ยินดีตอนรับแฟนพันธุ์แท้ Hr & Mkt มาแบ่งปันประสบการณ์.....somchailak1@hotmail.com 081-6529843
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
11 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
Validation กับ การบริหารงานทรัพยากรบุคคล

วันนี้ ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกอบรมให้ความรู้พนักงานในหัวข้อ “ความรู้ GMP เบื้องต้น ( Basic GMP ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้และความสามารถของพนักงาน ในการปฏิบัติงานประจำวัน ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมทั้งสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจให้มีศักยภาพในเรื่องของ คน” ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ และการแข่งขันในเวทีการค้าระดับประเทศและระดับโลก โดยมีหัวข้อการฝึกอบรมทั้งสิ้น 16 หัวข้อ ดังต่อไปนี้

1. ความรู้เบื้องต้น GMP ( Introduction to GMP )

2. สุขลักษณะส่วนบุคคล ( Personal Hygiene )

3. การแต่งกายในสายการผลิต ( GMP of Dressing )

4. การควบคุมการปนเปื้อนขั้นพื้นฐาน ( Basic Contamination Control )

5. การทำความสะอาดและการกำจัดเชื้อ ( Cleaning & Sanitizing )

6. ความรู้เรื่องเชื้อขั้นพื้นฐาน ( Basic Microbiology )

7. ความรู้เรื่องการตรวจสอบความถูกต้อง ( Understanding Validation )

8. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบน้ำ ( Water for GMP Applications )

9. GMP สำหรับการผลิต ( GMP of Production )

10. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ( GMP of Packaging )

11. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดเก็บ-จัดส่งสินค้า ( GMP of Logistics )

12. ความรู้พื้นฐานการควบคุมคุณภาพ ( Basic Quality Control )

13. ความรู้เกี่ยวกับสินค้าร้องเรียนและสินค้าเรียกคืน ( Complaint & Recalls )

14. ความรู้เกี่ยวกับอาคารสถานที่สำหรับการผลิต ( Premises & Clean room )

15. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต ( Facilities & Equipment )

16. ความรู้เกี่ยวกับระบบเอกสาร ( Documentation )

หากพินิจพิเคราะห์จากหัวข้อการฝึกอบรมทั้ง 16 หัวข้อแล้วนั้น โดยส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวข้องกับมาตรฐานการผลิตที่ดีและมีคุณภาพ แต่มีอยู่หัวข้อหนึ่งซึ่งผมได้รับฟังการบรรยาย จากวิทยากรในวันนั้น แล้วเกิดความรู้สึกถึงความคล้ายคลึงกันของศาสตร์แห่งความรู้ ในหัวข้อที่ 7 คือ ความรู้เรื่องการตรวจสอบความถูกต้อง ( Understanding Validation ) กับการบริหารงานทรัพยากรบุคคล ซึ่งน่าจะนำไปปรับใช้ด้วยกันได้ครับ



Validation คือ การทวนสอบ การทำให้ใช้ได้ การทำให้มี และการตรวจสอบความถูกต้องของสิ่งใดๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเครื่องมือวิเคราะห์ เครื่องจักร กระบวนการ ฯลฯ

การบริหารทรัพยากรบุคคล คือ การบริหารจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับ “คน” ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะต้องมีการทวนสอบระบบอย่างสม่ำเสมอ ทั้งระบบ Validation และระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล ต่างก็มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน คือ การทวนสอบ หรือการทำให้แน่ใจในระบบที่ใช้งานอยู่ว่าให้ผลวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แม่นยำ เหมาะสม เที่ยงตรงและมีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ ตัวอย่างเช่น

Design Qualification ( DQ) หากเป็นระบบ Validation จะหมายถึง ก่อนจะซื้ออะไรสักอย่าง ต้องคิดก่อนว่า อยากได้อะไร เอาไปทำอะไร ซื้อได้ที่ไหน เชื่อถือได้ขนาดไหน เหมาะสมกับการใช้งานและสถานที่หรือไม่ ซึ่งถ้าเทียบเคียงกับระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล ก็จะหมายถึง ก่อนจะรับสมัครพนักงานเข้ามาร่วมงานกับองค์กรแล้ว ต้องคิดก่อนว่า อยากได้พนักงานที่จะมาร่วมงานแบบไหน นำไปปฏิบัติงานอะไร จะสรรหาได้จากแหล่งใด มีความรู้ความสามารถเพียงใด มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับกับงานและองค์กรหรือไม่

