มารู้จัก โปรแกรม Lightroom กัน ตอนที่ 3
วันนี้ ตอนที่ 3 แล้วนะครับ หนนี้นำเสนอพาเนลBasic พาเนลนี้ คือการทำงาน ตัวเดียวกับ พาเนล Histogram ครับ
เพียงแต่ใช้งานง่ายกว่าเท่านั้น ตอนนี้จะลงรายละเอียดนิดนะครับ
เพราะพาเนลนี้จะประกอบด้วย การปรับค่า สี , แสง ,WB รวมถึง Contrast ของไฟล์
แต่ก่อนอื่นแนะนำ เมนูนี้ก่อน



เจ้า Treatmet จะเป็นตัวกำหนดไฟล์รูปครับ ค่า Basic เมื่อ Import ไฟล์เข้ามาแล้ว จะเป็น สี (Color) อยู่แล้ว
แต่ใครอยากแต่งรูปเป็นขาวดำ เมื่อก็ปรับเป็น BW ได้เลย
ที่นี้ มาถึงส่วนของพระเอกของงานครับ เพราะผมใช้บ่อยสุด



เห็นรูปคงรู้นะครับ White Balance เจ้า WB (เรียกสั้น ๆ) เป็นอะไรที่วุ่นวายสำหรับผมจริง ๆ ในการถ่ายรูป
บางครั้งขี้เกียจ ตั้งเป็น Auto ไว้ ก็ยังให้สีที่เพี้ยนได้ใจ ผมใช้ D5000 ไม่มีฟั่งชั่นในการปรับอุณหภูมิสี จะชิบสีก็จะวุ่นวาย
ก็เลยต้องอาศัย LR ช่วยล่ะครับ
ที่นี้ผมไม่ขอลงรายละเอียดมาก บอกวิธี 2 ข้อในการปรับ WB กันเลยนะครับ (กระชับดี ขี้เกียจเขียนยาว ๆ เดี๋ยวพาออกทะเล)
วิธีที่ 1 ปรับค่าเองจาก ค่า Temp และ Tint มันคืออะไรหว่า ?
ย่อให้สั้นจะได้จำง่ายนะครับ
Temp คือ ส่วนที่ใช้ปรับให้ภาพลดหรือเพิ่มช่วงน้ำเงินหรือเหลือง
Tint คือส่วนที่ใช้ปรับภาพที่ติดโทนสีชมพูหรือเขียวมากไป
ที่นี้มาดูตัวอย่างการปรับ WB วิธีที่ ๑ รูปนี้ มาจากไฟล์เดิม ไม่ได้ปรับแต่งหรือยุ่งอะไร ตั้งค่า WB จากกล้อง เป็น Daylight



ที่นี้ ผมนึกอยากปรับ WB เอง คือปรับตามใจตัวเองนั่นล่ะครับ ซึ่งหากเล่นหรือปรับกันเองบ่อย ๆ จะใช้ WB ตัวนี้ ในการย้อมแสงให้กับภาพ ให้ภาพดูมีอารมณ์ที่แปลกออกไปได้อีกด้วย ไปต่อยอกันเองนะครับ
Tip การปรับ WB เพื่อย้อมแสงนั้น ค่า Temp กับ Tint ต้องไปทางด้านเดียวกันนะครับ ไม่อย่างนั้น Highligth มาเยือนแน่
ดูตัวอย่าง ภาพที่ผมปรับนะครับ
ผมอยากให้ท้องฟ้า เป็นสีเข้ม เลยปรับค่า Temp ไม่ไปยุ่งกับ Tint เลย ก็แดรกเม้าส์ไปเรื่อย จนคิดว่าพอดีแล้ว อย่างในรูปผมไม่ได้แดรกเม้าส์นะครับ
ผมพิมพ์ไปเลย 3500 !!



ลองมาเปรียบก่อนแต่งกับหลังแต่ง แบบง่าย ๆ กันให้เห็นภาพซะหน่อย



จบวิธีแรก นะครับ

วิธีที่ 2 ต้องอาศัยเครื่องมือครับ เครื่องมือนี้ เรียกว่า “WB Selector” หน้าตาประมาณในรูปครับ




วิธีใช้งานแสนง่ายครับ เอาเม้าส์ ไปจิ้มที่ WB Selector จากเน้นก็ลากไปที่รูปแล้วสังเกต ค่า R กับ B สองตัวนี้พอ
แล้วดูว่า จิ้มไปตรงไหน แล้ว ค่า R กับ B มีค่าใกล้เคียงกัน หรือ เท่ากันเลยก็ดี ตัวอย่างในรูป ผมเอาไปจิ้มที่เสาไฟ ได้ค่า R กับ B เท่ากันเลย

Tip : บางครั้งผมก็ปรับภาพให้เป็น BW ก่อน แล้วค่อยใช้ WB Selector แล้วใช้วิธีการเดียวกัน




ผลลัพท์ทีได้ จากการ ลาก WB Selector ไปจิ้มมั่ว ได้สีตามรูปครับ

ที่นี้มาเปรียบเทียบกันหมดทั้งสามรูปที่ได้นะครับ


Tip : กดคีย์ Y ไว้เปรียบเทียบภาพก่อนแต่งกับหลังแต่งนะครับ

Note : การกำหนดค่า WB บางครั้งผมไม่ได้ซีเรียสว่าให้สีมันตรงเสมอนะครับ บางครั้งก็เล่นให้สีเพี้ยนบ้าง สร้างอารมณ์ให้กับภาพให้น่าชมดีครับ

จบตอนที่ 3 ครับ



Create Date : 01 มิถุนายน 2554
Last Update : 1 มิถุนายน 2554 19:33:22 น.
Counter : 3994 Pageviews.

3 comments
  
ขอบคุณก๊าบ
โดย: ริวคิ-mawin-maji-minic วันที่: 2 มิถุนายน 2554 เวลา:18:47:18 น.
  
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่ให้ไว้ที่ Blog นะคะ

ดีใจอาจารย์มาเอง

เดี๋ยวคืนนี้จะลองดูอีกทีค่ะ
โดย: ริวคิ-mawin-maji-minic วันที่: 8 มิถุนายน 2554 เวลา:9:13:39 น.
  

ดูไว้ก่อนค่ะ



โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 10 มิถุนายน 2554 เวลา:17:33:39 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แสบสันต์ หมายเลข 8
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



มิถุนายน 2554

 
 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
17
18
20
22
23
25
26
28
29
30
 
 
All Blog