

 

น่าน หรือ นันทบุรี เมืองน่านในอดีตเป็นนครรัฐเล็ก ๆ



น่าน (คำเมือง: Lanna-Nan.png) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เป็นที่ตั้งของเมืองที่สำคัญในอดีต อาทิ เมืองน่าน เมืองปัว เมืองศีรษะเกษ เป็นต้น

ประวัติศาสตร์

มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกในพงศาวดารว่า นันทบุรี เมืองน่านในอดีตเป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำสาขาในหุบเขาทางตะวันออกของภาคเหนือ

สมัยเมืองล่าง-วรนคร

เจ้าหลวงภูคา ปฐมเจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา

ประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคาและนางพญาจำปาผู้เป็นชายา ซึ่งทั้งสองเป็นชาวเมืองเงินยาง ได้เป็นแกนนำพาผู้คนอพยพมาตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองล่าง ต่อมาเพี้ยนเป็นเมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่างบริเวณตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว เลยไปถึงลำน้ำบั่ว ใกล้ทิวเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน และกำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ เห็นชัดเจนที่สุดคือบริเวณข้างพระธาตุจอมพริกบ้านเสี้ยวมีกำแพงเมืองปรากฏอยู่ซึ่งเป็นปราการทิศใต้ และป้อมปราการทิศเหนือลักษณะที่ปรากฏเป็นสันกำแพงดินบนยอดดอยม่อนหลวง บ้านลอมกลาง เป็นกำแพงเมืองสูงถึง 3 ชั้น ในแต่ละชั้นกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร ขนานไปกับยอดดอยม่อนหลวง ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คนไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว

ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่างและมอบให้ชายาคือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่นั้น พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราด ภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865-1894 รวม 30 ปีจึงพิราลัย

องค์พระบรมธาตุแช่แห้ง อนุสรณ์ความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต

ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัวได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัว ด้วยพญาการเมืองได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลจึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัวลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง (มวลสารจากพระธาตุแช่แห้งใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือพญาผากองขึ้นครองแทน อยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911[5]

ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950-1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย (มวลสารจากพระธาตุเขาน้อยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้างพระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

สมัยล้านนา

ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่านและแหล่งเกลือบ่อมาง (เขตตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือปัจจุบัน) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึดเมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าวไม่อาจต้านทานได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา

ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปีที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของอาณาจักรล้านนา ได้ค่อยๆ ซึมซับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนามาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัยอย่างชัดเจน เช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล (มวลสารจากวัดสวนตาลใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2103-2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247-2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2321-2344

สมัยรัตนโกสินทร์

ปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา หลังจากขึ้นเจ้าอัตถวรปัญโญก็ยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียวเนื่องจากเมืองน่านยังรกร้างอยู่ จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่าง ๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา) จนกระทั่งหลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่านพร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่านในปี พ.ศ. 2344 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญหลายครั้งหลายคราด้วยกัน นอกจากนี้เจ้าผู้ครองนครน่านต่างได้อุปถัมภ์ค้ำจุนและทำนุบำรุงกิจการพุทธศาสนาในเมืองน่านเป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้ 335 คัมภีร์นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้เมืองต่าง ๆ มีเมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย และเมืองหลวงพระบาง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน อดีตเคยเป็นหอคำของเจ้าผู้ครองนครน่านในอดีต

ในปี พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น พระเจ้านครน่าน มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้สร้างหอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ และด้านหน้าหอคำมีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่าง ๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จ หรือขบวนรับแขกเมืองสำคัญ และในปี พ.ศ. 2474 เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าผู้ครองนครน่านถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ. 2511 จังหวัดน่านได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านจนกระทั่งปัจจุบัน

ในยุคประชาธิปไตย จังหวัดน่านยังมีตำนานการเป็นแหล่งกบดานของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะที่อำเภอทุ่งช้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยมีอนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งช้างเป็นพยานช่วยเตือนความจำให้แก่ชนรุ่นหลัง

วัดพระธาตุเขาน้อย แลนมาร์คสำคัญของจังหวัดน่าน ซึ่งเป็นปูชนียสถานเก่าแก่แห่งหนึ่งที่อยู่บนดอยเขาน้อย มีขั้นบันไดนาค 303 ขั้นให้เดินขึ้นไป หากใครไม่อยากเดินขึ้นก็สามารถขับรถขึ้นถึงตัววัดได้เช่นกัน เมื่อมาถึงควรไปนมัสการพระพุทธมหาอุตมมงคลนันทบุรีศรีเมืองน่าน พระพุทธรูปปางลีลาองค์ใหญ่ ที่นี่ถือเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามเพราะเห็นเมืองน่านจากมุมสูง ใครที่ชอบถ่ายภาพนั้นห้ามพลาดเด็ดขาด


