ยินดีตอนรับแฟนพันธุ์แท้ Hr & Mkt มาแบ่งปันประสบการณ์.....somchailak1@hotmail.com 081-6529843
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
17 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 

การบริหาร การเมือง ในองค์กร

นักบริหารงานบุคคลมือใหม่หรือแม้กระทั่งนักบริหารงานบุคคลมืออาชีพคงจะเคยได้ยินหรือประสบพบเจอกับคำว่า “การเมืองภายในองค์กร” อย่างแน่นอนใช่ไหมครับ ลักษณะของการเมืองภายในองค์กร อธิบายได้ดังต่อไปนี้

1. แบ่งเป็นระดับของตำแหน่งงานในองค์กร ตั้งแต่ระดับบริหาร ระดับผู้จัดการ ระดับหัวหน้าฝ่าย ไปจนถึงระดับพนักงานปฏิบัติการ

2. มีลักษณะที่เป็นกลุ่ม เป็นคณะหรือลักษณะงานใกล้เคียงกัน

3. มีแนวความคิด ทัศนคติ และปฏิสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น

4. อายุงานและอายุตัวของกลุ่มจะใกล้เคียงกัน

5. มีอำนาจการต่อรองในองค์กรหรือเป็นงานที่ส่งผลต่อกำไรหรือขาดทุนขององค์กร

6. มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม รักใคร่กลมเกลียวกัน หากมีเรื่องทุกข์ร้อนในกลุ่มจะมีการรวมตัวกันเพื่อหาทางช่วยเหลือเกื้อกูลกันในกลุ่ม

7. มีวัฒนธรรมกลุ่ม มีความเป็นนักอนุรักษ์นิยม ปลูกฝังความคิดจากคนในกลุ่มมาเป็นระยะเวลายาวนาน

8. มีความเชื่อมั่นในกลุ่ม ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงอะไรๆ โดยทันทีทันใด

9. ติดตามข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรอย่างใกล้ชิด

10. รักความยุติธรรม ไม่ชอบการเอารัดเอาเปรียบ สนับสนุนความคิดและการกระทำ ของกลุ่ม

วิเคราะห์ข้อมูลจาก 10 ข้อเบื้องต้น หากดูผิวเผินแล้ว นักบริหารงานบุคคลก็ไม่น่าหนักใจอะไรในการบริหารจัดการเกี่ยวกับคนในองค์กร แต่หากวิเคราะห์เจาะลึกกันจริงๆ แล้วจะพบปัญหาในการบริหารจัดการบุคลากรในองค์กร อย่างมากมายทีเดียว เช่น

1. การแบ่งเป็นระดับของตำแหน่งงานในองค์กร วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกำหนดบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบในองค์กร แต่หากพนักงานในองค์กรในแต่ละตำแหน่งงานมีลักษณะเจ้ายศ เจ้าอย่างล่ะก็ การทำงานก็จะขาดความยืดหยุ่น ต้องเป็นขั้นเป็นตอนไปเสียทุกอย่าง การประสานงานกันในแต่ละฝ่ายก็จะไม่ราบรื่นเท่าที่ควร

2. การแบ่งเป็นกลุ่มเป็นคณะหรือลักษณะงานเดียวกัน จะช่วยสร้างความสามัคคีในกลุ่มแต่อาจสร้างความแตกแยก เป็นพรรคเป็นพวกกันในองค์กร ไม่ยอมรับพนักงานใหม่ๆ พนักงานที่ไม่ใช่ลูกหม้อ พนักงานที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง คนรู้จักมักคุ้นของคนในกลุ่มได้

3. แนวคิด ทัศนคติและปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม หากคิดอย่างสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและ ปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นกันเองกับพนักงานทุกคนในองค์กร ก็ย่อมจะเป็นการดีกว่าการที่มีแนวคิด ทัศนคติและการปฏิสัมพันธ์ในเชิงลบกับผู้คนในองค์กรที่มิใช่กลุ่มของตนเอง

