รวมเรื่องราวการ์ตูนที่สนใจจ้า
Group Blog
 
 
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
11 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
Bleach Detail:เรื่องน่ารู้จาก Bleach เล่ม16 & 17

Credits: Dark Master

------------------------------------------------------------------------
Night of Wijnruit

ชื่อเล่มสุดเท่ของเล่ม 16 ที่เอาภาษาคนรู้จักน้อยๆ มาเล่นอีกตามสไตล์อ. คุโบ
รวมทั้งยังเป็นชื่อตอนย้อนอดีตของไคเอ็นกับลูเคียอีกด้วย โดยคำว่า Wijnruit
นั้นเป็นชื่อดอกไม้ชนิดหนึ่งในภาษาดัตช์ เป็นดอกไม้ในแถบยุโรป ชื่อดอกไม้ชนิดนี้ในภาษาอังกฤษ
ก็คือดอก Rue (อ่านว่า "รูว์") ครับ ซึ่งคำว่า Rue นี้นอกจากจะเป็นชื่อดอกไม้ชนิดนี้แล้ว ยังมีความหมายอีกความหมายหนึ่ง แปลว่า "เสียใจ สำนึกผิด" อีกด้วยครับ
(อ่านถึงตรงนี้แล้วลองนึกย้อนไปถึงเนื้อหาของตอน "Night of Wijnruit"
ดูนะครับ ว่าตรงกันเป๊ะๆ มั้ย เหอๆๆ)

อนึ่ง คำว่า Wijnruit ในภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า "เฮนรูด้า" แต่ถ้าอ่านตามโฟเนติกของภาษาดัตช์จริงๆ
จะอ่านได้ว่า "เวนไรต์" ซึ่งเมื่ออ่านแบบนี้แล้วจะสัมผัสเสียงกับคำว่า "night" พอดีครับ




ชื่อตอน 131 - The True Will

หลายคนอาจจะรู้กันแล้วเกี่ยวกับเรื่องนี้ คำว่า "Will" นั้นมีความหมายถึง "คำสั่งเสีย" อีกด้วย
(ใครที่เล่นการ์ดยูกิอาจจำได้ว่าจะการ์ดใบนึงที่ในญี่ปุ่นชื่อแปลได้ความหมายว่า "จดหมายสั่งเสีย"
แต่พอเป็นภาษาอังกฤษเปลี่ยนชื่อเป็น "Last Will" แทน นั่นแหละครับ คำว่า Will
ที่หมายความถึงคำสั่งเสียละ)



Rosa Rubicundior, Lilio Candidior (โรซา รูบิคันดิออร์, ลิลิโอ แคนดิดิออร์)

ชื่อเล่มสุดเท่ของเล่ม 17 และเป็นชื่อตอน 144 อีกด้วย
ที่ทำคนงงเต็กด้วยภาษาต่างชาตินอกเหนือจากที่หาเรียนกันได้ง่ายๆ ในเมืองไทยอีกชื่อ
ซึ่งชื่อตอนนี้นั้นเป็นภาษาลาติน แปลตามตัวได้ว่า "แดงฉานยิ่งกว่ากุหลาบ ขาวผุดผ่องยิ่งกว่าลิลลี่"
โดยที่มาของวลีบทนี้นั้นมาจากบทกวีภาษาลาตินชื่อ Veni, Veni, Venias (มาเถิด มาเถิด มาเถิด)
ซึ่งบทกวีนี้แต่งโดยกวีชาวเยอรมันชื่อว่า Carl Orff และรวมอยู่ในบทกวีชุด Carmina Burana
ซึ่งรวมบทกวียุคกลางที่ยังหลงเหลืออยู่ในเยอรมนีช่วงต้นศตวรรษที่ 19 โดยเนื้อหาของของ Veni Veni
Venias นั้นจะเป็นเหมือนบทกวีพรรณนาความรักของชายหนุ่มที่มีต่อหญิงสาวคนหนึ่งจนสุดหัวใจ ดังนี้



Veni, veni, venias,
ne me mori facias,
hyrca, hyrce, nazara;
trilirivos.

