ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
เมษายน 2559
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
9 เมษายน 2559
 
All Blogs
 

ชายผู้หยุดยั้งทะเลทราย





The Man Who Stopped The Desert - Trailer



ที่มา https://goo.gl/zk8s5m







ใน Burkina Faso บนพื้นที่ราบสูง
ที่ครั้งหนึ่งเคยอุดมสมบูรณ์ถูกทะเลทราย
คุกคามอย่างรวดเร็ว
เพราะใกล้แนวเขต Sahel ที่มีความแห้งแล้งที่มาจากทะเลทราย Sahara
ได้ก่อให้เกิดภัยแล้งและการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสียหาย

ทำให้ชาวบ้านจำนวนมากต้องอพยพไปทำงานในต่างเมือง

และมีส่วนในการลดจำนวนประชากรในหมู่บ้าน
ลง

ภัยพิบัติดังกล่าวเริ่มส่อเค้าตั้งแต่ปี 1950
เพราะส่วนหนึ่งของการมีประชากรมากเกินไป
การเกษตรที่มีการแผ้วถางมากเกินไป
ผลกระทบดังกล่าวทำให้เกิดการคืบคลานของทะเลทราย
มีผลกระทบหลายประเทศ เช่น เซเนกัล มาลี ไนเจอร์ และชาด



ที่มาของภาพและข้อมูลเพิ่มเติม https://goo.gl/F3Qa1j




ในช่วงวัยรุ่น Yacouba Sawadogo

เป็นนักเรียนที่ได้ออกเดินทางจากบ้านเกิด

เพื่อไปศึกษาคัมภีร์อัลกุรอ่าน
หลายครั้งที่
เขาและเพื่อนร่วมชั้นต่างพากันหิวโหย

เด็กหนุ่มเหล่านี้ต้องเดินทางข้ามถิ่นทุรกันดารหลายไมล์

เพื่อขอปันอาหารจากบ้านกระท่อมฟางถึงหลายหลังคาเรือน

“ บางครั้งพวกเราได้ของกินต่าง ๆ มากมาย

แต่บางครั้งพวกเราก็ไม่ได้อะไรติดมือกลับมาเลย “

Yacouba Sawadogo ได้กล่าวรำลึกถึงความหลัง


วิธีการทำการเกษตรแบบโบราณที่แยบยลของเขา

ได้พิสูจน์แล้วว่ากุญแจสำคัญอย่างหนึ่ง

ในการบรรลุการหยุดยั้งทะเลทราย
ที่ผู้เชี่ยวชาญต่างล้มเหลวในการหยุดยั้งทะเลทราย


เรื่องนี้มีเบื้องหลังมาจากแรงผลักดัน
ความตั้งใจอย่างแรงกล้า
ของชาวนาวัยรุ่น Yacouba Sawadogo
ที่มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคนิควิถีเกษตรแบบ
โบราณ
ที่ได้รับการบอกเล่าจากรุ่นทวดสู่ทวดสู่พ่อ
ที่จะใช้ประโยชน์จากดินทั้งหมด
ในการปลูกพืชเพื่อให้มีผลผลิตอย่างยั่งยืน

ความพยายามของชาวนาผู้นี้ได้ผลสำเร็จอย่างยิ่ง

เหนือกว่าผลงานของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก

และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ที่ต้องลงทุนหลายล้านปอนด์ในการพัฒนาพื้นที่ดิน

ผลงานดังกล่าวนี้ได้พิสูจน์ว่ามีสำคัญอย่างยิ่ง

ต่ออนาคตของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

และความต้องการอาหารของชาวโลก



ที่มา https://goo.gl/zk8s5m




 “ ผลงานของ Yacouba เพียงลำพัง

มีผลกระทบมากเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ

ยิ่งกว่านักวิจัยระดับชาติและนานาชาติทั้งรวมกัน ” 

ผู้เชี่ยวชาญทะเลทราย ชาวดัตช์ Chris Reij กล่าวสรุป

“ เราจะต้องไม่เป็นศัตรูกับธรรมชาติ "