วัดภูมินทร์ : Wat Phumin - อ.เมือง ที่เที่ยว จ.น่าน

วัดภูมินทร์ วัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องของภาพจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่น เล่าเรื่องชาดก ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต เสมือนเป็นการบันทึกเรื่องราวและตำนานของจังหวัดน่าน มีภาพดังที่เรารู้จักดีอย่างภาพ ปูย่าม่านกระซิบรักกัน และถนนคนเดินเมืองน่านยังอยู่แถวบริเวณวัดภูมินทร์ มีของกิน ของฝาก ให้เลือกช๊อปมากมาย ถนนคนเดินน่านจะมีในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และวัดหยุดยาวครับ ใครที่พักในตัวเมืองน่านลองแวะมาเดินเที่ยวกันดู

วัดพระธาตุแช่แห้ง : Wat Phrathat Chae Haeng - อ.ภูเพียง ที่เที่ยว จ.น่าน

พระธาตุแช่แห้ง พระธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยตามความเชื่อเรื่องการไหว้พระธาตุพระจำปีเกิดของชาวล้านนา เชื่อว่าคนเกิดปีเถาะหรือปีกระต่ายมีพระธาตุประจำปีเกิดคือพระธาตุแช่แห้ง จึงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่จะไปกราบนมัสการพระธาตุแช่แห้งสักครั้งในชีวิต เพื่อเป็นสิริมงคลในชีวิต และวัดพระธาตุแช่แห้งถือเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดน่าน

ดอยเสมอดาว : Doi samerdao - อ.นาน้อย ที่เที่ยว จ.น่าน

ดอยเสมอดาว ที่ดาวเสมอดอย ดอยดูดาว ดูพระอาทิตย์ขึ้นตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติศรีน่าน บรรยากาศในตอนเช้านั้นสวยจับใจ ทะเลหมอกและลานดูดาวถือเป็นไฮไลท์สำคัญของดอยเสมอดาว นักท่องเที่ยวนิยมขึ้นไปกางเต็นท์กันมากในช่วงหน้าหนาว เพราะบรรยากาศนั้นชิลสุดๆ ว่ากันว่าใครที่มาเที่ยวน่านแต่ไม่ได้ขึ้นดอยเสมอดาวเหมือนมาไม่ถึงน่าน


ดอยภูคา : Doi poo ka - อ.ปัว ที่เที่ยว จ.น่าน

ดอยภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ดอยที่เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัว ลำน้ำว้า สายน้ำที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวจังหวัดน่าน ในช่วงหน้าหนาวอากาศนั้นจะหนาวสุดๆ มีจุดชมวิวทะเลหมอกสวยงามและต้นชมพูภูคาที่ออกดอกสวยงามแค่ปีละรอบ ถือเป็นพรรณไม้หายากชนิดเดียวในโลกที่พบได้แค่ที่ดอยภูคาแห่งนี้ที่เดียว

อ.บ่อเกลือ : Boklua ที่เที่ยว จ.น่าน 

บ่อเกลือ อำเภอเล็กๆ กลางหุบเขาจึงทำให้อากาศนั้นหนาวเย็น สามารถดูวิวทิวทัศน์รอบๆ หมู่บ้านและเดินชมวิถีชีวิตชาวบ้านบ่อเกลือสินเธาว์ จากคำบอกกล่าวเป็นบ่อเกลือบนภูเขาแห่งเดียวในโลก!! ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของเมืองไทยเลยทีเดียว ภายในหมู่บ้านยังมีที่พักหลายที่ให้เลือกนอน เหมาะกับคู่รักหรือคนที่อยากมาใช้ชีวิตแบบช้าๆ เป็นอย่างมาก


อ.ปัว : Pua ที่เที่ยว จ.น่าน

ปัว อำเภอเล็กๆ ที่มีเสน่ห์อย่างบอกไม่ถูก พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยทุ่งนาล้อมรอบ อากาศดี ผู้คนก็น่ารักทำให้ใครหลายคนอยากไปแวะพักผ่อนสักคืนหนึ่งเพื่อไปเที่ยวยังจุดอื่นๆ ต่อนักท่องเที่ยวชอบไปชมวิวที่ร้านกาแฟบ้านไทยลื้อและบนวัดภูเก็ตในตอนเช้าใครที่มาเที่ยวเมืองปัวในหน้าหนาวจะมีถนนคนเดินปัวให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อของต่างๆ ทั้งของกิน ของใช้ ของฝาก ของจังหวัดน่าน

