งาสาร ฤาห่อนเหี้ยน หดคืน คำกล่าว สาธุชนยืน อย่างนั้น
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
สงครามประชาชน-สงครามปฏิวัติ สงครามยกกำลังสอง



หลักการสงครามยืดเยื้อของ เหมา เจ๋อตุง ถือว่า สงครามคือการต่อเนื่องของการเมือง สงครามก็คือการเมืองและตัวสงครามเองก็คือการปฏิบัติการที่มีลักษณะการเมือง ตั้งแต่โบราณกาลเป็นต้นมา ไม่มีสงครามใดๆเลยที่ไม่มีลักษณะการเมืองติดอยู่ เมื่ออุปสรรคถูกขจัดไป ความมุ่งหมายทางการเมืองบรรลุผล สงครามก็ยุติ ถ้าอุปสรรคยังขจัดไม่หมดสิ้น สงครามก็จะต้องดำเนินต่อไปเพื่อบรรลุผลให้ตลอด ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การ เมืองคือสงครามที่ไม่หลั่งเลือด และสงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด

บทบาทของกองทัพไทยในการเป็นผู้พิทักษ์ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เคยมีประสบการณ์ในการต่อสู้กับ ฝ่ายผู้ก่อการร้ายที่ต้องการล้มล้างอำนาจรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลง ระบอบการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ด้วยการปฏิบัติการสงครามประชาชน

ซึ่งในการปฏิบัติการฝ่ายผู้ก่อการร้ายถูกกดดันด้วยการปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรง ผสมผสานด้วยการดำเนินนโยบายทางด้านการเมืองเปิดโอกาสให้วางอาวุธ และมาต่อสู้ทางการเมืองในรัฐสภา ด้วยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๖/๒๓ และ ๖๕/๒๕ แต่กองทัพได้ถูกจำกัดบทบาทอยู่นอกวง ของการต่อสู้ทางการเมือง ด้วยวลีที่ว่าทหารต้องไม่ยุ่งกับการเมือง ทำให้การเมืองที่ต่อเนื่องมาจากสงครามประชาชน ต้องมีรูปแบบในการต่อสู้ที่แปลกไป

สงครามประชาชนไม่เคยยุติ แต่ฝ่ายความมั่นคง ที่เป็นคู่สงครามแทบจะไม่มีโอกาสเข้าร่วมในการต่อสู้

ในขณะที่ ความมุ่งหมายของสงครามประชาชน โดยผ่านรัฐสภา อาจจะไม่ได้อยู่ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ความมุ่งหมายก็ยังคงอยู่ที่ต้องการอำนาจรัฐยังมี การต่อสู้ ที่ดุเดือดแสนสาหัส ยืดเยื้อ ยาวนาน

ขณะเดียวกัน สงครามประชาชนด้วยเงื่อนไข เชื้อชาติ ศาสนา และดินแดน ก็สามารถขยายตัว ยกระดับการปฏิบัติการ ท้าทาย อำนาจรัฐ อย่างรุนแรง จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราต้องพยายามทำความเข้าใจในยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี ของสงครามประชาชน และสงครามยืดเยื้อตามแนวคิด ของโลกตะวันออก




ภาพการปฏิบัติการทางทหารของชาติตะวันตก ที่ปรากฏอยู่ทั้งในอดีตและในปัจจุบันมักจะเป็นไปในรูปแบบ การรุกเข้าไปในประเทศอื่นๆด้วยเหตุผล เงื่อนไข ต่างๆตามสถานการณ์ เพื่อรวบรวบรวมทรัพยากร จากประเทศอื่นๆไปบำรุงประเทศของตน เป็นการใช้อำนาจเพื่อครอบครองดินแดนในห้วงเวลาสั้นๆ แล้วถอนตัวออกไป เนื่องจากถูกต่อต้าน กดดันจากประชาชนของประเทศที่ถูกยึดครอง

