ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
4 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
ชีวิตชายแดนปาดังเบซาร์-ปรุงเนื้อแพะ

ชีวิตชายแดนปาดังเบซาร์- ปรุงเนื้อแพะ

มีช่วงหนึ่งที่ทำงานที่ปาดังเบซาร์
เหล้าขาวมาคุยว่า ตนเองเก่งมากในการปรุงเนื้อแพะ
ไม่เชื่อลองถามเพื่อนของเหล้าขาวดู
ทุกคนต่างยอมรับในฝีมือของเหล้าขาวในเรื่องนี้
ก็เลยมีการท้าท้ายกันบ้างเล็กน้อย
และมีข้อสรุปตรงกันว่า
ทางผู้จัดการจะจัดหาซื้อแพะมาให้เหล้าขาวปรุง
เพื่อให้ทดลองกินกันว่าอร่อยมากตามที่
เหล้าขาวได้บอกไว้ว่าจริงหรือไม่

ทางผู้จัดการเลยติดต่อไปกับเพื่อน ๆ ที่อำเภอเมืองสงขลา
ตกลงได้จัดหาแพะมาได้หนึ่งตัวเป็นพันธุ์แองโกล ขนสีขาว
ตัวใหญ่มีน้ำหนักประมาณสี่สิบกิโลกรัม
เหล้าขาวก็ชมว่าสวยและตัวใหญ่น้ำหนักมากดี
ก็นำมาผูกเชือกไว้หลังที่ทำงานหนึ่งคืน
วันรุ่งขึ้นก็มีทีมงานเหล้าขาว
ก็มาจูงไปเชือดเพื่อเตรียมปรุงเป็นอาหารตามที่เหล้าขาว
ได้เตรียมการเครื่องปรุงและกะทะใบบัวขนาดใหญ่ไว้แล้ว
กว่าจะฆ่าเสร็จ ขูดขนเสร็จ สับเป็นชิ้น ๆ ท่อน ๆ
เริ่มปรุงจริง ๆ ก็ประมาณสี่โมงเช้า

แต่วันนั้นตรงกับวันหวยมาเลย์และหวยไทยออกพอดี
เหล้าขาวเลยต้องวิ่งวุ่นกับการรับซื้อหวยการแทงหวย
การกรอกตัวเลขแทงหวยเพื่ออั้นการแทงหวยเป็นต้น
เลยไม่มีเวลามาดูแลการปรุงแพะอย่างจริงจัง
ต้องปล่อยให้เพื่อนแกอีกคนที่แกจ้างมาดูแลอีกทีหนึ่ง
ทำการปรุงตามที่แกบอกไว้สั่งไว้ว่าทำอย่างไร ๆ บ้าง
พอมีเวลาว่างจากเรื่องหวยก็แวะมาดูว่าทีมงานปรุงไปถึงไหนบ้าง
ไม่มีเวลามาดูแลอย่างจริง ๆ จัง ๆ

กอปรกับกะทะใบบัวขนาดใหญ่
ที่ใช้ปรุงแพะทั้งตัววางอยู่บนถนนสายเข้าป้อมหนึ่ง
ซึ่งเป็นสายหลักของปาดังเบซาร์ใกล้กับโรงแรมไลส์เฮาส์
ด้านหลังที่ตั้งกะทะใบบัวก็เป็นบริเวณหน้าร้านอาหารกลางคืนด้วย
ใครผ่านไปผ่านมาก็เห็นการปรุงเนื้อแพะ
เลยบอกต่อ ๆ กันว่าของเหล้าขาวบ้าง ของที่ทำงานบ้าง
เลยกลายเป็นมหกรรมอาหารฟรีของปาดังในวันนั้น
เพราะคนปาดังเบซาร์ส่วนใหญ่
ถ้าไม่เป็นเพื่อนของเหล้าขาว
ก็เป็นลูกค้าที่ซื้อหวยของเหล้าขาวเสียส่วนใหญ่
หรือไม่ก็มาใช้บริการที่ทำงานกันเกือบร้อยละแปดสิบ
เพราะตอนนั้นมีเพียงแห่งเดียวในปาดังเบซาร์

