Save's world
Group Blog
 
<<
เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
20 เมษายน 2557
 
All Blogs
 

การลงทุนเพื่อลดภาษี โดยไม่ให้ขาดทุน

การลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี โดยไม่ให้ขาดทุน

1. LTF
- ซื้อแล้วลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้/ไม่เกิน 5 แสนบาท
- ถือนาน 5 ปี ปฏิทิน (ธค 57 - มค61 เป็นต้น)
- ลงทุนในหุ้นเป็นหลัก จึงมีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง
- สามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้
- ขายก่อนครบ 5 ปี เข้าใจว่าต้องเอากำไรเป็นเงินได้+คืนภาษีที่ได้ลดหย่อนไว้
- อาจใช้บัตรเครดิตรูดซื้อได้ ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยตามบัตร ไม่ได้แต้ม

2. RMF
- ซื้อแล้วลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้/ไม่เกิน 5 แสนบาท นับรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข
- ถือนานอย่างน้อย 5 ปี + ขายได้เมื่ออายุเกิน 55 ปี
- ลงทุนในหลายหลักทรัพย์ ตราสารทุน ตราสารหนี้ ทองคำ แล้วแต่กองทุน ความเสี่ยงและผลตอบแทนแล้วแต่กองทุน
- สามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้
- ขายก่อนครบ 55 นี้ไม่แน่ใจ น่าจะคล้ายๆกับ LTF
- อาจใช้บัตรเครดิตรูดซื้อได้ ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยตามบัตร ไม่ได้แต้ม

3. ประกันชีวิต
- ซื้อแล้วลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท
- กรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป (เงินต้องอยู่กับบริษัทประกัน 10 ปีขึ้นไป)
- จำนวนปีที่จ่ายเบี้ยประกันมีหลายแบบ เช่น 10/1 คือจ่ายเงินครั้งเดียว คุ้มครอง 10 ปี
10/5 จ่ายเงินครั้งเดียว คุ้มครอง 5 ปี
- บางชนิดมีจ่ายเบี้ยคืน บางชนิดไม่มี
- อยากรู้ว่าผลตอบแทนดีแค่ไหน ต้องคำนวณ IRR คือ ผลตอบแทนกี่เปอร์เซนต์ โดยต้องคิดถึงค่าของเวลาด้วย
เช่น การที่บริษัทจ่ายเงินคืนเรามาก่อน มีผลตอบแทนมากกว่าการจ่ายเงินเท่ากันนั้นทีหลัง
- ความเสี่ยงต่ำ
- อาจใช้บัตรเครดิตซื้อได้
- เวนคืนกรมธรรม์ ก่อน 10 ปี 1.อาจขาดทุน(ได้เงินตามมูลค่าเวนคืน) 2.อาจต้องคืนภาษีที่ได้ลดไป(ที่เขียนอาจ เพราะยังไม่มีใครเคยโดน)

วิธีซื้อกองทุน (ข้อ 1-2)
ปกติกองทุนพวกนี้จะราคาขึ้นๆลง ตามภาวะตลาดหุ้น และการบริหารกองทุน
- ซื้อครั้งเดียว หากซื้อ ณ จุดที่ราคาต่ำสุด ก็โชคดีไป ซื้อจุดราคาสูง ก็เศร้าไป
- เฉลี่ยซื้อ จะได้ราคาเท่ากับราคาเฉลี่ยของปีนั้น คือกลางๆ ไม่สูงไม่ต่ำ
อันนี้แล้วแต่คน ถ้าจะดูภาวะตลาดพอจะเป็น แบบซื้อครั้งเดียวอาจจะคุัมกว่า
อีกอย่างจะกำไรหรือไม่ อย่าง LTF ก้ต้องรอไป 5 ปีกว่าจะขายได้, RMF ก็ต้องรอตอนแก่ๆ

