ยินดีตอนรับแฟนพันธุ์แท้ Hr & Mkt มาแบ่งปันประสบการณ์.....somchailak1@hotmail.com 081-6529843
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
21 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 
จิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยกับการบริหารงานบุคคล

นักบริหารงานบุคคลเคยสงสัยหรือตั้งคำถามกับตัวเราเองไหมครับว่า ทำไม่พนักงาน ในองค์กรส่วนใหญ่ ไม่ค่อยเห็นความสำคัญในเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน หรือแม้กระทั่งความปลอดภัยอันไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน รวมทั้ง การไม่สนใจที่จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จากประสบการณ์กว่า 20 ปีที่ผมได้มีโอกาสปฏิบัติงานเกี่ยวกับเรื่องของความปลอดภัย สุขภาพอนามัยและการบริหารงานบุคคล ได้คำตอบประมาณว่า

 - มีความรู้สึกว่าความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยเป็นเรื่องไกลตัว

 - ดำเนินชีวิตด้วยความประมาทมาโดยตลอด จนเกิดความคุ้นเคยหรือเคยชินกับความไม่ปลอดภัย และไม่สนใจที่จะป้องกันหรือดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองแต่เนิ่นๆ

 - ไม่มีประสบการณ์ตรงในการประสบอันตรายอันเนื่องมาจากการทำงานหรืออันไม่เนื่องมาจากการทำงาน รวมถึง ยังไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วย

 - ชีวิตได้มาฟรีๆ ไม่ต้องเสียเงินเสียทองด้วยตนเองตอนกำเนิดเกิดมา
 รู้สึกว่าเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยไม่สำคัญเท่ากับปากท้องหรือการหาเลี้ยงชีพในแต่ละวัน

 - ไม่ได้รับการปลูกฝังจิตสำนึกตั้งแต่เด็กๆ ให้เห็นความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย

- มั่นใจในตัวเองมากเกินไปหรือมิฉะนั้นก็ประชดชีวิตตัวเอง

 - ข้ออ้างสารพัดเกี่ยวกับเรื่องของเวลา การเงิน หน้าที่การงาน ฯลฯ

 - คิดว่าอายุยังน้อย ยังไม่ถึงเวลาต้องมาเตรียมการอะไรเกี่ยวกับเรื่องของความปลอดภัยหรือสุขภาพอนามัยของตนเอง

 - ไม่มีตัวอย่างที่ดีที่ปฏิบัติให้เห็นในครอบครัว ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย

ดัชนีชี้วัดว่าพนักงานให้ความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยมากน้อยเพียงใด ดูได้ไม่ยากครับ เช่น เวลาที่องค์กรจัดฝึกอบรมหรือจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในงานและนอกงาน รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอนามัย จะมีพนักงานเป็นจำนวนน้อยที่ให้ความสนใจ นอกเสียจากว่ามีของรางวัลมาล่อตาล่อใจ หรือมิฉะนั้นก็ต้องมีการเล่นเกมส์ชิงรางวัล จึงจะสนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว หรือแม้กระทั่งเวลาที่องค์กรได้ว่าจ้างครูฝึกสอนได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย ไม่ว่าจะเป็นการเต้นแอโรบิค โยคะ บอดี้คอมแบต ฟิตเนต เป็นต้น ในช่วงแรกก็มีพนักงานเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก แต่พอดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปสัก 2 – 3 เดือน พนักงานก็จะค่อยๆ ลดลง ลดลง จนบางครั้งแทบไม่มีพนักงานเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายที่องค์กรจัดให้ก็มีครับ หรือหากดูสถิติในภาพใหญ่ระดับประเทศ เราก็จะเห็นได้ว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือเทศกาลงานปีใหม่ในทุกๆ ปี ยังคงมีประชาชนหรือหนึ่งในนั้นเป็นพนักงานในองค์กรของเรา ประสบอุบัติเหตุ จนถึงขั้นเสียชีวิตหรือพิกลพิการไปเลยก็มีครับ

และอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวเนื่องกับเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย ก็คือ การแต่งตั้งพนักงานให้เป็นจป.ในระดับต่างๆ หรือเป็นคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในองค์กร ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ในหลายๆ ครั้ง พนักงานมักจะตั้งคำถามกับนักบริหารงานบุคคลว่า เขาหรือเธอเกี่ยวข้องอะไรกับบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบในหน้าที่ดังกล่าวนั้นด้วย ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ พนักงานจะไม่ให้ความสำคัญในการเข้าร่วมประชุม ร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆ ไม่สนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย รวมทั้งจะไม่ทำหน้าที่ในการเชิญชวนให้พนักงานสนใจหรือเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวในข้างต้นด้วยครับ

หากเรา ในฐานะนักบริหารงานบุคคลยังคงปล่อยให้พนักงานมีความคิดเห็นแบบนี้มีทัศนคติและพฤติกรรมแห่งความเสี่ยงอยู่แบบนี้ เชื่อได้ว่าปัญหาเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการทำงานและไม่เนื่องมาจากการทำงาน จะยังคงมีสถิติที่สูงต่อไป รวมถึง ถ้าเรายังคงปล่อยให้พนักงานไม่สนใจที่จะเริ่มดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ หรือตั้งแต่ตอนที่สุขภาพยังคงแข็งแรงอยู่นั้น เราก็อาจจะต้องสูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถที่เป็นคนดี ไปในระยะเวลาที่ยังไม่เหมาะสม หรือรวดเร็วเกินไปครับ

ทำไมจึงเกิดอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงาน? เป็นคำถามที่หลายๆ องค์กร ให้ความสนใจและต้องการทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง เพราะไม่ต้องการให้พนักงานเกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน อันจะนำมาซึ่งการสูญเสียในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียในด้านทรัพย์สิน สูญเสียชีวิต สูญเสียขวัญและกำลังใจ และอื่นๆ อีกมากมาย

สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงาน โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ( Unsafe Conditions ) ความบกพร่องของระบบการจัดการ ( Failure of Management ) และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ( Unsafe Actions ) รวมถึงในเรื่องของจิตสำนึกในความปลอดภัย ( Awareness of Safety )
ในส่วนสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยอันไม่เนื่องมาจากการทำงาน โดยส่วนใหญ่มักเกิดจาก ความประมาท ขาดสติ ความคึกคะนอง กรรมพันธุ์ ขาดความรักและศรัทธาในตัวเอง รวมทั้งจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัย

ถึงเวลาหรือยังครับ ที่นักบริหารงานบุคคลจะตระหนักในเรื่องดังกล่าว ถึงเวลาหรือยังครับที่นักบริหารงานบุคคลจะให้ความสนใจและเอาจริงเอาจังกับเรื่องดังกล่าว ถึงเวลาหรือยังครับ ที่ผู้บริหารและนักบริหารงานบุคคลจะได้ร่วมกันกำหนดแนวทางในการกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานประกอบการ รวมทั้ง สุขภาพอนามัยของพนักงาน ในทุกแง่มุม รวมถึง การเสริมสร้าง การจูงใจและกระตุ้นเตือนจิตสำนึกของพนักงานทุกคน ให้มีความตระหนักในการทำงานด้วยความปลอดภัย ( Safety Awareness and Safety First ) และสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความคิดเชิงบวกในการทำงาน ( Positive Thinking )มีความสุขในการทำงาน ( Working Happily ) อันจะส่งผลให้เกิดคุณภาพ ( Quality ) ต่อผลิตภัณฑ์ขององค์กร และประสิทธิภาพ ( Efficiency ) ในการทำงานของตัวพนักงานโดยตรง

วันนี้ ผมมีคำแนะนำที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับนักบริหารงานบุคคล เพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรและตัวของท่าน ดังนี้ครับ

จิตสำนึกในเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย เกิดขึ้นจากหลายๆ ปัจจัย แต่ ปัจจัยที่จะทำให้เกิดจิตสำนึกทั้ง 2 เรื่องดังกล่าว ต้องเกิดจากความอยากของตัวพนักงานเองก่อน จึงจะยั่งยืนครับ เพราะฉะนั้น นักบริหารงานบุคคลจะต้องวางแผนในการที่จะสร้าง
ความอยาก ให้เกิดขึ้นในจิตใจของพนักงานก่อนเป็นลำดับแรก ดังตัวอย่างเช่น

• กำหนดกิจกรรม Work Shop โดยเรียนเชิญอาสาสมัครพนักงานที่เคยประสบอุบัติเหตุทั้งในงานและนอกงาน มาเป็น Guest Speaker เล่าประสบการณ์ที่พนักงานท่านนั้นได้เคยประสบมากับตัวเอง ให้เพื่อนๆ ฟังกัน

• เชิญผู้บริหารระดับสูง มาร่วมออกกำลังกายกับพนักงาน

• จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักและสร้างจิตสำนึกให้กับพนักงาน เช่น หากพนักงานท่านใด ที่เห็นว่าบริเวณพื้นที่ปฎิบัติงานของเขา/เธอ ไม่ปลอดภัย ให้พนักงานท่านนั้น ถ่ายรูปมาส่งให้กับคณะทำงานหรือนักบริหารงานบุคคล จากนั้น จะมีรางวัลให้กับพนักงานทันที เช่น เงินรางวัลท่านละ 5- 10 บาทหรืออุปกรณ์สำนักงานที่มีมูลค่าไม่สูงมาก เช่น ดินสอ ปากกา เป็นต้น โดยมอบให้กับพนักงานทันทีที่นำรูปภาพมาส่งฯ ( ถือเป็นกิจกรรมเริ่มต้นที่สร้างความอยากและและความสนุกให้กับพนักงานครับ )

• ให้พนักงานรักษาความปลอดภัย ช่วยกันรณรงค์การตรวจรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ที่กำลังจะออกจากบริเวณบริษัทฯ/โรงงาน ให้สวมหมวกกันน็อค หรือคาดเข็มขัดนิรภัยก่อน แถมท้ายด้วยการตรวจว่าพนักงานพกบัตรประชาชนและบัตรรับรองสิทธิไว้กับตัวหรือไม่ ซึ่งในช่วงแรกพนักงานอาจจะรู้สึกรำคาญหรือไม่พึงพอใจ เพราะจะเสียเวลาในการตรวจ แต่หากทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ พนักงานก็จะรู้สึกได้ว่า นี่คือความห่วงใยจากผู้บริหารและนักบริหารงานบุคคลครับ

• นิมนต์พระมาเทศน์ให้พนักงานฟังในเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย

• ส่ง SMS ข้อความผ่านทาง Social Network เช่น Facebook Line ฯลฯ ที่แสดงถึงความห่วงใยจากผู้บริหาร รวมถึงเชิญชวนให้พนักงาน เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย อย่างต่อเนื่อง

• เชิญชวนบิดา มารดา คู่สมรสของพนักงาน มาเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย

• จัดประกวด Mr. & Miss Healthy และ Mr.& Miss Safety ภายในองค์กร และกิจกรรม Good Look Good Health

• ว่าจ้างศิลปินหรือดารา มาเชิญชวนพนักงานร่วมกันออกกำลังกาย

• จัดการประกวดคำขวัญ หรือแต่งเพลงเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย

• ถ่ายรูปพนักงานและครอบครัวของพนักงานที่มีสุขภาพแข็งแรงลงในวารสารของบริษัทฯ

• ว่าจ้างช่างที่มีความชำนาญในการตรวจสอบสภาพรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มาตรวจเช็คสภาพรถให้กับพนักงาน ที่บริษัทฯ ( ฟรี )

• เชิญวิทยากรซึ่งเป็นแพทย์และเภสัชกร มาให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการรับประทานยา

• จัดตั้งชมรมจิตอาสา เพื่อไปเยี่ยมเยียนพนักงานและครอบครัวของพนักงาน ที่บ้านพักของพนักงาน เพื่อส่งเสริมให้พนักงานออกกำลังกายทั้งครอบครัว

• ผูกเรื่องของความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยไว้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน และในเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร

• ตั้งรางวัลให้กับพนักงานที่สามารถเชิญชวนเพื่อนพนักงานมาร่วมออกกำลังกายด้วย โดยเป็นการสะสมแต้ม

• จัด Trip พาพนักงานไปเยี่ยมผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

• จัดทำละครส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย โดยเชิญชวนพนักงานภายในบริษัทฯ มาเป็นนักแสดง และฉายให้พนักงานในองค์กรได้รับชมอย่างทั่วถึง

ดังที่ได้แจ้งให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับ จิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ทุกคนหันมาให้ความสนใจใน 2 เรื่องดังกล่าว เปรียบเสมือนคนติดบุหรี่ แล้วอยากเลิกสูบบุหรี่ การตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่หรือสูบบุหรี่ต่อไป ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและความมุ่งมั่นของตัวผู้สูบบุหรี่ แต่เราก็สามารถให้กำลังใจและสร้างบรรยากาศในการให้โอกาส สนับสนุน ส่งเสริม และแนะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้ติดบุหรี่ได้ครับ ขอเพียงเราในฐานะนักบริหารงานบุคคลมีจิตที่เป็นกุศล ทำให้พนักงานดูเป็นตัวอย่าง พูดซ้ำย้ำเตือนบ่อยๆ เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่ากุศลกรรมที่ดีของพวกเรา ( นักบริหารงานบุคคล ) จะสามารถ ดลจิตดลใจ ให้พนักงานทุกคนหันมาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในเรื่องของความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยได้สำเร็จตามความมุ่งมั่นและความตั้งใจที่ดีครับ....


Somchai Lakkongka
somchailak1@hotmail.com
081-652-9843



Create Date : 21 มีนาคม 2556
Last Update : 21 มีนาคม 2556 14:42:17 น. 1 comments
Counter : 4960 Pageviews.

 
เป็นบทความที่ดีมากเลย อ่านเลยทำให้มีช่องทางในการทำงานเพ่ิมขึ้นค่ะ ขอบคุณมากๆ ค่ะ


โดย: จป.น้อยใจ IP: 58.181.134.142 วันที่: 21 มีนาคม 2556 เวลา:15:56:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tukey
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




สวัสดีครับ blog ที่คุณอ่านนี้มีวัตถุประสงค์ ก็เพื่อแนะนำตัวเราซึ่งมีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษา และวิทยากร เกี่ยวกับงานด้าน HRM และ HRD และอีกด้านหนึ่งคืองานด้านMKTหากท่านใดสนใจในงานHR & MKT เช่นเดียวกับเรา ก็ขอเชิญมาแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์ ร่วมกันจะยินดีมากขอขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่าน ความรู้และประสบการณ์ของเรา

Somchai Lakkongka. 081-6529843

somchailak1@hotmail.com




images by free.in.th สวัสดีครับ ผมอาจารย์ สมชาย หลักคงคา เป็นวิทยากรที่ปรึกษาให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารงานฝึกอบรม ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรม การออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรม ดำเนินการจัดอบรม และประเมินผลงานการฝึกอบรม โดยจะมุ่งเน้นผลสำเร็จด้วยกระบวนการ Training & Coaching ซึ่งเป็นการให้บริการฝึกอบรมแบบครบวงจร ตั้งแต่การค้นหาความจำเป็นในการฝึกอบรม การวางแผนการพัฒนารายบุคคล การออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับธุรกิจ และลักษณะขององค์กร
อ.สมชาย หลักคงคา somchailak1@hotmail.com 081-6529843
Friends' blogs
[Add tukey's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.