Pulchra tibi facies,
oculorum acies,
capillorum series;
o quam clara species!

Rosa rubicundior,
Lilio candidior,
omnibus formosior;
semper in te glorior!


ซึ่งถ้าแปลเป็นภาษาไทยคงได้ประมาณนี้ครับ (อาจฟังดูไม่เพราะเท่าไหร่น่อ
ผมยิ่งไม่เก่งเรื่องแต่งกลอนด้วย)


มาเถิด มาเถิด มาเถิด
อย่าปล่อยให้ข้าต้องตาย
ฮิร์คา ฮิร์เค นาซารา
ทริลิริวอส

ความงดงามหรือ
ก็คือดวงหน้า
คือประกายตา
คือเรือนผมอันยาวสลวยของเจ้าไรเล่า
โอ้ ช่างงดงามเกินบรรยาย

แดงฉานยิ่งกว่าดอกกุหลาบ
ขาวผุดผ่องยิ่งกว่าดอกลิลลี่
งดงามเหนืออื่นใดในใต้หล้า
โอ้ ความภาคภูมิของข้าเอย



ชื่อตอน 143 - Parthian Shaft

ใครที่อ่านใน Boom หรืออ่านจากจัมป์เล่มก่อนๆ มาแล้วจะรู้ว่าตอน 143 นั้นเดิมมีชื่อตอนว่า Parthian
Shaft (ในฉบับรวมเล่ม 17 เปลี่ยนชื่อตอนที่ 143 ใหม่เป็น Blazing Soul แทน) ซึ่งคำว่า
Parthian Shaft นี้เป็นชื่อกลยุทธ์ในการทำศึกของทหารม้าชาวเปอร์เซียแคว้นปาร์เธียนในสมัยโบราณ
โดยในระหว่างการรบ ทหารม้ากองขมังธนูจะแกล้งชักม้าควบหนีศัตรู เมื่อศัตรูตายใจไล่ตาม
ก็จะเอี้ยวตัวกลับหลังจากท่าควบม้าเต็มเหยียดหันมาระดมยิงธนูใส่ข้าศึกที่ไล่ตามมาด้วยความชะล่าใจ
ไม่ทันป้องกันตัวจนด่าวดิ้นสิ้นชีพอย่างง่ายดาย

กลยุทธ์นี้เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดใน "การยุทธ์ที่คาร์เรย์" (Battle of Carrhae)
ซึ่งเป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิโรมันและจักรวรรดิปาร์เธียนในช่วง 55 ปีก่อนคริสตกาล
โดยสาเหตุของสงครามในครั้งนี้นั้นเกิดจากแครซซุส หนึ่งใน 3 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งโรมันในสมัยนั้น
(อีกสองคือปอมปีย์ และจูเลียส ซีซาร์ ที่เรารู้จักกันดี) ปรารถนาจะสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเอง
(อยากดังว่างั้น) จึงตัดสินใจเปิดสงครามกับจักรวรรดิปาร์เธียน
เนื่องจากจักรวรรดิปาร์เธียนนั้นเป็นไม้เบื่อไม้เมากับโรมันมาตลอด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการชิงอำนาจครอบครองเหนือแคว้นอาร์เมเนียที่อยู่ระหว่างกลาง
ของทั้งสองอาณาจักร ทั้งยังมีแสนยานุภาพทางการทหารพอๆ กัน ดังนั้น
แครซซุสจึงเห็นปาร์เธียนเป็นเหยื่อชั้นดีในการกระพือชื่อเสียงของตนเองให้ขจรขจาย
ในฐานะจอมทัพผู้พิชิตแห่งโรมัน


