Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
17 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
ร่องรอย ตำนาน ประวัติศาสตร์สองฝั่งโขง (1) และ (2)


(1)

โดย : ประสิทธิ์ ไชยชมพู


     ความเป็นเครือญาติกันมองคนในลุ่มน้ำโขง หรืออาจรวมเรียกอุษาคเนย์อย่างไม่บิดพลิ้ว ผ่านตำนานอันน่าทึ่ง ภาษาจารึก ที่ซ่อนนัยความหมายแปลก ลึกซึ้ง

     บทความนี้ปรับปรุงจากร่างแนวการอภิปรายบนเวทีสัมมนา “ร่องรอยเวลา : ศรีโคตรบูร วรรณกรรมสองฝั่งโขง พหุลักษณ์ทางสังคม” ณ โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย อ.เมือง นครพนม วันที่ ๒๑-๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
บนพื้นฐานให้เข้าใจร่วมกันว่า ผู้ร่วมสัมมนาได้อ่านบทความ ข้อเขียน ในสูจิบัตรพอสมควรแล้ว เพื่อกระชับเนื้อหาไม่ซ้ำซ้อน เยิ่นเย้อ ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงหรืออ้างอิงถึงเรื่องเล่านั้น ถ้าประสงค์ได้รายละเอียดก็ขอให้อ่านเพิ่มเติมในสูจิบัตรที่ได้รับแจกนั้น ถ้าเป็นข้อมูลใหม่ ผู้เขียนจะทำเชิงอรรถเพิ่มเติม

ทั้งนี้ สิ่งที่กล่าวหรือบันทึกใน ตำนาน พงศาวดาร เช่น ตำนานอุรังคธาตุ อุรังคธาตุนิทาน และพงศาวดารศรีโคตรบูร ย่อมมีเค้าความจริงเป็นพื้นฐาน ผ่านการบอกเล่าสืบเนื่องกันมานานหลาย ๆ ชั่วอายุคน แม้จะเพิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในพุทธศตวรรษที่ ๒๐



     ส่วนความพิสดาร อัศจรรย์ เหลือเชื่อ โดยเฉพาะในนิทานปรัมปรา เสมือนตอบคำถามตามแบบฉบับชาวบ้าน ๆ ถึงกำเนิดโคตรบรรพบุรุษด้วยทางลัด แต่ทั้ง นิทาน ตำนาน พงศาวดาร แม้แต่ประวัติศาสตร์เขียนใหม่ไม่เกิน ๑๐๐ ปีมานี้ เมื่อรับรู้แล้ว ยิ่งต้องสกัดกระพี้ เพื่อหาแก่น

๑. ตำนานน้ำเต้าปุง กวาดล้างคนบาป

     ตำนานน้ำเต้าปุง รู้จักกันอย่างกว้างขวางในกลุ่มชนชาติพันธุ์ในลุ่มน้ำโขง ซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งใน พงศาวดารล้านช้าง และพงศาวดารเมืองแถน

ตำนานน้ำเต้าปุง ได้สะท้อนความเชื่อคล้ายกันแทบทั้งโลก คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาลให้น้ำท่วมโลก ทำลายล้างคนบาป ซึ่งสอดคล้องกับคัมภีร์ศาสนายิว คริสต์ อิสลาม รวมถึงตำนานกำเนิดอาณาจักรขอมโบราณ

     นอกจากนี้ ยังมีกลอนลำเล่าตำนานน้ำเต้าปุงอย่างน้อยอีกชุดหนึ่ง ซึ่งล้ำเลยไปถึงกำเนิดคนทั้งโลก กล่าวคือ รวมกำเนิดฝรั่งมังค่าเอาไว้ด้วย เป็นลักษณะแต่งเติมเสริมสีสันลงไปอย่างมาก ยกตัวอย่าง กลอนลำของ หมอลำทองลา สายแวว บ้านหัวเรือ อ.เมือง อุบลราชธานี

ก.ชื่อเรียกในตำนาน กับชื่อปัจจุบัน

     ประเทศในภูมิภาคอินโดจีนคงไม่รังเกียจจะเป็นเจ้าของสถานที่ในตำนาน ซึ่งหลายแห่งค่อนข้างจะยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เช่น เมืองแถน(ฝรั่งเศสออกเสียง แถง) อีกนัยหนึ่ง “นาน้อยอ้อยหนู” เชื่อว่า คือ เมืองเดียนเบียนฟู ในเวียดนาม

ขณะที่ มหาสิลา วีระวง (พ.ศ.๒๔๔๘ - ๒๕๓๐) ปราชญ์สองฝั่งโขง เกิดร้อยเอ็ดเติบโตในเมืองไทย ไปรับใช้แผ่นดินลาวและเสียชีวิตที่นั่น ระบุถึง เมืองแถน ๒ ในความหมาย

     หนึ่ง หมายถึง อาณาจักรหนองแสเดิม (เพงาย หรือปากอ้าย คนธรรมดาเรียกแถน) ถูกจีนบุกทำลาย เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น เมืองยี่เจ้า(สองเจ้า) เพราะแตกเป็น ๒ ส่วน หนึ่ง นครเพงาย(เรียก อ้ายลาว) สอง พวกอยู่ทางใต้ เรียกว่า งายลาว

     สอง หมายถึง หนองแส(น่านเจ้า) มีขุนบรมราชาธิราช (จีนเรียก พีล่อโก๊ะ) ตั้งเมืองแถน ที่นาน้อยอ้อยหนู ชื่อทางการคือ เมืองกาหลง (มหาสิลา วีระวง ว่า คือเมืองเชียงรุ้ง) แต่จีนเรียก ตาลีฟู หรือน่านเจ้า ปกครองช่วง พ.ศ.๑๑๙๑ ขยายอาณาเขตได้มาก ตีหลายเมืองทางใต้ของจีน

     ขณะที่ พงศาวดารไทย ของ พระบริรักษ์เทพธานี ระบุ “เมืองกาหลง” อยู่พื้นที่ ต.ฝาย อ.เวียงป่าเป้า เชียงราย และ "กาหลงไ เป็นชื่อลำน้ำด้วย ไหลผ่านจังหวัดลำปาง แพร่

แม่น้ำจริงในตำนานพระลอ ได้ตั้งสัตย์อธิษฐานเสี่ยงน้ำเพื่อตรวจดูดวงชะตาตัวเอง น้ำกาหลงพลันเกิดสีแดงเลือด บอกเหตุร้ายกาลภายหน้า ขณะนำคนสนิทเดินป่าไปตามแรงมนตราของหมออาคม ให้มาตามหาพระเพื่อนพระแพง ธิดาเมืองสรอง เมืองศัตรูอาฆาตของเมืองสรวงมาแต่สมัยรุ่นพ่อ

ขุนบรมฯ ผู้ครองหนองแส รัฐน่านเจ้า ได้ส่งโอรส ๗ องค์ไปปกครอง ๗ หัวเมือง ดังนี้

.ขุนลอ ครองเขตซวา ครอบคลุม เชียงทอง หลวงพระบาง ล้านช้าง ขุนลอถือเป็นปฐมกษัตริย์แห่งล้านช้าง

     คำว่า ซวา หรือชวาในที่นี้มาจากแม่น้ำว้า ภาษาถิ่นเรียกน้ำซวา ตามสำเนียงลาว มิได้หมายถึงประเทศชวา แต่เป็นชื่อเรียกดั้งเดิมหมายถึง หลวงพระบาง ปัจจุบัน

๒.ขุนยี่ผาลาน ครองต้าหอ(หอแตกหรือหอแต) ครอบคลุม เขตสิบสองปันนา

๓.ขุนสามจูสง ครอง จุฬนี คือแคว้นหัวพันทั้งห้าทั้งหกในปัจจุบัน พงศาวดารล้านช้างกล่าวว่าขุนสามจุสง ไปสร้างเมืองบัวชุม หรือญวนแกวแคว้นตังเกี๋ย