กองไหนดี
- เลือกลงกองที่ ลงทุนในธุรกิจ/หุ้นแบบที่ถูกจริตของเรา เช่น ชอบลงทุนในหุ้นกลุ่มสื่อสาร ฯลฯ ก็ไปลงกองนั้น
- เลือกกองที่บริหารดี มีจัดอันดับกองที่บริหารแล้วกำไรในภาวะตลาดตกต่ำ แล้วก็บริหารกำไรในภาวะตลาดเฟื่องฟู

การสับเปลี่ยนกองทุน ช่วยให้เราหากำไรจากกองทุนที่บังคับถือนานๆ (อย่าง RMF) ได้มากขึ้น
- หมายความว่า เราเอากองทุนของเรา ตีมูลค่าเป็นเงิน ณ วันนั้น แล้วไปซื้ออีกกองทุน ใน มูลค่า วันนั้น
- เช่นถ้าคิดว่าทองกำลังขึ้น อาจจะเปลี่ยนไปกองทุนทอง แล้วย้ายกลับหุ้น เมื่อทองกำลังลงหุ้นกำลังขึ้น
- อาจทำให้ได้กำไรมากขึ้นหรือเสียเงินน้อยลง หรือขาดทุนยับก็ได้
- ระวังค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยน
- มีประโยชน์ในกองทุนที่ต้องถือนานๆ และลงทุนเพิ่มในทุกๆปี เช่น RMF

อื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การขาย LTF ก่อน 5 ปี/ RMF ก่อน 55/ เวนคืนกรมธรรม์ก่อน 10 ปี นี้ไม่แนะนำ
แม้จะมีช่องทางซิกแซกให้ไม่โดนภาษีเพิ่ม แต่ตามหลักแล้ว ถ้าสรรพากรจะเปลี่ยนกฎ ลดการซิกแซก หรือเรียกภาษีเพิ่ม ย่อมทำได้ เพราะฉะนั้นคิดไว้เสมอว่าจะทำถูกเงื่อนไขดีกว่า

สรุป
- เลือกลงถูกกองทุน ในเวลาที่เหมาะสม ไม่มั่นใจเรื่องเวลา สามารถเฉลี่ยซื้อ
- สามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้ตามภาวะตลาด แต่ต้องระวังหนีเสือปะจระเข้ + ค่าธรรมเนียมการหนี
- ลงทุนให้ถูกเงื่อนไข จะได้ไม่โดนภาษีย้อนหลัง




 

Create Date : 20 เมษายน 2557
2 comments
Last Update : 20 เมษายน 2557 10:45:09 น.
Counter : 1395 Pageviews.

 

น่าสนใจมากครับ ไม่ทราบว่าเขียนเองหรือก๊อปเค้ามา 555

 

โดย: ไม่มีชื่อ IP: 110.171.28.188 20 เมษายน 2557 10:59:04 น.  

 

ว้าว เข้าใจง่ายขึ้นเยอะเลยย (s/p อ่านจากเวบสรรพากรแล้วงงเชี่ยๆ) และคือเพิ่งรู้ว่า RMF สับเปลี่ยนได้ เดวจะลองไปหาข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ มาแชร์บ้าง หลังลงเมด T T
เทอว่าประกันนี่ควรซื้อรึป่าวอ่ะ หมายถึงว่าในกรณีที่ยังไม่มีครอบครัวควรซื้อหรือไม่ เริ่มเมื่อไร ฯลฯ

ปล อยากชวนมานั่งตั้งเป้าหมายต่างๆ เช่น คิดว่าพอโตๆ ไป 1 ปีจะใช้เงินไปกับอะไรบ้าง หายังไง เก็บยังไง ลงทุนยังไง เป็นตัวเลขคร่าวๆ

 

โดย: Betabuild IP: 180.183.65.61 22 เมษายน 2557 0:32:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ชิโฮจัง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ชื่อเซฟครับ
Friends' blogs
[Add ชิโฮจัง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.