4. อายุงานและอายุตัว ก็ถือเป็นจุดแข็งขององค์กรที่มีพนักงานผู้มีประสบการณ์สูง และมีความเชี่ยวชาญในงานปฏิบัติหน้าที่อยู่ในองค์กร แต่ก็เป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารจัดการคนในองค์กรที่ยึดติดกับการทำงานแบบเดิมๆ และเป็นผู้อาวุโสในองค์กร ทุกคนให้การ นับหน้าถือตา จะทำให้เกิดการไม่ยอมรับกับการบริหารจัดการในแบบใหม่ในองค์กร

5. การมีอำนาจต่อรองในองค์กร จะทำให้เกิดการสำคัญในตัวเองแบบผิดๆ คิดว่าตนเองหรือกลุ่ม หรือฝ่ายของตน เป็นผู้ชี้เป็นชี้ตายให้กับธุรกิจ องค์กรจะต้องฟังเขาทุกเรื่อง ซึ่งเข้าลักษณะ “หลงตัวเอง” คิดว่าหน่วยงานอื่นๆ ไม่มีความสำคัญเท่ากับหน่วยงานของตนเอง

6. ความมีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม รักใคร่กลมเกลียวกันเฉพาะกลุ่ม จะส่งผลทางด้านความรู้สึก ในองค์กรเกี่ยวกับการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเฉพาะกลุ่ม ขาดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นแก่ ประโยชน์เฉพาะของกลุ่มของตนเองเท่านั้น

7. ความมีวัฒนธรรมกลุ่ม และการเป็นนักอนุรักษ์นิยมในองค์กร หากวัฒนธรรมนั้น หรือการ อนุรักษ์นิยมนั้น เป็นไปในทางที่ถูกทำนองคลองธรรมของบ้านเมือง เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับ ผู้คนในองค์กรยึดถือและปฏิบัติตาม อีกทั้งถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับขององค์กร ก็จะส่งผลดีต่อการบริหารจัดการคนในองค์กร แต่หากวัฒนธรรมหรือการอนุรักษ์นิยมในกลุ่มดังกล่าวนั้น เป็นไปอย่างขัดต่อกฎ ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขององค์กรแล้วไซร้ การบริหารความเปลี่ยนแปลง และการจัดการกับพฤติกรรมของพนักงานในองค์กร ก็จะยากลำบากยิ่งขึ้นทีเดียว

8. ความเชื่อมั่นในกลุ่ม จะส่งผลดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ในระยะเวลาหนึ่ง แต่หากความเชื่อมั่น ดังกล่าว เป็นความเชื่อมั่นที่ไม่รับฟังความคิดเห็นจากทีมงาน หรือจากผู้บริหาร ในระยะยาว ก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายในการปฏิบัติงานในภาพรวมขององค์กรได้

9. การติดตามข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรอย่างใกล้ชิด หากมองในแง่ดีแล้ว ก็ต้องถือว่าพนักงานให้ความสนใจในความเคลื่อนไหวต่างๆ ขององค์กร แต่หากมองในแง่ลบแล้ว การที่พนักงานได้รับข้อมูลข่าวสารไปและไม่ได้สอบถามข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน แต่นำไปแจ้งในกลุ่มของตน อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด และเกิดข่าวลือต่างๆ นาๆ ในองค์กร ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อขวัญ และกำลังใจของพนักงานได้

10. การรักความยุติธรรม และไม่ชอบการเอารัดเอาเปรียบ จริงๆ ก็เป็นสิ่งที่ดีในสังคมขององค์กร ที่ควรจะเป็น แต่หากกลุ่มในองค์กรมุ่งที่จะรักษาความยุติธรรม และป้องกันการเอารัด เอาเปรียบเฉพาะของกลุ่มตนเท่านั้น อาจเกิดความรู้สึกเห็นแก่ตัว เห็นแก่เพื่อนพ้องเท่านั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงส่วนรวมทั้งองค์กร

หากองค์กรของท่านประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้นนี้ เรามีคำแนะนำให้กับนักบริหารงานบุคคล และผู้บริหารในองค์กร นำไปแก้ไขดังต่อไนี้

