ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
26 มีนาคม 2555

ไอซีที ชี้ พบสัญญา ทรู-กสท. มีพิรุธ 5 ข้อ ส่ง ป.ป.ช.จัดการ




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก truemove.com และ cattelecom.com

ไอซีที แถลงผลสอบสัญญา 3 จี กสท-ทรู มีพิรุธ 5 ข้อ ทำสัญญาเร็วผิดปกติ มีนักการเมือง-ข้าราชการเกี่ยวข้อง เตรียมส่งฟ้อง ป.ป.ช.จัดการ

            เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (26 มีนาคม) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)  ได้เปิดเผยว่า ในวันนี้ทางกระทรวงไอซีทีจะแถลงผลสรุปการสอบสวนกรณีสัญญาโครงการโทรศัพท์มือถือ 3จี ระหว่าง "บมจ.กสท โทรคมนาคม" กับ "บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น" โดยมี พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หลังจากที่เลื่อนแถลงสรุปมาตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

    ทั้งนี้ น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า หากผลการสอบสวนระบุว่า สัญญามีมูลความผิดจริง อาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อลูกค้าที่ใช้บริการ 3 จี ภายใต้แบรนด์ทรูมูฟ เอช และลูกค้า 3 จีของ กสท แบรนด์มาย ซึ่งปัจจบุันมีลูกค้ากว่า 1 ล้านราย ส่วนการเยียวยาให้และป้องกันผู้ที่รับผลกระทบนั้น ตนมั่นใจมากว่า ทางคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ ศาลจะมีมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้นลูกค้าของทั้ง 2 บริษัทจึงไม่ต้องเป็นห่วง

            อย่างไรก็ตาม น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า ถ้าหากผลสรุปพบว่า มีความผิดจริง ทางกระทรวงไอซีทีจะส่งผลการสอบสวนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และถ้าทาง ป.ป.ช. ได้สอบสวนแล้ว ก็จะส่งต่อให้กระบวนการยุติธรรมทันที นอกจากนี้ การพิจารณาสัญญาระหว่าง กสท. กับ ทรู นั้น ทางกระทรวงไอซีทีได้ทำตามอำนาจหน้าที่มาโดยตลอด และไม่เคยล้วงลูกหน่วยงานใด ๆ อีกทั้งยังทำงานอย่างตรงไปตรงมา และโปร่งใส ซึ่งทางกระทรวงไอซีที ทำได้แค่เพียงชี้ผลสอบว่าผิดหรือไม่เท่านั้น ถ้าหากผิดจริง ก็จะส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ทั้งนี้ ล่าสุด เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา น.อ.อนุดิษฐ์ ได้แถลงข่าวถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยระบุว่า พบการทำสัญญาของ ทรู-กสท. ไม่โปร่งใส และมีพิรุธ 5 ประเด็น ประกอบด้วย

1.พบการเตรียมการวางแผนและดำเนินการอย่างมีเลศนัย ภายหลังเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็น นายจุติ ไกรฤกษ์ โดยพบว่า ได้มีการมอบนโยบาย เรื่อง การเข้าซื้อกิจการ CDMA ในส่วนกลาง จากบริษัท ฮัทชิสันฯ โดยให้ กสท ทำการเจรจาต่อรองราคาเข้าซื้อกิจการฯ ภายในวงเงินไม่เกิน 4,000 ล้านบาท และหากเกินกว่านี้ไม่ให้ซื้อ (จากเดิมที่กำหนดวงเงิน 7,500 ล้านบาท และคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไปแล้ว เมื่อวันที่ 7เมษายน 2553) ซึ่งส่งผลทำให้การเจรจาเข้าซื้อกิจการฯ กับบริษัท ฮัทชิสันฯ ไม่ประสบผลสำเร็จ เพื่อเปิดโอกาสและรวบรัดให้กลุ่มบริษัท ทรูฯ เข้าควบรวมกิจการและดำเนินการ

2.ก่อนที่ กสท จะมีการยกเลิกสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว กสท จะต้องการดำเนินการให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 และให้ได้ข้อสรุป ในเรื่องภาระหนี้สิน คดีข้อพิพาท การถือหุ้นระหว่าง กสท กับบริษัท ฮัทชิสันฯ รวมทั้งภาระข้อผูกพันตามสัญญา และให้เกิดความรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนผู้ใช้บริการ แต่ กสท มิได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวให้ได้ข้อสรุปก่อนยกเลิกสัญญา จึงอาจทำให้เข้าใจได้ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อปกปิดข้อมูลในเรื่องดังกล่าว โดย กสท จากการทำสัญญาทั้ง 2 ฉบับเดิม และเพื่อต้องการรวบรัดเวลาและขั้นตอนการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

3.ในการดำเนินการเสนอเรื่องของ กสท ถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลงนามเสนอคณะรัฐมนตรี เป็นการกระทำที่มีการวางแผนร่วมกัน โดยกำหนดบุคคลที่จะดำเนินการและวิธีการสร้างความชอบธรรมในการเสนอเรื่อง โดยทำหลักฐานเท็จและดำเนินการไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงตลอดจนการดำเนินการมีลักษณะเร่งรีบ ซึ่งไม่เข้าข่ายเป็นกรณีเรื่องเร่งด่วนตามระเบียบ และหลักเกณฑ์วิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี โดยประสงค์ให้คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในเรื่องดังกล่าวนี้ อันเป็นการกระทำที่เข้าข่ายผิดระเบียบและกฎหมายของทางราชการ

4.การยกเลิกสัญญา จากผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 และได้มีมติอนุมัติให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 (เรื่อง โครงการเข้าซื้อกิจการ CDMA ในส่วนกลาง โดยการเข้าซื้อทรัพย์สิน) ต้องได้รับความชัดเจนจากสองหน่วยงาน คือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

5.กสท.ได้ละเลยขั้นตอนในการปฏิบัติตามบทบัญญัติ ตามมาตรา 12 (2) และมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2550 ข้อ 5 กสท จะต้องนำเสนอโครงการให้กระทรวงฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นประกอบการพิจารณาอนุมัติของคณะรัฐมนตรี จากนั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้ว กสท จึงเสนอขออนุมัติงบลงทุนเพื่อดำเนินโครงการฯ และจัดซื้อจัดจ้างต่อไป

การที่กสท.ละเลยจึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินการที่จงใจไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายและเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มบริษัท ทรูฯ และผู้เกี่ยวข้อง โดยจากนี้ไปจะใช้เวลาประมาณ 120 วัน เพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน และส่งให้ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป

สำหรับสัญญาของ กสท. และ ทรู เกิดขึ้นเมือวันที่ 27 มกราคม 2554 ซึ่งเป็นสัญญาในรูปแบบการเปิดให้บริการ 3 จีเอาเอสพีเอ โดยกลุ่มทรูได้สิทธิในการเป็นผู้ทำตลาดขายส่งบริการให้ กสท. ในความจุโครงข่าย 80% อายุสัญญา 14 ปี 6 เดือน ซึ่งก่อนหน้านี้ทางคณะกรรมาธิการศึกษา ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว และพบว่ามีการมิชอบด้วยกฏหมายคือ การทำสัญญาขัดมาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช. เพราะบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทในเครือกลุ่มทรู ที่เป็นผู้สร้างและจัดหาอุปกรณ์โทรคมนาคม และยังเป็นผู้ให้เช่าโครงข่ายโทรคมนาคม แต่กลับไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544




อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก




Create Date : 26 มีนาคม 2555
Last Update : 26 มีนาคม 2555 20:29:06 น. 0 comments
Counter : 1103 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]