๔.ขุนไสพง ไปสร้างเมืองยวนโยนกนาคนคร หรือเมืองเชียงแสนโยนก(ล้านนา)

๕.ขุนงั่วอิน ไปสร้างเมืองอโยธยา หรืออยุธยา

๖.ขุนลกกลม ไปสร้างเมืองคำเกิด หรือเมืองภูเหิด บ้างว่าคือ เชียงคาม ปัจจุบันอยู่ลาวใต้

๗.ขุนเจืองหรือ เจ็ดเจือง ไปสร้างเมืองปะกัน(เชียงขวาง) หรือเมืองพวน

ช่างบังเอิญสุดประมาณ เรื่องโอรส ๗ องค์นี้ เค้าโครงคล้ายกับพงศาวดารโยนก เรื่องพระเจ้า ๗ ตน ถูกส่งไปครองเมืองทั้ง ๗ เช่นกัน

     ส่วน พงศาวดารเงินยางเชียงแสน มีส่วนขยายเรื่องราวของ “ขุนเจือง” แตกต่างออกไปอีกแนวหนึ่ง ระบุว่า “ขุนเจือง” เป็นลูกคนที่ ๒ ของ จอมผาเรือง ๆ เป็นลูกคนที่ ๒ ของ ขุนเรงกวา กษัตริย์องค์ที่ ๑๔ วงศ์ลวจังกราช หรือ ปู่จ้าวลาวจก

ซึ่งบรรพบุรุษของคนกลุ่มเผ่าไทหรือไตทั้งหลาย ทั้งชนเผ่าไทในสิบสองปันนา และในสิบสองจุไท เชื่อว่า ขุนบรม คือ บรรพบุรุษมาตั้งแต่อาณาจักรน่านเจ้า อาณาจักรล้านช้าง
จับประเด็นกรณี ปู่จ้าวลาวจก คือเจ้าโคตร(ปู่ทวด) ของ ขุนเจือง(ลูกผาเรือง)
แต่ ขุนเจือง จะเป็นลูกขุนบรมฯ องค์สุดท้ายในตำนานน้ำเต้าปุง
แม้จะมีข้อสังเกตชวนกังขา โดย มหาสิลา วีรวง สันนิษฐานว่า ขุนเจือง คือ ลูกมอญหรือลูกขอม? ทว่า ปู่จ้าวลาวจก สำเนียงชื่อบอกชัดเจนเป็นกลุ่มลาว เป็นปู่จ้าวที่มี จก(จอบ) เครื่องมือทำเกษตรสำคัญ บุกเบิกสร้างความมั่งคั่งในสังคมบุพกาล

     ดังนั้น อาจชิงสรุปคลุม ๆ หยาบ ๆ ได้ว่า ๒-๓ ตำนานเหล่านี้ เหลื่อมซ้อนกันและขัดแย้งกันอยู่ในที แต่ประเด็นสำคัญ คือ บ่งแสดงความเป็นเครือญาติกัน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในยุคใกล้เคียงกัน

ซึ่งคงอาศัยมีจินตนาการต่อมิติพื้นที่ มิติเวลา ตลอดนับหลายพันปี กลุ่มคนที่อยู่ในดินแดนลุ่มน้ำโขง และอาจพูดได้รวมถึงภูมิภาคอุษาคเนย์ ต่างมีการโยกย้ายถิ่นฐาน ผสมผสาน และทับซ้อนกันมาอย่างต่อเนื่อง

๒. ตำนานอุรังคธาตุ - พงศาวดารกำเนิดกัมพูชา

     ตำนานอุรังคธาตุ อ้างถึงพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้หลายแห่งในดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขง มีพุทธพยากรณ์ ว่าสั่งให้ พระมหากัสสปเถระอัครสาวก กับเจ้านครรัฐ ๕ พระองค์ รวมกันสร้างพระธาตุ อัญเชิญอุรังคธาตุพระพุทธเจ้ามาบรรจุ
พ.ศ.๘ (ตามตำนานอุรังคธาตุ) พระกัสสปะและท้าวพญาทั้ง ๕ พระองค์ ได้แก่
พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตรบูร
พญาจุฬณีพรหมทัต ครองแคว้นจุฬณี
พญาอินทปัตถ์ ครองอินทปัตนคร
พญาคำแดง ครองเมืองหนองหารน้อย
พญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหารหลวง


     ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณ เมื่อครั้งที่ตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ ฝั่งสุวรรณเขต ประเทศลาว
ในที่นี้อยากชวนขยายมุมมองไปถึง อินทปัตนคร ที่ตำนานกล่าวไว้เพียงเล็กน้อย ซึ่งจะขยายความต่อไป โดยเกี่ยวเนื่องกับพระธาตุพนม ด้วย

๒.๑ โคกธลอก – ฟูนัน - อินทปัตถนคร

     ผู้เขียนได้แปลความจาก หนังสือพงศาวดารกัมพูชาฉบับย่อ พิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ เนื้อความโดยสรุป ซึ่งขอนำข้อความส่วนที่เล่าอย่างพิสดาร มาเสนอนำเรื่องดังต่อไปนี้

     หลังพุทธเจ้าล่วงไปแล้ว (เท่ากับนับพ.ศ.๑) น้ำมหาสมุทรลดลงไปครึ่งปฐพี เกิดเนินขนาดใหญ่ผุดขึ้น มีต้นธล็วก (เทียบเสียงเป็น ธลอก ซึ่งต่อไปนี้จะใช้เรียก) อยู่ตรงกลางเนิน ภายหลังต่อมาแผ่นดินได้ขยายกว้างใหญ่ออกไป เกิดมีมนุษย์อยู่อาศัย และจำนวนมากตั้งภูมิลำเนาอยู่ บรรดาชนเหล่านั้นได้สมมติเรียกที่นั้นว่า เนินโคกธลอก) และสมมติเรียกประเทศขแมร์ หรือ ขมะ

ระหว่าง พ.ศ.๖๑๑ ประเทศขแมร์ ตั้งพระนครโคกธลอก กษัตริย์เสวยราชมาจากวงศ์กัมพุสวายัมปุระ ชนชาติประเทศข้างล่างและข้างบนล่องเรือเข้ามาในนครโคกธลอก นามว่า ฮุนเตียน มาได้กษัตรีแห่งโคกธลอกเป็นชายา มีราชโอรส ๑ องค์ เสวยราชต่อจากพระมารดา

     กาลต่อมา ประเทศขแมร์ตั้งขึ้น ได้รวมกลุ่มคนอิสระเข้าด้วยกัน จากนั้นเปลี่ยนชื่อ พระนครโคกธลอก เรียกเป็น ตักกสิลา หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็น อินทปัตถยโสธรปุระ หลังจากนี้ก็เปลี่ยนเป็น มหานครกรุงกัมพุชาธิบดี สิริอินทรปัตถ กุรุรัฐราช



     ส่วนขยายเรื่องเล่า คัดย่อได้ดังนี้ หลังพุทธเจ้าล่วงไปแล้ว นครกัมพุชากับเมืองยวนโกซังซีน อยู่ติดกันด้าน ทิศตะวันออกจรดเทือกเขาเมืองยวนอันนัม ทิศใต้จรดเทือกพนมดองแร็ก ทิศตะวันตกจรดเทือกพนมกำจาย

เมื่อน้ำทะเลลดลงแผ่นดินโผล่ขึ้นมาทีละน้อยๆ มีมนุษย์เข้ามาอยู่ทั่วตามแผ่นดินนั้น อยู่เป็นกลุ่มเป็นพวก คนฝ่ายข้างแผ่นดินสูงส่วนมากหาล่ายิงสัตว์ ส่วนคนอยู่ลุ่มน้ำ ทิศตะวันตกบ้างหากินประมงจับปลา สร้างที่อาศัยเป็นกระท่อม หรือโดยเรือ