1. ผู้บริหารจะต้องชี้แจงพนักงานทุกคน ให้ทราบถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบที่ พนักงานแต่ละคนได้รับมอบหมาย และให้พนักงานทุกระดับตำแหน่งงาน คำนึงถึงความสำเร็จของงานซึ่งจะต้องไม่ลืมถึงสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ที่จะต้องสร้างไปพร้อมๆ กันในทุก หน่วยงาน โดยปลูกฝังความคิดในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
และเน้นย้ำถึงความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หากพนักงานท่านใดที่มีมนุษยสัมพันธ์ไม่ดีจะไม่มีการโอกาสเติบโตในองค์กรได้อย่างแน่นอน

2. องค์กรหรือฝ่ายบริหารงานบุคคล จะต้องวางแผนการจัดกิจกรรมให้พนักงานในองค์กรทุกคน รู้รักสามัคคีและมีจิตใจที่เมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงานทุกคน โดยจัดกิจกรรมที่พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมกันเป็นจำนวนมาก เช่น การทอดผ้าป่า การทอดกฐิน การปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ การไปเยี่ยมเด็กกำพร้า ผู้พิการ เป็นต้น

3. ผู้บริหารจะต้องสร้างวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการทรัยพากรมนุษย์ในองค์กรอย่างชัดเจนว่าองค์กรต้องการบุคลาการที่เป็นคนเก่งและเป็นคนดี โดยให้คำนิยามหรือคำอธิบายถึงคำว่าเป็น คนเก่งและเป็นคนดี อย่างทั่วทั้งองค์กร

4. นักบริหารงานบุคคลจะต้องให้เกียรติกับผู้อาวุโสในองค์กรทั้งด้านอายุตัวและอายุงาน และชี้แจงถึงประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน และการผสมผสานระบบการทำงานแบบใหม่กับระบบการทำงานแบบดั้งเดิม โดยต้องวางแผนร่วมกันกับฝ่ายบริหาร และต้องใช้ความอดทนต่อการยอมรับความเปลี่ยนแปลงของผู้อาวุโสในองค์กร

5. ผู้บริหารต้องแสดงให้พนักงานทุกระดับตำแหน่งงานทราบถึงความสำคัญในสถานภาพ ความเป็นพนักงานขององค์กร ไม่มีใครมีอำนาจต่อรองพิเศษใดๆ ทุกฝ่าย ทุกหน่วยงาน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร

6. ผู้บริหารจะต้องมอบหมายงานที่มีลักษณะของการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงาน เพื่อให้เกิด การระดมสมองร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกันและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในงานดังกล่าว

7. ฝ่ายบริหารงานบุคคลจะต้องเน้นย้ำถึงวัฒนธรรมองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม โดยสนับสนุน พนักงานที่ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ไม่ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขององค์กร โดยมีรางวัล เกียรติบัตร ประกาศยกย่องอย่างเป็นทางการในองค์กร และลงโทษพนักงานผู้ที่พยายามฝ่าฝืนต่อกฎ ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขององค์กรอย่างเอาจริงเอาจัง

8. ผู้บริหารจะต้องนำข้อมูลจากการปฏิบัติที่เกิดความผิดพลาดหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการ ปฏิบัติงานของพนักงานหรือกลุ่มพนักงานที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มานำเสนอและชี้แจงถึงผลเสียที่เกิดขึ้น เพื่อให้พนักงาน หรือกลุ่มพนักงานกลุ่มดังกล่าวเห็นความสำคัญของการ ทำงานเป็นทีม

9. องค์กรจะต้องจัดตั้งคณะกรรมการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งสอดคล้องกับองค์กรที่มีระบบมาตรฐาน ISO 9000 และระบบมาตรฐานอื่นๆ ที่องค์กรนำมาใช้ในการวางระบบ บริหารจัดการองค์กร โดยคณะกรรมการควรจะเป็นตัวแทนจากทุกหน่วยงานและประธานของ คณะกรรมการสื่อสารภายในองค์กรควรเป็นผู้บริหารสูงสุดเพื่อการให้ข้อมูลข่าวสารภายในองค์กร จะไม่คลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดได้ อีกทั้งต้องมีการตรวจสอบการรับทราบข้อมูลข่าวสารของพนักงาน จากทุกช่องทางการสื่อสารภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

