Group Blog
 
<<
เมษายน 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
22 เมษายน 2559
 
All Blogs
 
ดินสอพอง



  ดินสอพอง….. ของไทยแต่ใดมา
  นายราม  ติวารี ผู้อำนวยการสาขาฟิสิกส์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการการเรียนการสอนแบบวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และตำนาน “STEM l ” (S: Science + T: Technology +  E: Engineering + M: Mathematic + l : l egend ) ผ่านดินสอพองในเทศกาลสงกรานต์ โดยได้เล่าดังนี้ว่า


ดินสอพลอง4

จากตำนาน (l : l egend) ดินสองพองมีแหล่งกำเนิดและผลิตที่ใหญ่และคุณภาพดีที่สุดของไทย อยู่ที่หมู่บ้านหินสองก้อน บ้านท่ากระยาง บ้านสะพาน และแหล่งอื่นของจังหวัดลพบุรีเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ของเหล่าวานร ซึ่งตามตำนานเมืองลพบุรี ที่เล่าสืบต่อกันมา เมื่อครั้งที่พระรามอวตารของพระนารายณ์ปราบทศกัณฐ์แห่งเมืองลงกา (คาดว่าประเทศศรีลังกาปัจจุบัน) ได้สำเร็จ พระองค์จึงคิดปูนบำเหน็จให้กับหนุมานทหารเอก โดยการแผลงศรออกไปและถ้าศรตกลงที่ใด มณฑลที่ตกนั้นก็เป็นของหนุมาน ศรของพระรามเป็น  ศรศักดิ์สิทธิ์ เมื่อแผลงมาตกที่ทุ่งพรหมมาสตร์ (หมายถึงจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน) ก็ทำให้แผ่นดินลุกเป็นไฟ     หนุมานจึงใช้หางกวาดเปลวไฟให้ดับ โดยดินในบริเวณที่ถูกไฟจึงสุกกลายเป็นสีขาว เรียก “ดินสอพอง”      ในปัจจุบัน และเถ้าดินที่ถูกหางหนุมานกวาดออกไปก็กลายเป็นภูเขาล้อมรอบจังหวัดลพบุรีนั่นเอง
ด้านวิทยาศาสตร์ (S) ดินสอพอง (ดินขาวพองเมื่อโดนน้ำ) หรือเราเรียกดินมาร์ล มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต อุดมไปด้วยเนื้อปูนที่มีองค์ประกอบของแร่เคลย์และอาราโกไนต์ มาร์ลเป็นคำโบราณที่ถูกนำมาใช้เรียกวัตถุที่หลากหลายโดยส่วนใหญ่เป็นวัตถุเนื้อหลวมๆของดินที่มีองค์ประกอบหลักของเนื้อผสมระหว่างดินเคลย์และแคลเซียมคาร์บอเนตเกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดแวดล้อมที่เป็นน้ำจืดเป็นวัตถุเนื้อดินประกอบด้วยแร่เคลย์ร้อยละประมาณ 65 และคาร์บอเนตร้อยละ 35 คำเรียกที่ใช้  ในปัจจุบันหมายถึงตะกอนที่ตกสะสมตัวในทะเลและในทะเลสาบที่แข็งตัว ซึ่งเพื่อให้ถูกต้องแล้วต้องเรียกว่า มาร์ลสโตน ซึ่งเป็นหินที่แข็งตัวมีองค์ประกอบเดียวกันกับดินมาร์ลที่อาจเรียกว่าหินปูนมีการแตกแบบกึ่งก้นหอย คำว่า “มาร์ล” เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกกันอย่างกว้างขวางในทางธรณีวิทยา

ดินสอพลอง3

ตามพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 ได้ให้นิยามดินสอพองว่าเป็นหินปูนเนื้อมาร์ล (marly limestone) เมื่อนำมะนาวบีบใส่ น้ำมะนาวมีสภาพกรดซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับแคลเซียมคาร์บอเนตเกิดเป็นแกสคาร์บอนไดออกไซด์เป็นฟองฟูขึ้น ดูเผินๆ ก็เห็นว่าดินนั้นพองตัว จึงเรียกกันว่า“ดินสอพอง”    

