ยินดีตอนรับแฟนพันธุ์แท้ Hr & Mkt มาแบ่งปันประสบการณ์.....somchailak1@hotmail.com 081-6529843
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2556
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
19 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 

การบริหารงานบุคคลกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินพนักงาน

 

 

ที่กล่าวมาตั้งแต่ตอนที่1 ถึงตอนที่6  คิดว่าทุกท่านคงเห็นภาพการเป็นหนี้สินแล้วนะครับว่า พนักงานในองค์กรของท่าน  จะได้รับผลกระทบอะไรบ้างจากการบริหารจัดการหนี้สินที่ไม่ถูกวิธี  หากยังไม่เห็นภาพที่ชัดเจน  ผมขอสรุปให้ท่านเห็นภาพที่ชัดเจนดังนี้ครับ

1.เมื่อพนักงานเป็นหนี้  สิ่งที่ได้รับผลกระทบอันดับแรกเลยคือ  สภาพคล่องในการใช้จ่ายเงินในครอบครัว หรือแม้กระทั่งพนักงานที่ยังเป็นโสดก็ตาม  เชื่อได้ว่า คงไม่สะดวกเหมือนตอนที่ไม่เป็นหนี้ครับ

2.สิ่งที่จะตามมาต่อไปก็คือ ความเครียด  ซึ่งปกติมนุษย์อย่างเราๆ นี้  ก็มีความเครียดกันได้สารพัดเรื่องอยู่แล้วครับ  ไม่ว่าจะเป็นความเครียดเรื่องสุขภาพ  เรื่องครอบครัว  เรื่องงาน เรื่องเพื่อน  เรื่องคนรอบข้าง 

3.หากอยู่ในช่วงที่พนักงานยังคงสามารถบริหารจัดการหนี้สินได้  ก็อาจจะยังพอมีสติที่จะรับมือกับเจ้าหนี้สินต่างๆ ที่รุมเร้าอยู่ได้ครับ แต่ถ้าหากพนักงานอยู่ในช่วงจังหวะที่ไม่สามารถบริหารจัดการหนี้สินได้ด้วยตนเองแล้ว  สิ่งที่จะตามมา ซึ่งบางทีไม่อาจคาดเดาได้ว่าพนักงานจะบริหารจัดการอย่างไรกับตัวเองและครอบครัว   ก็เป็นสิ่งที่เราๆ  ไม่อยากให้เกิดขึ้นครับ  ตัวอย่างเช่น 

 3.1  หมดอาลัยตายอยากกับชีวิต  ซึมเศร้า ( ซึ่งปัจจุบัน คนไทยเป็นโรคดังกล่าวนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ครับ ) 

 3.2 ลาออกจากงานหนีหนี้  ซึ่งอาจหมดอนาคตที่ดีได้

3.3 ฆ่าตัวตายหรืออาจฆ่าคนในครอบครัวด้วย เพื่อหนีหนี้สิน

3.4 ปล้น  ชิงทรัพย์  เพื่อหาเงินมาชำระหนี้หรือใช้จ่ายในยามขัดสน 

 3.5 กู้ยืมเงินในระบบ หรือกู้เงินนอกระบบ ซึ่งดอกเบี้ยร้อยละ 10-20 ต่อเดือน ( ซึ่งผิดกฎหมายและโหดร้ายต่อคนที่เป็นหนี้อย่างมาก )

3.6 จำนำ จำนองหรือขายทรัพย์สินที่มี  เพื่อปลดหนี้สิน

3.7 ทะเลาะกันในครอบครัวบ่อยครั้ง เนื่องจากเงินไม่พอใช้  อีกทั้ง บางครอบครัว ไม่ได้วางแผนเรื่องการมีบุตร ก็อาจส่งผลกระทบกับบุตรในเรื่อง การศึกษาของบุตรหรือค่าใช้จ่ายของบุตรได้ 

 3.8 ถูกผู้คนรอบข้างดูถูกเหยียดหยามและรังเกียจ เนื่องจากมีหนี้สินล้นพ้นตัว

3.9 เป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลาย  หรือถูกอายัดเงินเดือนหรือทรัพย์สิน ดังนั้น  เราในฐานะนักบริหารงานบุคคล  หากเราต้องการช่วยเหลือพนักงานผู้ตกทุกข์ได้ยาก ที่กำลังจะเป็นหนี้สินหรือได้หลุดเข้ามาอยู่ในวงจรของการเป็นหนี้สินแล้วก็ตาม ผมถือว่าเป็นบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ประการหนึ่งทีเดียวครับประกอบกับการจะสร้างให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) และองค์กรแห่งความผูกพันของพนักงาน(Engagement Organization)เราก็ควรจะมีมาตรการป้องกันและมาตรการการช่วยเหลือพนักงาน  ดังต่อไปนี้ครับ

1.นับตั้งแต่ก้าวแรกที่พนักงานเริ่มทำงานกับองค์กรของท่าน  ท่านควรให้ความรู้เกี่ยวกับการออม  การบริหารค่าจ้างเงินเดือน  การเป็นหนี้  การปลดหนี้  ในการปฐมนิเทศพนักงานในช่วงของการเริ่มต้นทำงานครับ  เพื่อเป็นวัคซีนป้องกันการดำเนินชีวิตที่อาจจะผิดพลาดจากการเป็นหนี้ก็เป็นได้ครับ