ดอยแม่จอก อุทยานแห่งชาติขุนสถาน : Doi Mae Jok - อ.นาน้อย ที่เที่ยว จ.น่าน

ดอยแม่จอก อุทยานแห่งชาติขุนสถาน จุดชมทิวทัศน์อีกแห่งหนึ่งที่อย่าพลาดในจังหวัดน่าน ข้างบนนั้นมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี วิวทิวทัศน์ของเทือกเขาสลับซับซ้อนทำให้บรรยากาศตอนพระอาทิตย์ขึ้นและตกนั้นสวยงามมากๆ  นักท่องเที่ยวนิยมมาล่าทะเลหมอกในช่วงปลายฝน และในช่วงที่ดอกพญาเสือโคร่งบานสะพรั่งในช่วงหน้าหนาวที่หน่วยจัดการต้นน้ำขุนสถาน ทางอุทยานฯ ยังมีบ้านพักไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย



ดอยผาจิและดอยผาช้าง : Doi Pha ji and Doi Pha Chang - อ.ท่าวังผา ที่เที่ยว จ.น่าน

ดอยผาจิและดอยผาช้าง เป็นจุดชมวิวทัศน์ของอุทยานแห่งชาตินันทบุรี พื้นที่ที่เคยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในอดีตในสมัยคอมมิวนิสต์ที่เคยเรียกว่า จุดยุทธภูมิดอยผาจิ ในตอนเย็นจะมองเห็นดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าท่ามกลางขุนเขาสลับซับซ้อน และในตอนเช้าก็จะมีทะเลหมอกคลุมในช่วงหน้าหนาว สำหรับทางขึ้นไปนั้นค่อนข้างลำบาก ควรใช้รถโฟรวิวในการเดินทาง แต่หากใครที่อยากมาเที่ยวแบบเงียบๆ คนไม่เยอะขอแนะนำที่นี่เลย



เสาดินนาน้อย : Sao Din Na Noi - อ.นาน้อย ที่เที่ยว จ.น่าน

เสาดินนาน้อย อุทยานแห่งชาติศรีน่าน สถานที่ท่องเที่ยวสำหรับคนที่ชอบถ่ายรูปแบบชิคๆ เพราะเป็นเหมือนแกรนแคนยอนเมืองน่าน คล้ายกับ "แพะเมืองผี" จังหวัดแพร่ ที่เกิดจากดินที่ตกตะกอนทับถมกันเป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม ในตำนานนั้นชาวบ้านเล่าว่าที่นี่มีความลี้ลับมากมาย ที่ถือเป็นสถานที่ศึกษาทางธรณีวิทยาที่สำคัญ จึงต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของจังหวัดน่านต่อไป


วัดมิ่งเมือง : Wat Ming Mueng - อ.เมือง ที่เที่ยว จ.น่าน

วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของศาลหลักเมืองที่ชาวน่านให้ความเคารพบูชา วิหารเป็นปูนปั้น สีขาวงาช้าง ภายในวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยสดงดงามไม่แพ้วัดไหนๆ ยังคงมีโบราณสถานและโบราณวัตถุปรากฏอยู่หลายอย่าง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะผสมระหว่างพม่าและล้านนา และมีปูชนียวัตถุสำคัญคือ พระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐาน ณ พระเจดีย์โบราณ


วัดศรีพันต้น : Wat Sripanton - อ.เมือง ที่เที่ยว จ.น่าน

วัดศรีพันต้น เป็นวัดที่ได้รับการบูรณะใหม่ มีความสวยสดงดงามทุกครั้งที่ได้เห็น ด้านหน้าอุโบสถเป็นจิตรกรรมปูนปั้นพญานาคเจ็ดเศียรสีทองเหลืองอร่ามสวยงามตระการตาอย่าบอกใครจริงๆ นอกจากอุโบสถ และพุทธปรติมากรรมแล้ว ด้านหน้าวัดยังมีเรือขนาดใหญ่ ชื่อว่าเรือพญาฆึ (ฆึ แปลว่า ใหญ่โต อลังการ) ต้องลองแวะไปดูค่ะว่าจะใหญ่โตขนาดไหน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน : National Museum Nan - อ.เมือง ที่เที่ยว จ.น่าน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ในบริเวณคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น แบบตรีมุขหรือรูปตัวที รูปแบบผสมผสานระหว่างแบบศิลปะตะวันตกและศิลปะไทย โครงสร้างภายในเป็นไม้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีมุขออกด้านหน้า หลังคามุงด้วยไม้แป้นเกล็ด จัดแสดงชาติพันธุ์วิทยาเกี่ยวกับล้านนา เช่นลักษณะอาคารบ้านเรือนและเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน การทอผ้าและผ้าพื้นเมืองน่านแบบต่างๆ ที่สวยงามมาก การสาธิตงานประเพณีและความเชื่อต่างๆ เช่น การแข่งเรือ จุดบ้องไฟสงกรานต์ และพิธีสืบชะตา