10. องค์กรควรมีการวางรากฐานทางด้านแรงงานสัมพันธ์ภายในองค์กร ระหว่างพนักงานกับผู้บริหาร โดยตรวจเช็คความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานภายในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ ผู้บริหารควรได้พบปะพูดคุยกับพนักงานทุกระดับอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และนำข้อมูลที่ได้รับจากพนักงาน มาทำการวิเคราะห์และสร้างความรู้สึกในความเสมอภาค ทัดเทียมกันในองค์กร และให้พนักงานฝึกที่จะแสดงความมีความน้ำใจ ต่อกัน โดยผู้บริหารจะต้องกระทำเป็นตัวอย่างให้พนักงานได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

จากคำแนะนำทั้ง 10 ข้อดังกล่าวนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้บริหารและนักบริหารงานบุคคล ที่จะต้องบริหารจัดการการเมืองภายในองค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะครับ

สมชาย หลักคงคา
ถ่ายทอดจากประสบการณ์จริงที่บริหารจัดการคนในองค์กรมากว่า 15 ปี





 

Create Date : 17 สิงหาคม 2551
2 comments
Last Update : 17 สิงหาคม 2551 0:49:39 น.
Counter : 3992 Pageviews.

 

แวะมาอ่านครับ
ข้อมูลดีมากเลย

 

โดย: boyblackcat 17 สิงหาคม 2551 2:59:17 น.  

 

การเมืองในองค์กรมีเกือบทุกสถานที่ทำงาน เกิดจากหลากหลายปัญหา เช่น สวัสดิการที่ไม่เป็นธรรม เงินเดือนที่ไม่เหมาะสม การประสานงานที่ยุ่งยาก ตำแหน่งงานที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ นำมาซึ่งการเมืองในองค์กร ทางที่จะแก้ไขที่ดีที่สุด คือ การสร้างจิตสำนึกให้พนักงานในองค์กรทุกคนเกิดความรักในองค์กร ให้เขารู้สึกว่าองค์กรคือแหล่งที่เลี้ยงชีพเขา เขาจะทำยังงัยให้องค์กรเติบโตไปพร้อมกับเข่า ฯลฯ ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนพนักงาน สถานที่ สภาพแวดล้อม ฯลฯ แล้วแต่ว่าองค์กรนั้นจะทำอย่างไรให้เหมาะสม ขอวิจารณ์แค่นี้ละคับ เขียนเยอะไปเขาจะด่าเอา อิๆๆๆ
จาก เทวินทร์ ประสิทธิ์เสริญ

 

โดย: เทวินทร์ ประสิทธิ์เสริฐ IP: 203.144.144.164 5 กุมภาพันธ์ 2553 9:55:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


tukey
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




สวัสดีครับ blog ที่คุณอ่านนี้มีวัตถุประสงค์ ก็เพื่อแนะนำตัวเราซึ่งมีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษา และวิทยากร เกี่ยวกับงานด้าน HRM และ HRD และอีกด้านหนึ่งคืองานด้านMKTหากท่านใดสนใจในงานHR & MKT เช่นเดียวกับเรา ก็ขอเชิญมาแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์ ร่วมกันจะยินดีมากขอขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่าน ความรู้และประสบการณ์ของเรา

Somchai Lakkongka. 081-6529843

somchailak1@hotmail.com




images by free.in.th สวัสดีครับ ผมอาจารย์ สมชาย หลักคงคา เป็นวิทยากรที่ปรึกษาให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารงานฝึกอบรม ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรม การออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรม ดำเนินการจัดอบรม และประเมินผลงานการฝึกอบรม โดยจะมุ่งเน้นผลสำเร็จด้วยกระบวนการ Training & Coaching ซึ่งเป็นการให้บริการฝึกอบรมแบบครบวงจร ตั้งแต่การค้นหาความจำเป็นในการฝึกอบรม การวางแผนการพัฒนารายบุคคล การออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับธุรกิจ และลักษณะขององค์กร
อ.สมชาย หลักคงคา somchailak1@hotmail.com 081-6529843
Friends' blogs
[Add tukey's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.