มีการศึกษา (Education) ไม่ได้แปลว่า มีความรู้ (Knowledge)
กระดาษหนึ่งแผ่น..ไม่ได้ทำให้คนฉลาดขึ้น การเรียนรู้..ไม่ได้มีอยู่แต่ในห้องเรียน
การต่อยอดจากสิ่งที่ดี ย่อมได้สิ่งที่ดีกว่า
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2551
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
24 พฤษภาคม 2551
 
All Blogs
 

สุภาษิตสอน(คนที่เป็น)นาย

เมื่อคืนนี้ ได้คุยกับ คุณน้องหมอคนสวย ซึ่งยังรู้สึกหงุดหงิดมาทั้งวันกับ "ลูกพี่" ที่ทำงาน จริงๆ ก็เคยคุยเรื่องนี้กันมาหลายครั้งแล้ว น้องเค้าก็ระบายพฤติกรรม "ลูกพี่" ให้ฟังเป็นระยะๆ ประมาณว่า "เก่งแต่ปาก มากทฤษฎี" ไม่เคยออกหน้างานจริง และซ้ำร้าย..ไม่คิดจะออกหน้างานจริงๆ อีกด้วย

ฟังดูแล้วก็รู้สึกว่า คนที่เป็น "ลูกพี่" ของน้องเค้าเนี่ย ขาดภาวะผู้นำเอามากๆ มีปัญหาอะไร ก็ให้ลูกน้องลุยไป ตัวเองก็นั่งเทียนเขียนรายงาน คอยสั่งการชี้นิ้ว และรอรับรายงาน

วันนี้ หลังจากฟังคุณน้องระบายความอึดอัดแล้ว ก็นึกขึ้นได้ว่า เมื่อประมาณสักสิบปีก่อนหน้านี้ (โห..ย้อนไปนานจังเลย) ผมเคยอ่านเจอ "สุภาษิตสอนนาย" จากคอลัมน์หนึ่งในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ซึ่งตอนนั้นเป็นที่ฮือฮามาก ผมยังตัดเก็บเอาไว้ (แต่ตอนนี้หาไม่เจอแล้ว)

ที่ว่าฮือฮาก็เพราะว่า เรามีการจ่ายแจกกันไปในหมู่เพื่อน ที่ทำงานอยู่ในบริษัทต่างๆ บางคนอึดอัดกับเจ้านาย ก็จะทำเนียนไปถ่ายเอกสาร แล้วก็นำเอา "สุภาษิตสอนนาย" ไปถ่ายด้วย แล้วจะแกล้งทำเป็นลืมทิ้งสำเนา "สุภาษิตสอนนาย" ไว้แถวๆ เครื่องถ่ายเอกสารอย่างน้อยสักหนึ่งแผ่น ไอ้คนมาทีหลังเห็นเข้า ก็ถ่ายไปบ้าง คนละแผ่นสองแผ่น จนที่สุด เจ้านายก็ได้อ่าน ฮ่าๆๆๆ

เมื่อผมหาต้นฉบับไม่เจอ ก็เลยลองค้นหาจากในอินเทอร์เน็ต เพราะจะส่งให้น้องเขาอ่าน (เผื่อไปทำเนียนให้เจ้านายได้อ่านบ้าง) โห..มีมากมายหลายเว็บไซต์เลยครับ แต่มาสะดุดกับตรงที่ ทุกเว็บไซต์ที่ผมเปิดดูนั้น ไม่มีเว็บไหนเลยที่บอกถึงชื่อผู้แต่ง แบบว่า..ตัดชื่อทิ้งไปเลย เห็นมีเพียงเว็บเดียวที่บอกว่า คัดมาจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ผมลองสุ่มดูหลายๆ เว็บ ก็ไม่พบชื่อผู้แต่งเช่นกัน อย่างดีก็แค่บอกว่า ไปลอกมาจากเว็บไหน ซึ่งพอตามเข้าไปดูก็ไม่มีชื่อผู้แต่งเช่นกัน แต่ที่น่าเกลียดมากก็คือ บางคนใส่ชื่อตัวเองว่าเป็นผู้เรียบเรียง รวบรวม ซะงั้น เป็นการไม่ให้เกียรติกับเจ้าของผลงานที่แท้จริง


