ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
20 พฤษภาคม 2554

นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบดาวเคราะห์ลักษณะคล้ายโลก

ดาวเคราะห์


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก sciencedaily.com

นักวิทยาศาสตร์สำรวจพบดาวเคราะห์กลีส 581d ซึ่งโคจรอยู่รอบดาวกลีส 581 อยู่ห่างจากโลก 20 ปีแสง มีลักษณะที่มีความชื้น และความอบอุ่นคล้ายกับโลกของเรา

นับตั้งแต่นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มต้นการสำรวจ ดาวเคราะห์ เมื่อ พ.ศ.2538 นั้นพบว่ามีดาวเคราะห์บริวารอีกกว่า 500 ดวงที่โคจรอยู่รอบดาวดวงอื่น โดยดาวเคราะห์เหล่านี้ถูกตั้งชื่อตามดาวที่มันโคจรอยู่รอบ และต่อท้ายด้วยชื่อดาวด้วยอักษรภาษาอังกฤษเรียงตามลำดับการค้นพบ และ ในขณะนี้ดาวดวงที่นักวิทยาศาสตร์กำลังให้ความสนใจมากที่สุดก็คือ ดาวเคราะห์กลีส581 และเหล่าดาวบริวาร โดยเฉพาะดาวกลีส581g และกลีส581d ซึ่ง กลีส581g ถูกตั้งชื่อใหม่ในภายหลังว่า ดาวโลกของซามิน่า(Zamina's world) ตามชื่อภรรยาของผู้ที่เฝ้าสังเกตดาวดวงนี้

อย่างไรก็ตาม การค้นพบ กลีส581g ได้มีข้อโต้แย้งจากผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ ว่าแท้จริงแล้วดาวกลีส581g อาจไม่มีอยู่จริง แต่น่าจะเป็นเพียงจุดสะดุดจุดหนึ่งในอวกาศเท่านั้น

ส่วนดาวกลีส581d เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่ค้นพบมีลักษณะใกล้เคียงโลกมาก โดย กลีส581d ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี 2550 มีมวลมากกว่าโลกราว 5 เท่า และมีขนาดใหญ่กว่าโลก 2 เท่า โดย กลีส581d อยู่วงโคจรรอบนอกของเขตอาศัยได้ หรือฮาบิเทเบิลโซน (Habitable Zone) ซึ่งเป็นย่านอวกาศที่มีสภาพอุณหภูมิไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป พอเหมาะให้น้ำสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาวะของเหลว

ขณะที่ตามรายงานการศึกษาล่าสุด จากวารสารฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ของประเทศอังกฤษ ระบุว่า กลีส581d ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เพียงหนึ่งในสามของที่โลกได้รับ มีลักษณะน้ำขึ้นน้ำลงคงที่ หรือการที่แต่ละด้านของมัน หันเข้าสู่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อย่างถาวร ทำให้เกิดสภาพกลางวันกลางคืนบนทั้งสองฝั่งอย่างถาวรเช่นกัน

ส่วนทีมศึกษาสภาพอากาศของ สถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประเทศฝรั่งเศส หรือCNRS (France's National Centre for Scientific Research) ซึ่งนำโดย โรบิน เวิร์ดส์เวิร์ธ และ ฟรองซัว ฟอกิท แสดงให้เห็นว่า อุณภูมิบนดาว กลีส581d คงที่ และพอเหมาะที่จะเกิดมหาสมุทร เมฆ หรือแม้แต่ฝน และดาวเคราะห์นี้ยังมีความสามารถในการกักเก็บความร้อนได้ดี เป็นผลมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกที่มีอยู่อย่างหนาแน่น และฝุ่นสีแดงที่จากที่เรืองออกมาก็แทรกซึมกลมกลืนได้ดีกับสภาพบรรยากาศและ ช่วยรักษาความร้อนให้กับพื้นผิวภายนอกของดวงดาวด้วย

จากทุกคุณสมบัติที่กล่าวมา จึงกล่าวได้ว่าเป็นสภาพของ กลีส581d เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่เหมาะสมที่จะพบน้ำในสภาวะของเหลว ซึ่งอาจเป็นบ่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับการไปสำรวจดาวเพื่อนใหม่ของโลกดวงนี้ยังเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก นอกจากฝุ่นแดงมืดทึบที่ปกคลุมดวงดาวอยู่ทำให้ดาวดวงนี้มีสภาพอึมครึม มวลที่มากกว่าโลกหลายเท่ายังทำให้ กลีส581d มีแรงดึงดูดมากตามไปด้วย อีกทั้ง กลีส581d อยู่ไกลจากโลกถึง 20 ปีแสง ถึงเดินทางเร็วเท่าแสงก็ยังต้องใช้เวลาถึง 20 ปี และแม้จะเป็นเทคโนโลยีการเดินทางกลางอวกาศล่าสุดของโลกในตอนนี้ ยังต้องใช้เวลายาวนานถึง 300,000 ปี กว่ากระสวยอวกาศจะเดินทางไปถึงได้



Create Date : 20 พฤษภาคม 2554
Last Update : 20 พฤษภาคม 2554 8:57:33 น. 1 comments
Counter : 1388 Pageviews.  

 
นอนหลับฝันดีนะครับ พักผ่อนเยอะๆ สุขภาพแข็งแรง News


โดย: bbandp วันที่: 30 พฤษภาคม 2554 เวลา:4:56:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]