ขณะที่คนปรุงก็ทำอะไรไม่ถูก
เพราะต่างคนต่างบอกว่าเพื่อนเหล้าขาวบ้าง ลูกค้าของที่ทำงานบ้าง
เลยมีคนแวะเวียนมาชิมบ้าง ติบ้าง ขอตักแบ่งกลับบ้านบ้าง
บางรายก็เอาไปนั่งกินเป็นกับแกล้มเหล้าข้าง ๆ กะทะใบบัวบ้าง
สุดท้ายสิ้นวันเลยเหลือแพะประมาณว่าไม่น่าจะเกิน
สองกิโลกรัมที่ได้กินกันจริง ๆ หรือสามชามโคมใหญ่ ๆ
ประเภทเนื้อสัน เครื่องใน เลือดที่เป็นก้อน ๆ
ก็หายเกือบหมดแล้วในตอนเย็นวันนั้น
หลังจากเหล้าขาวบอกว่า ปรุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ก็พอดีสิ้นสุดการทำหวยและหวยประกาศผลเรียบร้อยแล้ว
ประมาณสี่โมงเย็นเศษ ๆ

เลยกลายเป็นบทเรียนสอน/พูดกันเล่น ๆ ในที่ทำงานว่า
ถ้าเหล้าขาวจะปรุงแพะอีกต้องเลือกวันไม่ออกหวย
และห้ามปรุงโชว์ในท้องตลาดปาดังเบซาร์อีกเด็ดขาด
มิฉะนั้นจะไม่มีโอกาสได้กินของดีดี






จริง ๆ แล้ว การกินแพะในภาคใต้
เป็นวัฒนธรรมหลักอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม
ในงานเลี้่ยงเฉลิมฉลองพิธีกรรมที่สำคัญ
และวันครบรอบวันเกิดของลูกชายภายในหนึ่งเดือน
หรือเรียกว่า อาซีเก๊าะ (ขึ้นอู่หรือขี้นเปลลูกชาย)
ก็จะต้องมีการเฉลิมฉลอง
ด้วยการฆ่าแพะอย่างน้อยหนึ่งตัว
เพื่อนำมาทำอาหารหลักก็คือข้าวหมกแพะ แกงแพะ
และพร้อมกับอาหารอื่น ๆ ประกอบกันในงานพิธี
ในการเรียกรับขวัญลูกผู้ชายของครอบครัว
ส่วนถ้าเป็นลูกผู้หญิงจะเลี้ยงก็ได้ไม่เลี้ยงก็ได้
กรณีถ้าเป็นคนรวยก็จะเป็นงานใหญ่มาก
แต่ถ้าคนฐานะไม่ดีก็อาจจะมีคนช่วยส่วนหนึ่ง
หรือจัดเป็นพิธีเล็กๆ ภายในสำหรับคนรู้จัก
แต่งดเว้นการเลี้ยงแพะก้ได้

แต่ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ หัวแพะ
ได้เฉพาะแขกที่ได้รับเกียรติสูงสุดเท่านั้น
หรือเรียกว่าระดับ โต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม
นอกเหนือจากนั้นก็นั่งคร่าว (คอย)
ไว้ในโอกาสหน้าหรือรอของที่ยังเหลืออยู่

จริง ๆ แล้วก็ในความรู้สึกของผม
การได้กินหัวแพะ/หรือเนื้อแพะในพิธีอาซีเก๊าะ
จะว่าอร่อยหรือไม่อร่อยก็ไม่เชิงนัก
เพราะอาหารเป็นวัฒนธรรม ความเชื่อ ความชอบอย่าง
เหมือนอาหารจีน อาหารฝรั่ง หรือ อาหารไทยอีสาณ เป็นต้น
แล้วแต่ความชอบและประสบการณ์ที่เคยกินหรือผ่านมา
เพราะสมัยเด็ก ๆ ข้างบ้านเป็นร้านอาหารมุสลิม
เพื่อนบ้านที่เล่นด้วยกันประจำก็มักจะกินอาหารร่วมกับแก
เวลาพ่อแม่ของแกมีงานใหญ่ ๆ ก็มักจะนำแกงแพะมาให้
ก็เลยคุ้นชินกับอาหารประเภทนี้
ก็คงเหมือนกับเพื่อนผมคนที่เป็นปลัดอำเภอหาดใหญ่
เคยคุยกับผมว่า หูฉลามไม่เห็นอร่อยตรงไหน
แพงก็แพง เห็นคนจีนชอบกินกันอยู่ได้
ผมเลยบอกว่า เขากำลังกินวัฒนธรรมของจีน
แกเลยบอกว่า เออแล้วไป

แต่จากการพูดคุยและพบปะกับบังสัน
ที่ขายอาหารที่ทำจากเนื้อแพะ และทำแพะกระป๋องขายส่วนหนึ่ง
โดยมีผลผลิตจากศูนย์ส่งเสริมการเลี้ยงแพะ
ของส่วนราชการที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
นำเนื้อแพะมาจำหน่ายให้ส่วนหนึ่ง
และจากการซื้อจากชาวบ้านละแวกใกล้เคียง

