เดินคนเดียวจะเดินได้เร็ว มีคนเดินด้วยจะเดินได้นาน

Ravipun
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
29 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Ravipun's blog to your web]
Links
 

 

ศรีตรัง,ชมพูพันธุ์ทิพย์,หางนกยูงฝรั่ง--->ติดตามผล #4

...เกือบเดือนที่ผ่านมากับสถาณการณ์น้ำท่วม ทำให้ไม่ค่อยมีกระจิตกระใจจะเขียน blog เท่าไหร่ แต่เห็นแต่ละที่ ค่อยๆ ดีขึ้นก้อรู้สึกดีไปด้วย ทำงานไประแวงไปเช็กเน็ตไปน้ำถึงไหนแล้วหว่า เฮ้อ ว่าแล้วก้อขอผู้ประสบภัยขอให้ผ่านเหตุการณ์นี้ไปด้วยดีครับ

ว่าแล้วเกือบเดือนที่ผ่านมา ตอนนี้ได้หยุดทำการเพาะของใหม่ก่อน เพราะ Project ที่วางใว้ช่วงต้นเดือนธันวาคงจะ
ถูกเลื่อนออกไปจนกว่าจะได้รถ ถึงตอนนั้นก้อคงจะได้เริ่ม Project ต่อไป ระหว่างนี้ก้อทำการย้ายส่วนที่เหลือ ลงกระถาง 12 นิ้ว
และก้อมีปัญหาเข้ามาทั้งแมลงทั้ง โรคพืช เหมือน Farmvile เลยสงสัยมีเพื่อนมาปล่อยหนอนแกล้ง

ว่าแล้วก้อโชว์ตัวหน่อย




กลับไปในแต่ละอาทิตย์ ก้อเห็นการเติบโตขึ้นเรื่อย บางต้นที่มีปัญหาก้อช่วยๆ ให้รอดไปให้ได้มากทีสุด



ก้อดูพัฒนาการไปเรื่อย แปลกที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยชอบกระถางไม้ไผ่



ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนคือ

น้อง TabRose โดนใบจุดสีดำเล่นงานยก lot ทำให้เดือดร้อนท่านอากู๋ ตอนแรกก้อไม่รู้ว่ามันคืออะไร และตอนนี้ก้อยังไม่แน่ใจว่าจะใช่ไหม



ก่อนอื่นขอขอบคุณ clinickaset

//www.clinickaset.net/AtractThai/GeneralInformation/view_diseases.asp?ID_Diseases=21

โรค : โรคใบจุดสีดำ (Black spot)
เชื้อโรค : เชื้อรา Marssonina rosae (Diplocarpon rosae ; perfect state)
อาการโรค :อาการของโรคโดยมากจะเกิดกับใบล่างที่อยู่ใกล้พื้นดิน เนื่องจากมีความชื้นสูง อาการเริ่มแรกเป็นจุดกลมสีดำที่ผิวด้านบนของใบ
ขอบแผลไม่ชัดเจน พร่าคล้ายหมึกซึม และจะขยายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็วหากอากาศมีความชื้นสูง
หากอาการของโรครุนแรงมากจะทำให้ใบเหลืองทั้งใบและร่วงหล่นอย่างรวดเร็ว
การควบคุม :
1) ใช้กิ่งพันธุ์ปลอดโรค
2) เก็บใบที่เป็นโรคไปทำลายโดยการเผา
3) ตัดแต่งกิ่งใหม่ถ้าโรคระบาดมาก
4) ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น แมนโคเซบ แคปแทน คลอโรธาโลนิล หรือ เบนโนมิล เป็นต้น