     กาลครั้งนั้น มีคนจีนท่องเที่ยวมาพบเรียกแผ่นดินนั้นว่า ประเทศฟูนัน นับแต่ทะเลทิศเหนือ(ตะโบง) ไหลไปทิศใต้(เจิง) จรดกับประเทศจีน ทิศตะวันออกจรดกับประเทศจาม(อันณัมปัจจุบัน) ทิศตะวันตก(ลิจ)ไปถึงแม่น้ำในประเทศเสียม

ช่วงคริสตวรรษที่ ๑ ระหว่างปีที่ ๖๘ ตรงกับพุทธศตวรรษที่ ๖๑๑ มีพวกชวาพราหมณ์ยกทัพทางทะเล เข้ามาตีเอานครเกาะโคกธลอก คือแม่ทัพ“โฮ อินเตียน” เสวยราชสมบัติอยู่ที่นั่น เอาแม่นางแห่งเกาะธลอกเป็นชายา ตั้งพระนามว่า พระนางโสมา(ลูกพระจันทร์)

พระบาทโฮ อินเตียน กับพระนางโสมา ทรงมีพระราชโอรส ๑ พระองค์สืบทอดวงศ์นานกว่า ๒๐๐ ปี (ถึงระหว่าง ค.ศ.๒๘๕ หรือ พ.ศ.๘๒๙)

พระราชโอรสคือพระบาทฟันมัน มีฤทธานุภาพมาก ส่วนพระราชบุตรของพระบาทฟันมัน คือพระบาทฟันสียุน ก็เช่นเดียวกัน

พระบาทฟันมัน ทรงตีเอาประเทศรอบข้างอยู่เขตเซียม(เสียมหรือสยาม-ผู้เขียน) ข้างทิศใต้ปัจจุบัน ไปถึงประเทศชวามลายู (มะละกาปัจจุบัน)ผนวกด้วยได้ พระบาทฟันสียุน (เสวยราช ระหว่าง ค.ศ.๒๕๐) ทรงได้รับเมตตากับพระเจ้ากรุงจีน

      สรุปชื่อนครรัฐกัมพูชาปัจจุบัน เริ่มจากโคกธลอก เป็นนครโคกธลอก เปลี่ยนเป็น ตักกศิลา ต่อมา เปลี่ยนเป็น อินทปัถตยโสธร ก่อนจะเปลี่ยนชื่ออย่างอลังการว่า มหานครกรุงกัมพุชาธิบดี สิริอินทรปัถ กุรุรัฐราช

...(รวบรัด) มาถึง สมัย พระบาทชยวรมันที่ ๕ (ค.ส.968-1002)

     ในพุทธศาสนา กษัตริย์นี้เป็นพระราชบุตรในพระราชินทราวรมันที่ ๒ ครั้นนั้นพุทธศาสนาก็มีคนถือเคารพบูชามากเช่นกัน มีเสนาบดีคนหนึ่งได้สร้างพระพุทธรูปจำนวนมากตั้งในห้องอังกอร์ธม อยู่ในราชพระบาทชยวรมันที่ ๕ พวกพราหมณ์ปุโรหิตที่เคารพเทวราชา ก็หันมาเคารพศาสนาทั้งสองนี้ได้ คือพระพุทธศาสนากับ พราหมณ์ศาสนา

     ในภาคเล่าอย่างพิสดาร เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีส่วนที่เหลืออยู่ในกำแพงมหานคร อยู่ใกล้ปราสาทหินนั้นมีนามเรียกว่า ยโสธรคีรี คำสามัญทั่วไปเรียกว่า ”บายัณย์ หรือบัญยง ส่วนที่เหลือนั้นมีวิหารเก่า และพระพุทธรูปหนึ่งองค์ใหญ่ สมมตินามพระพุทธรูปองค์นั้นว่า “พระพุทธโคกธลอก”

พระวิหารและพระพุทธรูปโคกธลอกนั้น ตามบันทึกพออนุมานเห็นว่าสร้างระหว่าง พ.ศ.๑๔๘๖ (ค.ศ.943)

     พระมหาราชาเจ้าแผ่นดินในกัมพุชา ทรงถือลัทธิพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง มีศิลาจารึกแผ่นหนึ่งแถลงเรื่องว่า เสนาบดีหนึ่งหรืองานเป็น กวินดราวิมาดาณา สร้างรูปพระศักยมุนี อยู่ปราสาทบ้าง อยู่มหานครบ้าง
พระพุทธศาสนานามสถิตอยู่ในมหานครกรุงกัมพุชาอยู่ระหว่าง พ.ศ.๙๙๓ (ค.ศ.450) ถึง พ.ศ.๑๐๓๓ (ค.ศ.490) เพราะพระมหาราชาองค์เดิม แผ่นดินมหานครกรุงกัมพุชาทรงเทิดทูลยกย่องพระพุทธศาสนามานับถืออย่างแข็งขัน คนเคยถือไสยศาสตร์ หันมาถือพุทธศาสนาเป็นอันมาก

ก.ข้อสังเกตต่อบันทึกตำนาน พงศาวดารกัมพูชา

     สิ่งที่พบในพงศาวดารกัมพูชา คือ การบันทึกเรื่องเล่าช่วงที่น้ำลดแล้วพอสมควร ซึ่งต้องใช้จินตนาการต่อข้อมูลทางธรณีวิทยาระบุที่ราบลุ่มภาคกลางของไทยเคยเป็นทะเลโคลน เมื่อกว่า ๓,๐๐๐ ปีก่อน แต่บันทึกพงศาวดารกัมพูชา ถือเอาหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน แสดงว่าขณะนั้นน้ำทะเลได้ลดระดับลงใกล้เคียงหรือมากกว่าที่ราบลุ่มภาคกลาง
สิ่งที่พบอีกประการ คือ ถือเพศแม่เป็นใหญ่ โดย พระนางโสมา ครองนครก่อนที่พราหมณ์ กษัตริย์ชวาจะมาอภิเษกสมรส เช่นเดียวกับ ตำนานจามเทวีวงศ์ แห่งอาณาจักรหริภุญไชย (ลำปาง ลำพูน และดินแดนทางภาคเหนือในปัจจุบัน)

๒.๒ ฟูนัน – โคกธลอก- อินทปัถนคร-กัมพูชา

     ในบทนี้ ต้องการนำเสนอให้พิจารณา ต่อคำเรียกชื่อสถานที่ เมือง นครรัฐในอดีต เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน ว่ามีความเชื่อมโยงอันอย่างมีนัยสำคัญ
เป็นที่แน่ชัด ตำนาน และ คัมภีร์อุรังคธาตุ ระบุถึง อินทปัตถนคร ส่วนพงศาวดารกัมพูชายืนยันเป็นชื่อเรียกการรวมตัวเป็นนครรัฐในยุคต้นของเขมรโบราณ(ส่วนคนข้างนอกเรียกเป็นขอม ซึ่งเป็นชื่อเรียกทางวัฒนธรรม ไม่ใช่ชื่อชาติพันธุ์) เป็นบรรพบุรุษของชาวเขมรปัจจุบัน ในนามนครรัฐ ฟูนัน
ผู้เขียนขอขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยอ้างอิงถึง หนังสือภาษาเขมรชื่อ เที่ยวกัมพูชา พาชมนครวัด สาระความสรุปมีดังนี้

ต้นศตวรรษที่ ๕ - ๑๑ เกิดอาณาจักร กุรุงพนม หรือกรุงพนม หรือนครพนม หมายถึง กรุงหรือนครแห่งภูเขา

ต่อมา หลวงจีนอี้จิง เดินทางมาถึงและบันทึกออกเสียง กรุงพนม เป็น “โป นัม” ในสมัยพระเจ้า ซู วู (พ.ศ.๗๖๐-๘๒๓) บันทึกออกเสียงเรียก บุยนัม หรือ บนัม