Yacouba กล่าวขึ้นในขณะที่ทำงาน

อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยบนแผ่นดินที่แห้งแล้ง

แต่การต่อสู้ที่ยากที่สุดของ Yacouba 

ไม่ได้ที่จะอยู่ที่พลังของธรรมชาติ

แต่เพราะเทคนิคใหม่ในการปลูกพืชของเขา

ไม่เป็นที่ยอมรับของเจ้าของที่ดินแบบดั้งเดิม

เพราะขัดกับภูมิปัญญา/ประสบการณ์เดิม

และสร้างความโกรธแค้นให้กับผู้คนจำนวนมาก



" เมื่อคุณเริ่มต้นการทำงานที่คนอื่นไม่เข้าใจแล้ว

พวกชาวบ้านจะปฏิบัติต่อคุณเหมือนคุณเป็นคนบ้า

ในระหว่างที่ผมเดินทางไปพบกับผู้ปกครองท้องที่

เพื่อบอกเล่าถึงประสบการณ์ผลลัพธ์วิถีเกษตรโบราณ

ความรุนแรงที่คุกกรุ่นในพื้นที่ก็เตรียมพร้อมอยู่

ผมสามารถมองเห็นเปลวไฟได้จากในเมือง

เพราะป่าไม้ที่หนาแน่นและท้องนาเต็มไปด้วยพืช “



เปลวไฟกองนี้ถูกจุดขึ้นโดยชาวบ้าน

ได้ทำลายพืชผลทั้งหมดของ Yacouba ลง

แต่มันคือความปราชัยในการทำลายล้างด้วยเช่นกัน
เพราะยิ่งตอกย้ำความมุ่งมั่น
ที่จะเอาชนะ
ความอัปยศของชาวบ้าน



แต่เมื่อ Yacouba ประสบความสำเร็จ
กับวิถีเกษตรแบบโบราณในการสร้างป่าไม้ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

พวกชาวบ้านต่างต้องนั่งลงแล้วเฝ้าสังเกต

Yacouba ได้ฟื้นฟูวิธีการเกษตรแอฟริกัน
แบบสมัยโบราณ
ที่เรียกว่า Zai เริ่มต้นในปี 1980
ที่สร้างการเจริญเติบโตของป่าและเพิ่มคุณภาพของดิน



ที่มา https://goo.gl/zk8s5m


Zai เป็นเทคนิควิถีเกษตรแบบโบราณ
ในการปลูกพืชที่ง่ายมากและใช้ต้นทุนต่ำ
ด้วยการใช้จอบหรือขวานในการทำงานในช่วงฤดูแล้ง
ขุดหลุมขนาดเล็กลงไปในพื้นดินที่แห้งแล้ง

แล้วเติมปุ๋ยหมักลงไปในหลุมก่อนเบื้องต้น
ปลวกจะเข้ามากัดกินปุ๋ยหมักในหลุม
พร้อมกับสร้างธาตุอาหารจำนวนมากในหลุมนั้น
พอ ๆ กับทางเดินของปลวกใต้ดินจำนวนหลายเส้นทาง
ที่จะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำขนาดย่อม ๆ หลายสายธารใต้ดิน
เมื่อฝนตกลงมาในพื้นที่แล้ว

เมื่อฝนมาเยือนแล้ว 
เมล็ดต้นไม้ ลูกเดือย ข้าวฟ่าง

จะถูกปลูกลงบนหลุมของปุ๋ยหมัก

หลุมจะสะสมน้ำในช่วงฤดูฝน

ตามรอยทางเดินจำนวนมากของปลวกใต้ดิน
ทำให้ดินสามารถที่จะรักษาความชุ่มชื้นไว้

และให้สารอาหารที่ได้เตรียมไว้ในช่วงฤดูแล้ง

ส่วนพืชช่วงสั้นก็เก็บเกี่ยวก่อนฤดูแล้ง
ส่วนพืชไม้ผลหรือพืชยืนต้น
มักจะรอดตายจนกว่าจะเติบโตต่อไป

ตามวิธีการแบบของ Zai ที่ Yacouba ทำ

จะเตรียมความพร้อมของดินในฤดูแล้ง

ตรงกันข้ามกับวิธีปฏิบัติในท้องถิ่น
ด้วยเวลาเพียง 20 ปีที่ผ่านมา

Yacouba ได้แปลงพื้นที่แห้งแล้งอย่างมาก

กลายเป็นป่าไม้ชุมชนขนาด 30 เอเคอร์(70 ไร่)

