<<
กันยายน 2558
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
4 กันยายน 2558

หลักเบื้องต้นการเลือกซื้อบ้าน ซื้ออย่างไรให้ได้บ้านที่ไม่ทรุดง่ายๆ

ทุกวันนี้การจะซื้อบ้านสักหลังเริ่มจะใกล้เคียงกับการซื้อหวยเข้าไปทุกทีแล้วนะคะ ถ้าโชคดีก็จะเหมือนถูกรางวัลแจ๊คพอต ได้บ้านที่ดีเป็นที่อยู่อาศัย แต่ถ้าเลือกผิดล่ะก็ เรียกได้ว่าต้องทนอยู่กับบ้านที่พังเสียหายในหลายๆ เรื่อง การใช้ชีวิตอยู่ในบ้านก็ไม่มีความสุข เมื่อเราเสียเงินไปแล้วก็อยากได้บ้านที่ดีไม่ต้องมานั่งปวดหัวทีหลังใช่มั้ยล่ะคะ วันนี้ Decor.MThai เลยหยิบ หลักเบื้องต้นการเลือกซื้อบ้าน ซื้ออย่างไรให้ได้บ้านที่ไม่ทรุดง่ายๆ มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ

หลักเบื้องต้นการเลือกซื้อบ้าน ซื้ออย่างไรให้ได้บ้านที่ไม่ทรุดง่ายๆ

หลักเบื้องต้นการเลือกซื้อบ้าน ซื้ออย่างไรให้ได้บ้านที่ไม่ทรุดง่ายๆ

ด้วยเพราะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกวันนี้มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง จึงทำให้แต่ละบริษัทเร่งทำบ้านให้เสร็จเร็วๆ ออกมาสู้กับคู่แข่ง โดยไม่ได้คำนึงถึงผู้อยู่อาศัยเท่าไหร่ จึงทำให้ทุกวันนี้เป็นข่าวกันอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นคอนโดที่มีน้ำซึม เจิ่งนอง รอยรั่วจากผนัง หรือจะเป็นการทรุดตัวของบ้านก็เริ่มมีกันออกมาให้เห็นแล้ว เพราะฉนั้นถ้าเพื่อนๆ จะซื้อที่อยู่อาศัยก็คงต้องเลือกกันค่อนข้างเยอะพอสมควรนะคะ แต่จะเลือกยังไงให้มีความเสียต่อการสูญเสียน้อยที่สุดก็ลองมาดูกันค่ะ

” การลงเสาเข็ม ” เป็นขั้นตอนแรก ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อบ้าน 

สาเหตุหลักๆ การทรุดตัวของบ้านเกิดขึ้นจากการตอกเสาเข็มลงไปไม่ลึกถึงชั้นทราย ทำให้เสาเข็มรับน้ำหนักของบ้านได้ไม่เต็มที่ทำให้บ้านทรุดตัวลงได้ง่ายกว่าปกติ และถ้าเป็นโครงการบ้านจัดสรร ถ้ามีบ้านไหนทรุดตัวลงก็จะดึงบ้านหลังอื่นๆ ทรุดลงตามไปด้วยค่ะ