2.จัดตั้งคลีนิกให้คำปรึกษาเรื่องการบริหารหนี้สิน  โดยพนักงานสามารถขอเข้ารับการปรึกษาได้อย่างเป็นความลับและไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อหน้าที่การงานของพนักงานท่านนั้นๆ ครับ

3.เรียนเชิญสถาบันการเงินต่างๆ  กูรูทางด้านการออมเงิน การลงทุน หรือการบริหารหนี้สินอย่างมืออาชีพ  มาให้ความรู้ให้คำปรึกษากับพนักงานที่ยังไม่เป็นหนี้และที่เป็นหนี้แล้ว

4.ในบางครั้งที่พนักงานถูกทวงหนี้แล้วไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร  ท่านอาจจัดหาผู้เชี่ยวชาญในด้านการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับเจ้าหนี้หรือสำนักงานกฎหมาย  โดยช่วยเป็นตัวกลางในการเจรจาในเรื่องดังกล่าวนี้แทนพนักงาน  เพื่อให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจที่จะต่อสู้กับชีวิตและหนี้สินต่อไปได้ครับ

5.กรณีพนักงานถูกอายัดเงินเดือน  ท่านในฐานะนักบริหารงานบุคคลควรแจ้งให้ผู้บริหารระดับสูงทราบในเบื้องต้นและควรชี้แจงต่อผู้บริหารระดับสูงว่า พนักงานที่ถูกอายัดเงินเดือนต้องการโอกาสในการปลดหนี้  เพราะฉะนั้นการมองว่าพนักงานที่ถูกอายัดเงินเดือนไม่น่าไว้วางใจหรือเป็นบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือ  อาจส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานของพนักงานที่ถูกอายัดเงินเดือน  หรือบางองค์กรถึงกับเลิกจ้างพนักงานที่ถูกอายัดเงินเดือนท่านนั้นไปเลยก็มี  ซึ่งผมคิดว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการซ้ำเติมเพื่อนมนุษย์ที่กำลังตกทุกข์ได้ยากครับ  เราควรจะหาทางช่วยเหลือเขาหรือเธอ  มากกว่าที่จะซ้ำเติมเขามิใช่หรือครับ  คนเราจะเห็นใจกัน รักกันหรือผูกพันกัน  ก็พิสูจน์กันตอนที่ลำบากด้วยกันเนี่ยละครับ  ดังนั้น  พนักงานจะผูกพันกับองค์กร  ซื่อสัตย์และจงรักภักดีกับองค์กร  ทำงานด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจก็ตอนที่ผู้บริหารเห็นคุณค่าของเขาหรือเธอ หรือให้โอกาสเขาได้ลืมตาอ้าปากได้ในช่วงวิกฤตที่เข้ามากระทบกับชีวิตของเขาหรือเธอในช่วงดังกล่าวนี้ครับ 

  ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับ การบริหารหนี้สินอย่างมีสติและมีแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องนะครับ เชื่อเถอะครับว่า  ตราบใดก็ตามที่เรายังมีลมหายใจ  มีขวัญและกำลังใจที่ดี  ชีวิตของเราสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ทุกวันและทุกวินาทีครับ  เป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ  และหากท่านมีคำถามใดๆ เพิ่มเติม  ผมยินดีให้คำปรึกษาและคำแนะนำครับ

  E-mail Address :somchailak1@hotmail.com  หรือโทรศัพท์  081-652-9843 

สวัสดีครับ....

 

 

สมชาย  หลักคงคา

somchailak1@hotmail.com

081-6529843

 




 

Create Date : 19 กรกฎาคม 2556
0 comments
Last Update : 7 สิงหาคม 2556 16:20:55 น.
Counter : 3916 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


tukey
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




สวัสดีครับ blog ที่คุณอ่านนี้มีวัตถุประสงค์ ก็เพื่อแนะนำตัวเราซึ่งมีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษา และวิทยากร เกี่ยวกับงานด้าน HRM และ HRD และอีกด้านหนึ่งคืองานด้านMKTหากท่านใดสนใจในงานHR & MKT เช่นเดียวกับเรา ก็ขอเชิญมาแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์ ร่วมกันจะยินดีมากขอขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่าน ความรู้และประสบการณ์ของเรา

Somchai Lakkongka. 081-6529843

somchailak1@hotmail.com




images by free.in.th สวัสดีครับ ผมอาจารย์ สมชาย หลักคงคา เป็นวิทยากรที่ปรึกษาให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารงานฝึกอบรม ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรม การออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรม ดำเนินการจัดอบรม และประเมินผลงานการฝึกอบรม โดยจะมุ่งเน้นผลสำเร็จด้วยกระบวนการ Training & Coaching ซึ่งเป็นการให้บริการฝึกอบรมแบบครบวงจร ตั้งแต่การค้นหาความจำเป็นในการฝึกอบรม การวางแผนการพัฒนารายบุคคล การออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับธุรกิจ และลักษณะขององค์กร
อ.สมชาย หลักคงคา somchailak1@hotmail.com 081-6529843
Friends' blogs
[Add tukey's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.