หลังจากได้รับการเห็นชอบจากสภาซีเนตของโรมันให้ทำสงครามได้
(ด้วยการล็อบบี้จากปอมปีย์และซีซาร์อีกสองแรง) แครซซุสก็กรีฑากองทัพโรมันจำนวนมากมายกว่า
40,000 นายเข้าสู่ดินแดนของแคว้นปาร์เธียนทันที ด้วยความช่วยเหลือจากซีเรียและทางอาร์เมเนีย
ทางแคว้นปาร์เธียนทราบข่าวจอมทัพโรมันทำกำแหงยกทัพมาระราน
จึงส่งกองกำลังของตนออกไปต่อสู้ด้วยตามคำท้าทันที โดยแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 กองทัพ
ทัพแรกซึ่งเป็นทัพทหารเดินเท้าได้รับคำสั่งให้ไปถล่มอาร์เมเนียให้ยับฐานเอาใจออกห่าง
ส่วนอีกทัพซึ่งเป็นทหารม้าทั้งหมดนั้นถูกส่งไปรบกับทัพโรมัน กองทัพทั้งสองต่างมาเผชิญหน้ากัน ณ
บริเวณใกล้เมืองคาร์เรย์ เกิดเป็นศึกใหญ่สะท้านฟ้าสะเทือนดินอีกศึกหนึ่งในประวัติศาสตร์การรบของโรมัน


แม้กองทหารของปาร์เธียนในสงครามครั้งนี้จะมีกำลังพลเพียง 10,000 นาย
ซึ่งน้อยกว่ากำลังพลของฝ่ายโรมันร่วม 4 เท่าก็ตาม
แต่กองพลเล็กพริกขี้หนูนี้ก็แสดงฝีมือในการสงครามให้ประจักษ์
ด้วยการรบแบบผสมผสานระหว่างกองทหารม้าติดเกราะหนัก กับทหารม้ากองขมังธนู
โดยทหารม้ากองขมังธนูที่มีจำนวนมากถึง 9,000
นายจะเปิดเกมด้วยการระดมยิงธนูใส่ข้าศึกอย่างต่อเนื่องเพื่อป่วนแนวรับของฝ่ายโรมัน
เมื่อฝ่ายโรมันเริ่มปั่นป่วนจากพิษฝนธนูของทหารม้า ทหารม้าติดเกราะหนักสำหรับกระแทก บดขยี้
และทำลาย ก็จะบุกทะลวงเข้าจู่โจมอย่างรวดเร็ว จนฝ่ายโรมันตั้งตัวกันไม่ติด (กล่าวกันว่า
เพื่อให้สามารถระดมยิงใส่ข้าศึกได้อย่างต่อเนื่องไม่มีขาดตอน
กองทัพปาร์เธียนถึงกับใช้อูฐขนลูกธนูมาให้ทหารหยิบเอามายิง
นอกเหนือจากลูกธนูในกระบอกเก็บธนูของทหารแต่ละคนเลยทีเดียว
เรียกว่างานนี้กะเอาให้ตายเลยว่างั้นเหอะ)



ฝ่ายกองทัพโรมันก็พยายามตีโต้ ด้วยการบุกเข้าใส่ทหารม้ากองขมังธนูของปาร์เธียน บัดนั้นเอง กลยุทธ์
"Parthian Shaft" ก็สำแดงฤทธิ์ให้ประจักษ์ ทหารม้าขมังธนูเริ่มถอนกำลังชักม้าหนี
ฝ่ายโรมันได้ใจคิดว่าศัตรูหนีเพราะกำลังจะเสียเปรียบก็ไล่ตามไปหมายเอาคืนที่ไล่ยิงพวกตน
ซะเป็นหมอนปักเข็มไปหลายราย โดยไม่ทันคิดแม้แต่น้อยว่ากำลังจะตกเข้าไปในหลุมพรางของข้าศึก
ชนิดที่ไม่มีโอกาสปีนกลับขึ้นมาแก้ตัวได้อีก