ต่อมา ศาสตราจารย์ ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีชาวตะวันตก ๒ คน คือ เอช มาแซลล์ และ จี คอร์ดส ได้อ้างตามเสียงบันทึกของจีน แต่เขียนแล้วออกเสียงเป็น ฟูนัน

ศูนย์กลางราชธานีของกรุงพนม(ฟูนัน) ปัจจุบัน คือ อำเภอบาพนม จังหวัดไพรเวง ของกัมพูชาในอดีต (ห่างพนมเปญไปทิศตะวันออกราว ๘๐ กิโลเมตร) ซึ่งไพรเวง (เขมรเรียก ไปรยฺเวง) ก็คือ เมืองโฮจิมินห์ ของเวียดนามในปัจจุบัน

     ในศิลาจารึกระบุ กุรุงภนม บางแห่งเขียน *วรวนำ(วอ– ระ – วะ - นอม) ผู้ครองนครคือ บรรพตภูบาล หรือ ไศลราชา ทั้งระบุด้วยว่า ราชินี ทรงปกครองนครภนม พระนาม พระนางนาคี(งูใหญ่เพศเมีย) หรืออีกพระนามว่า โสมา(ลูกแห่งพระจันทร์) ขณะที่ บันทึกราชทูตจีนเรียก พระนาง เลียว ยี

ต่อมา พระนาง เลียว ยี อภิเษกสมรสกับพราหมณ์อินเดีย(มาจากชวาอีกทีหนึ่ง) ชื่อ เกียง เจินจู (โกณทัญญะ) ซึ่งนำลัทธิพราหมณ์เข้ามาดินแดนกรุงพนม

**ซึ่งพงศาวดารกัมพูชาฯ ได้ลำดับพงศาวลีกษัตริย์ และราชวงศ์ปกครองกัมพูชาเริ่มนับแต่อาณาจักรกรุงพนม(ฟูนัน) อายุอยู่ประมาณ ๖๐๐ ปี มีเจ้าปกครอง ๑๗ พระองค์ ก็ได้ลำดับไว้ต้น

     ข้อสันนิษฐานของผู้เขียนคือ เป็นไปได้ที่เมืองนครพนม จะอิงความยิ่งใหญ่ตระการตาของลักษณะกายภาพภูมิศาสตร์อันเป็นชื่อเรียกนครรัฐเก่าแก่ด้วย คือ กรุงพนม(ฟูนัน) มาเรียกขานตั้งชื่อเมืองนครพนมบ้างนั่นเอง

ดังที่ เมืองจัมปาสัก ก็นำชื่อของเมืองในอินเดียตอนใต้มาใช้เช่นกัน อย่างท่าที่ยกย่อง

โปรดติดตามตอน ๒ อาณาจักรเจนละ ไม่มีในศิลาจารึก ใครกันกำหนดเรียก?


Tips : อาณาจักรกัมพูชา ศรีโคตรบูร

ขอขอบคุณ
ที่มา :
กรุงเทพธุรกิจ 8 มีนาคม 2552





(2)

โดย : ประสิทธิ์ ไชยชมพู




     ไขปริศนาที่มา"เจนฬะ" นิทานวีรบุรุษกบฎ"พญาโคตรบอง" ท่าแขก ไฉนแขกมาขึ้นท่ามากปานนั้น นี่คือร่องรอยที่ไม่เลื่อนลอย

๓. เจนฬะ นครรัฐ ที่จีนเรียก ฟูนัน(กรุงพนม) รุ่งเรืองและร่วงโรยในรอบ ๖๐๐ ปี แต่ไม่สูญไปไหน แต่วิวัฒนาการมาเป็นกัมพูชาระหว่างนั้น นครรัฐจามปา เริ่มรุ่งเรืองขึ้นมา แต่ขณะที่ กลุ่มอำนาจชนชั้นนำเขมรโบราณแตกแยก ช่วงชิง แย่งกันเป็นใหญ่

ในช่วงแรกของฟูนัน กรุงโคกธลอก สมัยราชวงศ์พระทองมลนางนาค (โฮ อินเตียน กับพระนางโสมา) มีอำนาจประมาณ ๓๐๐ ปี จนถึง พ.ศ.๑๐๒๘

     ต่อมา เริ่มยุคกษัตริย์สร้อยพระนามว่า "วรมัน" จาก พระบาทโกฑิณยะชัยวรมัน เชื้อสายอินเดียใต้ร่วมกับพวกกบฏโจมตีกรุงโคกธลอก แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ว่า วยาธปุระ ซึ่งเริ่มถูกเรียกว่า เจนฬะ

ส่วนราชวงศ์ดั้งเดิมย้ายขึ้นไปทางเหนือ สร้างเมืองใหม่ริมฝั่งแม่น้ำโขงชื่อ ศัมภปุระ และภวปุระ (ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตอนล่าง พ.ศ.๑๐๙๓)

ต่อมา เกิดจลาจลในเมืองหลวงวยาธปุระ เจ้าชายภววรมัน แห่งเมืองภวปุระ และเจ้าชายจิตรเสน แห่งศัมภปุระ สายราชวงศ์พื้นเมือง ได้เข้าครอบครอง วยาธปุระ และรวมกันเข้ากับอาณาจักรเจนฬะ

ช่วง พ.ศ. ๑๑๐๐-๑๑๗๐ สมัยพระบาทภววรมัน ที่ ๑ และ พระบาทมหินทรวรมัน หรือ มเหนทรวรมัน(เจ้าชายจิตรเสน) ได้แผ่ขยายอำนาจเข้าไปในเขตเทือกเขาพนมดองเร็ก และลุ่มแม่น้ำมูล โดย มเหนทรวรมัน ย้ายเมืองหลวงกลับมาอยู่ วยาธปุระ

เมื่อสิ้นรัชกาลพระบาทชัยวรมันที่ ๑ (ครองราชย์พ.ศ.๑๒๐๗-๑๒๑๑) อาณาจักรเขมรโบราณ ถูกแบ่งเป็น ๒ แคว้นใหญ่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เชื่อกันว่า

เจนละบก อาณาบริเวณอยู่ทางตอนเหนือที่เป็นภูเขาและที่ราบสูง
เจนละน้ำ กินอาณาบริเวณทางตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มจนจรดชายฝั่งทะเล

นี่คือ คร่าว ๆ ก่อนจะถึงสมัยพระบาทชัยวรมันที่ ๒ (พ.ศ.๑๓๔๕-๑๓๙๓) รวมกันเข้าเป็นอาณาจักรพระนคร (เริ่มสร้างปราสาทหินกันอย่างจริงจัง)

ปัญหาอยู่ที่คำว่า “เจนฬะ” มีความหมายอย่างไรแน่ นักประวัติศาสตร์กัมพูชาเองค้นไม่พบจากจารึกไหน

     ที่แน่ ๆ ปรากฏในจดหมายเหตุจีนของ สมณทูต จิว ตัก ก่วง (โจว ต้า กวน) เข้ามาดินแดนนี้เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙
เจนฬะ ภาษาจีนแต้จิ๋ว(สมัยโน้น) ออกเสียง จิง - ฬะ จิง คือ แท้, เก่ง, รู้, จริง
ฬะ คือ ไขมัน(จากสัตว์) อาจแปลเอาความได้ว่า เมืองแห่งไขมันสัตว์ จากพราน ซึ่งเรียกตามชื่อ กรุงวยาธปุระ หมายถึง เมืองแห่งนายพราน จีนออกเสียง “เทมู” ซึ่งถ่ายเสียงมาจากคำเขมรโบราณว่า ธมัก หรือ ธรมัก แปลว่า นายพราน



     หนังสือเล่มนี้ยังอ้างถึง ศาสตราจารย์ลี เธียบเตง ชาวกัมพูชา ซึ่งบันทึกสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า