ที่มีต้นไม้มากกว่า 60 ชนิด/สายพันธุ์
ที่ทำให้เป็นผืนป่าท่ามกลางพื้นที่แห้งแล้ง



ที่มา https://goo.gl/zk8s5m


ที่ดินนับหมื่นเฮ็คตาร์ที่ไร้ผลผลิตอย่างสิ้นเชิง

ได้รับการฟื้นฟูให้มีผลผลิตขึ้นมาอีกครั้ง

ขอบคุณอีกครั้งสำหรับเทคนิคของ Yacouba "
Chris Reji ได้กล่าวในฐานะที่เป็น
นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง
ชี้ให้เห็น
สิ่งที่ Yacouba ทำได้สร้างแรงบันดาลใจ


“ เขาไม่เคยหยุดยั้งความพยายาม

ทุกปีที่ผ่านไปยิ่งจะเพิ่มประสบการณ์ของเขา " 

สถานที่เก็บเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่

หม้อหุงอาหารขนาดใหญ่

และเขตพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์
ของชายที่มีภริยา 3 คนและลูก ๆ 31 คน
ได้เปิดเผยถึงผลงานความสำเร็จ
จากความพยายาม
อย่างไม่หยุดยั้งของชายคนหนึ่ง

แต่ความตั้งใจของ Yacouba ไปไกลเกินกว่า

การหาอาหารให้กับครอบครัวของเขาเอง

เขาได้พูดถึงผลดีของวิธีการของเขา

ได้ทำให้กับเขตพื้นที่ภูมิภาคขนาดใหญ่

บรรดาผู้คนที่อพยพไปกว่าสามสิบปีที่ผ่านมา

ได้เริ่มต้นกลับคืนบ้านเกิดอีกครั้ง


“ เราจำเป็นต้องกินดีเพื่อจะทำงานได้ดี
ไม่มีป่าไม้ ไม่มีดิน
ถ้าคุณตัดต้นไม้สิบต้นทุกวัน
แล้วไม่ยอมปลูกทดแทนหนึ่งต้นในหนึ่งปี
พวกเรากำลังเดินหน้าไปสู่หายนะ “
Yacauba ยืนยันในเรื่องนี้

ต้องขอบคุณชายคนหนึ่ง
กับความศรัทธาเชื่อมั่น
ที่ใช้เวลากว่ายี่สิบปีนี้
จนสามารถทำได้สำเร็จ
ได้เปลี่ยนแปลงชีวิต
ของผู้คนนับพัน
หนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก

ในปี 2010 Mark Dodd จาก 1080 Films
ได้ชนะเลิศรางวัลในการกำกับภาพยนร์

จากการสร้างภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้
จากพื้นฐานประสบการณ์ของ Yacouba

ตั้งชื่อว่า ชายผู้หยุดยั้งทะเลทราย

มันเป็นเรื่องราววิธีการของคน

ที่มีความพยายามเพียงคนเดียว

ที่ช่วยชาวนานับพันทั่วทั้งภูมิภาค Sahel ของแอฟริกา

พื้นที่นับว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่เลวร้ายที่สุด

จากภัยคุกคามของทะเลทรายบนพื้นโลก

ภาพยนตร์เรื่องนี้จะช่วยต่อต้านความคิดที่ว่า

แอฟริกาต้องการความช่วยเหลือ
จากโลกภายนอกในการแก้ปัญหา

ในเดือนตุลาคม 2012 มีการจัดประชุมขึ้นในเกาหลีใต้ โดย
United Nations Convention to Combat Desertification (UNCCD)
1080 Films ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องสั้นเกี่ยวกับชีวิตของ Yacouba
ชื่อเรื่องว่า “What Yacouba Did Next…,”
เล่าเรื่องราวของ Yacouba ที่ได้ทำไปแล้ว
ทำให้แนวคิดของเขาได้รับการยอมรับจากชุมชนนานาชาติ




What Yacouba did next...


ในการติดตามภาพยนตร์เรื่องนี้
UNCCD Executive Secretary Luc Gnacadja
ได้สรุปถึงผลกระทบที่ทรงพลังเกี่ยวกับวิธีการเรียบง่ายของ Yacouba
“ เกือบไม่เหลืออะไรอีกแล้ว
เขาได้สร้างการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เราต้องการ
ถ้าเราสามารถที่จะเผยแพร่และยกระดับตัวอย่างผลงานของเขา
แน่นอนเราสามารถที่จะทำได้อย่างมากมายเลย
กับความก้าวหน้าในการหยุดยั้งทะเลทรายได้ ”

