กุมภาพันธ์ 2553

 
1
2
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
แก้อาการเป็นหวัด ด้วยสมุนไพร



สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิก ชมรม ชุมชนพึ่งตนเองเเบบพอเพียง 53 และคุณผู้อ่านทั่วไป ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ทุกคนมีโอกาสเป้นโรคหวัดได้ง่าย วันนี้ก็เลยถือโอกาส เขียนบล็อกเรื่องของฟ้าทะลายโจรซึ่งมีสรรพคุณบรรเทาอาการหวัดได้ ไปดูกันเลยครับ


ฟ้าทะลายโจร ยาที่มีความหมายในตัวเองไม่น้อย เพราะแม้แต่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าฟ้าประทานมาให้ปราบโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเสมือน เหล่า โจรร้าย ส่วนในภาษาจีนกลาง ยาตัวนี้มีชื่ออย่างเพราะพริ้งว่า "ชวนซิเหลียน" แปลว่า "ดอกบัวอยู่ในหัวใจ" ซึ่งมีความหมายสูงส่งมาก วงการ แพทย์จีนได้ยก ฟ้าทะลายโจรขึ้นทำเนียบ เป็นยาตำราหลวงที่มีสรรพคุณโดดเด่นมากตัวหนึ่ง ที่สำคัญคือสามารถใช้เป็นยาเดี่ยวเพียงตัวเดียวก็มี ฤทธิ์แรงพอ ที่จะรักษาโรคได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในสมุนไพรตัวอื่น




สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัด และเสริมภูมิต้านทานดีกว่าการใช้ ยาปฏิชีวนะในคนที่เป็นหวัดบ่อยๆ ร้อนในบ่อยๆ เนื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิต้านทานอ่อนลง การรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจะช่วย กระตุ้น ภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่เป็นหวัดง่าย ร้อนในจะหายไป และสมุนไพรฟ้าทะลายโจรดีกว่ายาปฏิชีวนะ ตรงที่ไม่เกิดการง่วงนอน ไม่เกิดการดื้อยา และยัง ป้องกันตับ จากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม


ฟ้าทะลายโจร สามารถเรียกได้หลายชื่อตามพื้นที่ที่แตกต่างกัน คือ หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง) ฟ้าทะลาย น้ำลายพังพอน คีปังฮี ซีปังกี ชวนซินเหลียน ชวงซิมไน้ ยากันงู, สามสิบดี, ฉีกะฉาว, Creat, Green chireta, Kalmegh, King of bitters, Kirayat




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยมตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเรียวกว้างประมาณ 1 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ สีขาว มีรอบประสีม่วง แดง กลีบดอกด้านบนมี 3 หยัก ด้านล่างมี 2 หยัก ผลเป็นฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ต้นและใบมีรสขมมาก ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ ราก ใบ ทั้งต้น


การปลูก
ใช้เมล็ดโรยลงดิน กลบดินไม่ต้องลึกแล้วรดน้ำให้ชุ่ม มักนิยมปลูกตอนต้นฤดูฝน ไม่ชอบแดดจัดมาก หากอยู่ในที่แจ้งต้นจะเตี้ยใบเล็กหนา และในที่ร่มต้นจะสูง ใบใหญ่แต่บาง ควรปลูกในที่ไม่ร่มและไม่แจ้งนัก ในฤดูฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ แต่ในฤดูแล้งควรรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ถ้าปลูกขึ้นได้หนึ่งต้นจนมีฝักแก่ เมล็ดจะกระจายออกไปขึ้นทั่วจนต้องถอนทิ้งบ้าง


การเก็บเกี่ยว
ช่วงที่พืชออกดอกนับตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน 50 % เพื่อให้มีปริมาณสารสำคัญสูง ซึ่งพืชจะมีอายุประมาณ 110-150 วัน


การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
การทำความสะอาด นำฟ้าทะลายโจรมาล้างน้ำให้สะอาดตัดให้มีความยาว 3-5 ซม. ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำมาเกลี่ยบนกระด้งหรือถาดที่สะอาด
การทำให้แห้ง อบที่อุณหภูมิ 50 C. ใน 8 ชั่วโมงแรก ต่อไปใช้อุณหภูมิ 40-50 C. อบจนแห้งสนิท หรือตากแดดจนแห้งสนิท ควรคลุมภาชนะด้วยผ้าขาวบาง