ช่วงเวลาที่เป็น ปลายฝนต้นหนาว





จึงจำเป็นต้องจัดยาหลวงมาทำการรักษาก่อนที่จะสายเกินไป



รายละเอียดย่อ :
ดาโคนิล
ชื่อสามัญ : คลอโรทาโลนิล (chlorothalonil) 75% WP
กลุ่มสารเคมี : chloronitrile
ผลิตภัณฑ์ของ : SDS Biothech K.K. Japan
สารคลอโรทาโลนิล สูตรผง เข้มข้น ทนการชะล้างได้ดี เป็นสารป้องกันและกำจัดโรคพืชชนิดสัมผัส
สำหรับพืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ พืชไร่ สนามกอล์ฟ เพื่อป้องกันกำจัด โรคราน้ำค้าง ใบจุด ใบไหม้
แอนแทรคโนสแคป ราเข้าขั้ว ราดำ เมลาโนส เป็นต้น

ผลจากการทดสอบ :ทำการพ่นลงบนใบทุก ๆ 7 วัน โดยพ่นตอนสายๆ (ลุงคิมแห่งไร่กล้อมแกล้มบอกเอาใว้ใน web 555++) โดยทำติดต่อมา 3 อาทิตย์
ร่วมกับการเด็ดใบที่เป็นออกทันที แม้จะมีขึ้นเล็กน้อยก้อตาม พบว่าใบใหม่ที่แตกออกมาและ ใบเก่าที่มีอยู่เริ่มดีขึ้น พบอาการใบจุดน้อยลง

ปล น้อง TabRose ออกดอกมาให้เชยชมมา 2 ดอก และร่วงไปอย่างรวดเร็ว แต่กลับไปดูไม่ทัน ตอนที่แม่โทรมาบอก ดีใจลั่น Office เลย
น้องบอกนึกว่าภรรยาคลอด

....ต่อมา น้อง Jacmee



มุมสวยๆ (คิดว่างั้นนะ 555++)



อีกมุมนึง



พบว่าบางต้น เกิด การขาดสารอาหาร เหลือง อย่างเห็นได้ชัดบางต้น กับ รู้สึกจะไม่ค่อยชอบกระถางไม้ไผ่แฮะดูกระถางพลาสติก
กลับโตได้ค่อนข้างดี เลยมาทำการวางแผนการให้ อาหารเสริม โดยจับเอาไอ้พวกที่ไม่ค่อยโตนี้แหละ เป็นหนูทดลอง





หลังจากถามอากู๋อยู่พักนึง เลยลองจับคู่สูตรนี้ดู

ฮิวมิค +


ฮิวมิค แอซิด + ยูนิเลต (ธาตุอาหารเสริม)
1.ฮิวมิค แอซิด (ที่มา ://www.thaigreenagro.com/WebBoard/Answer.aspx?qid=212)
ฮิวมิก แอซิด" = โพแทสเซียมฮิวเมท

ฮิวมัสและกรดฮิวมิกจากดิน

แต่เดิมการบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์นั้น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เมื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก หรือใส่ซากพืช สารเหล่านี้จะสลายตัวไปเรื่อย ๆ ในที่สุดก็ได้สารที่มีลักษณะละเอียดและมีสีเข้มคลุกเคล้าอยู่กับดิน เรียกสารนี้ว่าอินทรียวัตถุในดินหรือฮิวมัส (คำนี้มาจากภาษาละติน แปลว่า ดิน)

เป็นที่ทราบกันแน่ชัดว่า ฮิวมัสมีบทบาทสำคัญในการบำรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ช่วยให้สมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของดินดีขึ้น หากดินมีฮิวมัสมากพอ

จากความสนใจต่อบทบาทของฮิวมัสในการบำรุงดินนี้เอง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องการทราบต่อไปว่า
1. ฮิวมัสประกอบด้วยสารอะไรบ้าง กี่ชนิด และแต่ละชนิดมีมากน้อยเพียงใด
2. สารที่ประกอบเป็นฮิวมัสเหล่านั้นมีบทบาทต่อสมบัติของดินอย่างเดียว หรือมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรงด้วย
3. ถ้าสารประกอบในฮิวมัสมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรงแล้ว สารนั้นมีบทบาทอย่างไรในกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืช

คำถามทั้งสามข้อนี้เกิดขึ้นเนื่องจากนักวิทยาศาสตร์มีสมมุติฐานว่า ฮิวมัสคงมิใช่เป็นเพียงแหล่งธาตุอาหาร ช่วยให้ธาตุอาหารในดินเป็นประโยชน์มากขึ้น ปรับปรุงดินทางเคมีและฟิสิกส์เท่านั้น สารบางอย่างในฮิวมัสน่าจะมีบทบาทต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชเป็นแน่ งานวิจัยในระยะหลังจึงมุ่งไปสู่ประเด็นนี้อย่างจริงจัง

อินทรียสารในดินแบ่งอย่างง่าย ๆ ได้เป็น 2 ส่วน คือ
1. เป็นชิ้นของพืชหรือสัตว์ที่ยังไม่สลาย หรือสลายแล้วบางส่วน เช่น เศษใบพืช หรือเปลือกไม้ แยกออกได้โดยนำดินมาร่่ออนผ่านตะแกรงขนาด 2 มิลลิเมตร
2. เป็นอินทรียสารที่สลายตัวดีแล้ว มีสีเข้ม ลักษณะละเอียด คลุกเคล้าอยู่กับอนินทรียสารของดินส่วนนี้ คือ ฮิวมัส หรือสารฮิวมิก ( Humic Substance)

ถ้าต้องการแยกฮิวมัสหรือสารฮิวมิกอกจากดิน ก็ทำได้โดยใส่ด่าง เช่น สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงไปในดิน สารฮิวมิกส่วนหนึ่งไม่ละลายในด่าง เรียกว่า ฮิวมิน ( Humin) อีกส่วนหนึ่งละลายในด่าง เมื่อปล่อยให้ของแข็งตกตะกอนแล้วรินของเหลวออกมา ของเหลวที่ได้จะมีสีน้ำตาลเข้มเกือบจะเป็นสีดำ

ถ้านำของเหลวนี้ไปปรับ pH ด้วยกรดให้ได้ 1-2 สารสีดำซึ่งเคยละลายอยู่นั้น ส่วนหนึ่งจะตกตะกอน แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ตกตะกอน
1. ส่วนที่ตกตะกอน คือ กรดฮิวมิก ( Humic Acid)
2. ส่วนที่ไม่ตกตะกอน คือ กรดฟูลวิก ( Fulvic Acid) ซึ่งละลายอยู่ต่อไป

ดังนั้น จึงให้คำนิยามของกรดฮิวมิกได้ว่า หมายถึงสารฮิวมิกที่ละลายในด่างแล้วตกตะกอนเมื่อทำให้สารละลายนั้นมี pH 1-2

สำหรับฮิวมัสหรือสารฮิวมิก ประกอบด้วย ฮิวมิน กรดฮิวมิก และกรดฟูลวิก ในดินด่าง เช่น ดินลพบุรีมีลักษณะเด่น คือ เป็นดินเหนียวสีเข้ม ทั้งนี้เนื่องจากด่างในดินได้ละลายกรดฮิวมิก และกรดฟูลวิกออกมาเคลือบอนุภาคดิน จึงทำให้สีของดินเข้มขึ้น

หากนำสมบัติของกรดฮิวมิก กรดฟูลวิก และฮิวมิน อันเป็นองค์ประกอบของฮิวมัสมาเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่า กรดฮิวมิกกับกรดฟูลวิกมีความแตกต่างกันมากพอสมควร ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับบทบาทของกรดฮิวมิกต่อพืช และทำให้สารนี้ได้รับความสนใจมาก


โดยอัตราส่วนที่ใช้คือ น้ำ 20 ลิตร + ฮิวมิค (20 หน่วยอะไรหว่าจำไม่ได้ มันจะมีขีดใต้ฝา) + ยูนิเลท 2 ช้อนชา จากการทดลองกับพวกหน่วยแรกไม่พบอาการใบไหม้
ส่วนเส้นใบเริ่มกลับมาเขียว โดนอาทิตย์ที่ 2 นี้ทำการลงทั้งแปลง