ภาพนี้ครอปจากภาพต้นฉบับ จาก //www.oknation.net/blog/home/blog_data/127/3127/images/kamhang.jpg

จำได้ว่าผู้แต่ง "สุภาษิตสอนนาย" คือ "คุณกำแหง ภริตานนท์" คอลัมนิสผู้ล่วงลับ เจ้าของคอลัมน์ "ปลายนิ้วนายกำแหง" ของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ยุคนั้น เป็นอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ท่านเป็นสื่อมวลชนอาวุโสท่านหนึ่ง ที่เป็นที่นับถือของคนในวงการ ผมไม่รู้จักท่านมากมายนักหรอกครับ แต่มักจะได้เห็น งานเขียนที่โดนใจอยู่หลายครั้ง เช่น "สุภาษิตสอนนาย" และ "คาถาบูชาเมีย" เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ฮือฮามากในยุคนั้น

วันนี้ผมขออนุญาตนำ "สุภาษิตสอนนาย" มาเผยแพร่ตรงนี้อีกครั้ง เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ประพันธ์ แม้ว่าผู้อ่าน อาจจะเคยผ่านหูผ่านตามาบ้างแล้ว แต่อยากให้รับทราบว่า ผู้แต่งคือ "คุณกำแหง ภริตานนท์" ครับ

สุภาษิตสอนนาย


 สุภาษิต ของเก่า ท่านเล่าขานมาแต่ครํ้ง โบราณ มีมากหลาย
เป็นคำกลอน สอนสั่ง ทั้งหญิงชาย"สุภาษิต สอนนาย" ไม่เห็นมี
 แม้โชคช่วย อำนวยให้ เป็น"นาย"เขาอย่าเป็นคน หูเบา ไม่ถ้วนถี่
จับเอาความ ข้างเดียว เที่ยวพาทีหากความจริง ไม่มี จะเสียการ
 นายที่ดี ต้องเอาใจ ใส่ลูกน้องคอยสอดส่อง ทุกข์สุข อยู่ทุกด้าน
คอยช่วยเหลือ เมื่อลูกน้อง นั้นต้องการแต่ไม่ถึง กับจุ้นจ้าน จนเกินควร
 แม้ลูกน้อง ทำผิด ไม่คิดข่มพิจารณา เหมาะสม โดยทั่วถ้วน
จงเรียกมา ว่ากล่าว เท่าที่ควรไม่ลามรวน เรื่องเก่าเก่า ไม่เข้าการ
 อันการเตือน นั้นเล่า ให้เข้าท่าไม่ควรดุ ต่อหน้า คนทั่วบ้าน
เรียกมาเตือน สองต่อสอง ห้องทำงานเที่ยวโจษขาน ลับหลัง ฟังไม่งาม
 งานสำเร็จ ลงก็ด้วย เขาช่วยกันไม่ควรดื้อ ถือรั้น ไม่ฟังห้าม
เป็นนายเขา เอาแต่ใจ ใครจะตามควรฟังความ เห็นอื่นบ้าง เป็นทางดี
 อันการงาน ทั้งหลาย ควรจ่ายแจกมีการจัด แบ่งแยก เป็นหน้าที่
หากคนเดียว จะรวบไว้ ไม่เข้าทีลูกน้องที่ ไหนจะมี กำลังใจ
 เป็นนายเขา ต้องขยัน หมั่นศึกษาให้เป็นคน ก้าวหน้า ทันสมัย
ไม่ล้าหลัง ห่างเหิน จนเกินไปลูกน้องก้าว หน้าไกล ตามไม่ทัน
 ไม่จำเป็น ต้องศึกษา มากกว่าเขาให้เป็นหลัก พอเป็นเค้า เขาเชื่อมั่น
แม้เป็นนาย รู้จักใช้ สบายครันไม่จำเป็น ต้องฟาดฟัน อยู่คนเดียว
 เมื่อลูกน้อง จะก้าวหน้า ก็อย่าขวางหรือคิดหา ลู่ทาง คอยหน่วงเหนี่ยว
อยากจะเก่ง เลิศล้น อยู่คนเดียวแล้วหน่วงเหนี่ยว กันท่า พาเสียคน
 เมื่อมีส่วน ควรแบ่งให้ อย่าแย่งก่อนลูกน้องต่าง เดือดร้อน อยู่ทุกหน
ไม่คิดแต่ จะเอาเข้า กระเป๋าตนคิดถึงคน อื่นเขาบ้าง จึงเข้าการ
 อันหัวหน้า ที่ดี มีเมตตาปรารถนา ให้เขาสุข ทุกสถาน
มีกรุณา คอยช่วย ด้วยต้องการให้เขาผ่าน พ้นทุกข์ มีสุขใจ
 ประกอบกับ มุทิตา คือพาชื่นเห็นคนอื่น ก้าวหน้า พาสดใส
ไม่มัวคิด ริษยา พาเสียใจเขาทำได้ ดีกว่า ผิดอารมณ์
 อีกทั้งมี อุเบกขา ไม่อาฆาตเห็นลูกน้อง ผิดพลาด ไม่ทับถม
คอยจับผิด คิดดุว่า ตามอารมณ์ไม่เหมาะสม เป็นหัวหน้า พาเสียการ
 หัวหน้าดี ต้องให้เห็น เป็นตัวอย่างช่วยเขาทำ ทุกทาง จนรอบด้าน
ไม่เอาเปรียบ ใช้คนอื่น ตัวชื่นบานแล้วเสนอ ผลงาน เพื่อตนเอง
 เมื่อปัญหา เกี่ยวไป ถึงภายนอกตัวหัวหน้า ต้องออกรับ ถึงจะเก่ง
เข้ารับผิด ชอบช่วย ด้วยตนเองลูกน้องถึง จะเกรง ว่าเอาการ
 แม้หัวหน้า คนใด ได้เช่นนี้คงจะมี แต่คนรัก สมัครสมาน
มีคนขอ เป็นลูกน้อง เกินต้องการใครพบพาน ก็เป็นบุญ เกื้อหนุนเอยฯ
 
