LovelyTrip เที่ยวทุกที่ที่ใจอยากไป
Group Blog
 
<<
กันยายน 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
7 กันยายน 2557
 
All Blogs
 
สารพัดโรคจาก'เกลือ'






โบราณว่าไว้ว่า  "เกลือ" เป็นหัวใจสำคัญในการถนอมอาหารให้เก็บไว้กินได้นาน ๆ และเป็น ราชาแห่งเครื่องปรุงรส 1 ใน 5 รสชาติที่ลิ้นคุ้นเคย

ใช้ทำอะไรได้บ้าง?


ปรุงอาหารโดยเฉพาะอาหารไทย  และอาหารที่ปรุงด้วยเกลือในปริมาณที่มากๆก็คือ 
  • อาหารแห้ง 
  • อาหารหมักดอง จำพวก กะปิ น้ำปลา จะเห็นว่า บางคนเวลากินข้าว จะเรียกหา พริกน้ำปลาถ้าไม่ได้กินเหมือนขาดอะไรไปสักอย่าง  เช่นเดียวกับซีอิ๊ว ที่คนจีนเวลากินข้าวจะเรียกหาไว้ก่อน 
  • โรยลงบนข้าวโพดคั่ว หรือมันฝรั่งทอด ไส้กรอก แฮม ในอาหารจานด่วนแบบตะวันตก หรืออาหารยอดฮิตของชาวฟิลิปปินส์ที่เรียก bagoong (บากุง) เป็นปลาแอนโชวี่หรือกุ้งที่หมักเค็ม คล้ายกะปิของไทย 






มีนักโภชนาการกล่าวว่า    


"...ร่างกายของเราต้องการเกลือเพียงเล็กน้อยในแต่ละวัน โดยใน 1 วัน ร่างกายต้องการเกลือเพียง 220 มิลลิกรัม (หรือ 1/10 ของ 1 ช้อนชา) ถ้าร่างกายขาดเกลือก็จะมีอาการ  อ่อนเพลีย มีอาการอาเจียน วิงเวียนถึงหมดสติได้ แต่ดูเหมือนว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นกับวัฒนธรรมการกินแบบเรา ๆ ตรงกันข้าม เพราะเรากินเกลือเกินความจำเป็นถึงประมาณ 6 -10 เท่า จากปริมาณที่ร่างกายต้องการเสียด้วยซ้ำ
          ซึ่งหากปริมาณเกลือในร่างกายมากเกินความต้องการก็จะนำพาโรคต่าง ๆ มาให้มากมายทั้งโรคไต โรคความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ โรคหัวใจ และอาการผื่นแดงคันตามร่างกายที่บางครั้งเกิดขึ้นอย่างไม่มีสาเหตุ"

ทำไมต้องกังวลว่าจะกินเกลือมากเกินไป ?

          มีงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า สารโซเดียม หรือ เกลือ เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง มีผลร้ายแรงอย่างต่อเนื่องกับโรคหัวใจ และอัมพฤกษ์

Jaen Brody นักเขียนและโภชนากร เขียนถึงเกลือไว้ในหนังสือ Nutrition Book หนังสือขายดีติดอันดับของเธอว่า 

  "ในเลือดมีปริมาณโซเดียมอยู่ถึง 40% โซเดียมเป็นส่วนประกอบสำคัญในร่างกายมนุษย์ผสมอยู่ในของเหลวในร่างกาย หากร่างกายมีปริมาณโซเดียมสูงเหมือนน้ำทะเลที่เค็มจัด ร่างกายจำเป็นต้องการน้ำมาก เพื่อทำให้ความเค็มอยู่ในระดับที่สมดุล  และโซเดียมคลอไรด์ เป็นตัวบังคับสำคัญที่จะกำหนดความสมดุลของน้ำที่ทำละลายสสารต่า งๆ นอกเซลล์ 
            นอกเหนือจากนั้นยังทำหน้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ และชีพจรด้วย เมื่อระบบการดูดซึมผิดปกติ อาจทำให้ระบบการทำงานดังกล่าวผิดปกติ และเกิดอาการร้ายแรงต่อสภาพร่างกายได้"




Dr.Marlelo Agama นักฟิสิกส์ชาวฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ไตเป็นอวัยวะที่ช่วยในการปรับระดับโซเดียมในร่างกายคนเรา เมื่อปริมาณโซเดียมสูงเกินไป ไตจะขับถ่ายออกมา ในทางกลับกันถ้าร่างกายต้องการโซเดียม ไตจะทำงานโดยดูดสสารนั้นกลับสู่เลือด

          แต่เมื่อใดที่ไตทำงานผิดปกติไม่สามารถขับโซเดียมได้ในปริมาณที่เหมาะสม จนร่างกายมีปริมาณโซเดียมสะสมสูง น้ำในร่างกายก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น นั่นหมายถึงว่าระดับเลือดก็จะสูงขึ้นด้วย เมื่อปริมาณเลือดสูงขึ้น เลือดต้องวิ่งผ่านไปยังเส้นเลือดมากขึ้น เป็นผลให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งหัวใจก็ต้องสูบฉีดหนักขึ้น เพราะปริมาณเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้น
          นอกจากผลต่อความดันโลหิตแล้ว ปริมาณโซเดียมที่มากเกินความต้องการของร่างกายจะทำให้ปริมาณน้ำของเนื้อเยื่อภายในและภายนอกเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาการบวม หรือปริมาณของเหลวในร่างกายที่มากเกินไปทำให้เกิดอาการเส้นเลือดคั่ง และหัวใจวายได้