...เมื่อข้าพเจ้าไปประเทศจีนได้พบนักประวัติศาสตร์จีนชื่อ สิ่วเม้ง พบเอกสารที่กล่าวถึงเจนละ ตั้งทิศเหนือของฟูนัน มีป่าหนาทึบ และมีผึ้งมาก พ่อค้าจีนมักมาหาซื้อขี้ผึ้งแท้นำไปขายจีน เพื่อเอาไปทำเทียนไข มีขี้ผึ้งมาก จึงสมมติเรียกชื่อประเทศนี้ว่า เจน หรือ เจง แปลว่า แท้ , จริงแท้ / ลัก(ฬัก) แปลว่า ขี้ผึ้ง หรือ ไขมัน รวมความคือ ประเทศไขมันแท้

ด้วยชุดคำอธิบายนี้ จึงสรุปได้ว่า หลวงจีนโจว ต้า กวน ตีความ ขยายความจากชื่อเมืองหลวง วยาธปุระ แล้วเรียกด้วยภาษาจีนแต้จิ๋ว เป็น จิงฬัก และกลายมาเป็น เจนฬะ ซึ่งเป็นชื่อสมมติเรียก หาใช่ชื่อดั้งเดิม

๒.๕ อุรังคธาตุ - รัฐศรีโคตรบูร แกนแห่งพุทธศาสนาลุ่มน้ำโขง

     ในประเทศไทยขึ้นชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาอันเป็นศูนย์รวมจิตใจศาสนิกชน ทางภาคเหนือ ต้องเป็นพระธาตุดอยอินทนนท์ ภาคใต้ พระธาตุนครศรีธรรมราช ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ต้องพระธาตุพนม

ตำนานบันทึกว่า พระอรหันต์กัสปปะ กับพญานคร ๕ พระองค์ ร่วมสร้างพระธาตุบรรจุอุรังธาตุใน พ.ศ.๘
ส่วนพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมณทูตจากชมพูทวีปออกเผยแผ่พุทธศาสนา เมื่อพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๒๓๖ ปี ขณะที่ ตำนานระบุ นครรัฐศรีโคตรบูร ก่อเกิดเมื่อราว พ.ศ.๘๐๐

     สำหรับผู้เขียน เมื่ออ่านตำนานอุรังคธาตุแล้ว ความรู้สึกแรกคือ ทึ่ง เกิดศรัทธาปาสาทะขึ้นมา จึงไม่แปลกใจต่อแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนสองฝั่งน้ำโขงและลุ่มน้ำสาขา และตำนานอ้างถึงพุทธพยากรณ์ การกำเนิดนครรัฐสองฝั่งโขง และพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองในแถบนี้

ดังที่ คนเฒ่าคนแก่ในภาคอีสานและในดินแดนประเทศลาว ต่างตั้งจิตอธิษฐานให้ชั่วชีวิตนี้ ได้มากราบนมัสการอุรังคธาตุนครพนม สักครั้ง โดยเฉพาะประโยคกล่าวแก่ พระมหากัสสปเถร ผินหน้าไปทางภูกำพร้า ความว่า

“ดูรา กัสสป ตถาคตนิพพานไปแล้ว เธอจงนำอุรังคธาตุตถาคตไว้ที่ภูกำพร้า...”

ภูกำพร้า หรือ กัปปนคิรี ตำนานว่าคือที่ตั้งพระธาตุพนม ตำแหน่งสำคัญทางพุทธศาสนาในอดีต บัดนี้ และกาลอนาคต
ตำนานอ้างพุทธพยากรณ์ว่า เมืองโคตรบูรจะย้ายจากฝั่งซ้ายไปตั้งยังฝั่งขวาที่ป่าไม้รวก อันเป็นที่มาชื่อ มรุกขนคร ซึ่งต่อมา ในรัชกาลที่ ๑ แห่งรัตนโกสินทร์ ทรงเปลี่ยนเป็น นครพนม

ผู้เขียน สันนิษฐานว่า อาณาจักรกรุงพนม(ฟูนัน) อาจหมายรวมเอาดินแดนภูเขาสลับสล้างในดินแดนลาวปัจจุบัน ไปจรดนครรัฐไดเวียดตอนเหนือ และติดตอนใต้ประเทศจีน จึงเป็นไปได้ว่า เมืองนครพนม ตั้งชื่อเลียนแบบกรุงพนม(ฟูนัน) อันรุ่งเรืองในอดีต

ฟูนัน รุ่งเรืองอย่างไร ขอแนะนำให้อ่านเพิ่มเติมหนังสือ “เบ้งเฮ็กไม่ใช่คนไท” โดยอาจารย์ ทองแถม นาถจำนง สำนักพิมพ์สุขภาพใจ

ก.หลักฐานสองฝั่งแม่น้ำโขง อาณาจักรศรีโคตรบูร

     คณะทำงาน เจ้าภาพจัดสัมมนาครั้งนี้ โดย อาจารย์ณรงค์ ชินสาร ผู้อำนวยการ สำนักงานพื้นที่การศึกษานครพนม เขต ๑ นครพนม (สพท.นครพนม เขต ๑) นำคณะวิทยากรและผู้ร่วมสัมมนาไปสำรวจแนวที่ตั้งเมืองศรีโคตรบูร ริมโขงฝั่งขวา ที่เพิ่งกลับมาค้นคว้าศึกษามากขึ้น

โดยพบพระพุทธรูป ๒ องค์ บูรณะและปฏิมาขึ้นใหม่ใกล้ซากเจดีย์เก่า ถัดไปไม่ไกลพบซากเจดีย์อิฐก้อนใหญ่ทลายกองอยู่ ด้วยสายตาคร่าว ๆ น่าจะจำนวน ๔ องค์ใกล้เคียงกัน เจดีย์ทิศเหนือฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวไม่เกิน ๒ เมตร มีหลักหินทรายทรงกลมมน ส่วนบนทรงเหลี่ยม ล้อมรอบเจดีย์รวม ๘ หลัก ประหนึ่งหลักใบเสมา
มองไปตรงข้ามฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเยื้องไปทิศตะวันออก เห็นยอดเจดีย์พระธาตุศรีโคตรบูร อย่างชัดเจน

เดินทางถัดไปไม่ไกล พบฐานแนวกำแพงอิฐ และเจดีย์อิฐขนาดย่อม ค่อนข้างสมบูรณ์ สันนิษฐานว่า เป็นลักษณะพระธาตุดั้งเดิมแบบพระธาตุพนม ด้านหลังใกล้กันน่าจะเป็นหอพระปางยืน



     คุณธนิตศักดิ์ อุ่นตา วัฒนธรรมจังหวัดนครพนม บรรยายว่า ปัจจุบันพบแหล่งพุทธสถานโบราณฝั่งนครพนมขนานน้ำโขง ๑๖ แห่ง แต่ละแห่งห่างกันประมาณ ๓๐๐ เมตร รวมระยะทาง ๔ กิโลเมตร โดยก่อนหน้านั้นหน่วยงานกรมศิลปากรจากร้อยเอ็ด สำรวจพบ ๔ แห่ง

พระพุทธรูปเป็นแบบเดียวกับฝั่งวัดพระธาตุศรีโคตรบูร สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งแสดงความเป็นเมืองศรีโคตรบูรเดียวกัน ก่อนจะตกเป็นส่วนหนึ่งของสยามในต้นรัตนโกสินทร์

วัฒนธรรมจังหวัดนครพนม นำชมและบรรยายว่า ปัจจุบันพบแหล่งพุทธสถานโบราณฝั่งนครพนมขนานน้ำโขง ๑๖ แห่ง แต่ละแห่งห่างกันประมาณ ๓๐๐ เมตร รวมระยะทาง ๔ กิโลเมตร โดยก่อนหน้านั้นหน่วยงานกรมศิลปากรจากร้อยเอ็ด สำรวจพบ ๔ แห่ง

พระพุทธรูปเป็นแบบเดียวกับฝั่งวัดพระธาตุศรีโคตรบูร สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งแสดงความเป็นเมืองศรีโคตรบูรเดียวกัน ก่อนจะตกเป็นส่วนหนึ่งของสยามในต้นรัตนโกสินทร์