หลักเบื้องต้นการเลือกซื้อบ้าน ซื้ออย่างไรให้ได้บ้านที่ไม่ทรุดง่ายๆ

  • ศึกษาข้อมูลให้ดีว่าโครงการหมู่บ้านที่เราจะตัดสินใจซื้อ เดิมแล้วที่ดินเคยเป็นอะไรมาก่อน อย่างเช่น เคยเป็นที่นามาก่อนมั้ย? หรือเป็นแค่ที่รกร้างธรรมดา? หรือเป็นที่ที่ถมขึ้นมาใหม่? ฯลฯ หลายคนอาจจะถามว่า “แล้วเราจะรู้ได้ยังไง?” เพราะเมื่อเราไปถึงโครงการก็ถมที่ และก็สร้างบ้านเสร็จแล้ว ไม่มีที่ดินเดิมให้ดูสะหน่อย แต่ง่ายๆ ค่ะ ถามเซลล์ไปตรงๆ เลยว่าที่ดินนี้เคยเป็นที่ดินอะไรมาก่อน ถ้าเซลล์ตอบแล้วเรายังไม่แน่ใจ ก็ลองไปถามคนแถวนั้นเพิ่มเติมจะได้ความจริงที่สุดค่ะ ที่เราต้องรู้ว่าเดิมที่ดินเคยเป็นอะไรมาก่อนเพราะที่แต่ละที่การลงเสาเข็มก็จะมีความลึกไม่เท่ากัน
  • เมื่อเรารู้แล้วว่าเดิมที่ดินเคยเป็นอะไรมาก่อน เราก็ต้องศึกษาข้อมูลต่อว่าโครงการที่เราจะซื้อเขาลงเสาเข็มลึกกี่เมตร (โดยข้อมูลนี้จะมีค่าเฉลี่ยของแต่ละพื้นที่อยู่ ว่าแต่ละพื้นที่จะต้องมีความลึกของเสาเข็มกี่เมตร) เพราะฐานรากของบ้านเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เป็นสิ่งที่จะทำให้บ้านของเราอยู่ได้นาน และทนทานแค่ไหน โดยมาตราฐานแล้วถ้าที่ดินที่ถมขึ้นมาใหม่ หรือเคยเป็นที่นามาก่อนควรลงเสาเข็มไม่ต่ำกว่า 21-22 เมตร โดยหลักแล้วก่อนสร้างบ้านวิศวกรจะต้องสำรวจก่อนว่า จะต้องลงเสาเข็มลึกกี่เมตร สำรวจโดยการเจาะลงไปให้ถึงชั้นทราย (ถ้าเรียกทางศัพท์วิศวกรคือการเช็คโบเค้า (blow count) เสาเข็ม) เขาจะต้องตอกเข็มลงจนสุดจนตอกไม่ลงค่ะ

” ผนังบ้าน ” ควรเป็นผนังแบบไหน?

Beautiful Home

  • ด้วยทุกวันนี้วงการก่อสร้างมีนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามามากมาย อย่างเช่นเป็นผนังสําเร็จ (precast) ที่เป็นนวัตกรรมช่วยย่นระยะเวลาการก่อสร้างได้อย่างที่ทีเดียว แต่ข้อเสียของผนังสำเร็จก็คือไม่สามารถทุบส่วนใดส่วนหนึ่งของผนังได้ ถ้ามีการกระทบกระเทือนจะทำให้ผนังล้มไปทั้งแถบค่ะ
  • ผนังบ้านที่ดีที่สุดถ้ามีโอกาสเลือก ควรเลือกซื้อบ้านโครงการที่สร้างบ้านด้วยอิฐมอญ เพราะอิฐมอญจะเป็นวัสดุก่อสร้างที่ทนที่สุดในบรรดาวัสดุก่อสร้างชนิดอื่นๆ

* อีกเหตุผลที่สามารถทำให้บ้านทรุดได้ก็คือ ดินทรุดตัว เนื่องจากไม่ได้ตอกเสาเข็มไว้ก่อนตั้งแต่แรก แล้วไปทำการต่อเติมนอกเหนือจากแบบที่โครงการกำหนดไว้ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านทรุดได้เช่นกัน และดึงบ้านหลังอื่นๆ ทรุดตามได้นะคะ ส่วนอีกหนึ่งสาเหตุก็อาจจะเกิดจากการทรุดตัวของชั้นใต้ดินเกิดขึ้นจากธรรมชาติค่ะ

หลักเบื้องต้นที่เราสามารถตรวจสอบได้ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อบ้าน ก็คือ การที่เราได้รู้ว่าเสาเข็มตอกลงไปกี่เมตร และบริเวณไหนของบ้านบ้าง ถึงขั้นทรายมั้ย ก็จะช่วยให้เรารู้ได้ว่าบ้านที่เรากำลังจะซื้อปลอดภัยแค่ไหนค่ะ




Create Date : 04 กันยายน 2558
Last Update : 4 กันยายน 2558 21:01:14 น. 0 comments
Counter : 1104 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2547206
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 2547206's blog to your web]