สารสำคัญ
ส่วนเหนือดินฟ้าทะลายโจร มีสารสำคัญจำพวกไดเทอร์ปีนแลคโตน (diterpene lactones) หลายชนิด ได้แก่ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) นีโอแอนโดกราโฟไลด์ (neoandrographolide) ดีออกซีแอนโดกราโฟไลด์ (deoxyandrographolide) ดีออกซีไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (deoxy-didehydroandrographolide) วัตถุดิบฟ้าทะลายโจรที่ดีควรมีปริมาณแลคโตนรวมคำนวณเป็นแอนโดรกราโฟไลด์ ไม่ต่ำกว่า 6 % ไม่ควรเก็บวัตถุดิบไว้ใช้นาน ๆ เพราะปริมาณสารสำคัญจะลดประมาณ 25 % เมื่อเก็บไว้ 1 ปี


ผลการศึกษาทางเภสัชวิทยา
การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ ทางยาหลายประการ ดังนี้
1. ฤทธิ์ลดการบีบหรือหดเกร็งตัวของทางเดินอาหาร
2. ฤทธิ์ลดอาการท้องเสีย โดยทำให้การสูญเสียน้ำทางลำไส้จากสารพิษของแบคทีเรียลดลง
3. ฤทธิ์ลดไข้และต้านการอักเสบ
4. ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
5. ฤทธิ์ป้องกันตับจากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซทตามอล หรือเหล้า
6. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
7. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด


การรักษาโรค....



1. รักษาอาการไข้เจ็บคอ (Pharyngotonsillitis)
ผู้ป่วยที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรขนาด 6 กรัม/วัน หรือพาราเซทตามอล 3 กรัม / วัน หายจากไข้ และอาการเจ็บคอได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ฟ้าทะลายโจรขนาด 3 กรัม / วัน อย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 3 หลังรักษา แต่ผลการรักษาไม่มีความแตกต่างกันในวันที่ 7

2. การรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิดแบคทีเรีย (Bacilliary dysentery) ผู้
ป่วยที่ได้รับฟ้าทะลายโจรทั้งขนาด 500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง และขนาด 1 กรัม ทุก 12 ชั่วโมง เทียบกับยาเตตร้าซัยคลิน พบว่า สามารถสามารถลด จำนวนอุจจาระร่วง (ทั้งความถี่และปริมาณ) และจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนในการรักษาโรคอุจจาระและบิดแบคทีเรียได้อย่างน่าพอใจ ลดการสูญเสียน้ำ ได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ยาเตตร้าชัยคลิน

3. การศึกษาประสิทธิผลในการบรรเทาอาการหวัด (Common cold) ผลการทดลองให้ยาเม็ดสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่ควบคุมให้มีปริมาณของแอนโดกราโฟไลด์ และดีออกซีแอนโดรกราไฟไลด์รวมกันไม่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัม /เม็ด ครั้งละ 4 เม็ด วันละ 3 เวลา ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด พบว่า วันที่ 2 หลังได้รับยา ความรุนแรงของอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญและในวันที่ 4 หลังได้รับยา ความรุนแรงของทุกอาการได้แก่ อาการไอ เสมหะ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหู นอนไม่หลับ เจ็บคอ ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ

4. แก้ไข้ กระเพาะอาหารอักเสบจากเชื้อไวรัส
ให้ฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา

5. ไข้ไทฟอยด์
ใช้ฟ้าทะลายโจร 2 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร เป็น เวลา ๓ สัปดาห์ หลังจากนั้น ควรกินยาบำรุงฟื้นกำลังผุ้ป่วย ฟ้าทะลายโจร จะทำลายเชื้อไทฟอยด์ ที่ฝังตัว อยู่ในเนื้อเยื่อของต่อมน้ำเหลือง ในผนัง ลำไส้เล็ก ลำไส้ที่เป็นอัมพาตอยุ่เดิม ก็เริ่มทำงาน ฟ้าทะลายโจร ยังเร่งตับ ให้สร้างน้ำดี ช่วยย่อยอาหาร

6. โรคตับ
ให้ฟ้าทะลายโจร 2-3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา และควร ให้ยาบำรุงร่วมด้วย หลังจากฟื้นไข้แล้ว

7. งูสวัด
ให้ฟ้าทะลายโจรกิน 2-3 เม็ดก่อนอาหาร 3 เวลา เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เนื่องจากงูสวัดเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง จะอยู่นาน 3 สัปดาห์ ถ้าให้ฟ้าทะลายโจร ครบตามเวลา งูสวัดจะไม่กลับมาเป็นอีก ส่วนตุ่ม แผลพุพอง ใช้ยาเสลดพังพอนทา หรือใช้ว่านนาคราช หรือใบจีกรนารายณ์ ตำใส่สุรา ใช้ทาหรือพอกก็ได้