โฮงเจ้าฟองคำ : The Noble House - อ.เมือง ที่เที่ยว จ.น่าน

โฮงเจ้าฟองคำ เป็นบ้านของเจ้าฟองคำที่มีประวัติอันยาวนาน สร้างจากไม้สักหลังใหญ่สไตล์ล้านนาเดิมเป็นบ้านของเจ้าศรีตุมมา ยายของเจ้าฟองคำ เจ้าฟองคำเป็นเชื้อสายของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 62 ของเมืองน่านซึ่งเป็นบิดาของเจ้าผู้ครองนครสององค์สุดท้าย ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของบ้านสร้างประมาณ 150 ปีก่อน ที่นี่เปิดให้จองเป็นสถานที่จัดงานมงคล หรือจะเยี่ยมชมการทำขนม การทำกระสวยไหว้พระ

วัดหัวข่วง : Wat Hua Kuang - อ.เมือง ที่เที่ยว จ.น่าน

วัดหัวข่วง ตั้งอยู่บนถนนมหาพรหม ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นวัดที่มีความสำคัญในเขตหัวแหวนเมืองน่าน อยู่ติดหอคำ หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านและคุ้มอดีตเจ้าเมืองน่าน มีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามภายในพระวิหาร มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลักษณะพุทธศิลป์แบบท้องถิ่นล้านนา สกุลช่างเมืองน่าน ฝีมือประณีตงดงาม 

วัดสวนตาล : Wat Suan Tan - อ.เมือง ที่เที่ยว จ.น่าน

วัดสวนตาล เป็นวัดสำคัญคู่เมืองน่าน ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่สำคัญคือ พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยองค์ใหญ่ ทุกปีใหม่ช่วงเทศกาลมหาสงกรานต์ จะมีการจัดงานนมัสการและสรงนํ้าพระเจ้าทองทิพย์ที่ชาวน่านเคารพนับถือคู่บ้านคู่เมืองด้วย

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร : Wat Chang Kham - อ.เมือง ที่เที่ยว จ.น่าน 

วัดธาตุช้างค้ำวรวิหาร หรือวัดหลวงกลางเวียง วัดนี้พญาภูเข็งเป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1949 มีเจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งรูปช้างปูนปั้นเพียงครึ่งตัวด้านละ 5 เชือก และมุมทั้งสี่อีก 4 เชือก แบกองค์พระเจดีย์ ซึ่งคงเป็นที่มาของชื่อ “ช้างค้ำ” เป็นศิลปะสมัยสุโขทัย ถือเป็นอีกหนึ่งปูชนียสถานที่เป็นหลักฐานอีกแห่งหนึ่ง


วัดภูเก็ต : Wat Phuket - อ.ปัว ที่เที่ยว จ.น่าน

วัดภูเก็ต อย่างเพิ่งงงว่าทำไมมีชื่อภูเก็ตนะคะ เพราะภาษาเหนือคำว่าภู หมายถึงเขาหรือว่าดอย และตั้งอยู่ในหมู่บ้านที่ชื่อว่าเก็ต วัดอยู่บนที่สูงเลยได้ชื่อว่าภูเก็ต ตั้งอยู่ที่ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน เนื่องจากตั้งอยู่สูงทำให้มองจากวัดเห็นทิวทัศน์สวยงาม มีระเบียงชมวิวท้องนาเขียวขจีกว้างไกล ตัดด้วยภูเขาของวนอุทยานดอยภูคาที่สลับซับซ้อนกัน และยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามอีกด้วย

อุทยานแห่งชาตินันทบุรี : Nanthaburi National Park - อ.ท่าวังผา ที่เที่ยว จ.น่าน

อุทยานแห่งชาตินันทบุรีมีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอท่าวังผา อำเภอเมือง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน มีสภาพป่า ทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง มีจุดชมทะเลหมอก แปลงดอกไม้ จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า




 

Create Date : 22 มีนาคม 2560
1 comments
Last Update : 22 มีนาคม 2560 10:45:32 น.
Counter : 3623 Pageviews.

 

ขอบคุณที่แบ่งปัน

 

โดย: Kavanich96 23 มีนาคม 2560 2:03:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.