แต่การปฏิบัติการทางทหารของชาติตะวันออกส่วนใหญ่ มักจะเป็นไปในรูปแบบเพื่อสนองความเชื่อ อุดมการณ์ การปกป้องดินแดนจากการถูกรุกราน การต่อสู้เพื่อการปลดปล่อยจากการถูกยึดครอง
ดังนั้นถ้าเราใช้แนวคิดทางการทหารของชาติตะวันตกมาใช้ในการปฏิบัติการกับประชาชนที่มีทัศนคติ ความเชื่อ อุดมการณ์แบบชาติตะวันออก โอกาสที่จะได้รับชัยชนะก็อาจจะมี แต่ความสำเร็จในการสร้างความสงบสุขอาจจะเกิดขึ้นได้ยาก




เราลองมารับทราบแนวคิดของกลุ่มต่อต้านหรือ กลุ่มปฎิวัติ ที่เราอาจจะเรียกว่าเป็น กลุ่มก่อการร้าย หรืออะไรก็แล้วแต่ ของโลกตะวันออก แต่ที่ต้องยอมรับคือพวกเขามีความเข้มแข็งในอุดมการณ์การต่อสู้ อาจจะก่อให้เกิดแนวความคิดในการสร้างความสงบสุขที่ถาวรขึ้นได้

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างแนวความคิดในการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง ที่มีอิทธิพลเหนือจิตใจของนักปฏิวัติกลุ่มต่างๆเสมอมา ในการทำสงครามประชาชน

- สงครามปฏิวัติคือสงครามประชาชน มีแต่ระดมมวลชนเท่านั้นจึงจะสามารถดำเนินสงครามได้ ผนังทองแดง กำแพงเหล็กที่แท้จริงคือมวลชน แหล่งที่มาอันอุดมที่สุดคือของพลังที่ยิ่งใหญ่ แห่งสงคราม อยู่ที่มวลชน

กลุ่มต่อต้าน หรือนักปฏิวัติ ให้ความสำคัญกับการสร้างมวลชนอย่างสูงสุด ถ้าไม่มีมวลชนก็ไม่สามารถที่จะดำเนินสงครามได้
- ปัญหาประการแรกของการปฏิวัติคือ ต้องแยกให้ได้ชัดเจนว่าใครเป็นมิตร ใครเป็นศัตรู ความขัดแย้งทางสังคมมีอยู่ สองประเภท คือความขัดแย้งระหว่างเรากับศัตรู และความขัดแย้งในหมู่ประชาชน ประชาชนที่ไม่ใช่ฝ่ายเราถือว่าเป็นศัตรูด้วย

ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเมื่อมีการทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ เพราะฝ่ายกลุ่มต่อต้านพิจารณาแล้วว่าประชาชนเหล่านั้นไม่ใช่พวกเขาแต่เป็นศัตรูของเขา

- การปฏิวัติ ไม่ใช่การเชิญแขกมากินเลี้ยง ไม่ใช่แต่งความเรียง ไม่ใช่วาดภาพหรือเย็บปักถักร้อย จะทำอย่างประณีต ไม่รีบร้อน สุภาพเรียบร้อย หรือละมุนละม่อม เมตตากรุณา พินอบพิเทา เสงี่ยมเจียมตัว และอารีอารอบไม่ได้ การปฏิวัติคือการลุกฮือขึ้นสู้ คือการปฏิบัติการอันดุเดือด รุนแรง ที่ชนชั้นหนึ่งโค่นล้มอีกชนชั้นหนึ่ง

จะเห็นว่าฝ่ายปฏิวัติ หรือกลุ่มต่อต้านหรือกลุ่มผู้ก่อการร้าย ต้องการใช้ความรุนแรงและเชื่อว่าต้องใช้ความรุนแรงเท่านั้นจึงจะประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง

- คน คนหนึ่ง พรรคพรรคหนึ่ง กองทัพ กองทัพหนึ่ง หรือโรงเรียน โรงเรียนหนึ่ง ถ้าหากไม่ถูกศัตรูคัดค้าน ก็เป็นเรื่องไม่ดี นั่นย่อมหมายความว่าร่วมประกอบกรรมชั่วกับศัตรูแล้ว อย่างแน่นอน ถ้าหากถูกศัตรูคัดค้านก็เป็นเรื่องดี นั่นพิสูจน์ว่าเราขีดเส้นแบ่งกับศัตรูได้อย่างชัดเจนแล้ว ถ้าหากศัตรูคัดค้านเราอย่างสุดเหวี่ยง กล่าวหาเราอย่างสาดเสีย เทเสีย หาดีไม่ได้ก็ยิ่งดี นั่นพิสูจน์ว่าเราไม่เพียงแต่ได้ขีดเส้นแบ่งกับศัตรู อย่างชัดแจ้ง หากยังพิสูจน์ว่างานของเราได้ผลมากทีเดียว

กรณีตัวอย่างที่เป็นจริง สอดรับกับ หลักการนี้ปรากฏชัดเจนในสถานการณ์ในบ้านเมืองเรา การที่เราไม่เข้าใจหลักการของเขาอย่างแท้จริง ทำให้ฝ่ายเรา ไม่มีโอกาส ที่จะสัมผัสกับความสำเร็จได้เลย เพราะความสำเร็จของฝ่ายเราคือ คำสาปแช่งด่าทอของฝ่ายตรงข้าม ที่ทำให้ฝ่ายเราต้องหวั่นไหวจนต้องเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติ

- สงครามปฏิวัติเป็นยาต้านพิษ ชนิดหนึ่ง ที่ไม่เพียงแต่จะขับพิษร้ายของศัตรูออกไป แต่ยังชำระล้างสิ่งโสโครกในตัวเราด้วย ทุกคนจะต้องเข้าใจสัจธรรมคือ อำนาจรัฐมาจากปากกระบอกปืน

สัจธรรมนี้จะพยายามถูก จำกัด และทำลาย ด้วยการอ้างอิงประชาธิปไตยที่ไร้ขอบเขต ผสมผสานกับสิทธิมนุษยชนที่ไม่ต้องการยอมรับ กติกาใดๆ จนบางครั้งผู้ถืออำนาจที่แท้จริงก็ไม่อยู่ในภาวะที่จะใช้ อำนาจที่มีอยู่ในมือ




ถ้าไม่มีกองทัพของประชาชน ก็ไม่มีทุกสิ่งทุกอย่างของประชาชน การที่กองทัพนี้มีกำลัง ก็เพราะทุกคนที่เข้าร่วมกองทัพนี้ ต่างมีวินัยด้วยความสำนึก พวกเขามาผนึกอยู่ด้วยกันและทำการสู้รบ ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของคนส่วนน้อยหรือของกลุ่มแคบๆ แต่เพื่อผลประโยชน์ของมวลชนอันไพศาล และเพื่อผลประโยชน์ของทั้งประชาชาติ วัตถุประสงค์แต่เพียงประการเดียวของกองทัพนี้ก็คือ ยืนอยู่ด้วยกันกับ ประชาชนอย่างแนบแน่น และรับใช้ประชาชนด้วยชีวิตจิตใจ

เป็นการตอกย้ำยืนยันแนวคิดว่ากองทัพต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประชาชน ต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชนต้องให้ประชาชนเชื่อมั่นว่า กองทัพเป็นของประชาชน และทำงานเพื่อประชาชน

สงครามคือการต่อเนื่องของการเมือง เมื่ออุปสรรคถูกขจัดไป ความมุ่งหมายทางการเมืองบรรลุผล สงครามก็ยุติ ถ้าอุปสรรคยังขจัดไม่หมดสิ้น สงครามก็จะต้องดำเนินต่อไปเพื่อบรรลุผลให้ตลอด

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การ เมืองคือสงครามที่ไม่หลั่งเลือด และสงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด
สงคราม จะไม่มีทางยุติลงได้ถ้าหากยังไม่บรรลุความมุ่งหมายทางการเมือง



- - - - - - - -พ.อ.สาธิต ศรีสุวรรณ / ๒๗ก.ค.๕๒ - - - - - - -




Create Date : 03 พฤษภาคม 2553
Last Update : 3 พฤษภาคม 2553 11:38:04 น. 0 comments
Counter : 819 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sathit 1
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add sathit 1's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.