หลังจากที่ทำการตัดยอดอ่อนเพื่อทำทรงพุ่ม เพื่อหยุดการโต และต้องการให้น้อง Jacmee แตกกิ่งเยอะ ๆ กลับพบเจ้าพวกนี้โจมตี

เพลี้ยไฟ (Thrips)

เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็กมาก มีสีเทาจนถึงสีดำ ตัวอ่อนจะมีสีขาวนวล ชอบอาศัยอยู่ตามซอกกลีบ และชอบดูดน้ำเลี้ยงจากดอกตูม ดอกบาน ยอดอ่อน และใบ มักเกิดกับกุหลาบที่มีสีอ่อนๆ ทำให้ดอกไม่บานหรือบานไม่ปกติ กลีบดอกที่ถูกเพลี้ยไฟทำลายมีอาการลายด่างสีขาว ควรระมัดระวังโดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศแห้ง
ป้องกันและกำจัดโดยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงก่อนที่ดอกตูมจะบาน หากมีการทำลายเกิดขึ้นแล้วให้เด็ดดอกที่เสียหายทิ้งและฉีดพ่นยาฆ่าแมลง เลยจัด S85 ผสมน้ำ จัดไป 1 ชุด (ปล ได้แอบไปทดสอบกับต้นที่แม่แอบเอาไปปลูกไม่พบอาการใบใหม้ แต่ยังเป้นห่วงอยู๋
เพราะว่า บางต้นพบอาการใบใหม้ที่ขอบยังหาสาเหตุไม่ได้ โดยขั้นแรกลองย้ายกระถางจากตำแหน่งเก่าก่อน (เผื่อฮวงจุ้ยไม่ดี )

กับโดนขาใหญ่ที่บ้าน โจมตี ไป 1 ต้น ใบกรอบเป็นข้าวเกรียบถึงกับต้องเอาเข้า ICU กันเลยทีเดียว กับกัดกันที่ไหนไม่กัดชอบมากัดไอ้ตรงที่กระถางอยู่กันแน่นกลับไปทีไรเห็นน้องๆ นอนกลิ้งไปกลิ้งมา

...น้อง Delenix

Delenix ขาใหญ่ รายนี้กลับพบปัญหาการโตเร็วได้ใจ รากทะลุทะลวงไปทุกที ใส่ดินใว้ให้ไม่ค่อยจะอยู่โผล่ไปไอ้ตรงที่ไม่มีดิน ผลปรากฎใบร่วงกระจาย กับตอนนี้ แม่บอกว่าควรทำแคระใว้ก่อน เลยทำการตัดยอดอ่อน
เพื่อให้กิ่งแตกเยอะ อยากได้ให้มันเป้นทรงร่ม ผลปรากฎยอดเค้านี้สุดยอดจิงจิงตัดแป๊บเดียวยอดใหม่มาแล้ว









และตามมาด้วยน้องใหม่ล่าสุด ลำพู สุดสวยที่คาดว่าในอนาคตจะเป็นที่ต้องการตัว เพราะไม่มีใครบ้าปลูก เลยลองจับเอาขึ้นจากน้ำเค็มมาอยู่น้ำจืด
ดูแล้วเริ่มปรับสภาพ ได้แล้ว ตอนแรกนึกว่าจะตายซะอีก กับลำแพนน้ำจืด 555++ กลายพันธุ์หมด น่าสงสาร



จากสถาณการณ์ถ้าไม่พบปัญหาอะไรเพิ่มเติมหลังจากก้อคงจะรอรถ อย่างเดียว ถ้ารถมาเมื่อไหร่คงจะได้เริ่ม State ถัดไป ^^




 

Create Date : 29 พฤศจิกายน 2554
1 comments
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2554 22:16:19 น.
Counter : 3978 Pageviews.

 

งามดีจังเลย

 

โดย: nainokkamin 30 พฤศจิกายน 2554 10:24:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.