หนึ่งในผลลัพธ์ทางตรงเกี่ยวกับเรื่องราวนี้
ทำให้ Yacouba ได้รับเงินบริจาคช่วยเหลือ
ในการพยายามฟื้นฟูป่าไม้ให้กลับคืนมา
ทำให้เขาสามารถมีกองทุน เพื่ออบรมขยายแนวคิดวิธีการแบบ Zai
ด้วยการเดินทางไปหมู่บ้านต่าง ๆ ถึง 13 แห่ง เพื่ออบรมเทคนิคนี้
Yacouba หวังอย่างมากที่จะเผยแพร่ความรู้นี้ไปทั่วภูมิภาค
และศูนย์กลางทำงานเผยแพร่เทคนิคนี้ที่ไร่ของเขาเอง
ด้วยการสอบผู้มาเยือน ตามที่ Yacouba กล่าวว่า

“ นำคนมาร่วมกันด้วยจิตวิญญาณของมิตรภาพ
ผมต้องการอบรมเรื่องนี้ เพื่อให้มีเกิดการแพร่
กระจายการเปลี่ยนแปลงไปทั่วภูมิภาค ”

ผลงานฟื้นฟูป่าไม้ของ Yacouba
ไม่เพียงแต่ช่วยเหลือชาวนา
จากการฟื้นฟูความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชท้องถิ่น
แต่ยังช่วยปรับปรุงคุณภาพของดิน
เพื่อพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต

Chris Reij จาก World Resources Institute
และนักเขียนของ Worldwatch Institute’s State of the World 2011:
Innovations that Nourish the Planet
เชื่อมั่นในผลงานของ Yacouba
และได้ไปเยี่ยมไร่นาของเขามาหลายครั้งแล้ว
Reij เข้าใจถึงความสำคัญของงาน Yacouba



ที่มา //goo.gl/MQPSYz



“ อะไรที่ Yacouba ได้ทำ
ชาวนาทั่วทั้ง Sahel ก็สามารถทำได้
ความท้าทายอย่างใหญ่หลวงคือ
ในอีก 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า
เราต้องพยายามขับเคลื่อนชาวนาอีกหลายล้านคน
ให้ลงทุนกับต้นไม้เพราะมันสามารถช่วยพวกเขา
เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร
และในเวลาเดียวกันช่วยให้พวกเขาในการปรับตัวเข้ากับ
การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ(โลกร้อน)

เราจะต้องหยุดการสอนและการเล่าเรื่อง

แล้วแทนที่ด้วยการเริ่มต้นเรียนรู้

และฟังสิ่งที่ชาวนาได้บอกเรา "

ผลตอบรับจากเรื่องนี้
Yacouba เข้าใจดีถึงความสำคัญของงานของเขา
และความพยายามในการทำงานอย่างมาก
ที่จะขยายการเพาะปลูกเข้าไปในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
เพื่อปรับปรุงคุณภาพดินและพลิกฟื้นอนาคตของ Sahel
แม้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายสำหรับ Yacouba
แต่ได้เป็นทางออกสำหรับชุมชนทั่วแอฟริกา
ในการหยุดยั้งทะเลทรายและเตรียมรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอน

ตั้งแต่มีการสร้างภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวนี้แล้ว
ชีวิตไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับ Yacouba
โครงการชุมชนที่จะขยายเขตป่าไม้
ที่เขาต้องใช้เวลายาวนานหลายปีในการปลูกขึ้นมา
โดยไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ เลย
บริเวณบ้านส่วนหนึ่งและป่าไม้
ของ Yacouba ตกอยู่ในเขตปฏิรุปที่ดิน
ยกเว้นที่ดินแปลงเล็ก ๆ สำหรับครอบครัว Yacouba
ทำให้ Yacouba ต้องการเงิน 20,000 เหรียญสหรัฐ
เพื่อซื้อผืนป่าไม้ที่ปลูกขึ้นมากลับคืน
เพราะเริ่มมีคนเข้าไปแผ้วถางใช้ประโยชน์จากต้นไม้แล้ว





Yacouba กับ Chris Reij

ที่มา https://goo.gl/zk8s5m


เรียบเรียง/ที่มา

//goo.gl/JcPpDe
//goo.gl/IOM0xh
https://goo.gl/zk8s5m
https://goo.gl/Jo96p7
//goo.gl/MQPSYz




 

Create Date : 09 เมษายน 2559
0 comments
Last Update : 27 มิถุนายน 2559 0:56:20 น.
Counter : 783 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.