โดย นายกำแหง ภริตานนท์ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2551
5 comments
Last Update : 1 กรกฎาคม 2551 9:47:16 น.
Counter : 3391 Pageviews.

 

ถ้าเก่งกว่านาย ก็คงไม่ได้เป็นลูกน้องสิ จ๊ะ

ไม่ยอมโง่แล้วเมื่อไหร่จะได้คนฉลาดๆ มาเป็นลูกน้องล่ะ

เสียงเค้ว่ากันพรรณนั้น

 

โดย: บ้าได้ถ้วย 24 พฤษภาคม 2551 12:38:00 น.  

 

โดนค่ะโดน
เคยอ่านเจอมาว่าคนที่ขึ้นมาเป็นนาย
หลายคนยังไม่มีโอกาสได้ฝึกวุฒิภาวะ

บางทียังเคยคิดเลยว่าเป็นลูกน้องเขานี่แหละดีแล้ว
เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องอดทนกับคำครหาเหมือนพวกเจ้านาย
ที่ต่อให้ดีแค่ไหนก็ไม่วายถูกลูกน้องนินทาอยู่ดี

 

โดย: happychic 24 พฤษภาคม 2551 13:31:20 น.  

 

มี "สุภาษิตสอนนาย"
มิทราบว่าพอมีตำรา "การบริหารเจ้านาย" บ้างหรือเปล่า

ว่ากันว่าสุดยอดของคนที่ใช้วิชา "การบริหารเจ้านาย" มีนามว่า "เนวิน" (ฮา)

ปล. ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

 

โดย: merf1970 24 พฤษภาคม 2551 16:05:37 น.  

 

อะนะ รับทราบก๊าบ คุณพี่ เอ้ย คุณครู

 

โดย: Dr pat IP: 203.144.187.18 25 พฤษภาคม 2551 3:48:45 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

โดย: Opey 25 พฤษภาคม 2551 10:43:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ครูเอก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 112 คน [?]