ดินสอพอง5

              ในทางกระบวนการของเทคโนโลยี (T) และวิศวกรรม (E) ได้นำกระบวนการทั้งสองมาใช้ในการผลิตดินสอพองนั่นเอง ขั้นที่หนึ่ง คือ การขนดินมาร์ลใส่บ่อกาก แล้วปล่อยน้ำลงไปผสมให้ดินละลาย เมื่อดินละลายน้ำดีแล้วตักน้ำในบ่อกากเทใส่ตะแกรงลงในบ่อกรองหรือบ่อเนื้อเพื่อแยกเอาหินกรวดและเศษหญ้าทิ้ง
ขั้นที่สอง ตักน้ำดินจากบ่อกรอง เทผ่านผ้ากรองลงในบ่อทำแผ่น ทิ้งไว้หนึ่งคืน ดินมาร์ลซึ่ง มีสีขาว จะตกตะกอนนอนก้นบ่อตอนบนจะเป็นน้ำใส ค่อยๆ ช้อนหรือดูดเอาน้ำใสนี้ออกจากบ่อ จนเหลือ แต่ดินขาวข้นเหมือนดินโคลนเรียกดินสอพอง
              ขั้นที่สาม ตักโคลนดินสอพองหยอดใส่แม่พิมพ์ที่ทำด้วยโลหะไม่ขึ้นสนิม หรือใส่ไม้ไผ่นำมาขดเป็นวงกลม ก่อนหยอดโคลนดินสอพองลงแล้วปล่อยให้แห้ง จะต้องใช้ผ้าใบหรือผ้าชนิดอื่นๆ ปูรองพื้นแม่พิมพ์ก่อน เพื่อให้ผ้าดูดซับน้ำจากโคลนดินสอพองด้วย 

ดินสอพลอง2

              สุดท้าย ขั้นที่สี่ หลังจากหยอดโคลนดินสอพองลงในแม่พิมพ์แล้ว ทิ้งไว้กลางแจ้งสักครู่ ดินสอพองจะแห้งหมาดเกาะติดกันเป็นก้อนแข็งพอที่จะใช้มือหยิบได้ นำดินสอพองไปวางบนตะแกรงไม้ไผ่ ผึ่งแดด ให้แห้งสนิท เมื่อแห้งดีแล้วจะมีสีขาวกว่าแผ่นที่ยังไม่แห้ง ก็นำไปใช้ได้
อ.ราม ยังกล่าวว่า “ปัจจุบันมีการนำดินสอพองมาใช้เล่นสงกรานต์ โดยนำมาผสมกับสีต่างๆ อาจมีการปนเปื้อนจุลินทรีย์ หรือเชื้อก่อโรคอื่นๆ และหากนำมาเล่นโดยไม่ระมัดระวังอาจเป็นอันตราย   ต่อร่างกายได้ ทั้งนี้ ดินสอพองยังสามารถใช้แก้ดินเปรี้ยวได้ เนื่องจากดินเปรี้ยวมีสภาพเป็นกรด มีค่า pH4 เมื่อเติมดินสอพอง ที่มีค่า pH 9.22 – 9.63 มีความเป็นด่าง โดยใช้คณิตศาสตร์ (M) เป็นตัวช่วยในการ หาปริมาณที่เหมาะสมก็จะแก้ดินเปรี้ยวได้ ดินสอพองที่ใช้ในเทศกาลสงกรานต์ต้องปรับค่า pH ให้เหมาะ กับผิวหนังของเรา คือ มี pH 5.0 – 8.0 โดยใช้สารสกัดจากพืชเป็นส่วนผสม”
  ช่วงเทศกาลนี้หวังว่าทุกท่านจะเล่นน้ำ ประดินสอพอง กันอย่างมีความสุข สนุกสนาน และปลอดภัย ติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ สสวท. ได้ที่เว็บไซต์ //www.ipst.ac.th เฟซบุ๊ค Ipst Thailand : https://www.facebook.com/ipst.thai
tags : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดินสอพอง คลายร้อน สสวท. ราม ติวารี STEM lสงกรานต์ วิทยาศาสตร์
เครดิตข้อมูล จาก //www.vcharkarn.com/varticle/59537



Create Date : 22 เมษายน 2559
Last Update : 22 เมษายน 2559 6:10:44 น. 0 comments
Counter : 758 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3081643
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 3081643's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.