8. แผลโรคเบาหวาน
ฟ้าทะลายโจร รักษาแผลอักเสบเนื่องจากเบา หวานได้ เพระาฟ้าทะลายโจร ทำไห้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ใช้ทั้งกิน ทั้งทา

9. ริดสีดวงทวาร
ให้กินฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา และก่อนนอน อาการเลือดออก หรือปวดถ่วงจะหายไป และ ถ่ายได้ สะดวกเป็นปกติ

10.แก้เบาหวาน
ใช้ต้นฟ้าทะลายโจร และว่านเอ็นเหลือง กระชาย ทำเป็นยาเม็ดกิน


ตำหรับยาและวิธีการนำไปใช้

1.ใช้ในรูปยาต้ม โดยใช้ใบและกิ่งสดล้างสะอาด สับเป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้งแก้เจ็บคอ ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ใช้ 2-3 กำมือ

2.ใช้ในรูปยาลูกกลอน โดยนำใบและกิ่งมาล้างให้สะอาดผึ่งลมให้แห้ง บดให้เป็นผง ปั้นผสมกับน้ำผึ้งเป็นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผึ่งให้แห้ง รับประทาน ครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน


3.ใช้ในรูปยาแคปซูล โดยใช้ผงใบและลำต้นบรรจุลงในแคปซูล ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอน เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก จึงนิยมใช้ในรูป ยาลูกกลอนและรูปยาแคปซูล ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรจำหน่ายในรูปยาแคปซูล


4.ยาทิงเจอร์หรือยาดองเหล้า เอาผงแห้งใส่ขวด แช่สุราที่แรง ๆ เช่น สุราโรง 40 ดีกรี ถ้ามี alcohol ที่รับประทานได้ (Ethyl alcohol) จะดีกว่าเหล้า แช่พอให้ท่วมยาขึ้นมาเล็กน้อย ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดวันละ 1 ครั้ง พอครบ 7 วัน จึงกรองเอาแต่น้ำ เก็บไว้ในขวดให้สะอาดปิดสนิท รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ (รสขมมาก) วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร

5. ยาผงใช้สูดดม คือเอายาผงที่บดละเอียด มาใส่ขวดหรือกล่องยา ปิดฝาเขย่าแล้วเปิดฝาออก ผงยาจะเป็นควันลอยออกมา สูดดมควันนั้นเข้าไป ผงยาจะติดที่คอทำให้ยาไปออกฤทธิ์ที่คอโดยตรง ช่วยลดเสมหะ และแก้เจ็บคอได้ดี วิธีที่ดีกว่านี้คือวิธีเป่าคอ กวาดคอ หรือรับประทานยาชง ตรงที่คอจะรู้สึกขมน้อยมาก ไม่ทำให้ขยาดเวลาใช้ ใช้สะดวกและง่ายมาก ประโยชน์ที่น่าจะได้รับเพิ่มก็คือ ผงยาที่เข้าไปทางจมูก อาจจะช่วยลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูกด้วย ขนาดที่ใช้ สูดดมบ่อย ๆ วันละหลาย ๆ ครั้ง ถ้ารู้สึกคลื่นไส้ให้หยุดยาไปสักพัก จนความรู้สึกนั้นหายไป จึงค่อยสูดใหม่


ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับแก้เจ็บคอในกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
2. ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบเนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group A
3. ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค
4. ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง หนาวสั่น


ข้อควรระวัง
1. ฟ้าทะลายโจรอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเดิน ปวดเอว หรือวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น ในผู้ป่วยบางราย หากมีอาการดังกล่าว ควรหยุดใช้ฟ้าทะลายโจร
2. หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง
3. หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้ และไปพบแพทย์
4. สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร
5. ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไป เนื่องจากฟ้าทะลายโจรจะทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะอาหารมากเกินไป .


ขนาดที่ใช้และวิธีใช้
รับประทานครั้งละ 1,500 – 3,000 มิลลิกรัม ของผงยาวันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร 3 เวลา และก่อนนอน (จำนวนเม็ดหรือแคปซูลที่รับประทานแต่ละครั้งให้ ปรับตามขนาดของผงยาที่บรรจุในแต่ละเม็ด)




Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2553 8:34:51 น.
Counter : 1754 Pageviews.

1 comments
  
ขอบคุณค่ะ
โดย: ขึ้น15ค่ำ IP: 111.84.247.254 วันที่: 22 เมษายน 2553 เวลา:10:47:13 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คลองตาสูตร
Location :
สระแก้ว  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]





การทำปุ๋ยหมัก ชีวภาพ
การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
การเพาะเห็ดในถุง
เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
การทำนาโยน คืออะไร?
การปลุกผักหวานบ้าน