เนื้อหาบทความ ภาพประกอบ ไฟล์ตัวอย่าง ทั้งหมดใน blog นี้ "สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พุทธศักราช ๒๕๓๗" อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ได้ โดยต้องระบุแหล่งที่มาของเนื้อหาให้ชัดเจน เพื่อแสดงถึงการรับรู้ในความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ไม่อนุญาตในการนำไปใช้เพื่อการแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร

ส่งข้อความหลังไมค์ถึงครูเอก
MSN : ysamroeng@hotmail.com
ชมรมนักเรียนสาธิตเสริมสมอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
กิตติกรรมประกาศ

ผมใช้คอมพิวเตอร์ครั้งแรก โดยมีหนังสือชื่อ "เรียน DBASE III PLUS ด้วยตนเอง" ของ พ.ต.ประพัฒน์ อุทโยภาศ เป็นเสมือนอาจารย์ และมี บร.โรเบิร์ต ปาแนสโต (ซดบ.) เป็นผู้ให้โอกาส และ้คำแนะนำ ถือเป็นก้าวแรก ที่้ผมจับคอมพิวเตอร์ และสนใจเรียนรู้ มาตั้งแต่วันนั้น นอกจากเรื่อง "การเขียนโปรแกรมด้วย Clipper" แล้ว ผมไม่เคย ไปเรียนคอมพิวเตอร์ จากสถาบันใด อาศัยที่เป็น คนชอบอ่านหนังสือ และซื้อหนังสือเยอะมาก บวกกับลงทุน ซื้อเครื่องไว้ใช้งานเอง (เครื่องแรก Intel 386DX-40) จึงได้ฝึกฝน เรียนรู้ ต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้
มีของมาขาย

1. หนังสือ "Excel for HR"


การใช้ไมโครซอฟต์เอ็กเซล ในงาน HR แบบมืออาชีพ พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นหนังสือที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์ จากงานจริงๆ มาเป็นวัตถุดิบ เป็นหนังสือคอมพิวเตอร์เล่มแรก ที่เขียนขึ้นมาเพื่อ นักบริการทรัพยากรมนุษย์ (HR) โดยเฉพาะ เป็นตัวอย่างของการใช้โปรแกรม MS Excel ในงานประจำวันของ HR หาซื้อได้ที่ ร้านซีเอ็ดบุ๊ค ทุกสาขา, HR Center, ศูนย์หนังสือ สสท., ศูนย์หนังสือจุฬา, Thailand Book Tower, B2S เป็นต้น
หรือสั่งซื้อโดยตรงได้ที่ 02-347-1066, 081-423-9828
ราคาเล่มละ 200 บาท จัดส่งฟรี

2. CD รวมไฟล์ตัวอย่าง Excel จากงานจริง


มีไฟล์ตัวอย่างมากที่สุด สามารถนำไปใช้งานได้ทันที หรือใช้ศึกษาเทคนิคการเขียนสูตร Excel อัพเดตใหม่ทุกสัปดาห์
ของแท้ไม่มีวางจำหน่ายที่ไหน
สนใจสั่งซื้อโดยตรงที่ 02-347-1066, 081-423-9828
ราคาแผ่นละ 200 บาท ค่าจัดส่งฟรี

หมายเหตุ : ปัจจุบันมีจำหน่ายทั้งสิ้น 3 ชุด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://sites.google.com/site/excel4hr/product
กิจกรรมของพวกเราที่ผ่านมา

โครงการห้องสมุดเพื่อน้อง รร.บ้านซับงูเหลือม จ.ลพบุรี

โครงการห้องสมุดเพื่อคนพิการ มูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ ปากเกร็ด
รูปภาพหรือข้อความแสดงความเห็น เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ ของบุคคลทั่วไป และถูกส่งขึ้นแสดงในหน้า blog โดยอัตโนมัติ เจ้าของ blog มิได้มีส่วนรู้เห็น หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งไม่จำเป็นต้องร่วมรับผิดชอบ ต่อทุกความคิดเห็นใดๆ
Friends' blogs
[Add ครูเอก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.