เมื่อล่อศัตรูเข้ามาจนได้ระยะพอที่อีกฝ่ายจะตีโต้ไม่ทัน
ทหารม้าชาวปาร์เธียนทุกคนก็เอี้ยวตัวสุดเหยียดจากท่าควบม้าหนี สองมือออกแรงขึ้นสายธนูเต็มเหยียด
ก่อนจะปล่อยลูกธนูออกไปพร้อมๆ กัน
พิฆาตเหล่าปรปักษ์ดวงกุดที่ไล่ตามมาไม่ดูตาม้าตาเรือจนกลิ้งโคโล่ไปนับร้อยคน
ก่อนจะปล่อยให้ที่เหลือโดนกองทหารม้าหนักรุมสหบาทาจนเละเทะ


ผลของสงครามครั้งนี้โรมันสูญเสียไพร่พลไปมากมายถึงกว่า 34,000 คน (บาดเจ็บ 4,000 คน
ตายในสนามรบ 20,000 คน อีก 10,000 คนถูกจับเป็นเชลยศึก)
ทั้งๆ ที่มีกำลังพลมากกว่ากันเกือบ 4 เท่า
เรียกได้ว่าเป็นความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิโรมันอันยิ่งใหญ่เลยทีเดียว
ตัวแครซซุสเองก็สูญเสียพาบลิอุสลูกชายหัวแก้วหัวแหวนไปในการศึกครั้งนี้
แถมในท้ายที่สุดก็ยังต้องเสียแม้แต่ศีรษะของตนเองให้แก่ซูเรนา แม่ทัพใหญ่ของปาร์เธียนในศึกครั้งนี้อีกด้วย
เมื่อขาดผู้นำทัพ กองทัพโรมันที่อ่อนเปลี้ยเต็มทีแล้วจึงได้แต่ยอมม้วนเสื่อถอยกลับบ้านโกโฮมแต่โดยดี


หากบั้นปลายของผู้ชนะอย่างแม่ทัพซูเรนาเองก็ใช่ว่าจะดีเด่กว่าแครซซุสเท่าไหร่นัก
เพราะถึงแม้จะไปทำศึกได้ชัยชนะกลับมาอย่างงดงาม แต่กษัตริย์ออโรเดสที่ 2
ซึ่งเป็นกษัตริย์ของจักรวรรดิปาร์เธียนในสมัยนั้นกลับอิจฉาในความสำเร็จของซูเรนา
(เข้าตำรา "บ่าวดูเด่น ข่มรัศมีนาย" ทำนองนั้นแหละ)
จนกลายเป็นความหวาดระแวงว่าซูเรนามีบารมียิ่งใหญ่เกินไปอาจคิดเอาใจออกห่าง
จึงสั่งประหารแม่ทัพซูเรนาทันที หลังจากที่ซูเรนานำทัพเข้ายึดอาร์เมเนียได้ ตามตำรา "เสร็จนาฆ่าความถึง
เสร็จศึกฆ่าขุนพล" เปี๊ยบ


Create Date : 11 กันยายน 2550
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2550 3:28:41 น. 2 comments
Counter : 981 Pageviews.

 
เจ๋งมากครับ ไปหามาจากไหนเนี่ย


โดย: mean IP: 124.120.163.43 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:10:01:09 น.  

 
เจ๋งมากเลย


โดย: ขวัญ IP: 117.47.156.107 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:8:44:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Robonin S.knight
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"The Sword Emperor"

รวดเร็วดุจสายลม ว่องไวดุจพระเจ้า
หนึ่งในสมาชิกOuroborus ที่มีฝีมือมากสุด
ผู้ใช้ดาบยาวเป็นอาวุธ
บุคคลผู้เสมือนหนึ่งไร้ซึ่งตัวตน

นามเค้าคือ LEONHARDT
Friends' blogs
[Add Robonin S.knight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.