บังสันอยู่ที่ชุมชนบ้านพระพุทธ (แต่เป็นชุมชนมุสลิม)
ที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ที่ำจำไ้ด้แม่นเพราะสมัยก่อนขับรถยนต์ผ่านไปบ่อย
และมีเพื่อนชาวมุสลิมทำกะชังเลี้ยงปลากะพงที่นั่น
บังสันได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมมาอีกอย่างหนึ่งว่า

การเลี้ยงแพะ ง่ายจะตาย

หมายถึงแพะตายง่ายกว่าสัตว์เลี้ยงอื่น

เพราะอากาศภาคใต้ค่อนข้างชุ่มชื้น
ฝนตกมากกว่าแถวภาคกลาง ภาคเหนือ
ทำให้แพะเป็นโรคและเป็นหวัดได้ง่ายกว่าภาคอื่น
กอปรกับที่ภาคใต้จะไม่มีฝนทิ้งช่วงแล้งแบบภาคอื่นเลย
มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี
ทำให้แพะมีโอกาสเป็นไข้หรือเป็นโรคหวัดได้ง่าย
และมีโอกาสเป็นไข้หวัดตาย
ง่ายกว่าการเลี้ยงที่ภาคอื่น ๆ ที่อากาศแห้งแล้งกว่ามาก

ผลผลิตแพะภาคใต้ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์พื้นเมือง
ที่โตช้ามากกว่าจะได้กิน
หรือขายก็เลี้ยงเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว
ปริมาณก็น้อยมากอย่างที่บอกว่า
เลี้ยงก็ง่าย ตายก็ง่าย หายก็ง่าย
ทำให้จำนวนผลผลิตค่อนข้างต่ำ
แม้ว่าจะมีการส่งเสริมการเลี้ยงแพะ
หรือส่งเสริมให้พันธุ์ลูกผสมมาเลี้ยง
โอกาสจะทำเป็นธุรกิจจริงก็น้อยมาก
เพราะปัญหาการเจริญเติบโตอย่างหนึ่ง
ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บอย่างที่สอง
ปัญหาพื้นที่สถานที่ให้แพะหาอาหารกินก็เป็นเรื่องใหญ่มาก
เพราะแพะกินไม่เลือก มีโอกาสไปกิน/ทำลายกล้ายางพาราที่เล็กอยู่
หรือต้นปาล์มที่ยังเล็กอยู่
มีผลต่อการต้องระมัดระวังดูแล
มิฉะนั้นก็จะต้องจ่ายค่าเสียหายต้นกล้าให้กับของเจ้าของสวน

ที่อำเภอจะนะเคยส่งเสริมการทำเนื้อแพะกระป๋อง
ปรากฎว่าผลิตได้ไม่เกินสี่เดือนต้องหยุดกิจการ
เพราะหาแพะมาป้อนได้ไม่ทันการผลิต
การซื้อจากส่วนกลางมาผลิตก็ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย
เลยต้องเลิกไปเลย ทิ้งแต่เครื่องมือและโรงงานไว้เป็นที่ระลึก

ในตัวแพะจริง ๆ แล้วบังสันยังบอกว่า
ให้เอาน้ำหนักแพะหนึ่งตัวหารสามส่วน
คือ ที่กินได้จริง ๆ คือ เนื้อกับเครื่องใน ไม่รวมเลือด
เพราะคนไทยมุสลิมจะไม่กินเลือดสัตว์
ที่มีศาสนบัญญัติอนุญาตให้กินได้ทุกชนิด
ส่วนที่สองคือ กระดูก กับเลือด
ส่วนที่สามคือ หนัง เศษอาหาร และส่วนที่กินไม่ได้

ดังนั้นการมานำแพะมาผลิตเป็นอาหารได้จริง ๆ ก็คือ ส่วนที่หนึ่ง
หรือ แพะพื้นเมืองหนึ่งตัว 24 กิโลกรัมใช้ทำอาหารได้จริง ๆ คือ
8 กิโลกรัม ที่เหลือต้องทิ้งไปโดยอาจจะขายได้ผลตอบแทนกลับมาต่ำ
แต่เวลาซื้อต้องซื้อเป็นกิโลกรัมต่อตัว
ประมาณกิโลกรัมละหกสิบ-ร้อยบาทแล้วแต่ช่วงเวลา
ดังนั้น การขายเนื้อแพะจึงต้องขายราคาแพง
เพื่อลดต้นทุนสินค้าและการหากำไรส่วนหนึ่ง
รวมทั้งการปรุงอาหาร ถ้าไม่ระมัดระวัง
จะมีกลิ่นสาบและเหม็นคาวมาก
ขายก็ไม่ได้ราคาหรือคนไม่อยากกินเป็นต้น