ข.ที่มาชื่อศรีโคตรบูร-พญาโคตรบอง วีรบุรุษกบฎ

     ชื่อเมืองศรีโคตรบูร มีชุดอธิบายจากตามหลักภาษา กับนิทานปรัมปรา
ตามหลักภาษาเรียกตามแบบบาลี มีที่มาจากเรียกเมืองศรีโตโม ตามพระนาม พุทธโคดม(เจ้าชายสิทธัตถะ) หรือ โคตม (โค-ตะ-มะ) เช่นเดียวกับ อุดม หรือ อุตม(อุต-ตะ-มะ) นั่นเอง

ส่วนที่มาชื่อเมืองศรีโคตรบอง มาจากเจ้าโคตรบอง หรือ พญาโคตรบอง ในกลุ่มคนลุ่มน้ำโขง คนลุ่มน้ำมูล ต่างมีนิทานปรัมปราเรื่องเดียวกันนี้หลายสำนวน ซึ่งแกนเรื่องสำคัญคล้ายกันหมด และลากเข้ามารับใช้กลุ่มตนในฐานะวีรบุรุษ

บ้างเล่าว่า พญาโคตรบอง เป็นพระโอรสของพระร่วง หนีจากสุโขทัยมาเป็นคนตัดไม้ ได้กินข้าวหุงด้วยไม้งิ้วดำเข้าไป เกิดกำลังวังชามหาศาล ลากไม้ซุงได้แทนช้าง ล่องไม้ซุงมาถึงนครสวรรค์ กษัตริย์เจ้าเมืองสิ้นพระชนม์ เหล่าขุนนางเห็นมีบุญ อัญเชิญขึ้นครองราชย์แทน

     อีกสำนวน บอกว่า พญาโคตรบอง อยู่ที่เมืองแถวนี้นี่แหละ เป็นไพร่สามัญชน กับพวกไปตัดไม้ เพื่อนวานให้หุงข้าว ได้เอาไม้งิ้วดำมาคนข้าว ปรากฏว่าข้าวหุงเป็นสีดำสนิท เมื่อลองกินรู้สึกอร่อยมาก กินจนหมดคนเดียว แล้วก็เกิดกำลังวังชาขึ้นมามหาศาล สามารถโค่นต้นไม้ได้ ชักลากซุงได้คนเดียว ชาวเมืองเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงยกให้เป็นเจ้าเมือง
พญาโคตรบองอยู่ต่อมา พบผู้มีบุญอีกคน คือ พญาแกรก ขี่ม้าเหาะเข้ามาในเมือง พระยาโคตรบอง ขว้างตระบองไปหมายหัว แต่ไม่ถูก ตระบองไปถูกช้างตายจำนวนมาก

กับอีกสำนวนเล่าแยกไปว่า พญาโคตรบอง ไล่ตีช้างโขลงนับล้านตัวที่แตกตื่นวิ่งย่ำพืชผลไร่ นา แล้วจับเหวี่ยงช้างตกแม่น้ำโขงนับล้านเชือก ศรีโคตรบูร จึงได้ชื่อเรียกต่อมาอีกว่า ล้านช้าง (ศรีสัตตนาคนหุต)

ขณะที่ ศรีโคตรบูร ก็ยังได้ชื่อเรียกว่า ศรีสัตตนาค อีกด้วย จากตำนานอุรังคธาตุ บันทึกพุทธพยากรณ์ว่า ขณะเสด็จไปประทับดอยนันทกังฮี เป็นที่อยู่ของนางนันทยักษ์ และได้เข้ามาทูลขอให้พระศาสดาทรงย่ำรอยพระบาทไว้บนดอยแห่งนี้ หลังจากประทับพระบาทไว้แล้วทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์จึงกราบถาม ทรงแย้มสรวลด้วยเหตุใด พระศาสดาตรัสว่า เราเห็นนาค ๗ หัวเป็นนิมิต ต่อไปภายหน้านี้จักบังเกิดเป็นเมืองนามว่า “เมืองศรีสัตตนาค”

แต่ชื่อศรีสัตตนาค ไม่นิยมเรียกเท่า ศรีสัตตนาคนหุต



     ในพากย์เขมรก็คล้ายกันช่วงต้น คือเป็นไพร่ถูกเกณฑ์เข้าเวรหุงข้าว คนข้าวด้วยไม่งิ้วดำ แล้วกินเองจนหมด เกิดกำลังเรี่ยวแรงมหาศาล เมื่อเหนี่ยวกิ่งไม้จะเอาหม้อแขวนไว้ ต้นไม้ก็โน้มเอนตามแรง ผู้คนเห็นดังนั้น จึงยุให้เป็นกษัตริย์ จึงปลุกระดมตั้งกองทัพยกไปตีเมืองพระนคร โดยเขาเองได้ตัดไม้ขยุงมาทำเป็นกระบองใหญ่นำบุกเข้าตีเมืองยโศธรปุระได้ แล้วตั้งราชวงศ์ขึ้นใหม่ ตั้งพระนามว่า พระโคตมเทวราช แต่นามที่เรียกกันทั่วไป คือ พญาตะบองขยุง

กัมพูชา ถึงกับสร้างอนุสาวรีย์พญาตะบองขยุงถือกระบอง ณ จุดวงเวียนกลางเมืองพระตะบองไว้ด้วย ซึ่งเขมรเรียกเมืองบัดตำบอง แปลว่า กระบองหาย

นัยของนิทานพญาโคตรบอง คือ การก่อกบฏของกองทัพประชาชนนั่นเอง

     ยังมีเกร็ดแถมเกี่ยวกับชื่อ ท่าแขก เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ตรงข้ามเมืองนครพนม ได้ชื่อเรียกมาอย่างไร ที่เล่ากันประจำคือ เพราะมีคนแขกจำนวนมากมาขึ้นท่า ซึ่งอาจไม่ใช่

ถ้าไม่ลืม พญาแกรก ที่หลบกระบองพญาศรีโคตรบอง...ถูกเรียกเคลื่อนเสียง แกรก เป็น แขก มาเป็นท่าแขก นี่คือเค้าที่สอดคล้องทั้งเสียงทั้งนิทาน

*ติดตามตอนจบ ชนชาวจามปา แตกซ่านเซ็นไปไหน เกี่ยวอย่างไรกับพระนางจามเทวี


สุวิมล เชื้อชาญวงศ์: รายงาน

ขอขอบคุณ
ที่มา :
กรุงเทพธุรกิจ 15 มีนาคม 2552


H O M E



Create Date : 17 มีนาคม 2552
Last Update : 17 มีนาคม 2552 22:48:40 น. 2 comments
Counter : 4010 Pageviews.

 
whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

GOD always forgive your mistake
the one that you cant even forget,
he always does it and always being with us
to help and blesss us for us whose heart is full of him


โดย: da IP: 124.122.247.144 วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:22:50:34 น.  