Installation Qualification ( IQ) หากเป็นระบบ Validation จะหมายถึง เมื่อมีการรับเครื่องจักร จะต้องตรวจสอบว่า ได้รับเครื่องจักรถูกต้องหรือไม่ มีอะไรที่ให้มากับเครื่องจักรบ้าง ติดตั้งถูกต้องหรือไม่ และถ้าเทียบเคียงกับระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล ก็จะหมายถึง เมื่อมีการรับพนักงานเข้ามาทำงาน ในองค์กรแล้ว ก็จะต้องคอยดูแลเอาใจใส่พนักงาน ค้นหาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของพนักงาน และส่งเสริมให้พนักงานนำศักยภาพมาใช้ได้อย่างเต็มกำลังความสามารถของเขา/เธอ

Operational Qualification (OQ) หากเป็นระบบ Validation จะหมายถึง เมื่อติดตั้งเครื่องจักรแล้ว จะต้องทดสอบว่าเครื่องจักรมีความสามารถตาม Specification ที่กำหนดไว้ในคู่มือหรือเอกสารหรือไม่ ซึ่งถ้าเทียบเคียงกับระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล ก็จะหมายถึง เมื่อพนักงานทำงานไปสักระยะหนึ่งแล้ว ก็จะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงแก้ไขในจุดอ่อน ของพนักงาน และส่งเสริมในจุดแข็งของพนักงานอย่างต่อเนื่องจะเห็นได้ว่า ศาสตร์ทุกศาสตร์ที่มีอยู่บนผืนโลกใบนี้ จะมีความเกี่ยวข้องกันและคล้ายคลึงกันในหลายๆ ส่วน แม้กระทั่งซอฟแวร์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น Microsoft Word, Excel หรือ Powerpoint ก็ยังมีแถบเครื่องมือ ( Tool Bar ) ที่เหมือนกันและคล้ายคลึงกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักบริหารงานทรัพยากรบุคคลหรือผู้บริหารองค์กร จะต้องนำแนวความคิดในการวิเคราะห์เปรียบเทียบระบบหรือความรู้ในหลายๆ แขนงมาปรับใช้ในองค์กร เพื่อให้องค์กรของท่านเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และใช้กุศโลบายหรือการเปรียบเทียบให้พนักงานของท่านได้เห็นอย่างชัดเจนว่า ทุกๆ องค์ความรู้ในสรรพวิชาต่างๆ ไม่ยากเกินความสามารถที่พนักงานจะเรียนรู้ได้ เพื่อให้พนักงานของท่านมีทักษะ ความรู้ ความสามารถ อย่างไม่เป็นรองใครครับ


เขียนโดย สมชาย หลักคงคา

E-mail : somchailak1@hotmail.com
081-6529843




Create Date : 11 กรกฎาคม 2553
Last Update : 1 มีนาคม 2556 13:10:48 น. 0 comments
Counter : 1256 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tukey
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




สวัสดีครับ blog ที่คุณอ่านนี้มีวัตถุประสงค์ ก็เพื่อแนะนำตัวเราซึ่งมีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษา และวิทยากร เกี่ยวกับงานด้าน HRM และ HRD และอีกด้านหนึ่งคืองานด้านMKTหากท่านใดสนใจในงานHR & MKT เช่นเดียวกับเรา ก็ขอเชิญมาแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์ ร่วมกันจะยินดีมากขอขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่าน ความรู้และประสบการณ์ของเรา

Somchai Lakkongka. 081-6529843

somchailak1@hotmail.com




images by free.in.th สวัสดีครับ ผมอาจารย์ สมชาย หลักคงคา เป็นวิทยากรที่ปรึกษาให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารงานฝึกอบรม ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรม การออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรม ดำเนินการจัดอบรม และประเมินผลงานการฝึกอบรม โดยจะมุ่งเน้นผลสำเร็จด้วยกระบวนการ Training & Coaching ซึ่งเป็นการให้บริการฝึกอบรมแบบครบวงจร ตั้งแต่การค้นหาความจำเป็นในการฝึกอบรม การวางแผนการพัฒนารายบุคคล การออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับธุรกิจ และลักษณะขององค์กร
อ.สมชาย หลักคงคา somchailak1@hotmail.com 081-6529843
Friends' blogs
[Add tukey's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.