การเลี้ยงแพะในเมืองไทยนั้นจะมีสายพันธ์หลัก ๆ คือ
ข้อมูลหลักจาก //www.dld.go.th

1. แพะพื้นเมือง ขนาดเล็กทางใต้มีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร
มีน้ำหนักประมาณ 20-25 กิโลกรัม ให้ผลผลิตทั้งเนื้อและนมต่ำ
ตามหลักฐานที่บันทึกเกี่ยวกับประวัติการเลี้ยงแพะในประเทศไทย
หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ รายงานปี พ.ศ. 2491 ว่า
แพะที่เลี้ยงในประเทศไทยในขณะนั้นเข้าใจว่าเป็นแพะเลือดอินเดีย
บางคนเรียกว่า แพะบังกะลา ซึ่งอาจหมายความว่าเป็นแพะที่
มาจากเมืองบังกะลาหรือเบงกอล
แพะที่เลี้ยงมีเขา หน้าโค้ง หูตก และหูยาวทั้งนั้น
ยังไม่พบพันธุ์ที่ไม่มีเขา หูตั้งและหน้าตรง

แพะพื้นเมืองที่เลี้ยงอยู่ในภาคใต้เป็นแพะเนื้อ
มีลักษณะคล้ายคลึงกับแพะพันธุ์พื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย
ซึ่งเรียกว่าพันธุ์แกมบิง กั๊ตจัง (Kambing Katjang หรือ Katjang หรือ Kacang)

นอกจากนี้แพะที่เลี้ยงกันแถบตะวันตก เช่น
จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดตาก และจังหวัดนครสวรรค์
เข้าใจว่าเป็นแพะที่มาจากประเทศอินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ
เข้าสู่ประเทศไทยผ่านทางประเทศพม่า
มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าแพะทางใต้
แพะกลุ่มนี้มีใบหูปรกยาวมาก ขายาว ผอมเก้งก้าง
และเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม "แพะพม่า" หรือ "แพะหูยาว"(ดร.สุรศักดิ์ คชภักดี)

2.แพะพันธุ์ซาเนน เป็นแพะนมที่มีขนาดใหญ่ให้ผลผลิตนมสูงกว่าแพะพันธุ์อื่นๆ
แพะพันธุ์นี้มีขนสั้น ดั้งจมูกและใบหน้ามีลักษณะตรง
ใบหูเล็กและตั้งชี้ไปข้างหน้า ปกติจะไม่มีเขาทั้งในเพศผู้และเพศเมีย
แต่เนื่องจากมีแพะกระเทยในแพะพันธุ์นี้มาก
จึงควรคัดเฉพาะแพะที่มีเขาไว้เป็นพ่อพันธุ์
เพราะมีรายงานว่าลักษณะกระเทยมีความสัมพันธ์
ทางพันธุ์กรรมอยู่กับลักษณะของการไม่มีเขา
แพะพันธุ์นี้มีสีขาว สีครีม หรือสีน้ำตาลอ่อน ๆ
น้ำหนักโตเต็มที่ประมาณ 60 กิโลกรัม สูงประมาณ 70-90 เซนติเมตร
ให้น้ำนมประมาณวันละ 2 ลิตร ระยะเวลาการให้นมนานถึง 200 วัน
มีหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เลี้ยงแพะพันธุ์นี้อยู่มาก
เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และประเทศไทย
แต่ก็มีปัญหาเพราะว่าแพะพันธุ์นี้ปรับตัวเข้ากับภูมิอากาศในแถบนี้ไม่ค่อยดีนัก
แต่ถ้าหากเลี้ยงแพะพันธุ์นี้ไว้ในลักษณะขังคอกตลอดเวลา
ก็จะทำให้ปัญหาเรื่องเจ็บป่วยลดลงให้ผลผลิตดี






3. แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน
กรมปศุสัตว์นำเข้ามาเลี้ยงขยายพันธุ์กว่า 20 ปีแล้ว
เพื่อปรับปรุงพันธุ์แพะพื้นเมืองให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
แพะพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่น้ำหนักตัว มีน้ำหนักแรกเกิด 2-5 กิโลกรัม
น้ำหนักหย่านม ( 3 เดือน ) 15 กิโลกรัม
ดั้งจมูกมีลักษณะโด่งและงุ้ม ใบหูยาวและปรกลง ปกติแพะพันธุ์นี้จะไม่มีเขา
แต่ถ้าหากมีเขาเขาจะสั้นและเอนแนบติดกับหนังหัว ขนสั้นละเอียดเป็นมัน
มีขายาวซึ่งช่วยให้เต้านมอยู่สูงกว่า ระดับพื้นมากและทำให้ง่ายต่อการรีดนม
และยังช่วยให้เต้านมไม่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากหนามวัชพืชเกี่ยว
แพะพันธุ์นี้มีหลายสี เช่น ดำ เทา ครีม น้ำตาล น้ำตาลแดง
และมีจุดหรือด่างขนาดต่างๆได้ผลผลิตน้ำมันประมาณ 1.5 ลิตรต่อวัน
ระยะเวลาให้น้ำนมประมาณ 165 วัน






4. แพะพันธุ์เบอร์ กรมปศุสัตว์นำเข้ามาจากประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2539
เป็นแพะเนื้อขนาดใหญ่ ลักษณะเด่น
คือมีลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง ใบหูยาวปรก
มีน้ำหนักประมาณ 90 กิโลกรัม
ตัวเมียหนักประมาณ 65 กิโลกรัม

เท่าที่ทราบผู้ทำเกษตรรายใหญ่ของประเทศไทย
กำลังพัฒนาสายพันธุ์นี้ในแถวกาญจนบุรี สระบุรี
เพื่อผลิตเนื้อแพะขายเป็นรายใหญ่ในประเทศ
หลังจากผูกขาดไก่เนื้อในประเทศตอนนี้






สุดท้ายแถมอีกเรื่อง
ตามหมู่บ้านหรือชุมชนที่เลี้ยงแพะ
ก็มักจะนิยมให้มีการนำแพะมาแข่งขันชนกัน
ก็มีความสนุกสนานพอ ๆ กับกีฬาชนวัว ชนไก่
บางทีก็เล่นเอาพนันกัน หรือไม่ก็เป็นการชมเพื่อความสนุกสนาน
แล้วแต่วัตถุุประสงค์ของเจ้าของแพะ
แพะมีนิสัยที่ไม่ค่อยดีอย่าง
เท่าที่ทราบจะชนจนกว่าอีกฝ่ายยอมแพ้อย่างราบคาบ
จึงจะหยุดการชนอีกฝ่ายหนึ่ง







Create Date : 04 กันยายน 2552
Last Update : 10 ตุลาคม 2552 15:06:25 น. 6 comments
Counter : 1821 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะ เดี๋ยวอ่านก่อนนะคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 4 กันยายน 2552 เวลา:17:56:13 น.  

 
หวัดีค่ะ...แวะมาดูแพะ...ค่ะ....

>


โดย: ไหมพรมสีสวย วันที่: 4 กันยายน 2552 เวลา:19:15:15 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แจ่มค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดี
ที่นำมาฝากนะคะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 4 กันยายน 2552 เวลา:22:14:34 น.  

 
ที่จริงมันก็น่ารักดีนะคะ

เดี๋ยว ( ซักพัก ) จะมาอ่านรอบสามค่ะ ยังกะอ่านสอบ แต่เราเป็นคนประสาทค่ะ ถ้าอ่านแล้วต้องรู้ ถ้าไม่อยากรู้ก็ไม่อ่าน เปลืองหมอง แก่แล้วอาจต้องอ่านซักหลายรอบหน่อยนะคะ

แต่ที่แน่ ๆ เพื่อนคุณราวิโอที่เป็นนักข่าวน่ะรุ่นก่อนคนแก่คนนี้แน่นอนค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 4 กันยายน 2552 เวลา:23:05:05 น.  

 
กลุ่มชน...แพะ...พิธีกรรม...การบริโภค...สายพันธ์

ทำให้ได้รู้ลึกเพิ่มเติมมากโขเลยค่ะ


โดย: WhileLife วันที่: 4 กันยายน 2552 เวลา:23:19:41 น.  

 


น่าจะเป็นพันธุ์ เบอร์นะคะ ไปชิม BBQ ตอนงานเกษตร มทส. จัดราว ๆ ต้นปีมาค่ะ

อยากชิมเฉย ๆ แต่สู้แกะไม่ได้ค่ะ แต่คงไม่ทานละค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 6 กันยายน 2552 เวลา:12:29:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.