          มีการสำรวจพบว่า แทบจะไม่มีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในบริเวณที่ไม่นิยมใช้เกลือในการปรุงอาหาร นักวิจัยชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัย Harvard ศึกษาประชากรที่อาศัยอยู่ในเกาะ Solomon แถบหมู่เกาะทะเลใต้ ประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณภูเขา ไม่นิยมปรุงอาหารด้วยเกลือ ไม่พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
          ผลสำรวจแบบเดียวกันที่แคว้น Akita ทางเหนือของประเทศญี่ปุ่น ประชากรในบริเวณนั้นนิยมใช้เกลือในการถนอมอาหาร ในแต่ละวันพวกเขารับประทานเกลือปริมาณ 3 ?–6 ช้อนชา เหตุนี้เองทำให้พบว่าประชากรส่วนใหญ่เสียชีวิตด้วยโรคอัมพฤกษ์ ที่แย่ไปกว่านั้น จากการวิจัยที่โรงพยาบาลเซนต์โทมัสในลอนดอน พบว่าเกลือมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด

เกลือมีผลทำให้โรคริดสีดวงกำเริบแต่ก็ช่วยลดอาการเจ็บคัดหน้าอกก่อนมีประจำเดือน

          นอกจากนี้ยังพบว่า เกลือมีผลทำให้โรคริดสีดวงกำเริบ จากข้อคิดเห็นของ Dr.Lohn Lawder จาก Torrance California ได้กล่าวว่า ระดับเกลือที่เกินความต้องการทำให้ร่างกายขับของเหลวเพื่อเจือจาง ของเหลวในร่างกายที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น จะวิ่งผ่านระบบไหลเวียนของร่างกาย ไปยังเส้นเลือดต่าง ๆ ทั้งนี้มีผลทำให้เส้นเลือดดำโป่งพองได้ในบริเวณทวารหนัก และบริเวณอื่น ๆ เช่นเดียวกันกับผลร้ายที่เกิดจากเกลือที่เขียนไว้ในหนังสือ The Doctors Book of Home Remedies ว่าการรับประทานเกลือมากเกินไปทำให้เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศีรษะ (ไมเกรน)
            Dr.Norman Schulman สูตินรีแพทย์จาก Cedars-Sinai Medical Center ใน LA แนะนำว่าควรลดการรับประทานเกลือ (เค็ม) ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน เพื่อลดอาการเจ็บคัดหน้าอกก่อนมีประจำเดอืน แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนโดย Dr.Penny Wise Budoff จาก New York ที่แนะนำว่าให้ลดการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงประมาณ 7-10 วัน ก่อนมีประจำเดือนเพื่อลดอาการบวมน้ำขณะมีประจำเดือน

ส่วนสาวๆที่ชอบขัดผิวด้วยเกลือโปรดฟัง

          เพราะเกลือที่ใช้ไม่ได้ดีต่อสุขภาพผิวอย่างที่คิด ข้อมูลนี้ถูกเปิดเผยในงานเวิร์กช็อปของครีมบำรุงผิวซิตร้าที่ร่วมกับ Divana Massage & Spa โดยมีผู้เชี่ยวชาญออกมาบอกว่า 

         "แท้จริงแล้วเกลืออันตรายกับผิว หากใช้ไม่ถูกที่ถูกทาง ยิ่งคนที่นิยมทำสครับขอบอกว่า ห้ามใช้เกลือ     เป็นส่วนผสมของสครับ เพราะนอกจากเกล็ดของมันจะคมบาดผิวแล้ว เกลือยังดูดความชุ่มชื้นออกจากผิว ทำให้ผิวแห้งอีกด้วย"





          ทางออกที่ผู้เชี่ยวชาญแนะก็คือให้หันมาหาน้ำตาล

          ใช่ค่ะ น้ำตาลทรายนี่แหละที่เป็นตัวช่วยในการบำรุงผิวของเราได้ โดยวิธีการทำสครับด้วยน้ำตาลไม่ยากใช้โลชั่นผสมกับน้ำตาลทราย ผสมให้เข้ากันแล้วนำมาใช้ขัดผิวเป็นสครับที่ช่วยขจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายออกไปได้ โดยไม่ทำให้ผิวแห้ง ลองแล้วจะรู้ว่าผิวนุ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด



 ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : naewna.com,pinterest.com,คอลัมน์ HEALTHเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ ,pim.in.th



Create Date : 07 กันยายน 2557
Last Update : 7 กันยายน 2557 9:47:17 น. 0 comments
Counter : 1187 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Lovelytrip
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 63 คน [?]




จำนวนผู้ชม 5140140 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 970 ครั้ง

เที่ยวทุกที่ที่ใจอยากไป
New Comments
Friends' blogs
[Add Lovelytrip's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.