 
Thanks a bunch for sharing this with all people you really realize what you are talking about! Bookmarked. Please additionally visit my web site =). We could have a hyperlink change agreement among us!
snapbacks for cheap //www.alteollc.com/requirements.html


โดย: snapbacks for cheap IP: 94.23.252.21 วันที่: 3 สิงหาคม 2557 เวลา:16:46:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jenifaae
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Editor
บทความ ความคิดเห็นที่นำลง"สนามหลวงแก็งค์" ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
เพียงเราเห็นว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์ในทางข้อมูล ข่าวสาร
หากท่านมีข้อคิดเห็นประการใด โปรดแจ้งให้เราทราบ จักขอบคุณยิ่ง
"สนามหลวงแก็งค์"
kunkorn : Facebook



"Sanamluang's Gang"
"สนามหลวงแก๊งค์"

kunkorn : Facebook

     เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนให้เกิดการศึกษา การเรียนรู้ เผยแพร่ ส่งเสริม สนับสนุน รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร อนุรักษ์ รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย วิถีชีวิต และปรัชญา คุณค่าจิตวิญญาณที่งดงาม สืบสานต่อยอดกันมานานนับพันๆปี และกำลังถูกทำลายด้วยอิทธิพลจากแนวคิดเชิงวัตถุนิยมแบบตะวันตก

● เพื่อการศึกษาหาความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการศึกษา เรียนรู้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบ และนำมาเผยแพร่แก่มวลมนุษยชาติ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง มิใช่เพียงวิทยาศาสตร์เชิงวัตถุเพียงอย่างเดียว เพราะถือว่าพระพุทธเจ้า ทรงค้นพบความจริงของธรรมชาติ ทั้งหมดทั้งสิ้น ที่มนุษย์ธรรมดาสามัญอย่างเราๆ ท่านๆ ยังเป็นเพียงผู้รู้ แค่หางอึ่งที่ยังอยู่ในกะลาครอบ แต่บังอาจด่วนสรุป ขัดแย้งกับ สิ่งที่องค์ศาสดาทรงค้นพบมากว่าสองพันปี จนทำให้บังเกิดความสับสน ลดความน่าเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

● สนามหลวงแก๊งค์ ต้องขออนุญาตและขอขอบคุณท่านเจ้าของข่าวสาร ข้อมูล ที่เราได้นำลงในสนามหลวงแก๊งค์ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยจิตคารวะ ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เพื่อให้สนามหลวงแก๊งค์ เป็นแหล่งในการเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเพื่อเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชน แต่หากท่านเจ้าของข้อมูล ข่าวสารที่ สนามหลวงแก๊งค์ นำลงไม่มีความประสงค์ให้นำลง ขอได้โปรดแจ้งความประสงค์ เรายินดีที่จะถอดออกต่อไป

ด้วยจิตคารวะ
www.sanamluang.bloggang.com
kunkorn : Facebook


ดาวหาง
     เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในห้วงมหาจักรวาลอันยิ่งใหญ่ ลี้ลับไร้ขอบเขต ทุกครั้งที่ดาวหางปรากฏ มันจะส่งสัญญาณแห่งความพินาศ มหันตภัย ธรรมชาติ ความตาย ความเจ็บป่วย สงคราม ความขัดแย้ง การกดขี่ การเอารัดเอาเปรียบ การคดโกง การเบียดเบียนของมนุษย์บนพื้นพิภพใบนี้

     มันคือสัญญาณเตือนภัยที่มนุษย์ไม่อาจจะควบคุมได้ ทั้งภัยทางธรรมชาติและภัยที่เกิดขึ้นจากมนุษย์สร้างกันขึ้นมาเองในทุกรอบพันปี

     ไม่ว่ามนุษย์จะคิดว่าตัวเองเก่งกาจสามารถ ฉลาดสักเพียงไหน ก็ไม่อาจหลีกพ้นมหันตภัยเหล่านี้ไปได้
     ดังนั้น จงเชื่อและปฎิบัติตามอย่างไม่ลังเลต่อคำสอนของศาสดาของเราอย่างจริงจังเถิด

     แม้จอมจักรพรรดิ จอมราชันย์ หรือจอมทรราชที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ก็ต้องตายร่างกายเน่าเปื่อยเป็นผุยผง และในที่สุดวิญญาณของเขาก็ต้องชดใช้กรรม ด้วยการถูกไฟนรกเผาผลาญโดยไม่มีข้อยกเว้นทั้งทั้งสิ้น

     จงอย่าอหังการ์ว่าตัวเองเก่ง ฉลาด และยิ่งใหญ่กว่าคำสอนของพระศาสดา ไม่มีมนุษย์ตนใดที่จะพ้นจากกฎแห่งธรรมชาติได้ มนุษย์ที่เก่งกว่าเรา เขาได้ตายร่างกายทับถมปฐพีแห่งนี้นับไม่ถ้วนแล้ว


     ● ขออนุญาตนำภาพวาด "วีระชนบนพานรัฐธรรมนูญ" ของ คุณสถาพร ไชยเศรษฐ ศิลปินอิสระ อดีตแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย ซึ่งวาดเนื่องในโอกาส 2 ปี 14 ตุลา มาเป็นส่วนหนึ่งของหัว "สนามหลวงบล็อก"                


บริการดูดวง



"สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จตามอุดมการณ์ของเรา ที่ได้ตั้งเอาไว้ว่า "เราจะใช้วิชาความรู้ในด้านการพยากรณ์เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับการให้การปรึกษาของผู้คนที่กำลังประสบปัญหา ความเดือดเนื้อร้อนใจ หรือการเผชิญกับปัญหานั้นๆได้อย่างไรดี

มนุษย์เกิดแต่กรรม มนุษย์มีกรรมเป็นเหตุ เมื่อเราประสบเคราะห์กรรม ปัญหาอยู่ที่ว่าหากเราทราบเสียก่อน ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าการไม่ทราบ อย่างน้อยก็ทำให้เราระมัดระวังตัว อย่างน้อยก็ทำให้เราหลีกเลี่ยงเพื่อทำให้เราเผชิญกับกรรมน้อยลงไป อย่างน้อยก้ทำให้เรารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมันมีที่มา มันมีที่ไปของมัน

มีนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์วัตถุจิตนิยม มักโจมตีอยู่เสมอว่า การดูดวง เป็นเรื่องของความงมงาย หมอดูคู่กับหมอเดา หมายถึงว่า เขาไม่เชื่อในเรื่องของวิชาโหราศาสตร์เพราะคิดไปว่ามันเป็นเรื่องเดียรัจฉานวิชาบ้าง เป็นการคาดเดาเอาเองบ้าง คิดว่ามันเป็นวิชาที่ใช้สถิติสุ่มเอาบ้าง ไม่เชื่อว่าวิชาโหราศาสตร์จะสามารถไขปริศนาแห่งรหัสลับของดวงดาว จักรวาล และธรรมชาติรอบตัว

แสดงว่าเขาลืมไปว่า อัลเบิร์ต ไอสไตน์ และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ทุกสรรพสิ่งในโลกรอบตัวเรา ตั้งแต่เล็กเท่าอะตอม (จุลจักรวาล)จนถึงมหาจักรวาล ล้วนมีความผูกพัน ล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งแยกกันไม่ออก เพียงแต่ว่า กับอะไร เมื่อไร อย่างไร เท่านั้น

กรรมเป็นผลจากการกระทำของเราในอดีตชาติ จะดีหรือจะร้ายก็เพราะเราทำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องได้รับผลแห่งการกระทำเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โหรฯเป็นเพียงผู้แปลรหัสของดวงดาวและธรรมชาติรอบตัว เพื่อเผยแผนที่ชีวิตของเรา และสามารถมองเห็นช่องทางที่จะเลี่ยงหลบสิ่งเลวร้าย ให้ลดน้อยถอยลงหรือพบพานแต่สิ่งที่ดีดี

การสะเดาะเคราะห์ หรือพิธีการตัดกรรมที่กำลังกล่าวขานถึงก็คือการขออโหสิกรรม ลดการอาฆาตจองเวรกับเจ้ากรรมนายเวรที่กำลังจ้องจองเวรด้วยความอาฆาตพยาบาทที่ถูกเรากระทำในอดีตชาติ ไม่ใช่เป็นการตัดทอนผลกรรมที่เราทำให้หมดไปหรือให้ลดลง เพราะกรรมที่เรากระทำไม่สามารถตัดทอนลงไปได้



สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์พยากรณ์เที่ยงตรง แม่นยำเชื่อถือได้ วิเคราะห์พยากรณ์อย่างเป็นระบบ ไม่เลื่อนลอย ยึดมั่นในอุดมการณ์ของครูที่ท่านได้กำชับให้นำเอาวิชาการพยากรณ์มาช่วยเหลือแนะนำ บรรเทาทุกข์ของผู้คนมากกว่าการพยากรณ์เพื่อการค้า

ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าประเทศใด? ชาติใด ภาษาใด? สมัยไหน? ชนชั้นวรรณะใด? ไม่ว่าจะเป็นเจ้าสัว นักธุรกิจ นักการค้า แม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือไม่เว้นแต่นายพล นายพัน รัฐมนตรี หรือระดับผู้นำประเทศ ล้วนแต่เคยดูดวงด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า เราจะเชื่ออย่างงมงายหรือจะเชื่อโดยใช้เหตุผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยนำเอาคำพยากรณ์มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต หรือทำธุรกิจ การค้า หรือเพื่อการทำสงครามฯ

"สนามหลวงแก็งค์" ไม่สนับสนุนให้เชื่อเรื่อง "ดวง" อย่างงมงาย แต่เราสนับสนุนให้ใช้คำ "พยากรณ์"อย่างมีวิจารณญาณประกอบการตัดสินใจอย่างมีสติ ใช้ "ปัญญา"อย่างมี "เหตุผล"

หลังจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม จนต้องมีการเข้าจองคิวดูดวงเป็นจำนวนมาก ณ ขณะนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทยในประเทศที่เข้ามาใช้บริการจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"เท่านั้น

แต่ยังมีคนไทยที่อยู่หลายประเทศทั่วโลกเข้ามาดูดวง ตรวจสอบชื่อ นามสกุลมากมาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะผู้ที่เข้ามา"ดูดวง" กับ "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับความพอใจในคำพยากรณ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ แนะนำแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมตามหลักโหราศาสตร์ จึงได้มีการบอกเล่า แนะนำชักชวนกันปากต่อปากเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันนี้ มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมwww.sanamluang.bloggang.com มีจำนวนถึง 118 ประเทศ โดยเข้ามาเปิดดูหน้า "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"คิดเป็นร้อยละ 80 ของ pageviews ต่างๆใน www.sanamluang.bloggang.comจัดทำบล็อกครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 มีผู้เข้าชมจำนวนทั้งสิ้น 579,020 ครั้ง จากจำนวน 262,960 visitors (ข้อมูล ณ เวลา 12.00 น.ของวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553)

ส่วนใหญ่ลูกค้าที่โทรเข้ามาเกือบ 98% เมื่อโทรฯ เข้ามาดูดวงแล้ว จะสามารถนัดวัน เวลาดูดวงได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด อาจจะมีอยู่บ้างเพียงไม่กี่รายที่โทรฯเข้ามาเพื่อสอบถามรายละเอียดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

อาจจะเนื่องมาจากไม่คุ้นเคยการทำธุรกิจแบบออนไลน์ โดยมีการโอนเงินก่อน ไม่ไว้ใจ หรือไม่กล้า ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ประมาณ 2%

สำหรับที่เมลฯมาถามและเงียบไป ไม่สามารถทราบจำนวนได้ อาจเนื่องจากเป็นรายที่โทรเข้ามานัดอีกทางหนึ่งก็เป็นได้

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์ ยังมีอาจารย์ผู้สอนวิชาโหราศาสตร์ ผ่านประสบการณ์ในการดูดวงหลายปีคิดเป็นจำนวนหลายพันดวง

แน่นอน แม่นยำกระชับ ชัดเจน หากไม่ทราบเวลาตกฟากท่านก็ยังสามารถดูได้ รายที่กำลังประสบเคราะห์หามยามร้าย ท่านก็จะช่วยแนะนำและแก้ไขเรื่องเลวร้ายให้กลายเป็นดีด้วยศาสตร์แห่งความลี้ลับของโหราศาสตร์ โดยไม่ต้องเสียเงินสะเดาะเคราะห์ สามารถดูได้ถึงขนาดปัญหาเรื่องคู่ครอง เรื่องเคราะห์ เรื่องหน้าที่การงาน โดยใช้ "วิชาโหราศาสตร์ดวงไทย"อันเป็นสุดยอดของวิชาโหราศาตร์โบราณของไทย

นอกจากนั้น เรายังมี ซินแส ที่เชี่ยวชาญเรื่องการดูฮวงจุ้ย ทำเลปลูกบ้าน อาคารสำนักงาน ดูฤกษ์ยาม แต่งงาน คลอดบุตร ขึ้นบ้านใหม่ เปิดกิจการต่างๆโดยใช้วิชาโหราศาสตร์จีนโบราณผสานตำราดวงไทย ซึ่งซินแสท่านมีประสบการณ์การดูดวงมาไม่น้อยกว่า 45 ปี ผ่านการดูให้กับนักธุรกิจชื่อดังของเมืองไทย และนักธุรกิจชั้นนำจากฮ่องกงหลายราย

ติดต่อ 081-4834367 หรือ workingmailhome@hotmail.com
--------------------------------------------
● ปรึกษาปัญหากฏหมาย
ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์
--------------------------------------------
● ปัญหาติดต่อราชการ
บริการปรีกษาเรื่อง ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ค่าธรรมเนียมต่างๆ และการติดต่อราชการต่างๆ ของสำนักงานเขต
--------------------------------------------
● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล,

● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work
--------------------------------------------
สำนักพิมพ์ดาวหาง
www.sanamluang.bloggang.com




รับวาดรูปเหมือน และสอนวาดรูป
โดยอาจารย์ ผู้ชำนาญ

ราคาย่อมเยา

















หลังเกิดเหตการณ์ 14 ตุลา 2516 นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ต่างหลั่งไหลดั่งสายน้ำ ล้นขอบ ออกจากเมือง เข้าสู่ ชนบท เหตุเกิดเมื่อ กลางปี พ.ศ.2516 จนถึง พ.ศ.2519 นักศึกษากลุ่มหนึ่ง ได้ พบกันโดยบังเอิญ และ ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับชาวบ้าน ณ หมู่บ้าน แม่ตะมาน ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ ชื่อโครงการว่า "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์แม่ตะมาน"
เชิญ พบ และติดตาม กับเรื่องราว และบทสรุป อันควรเป็นจุดเริ่มต้น ต่อไปใน

     เมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตย ที่ถูกหว่านทั่วท้องทุ่งแห่งประชาไทย มาบัดเดี๋ยวนี้ เมื่อต้องฝน ต้องลม แห่งกาลเวลาพัดผ่าน จาก 2516 , 2519 2535,จน 2540 ถึง 2550บางเมล็ดพันธุ์ก็ยังขาวพิสุทธิ์สดใส บ้างเมล็ดพันธุ์เปลี่ยนสี บ้างก็ดอกสีเหลือง บ้างก็ดอกสีแดง บ้างก็ดอกสีม่วงก้มี สีเขียว สีน้ำเงิน หรือบ้างก็อาจเฉาโรยรา หรือบ้าง ผสมผสานกลายพันธุ์ ก็มีไม่น้อย
มาบัดเดี๋ยวนี้ มันไม่ใช่ จิต วิญญาณ แห่ง 14 ตุลา เดิมเสียแล้ว ไม่ใช่พันธุ์เดียวกัน อย่าได้ เอ่ยอ้างเลย ว่า วิญญาณ 14 ตุลา ยังคง...มันประชาธิปไตย ที่ไม่ บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนอย่างเดิมเสียแล้ว.....
..แต่มันเป็น.ประชาธิปไตย...เพื่อใคร..??


“ทุกวันนี้ เราจะรับรู้ ได้เห็น ได้ยินแต่เรื่องเลวร้าย ในสังคม
เราจึงขอบันทึกสิ่งที่ดีๆ ต่างๆ เหล่านี้ ด้วยจิตคารวะ และขอเป็นกำลังใจให้เกิดสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ต่อไป”>>>



อ่านงานเขียนเกี่ยวกับภาพยนตร์หลากหลายประเทศทั่วโลก ที่นี่ >>>





*จำนวนผู้ชมทั้งสิ้น* สถาปนาบล็อค 21 ก.ค.2550
Friends' blogs
[Add jenifaae's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.