สำนึกทางสังคมของนักเขียน
เป็นประเด็นซึ่งมีผู้ตั้งกระทู้ในเวป //www.thaiwriter.net เรื่องเกี่ยวกับการขีดๆ เขียน ซึ่งพาดพิงไปถึงนักเขียนรุ่นกลางๆ (รุ่นเดียวกับเจ้าของเวปไทยไรเตอร์นี้แหละ) เห็นความคิดบางอย่างแล้วแล้วผมก็เกิดคันที่ใจขึ้นมาเลยร่ายไปเสียยาว
ไม่นานเวปมาสเตอร์ก็รื้อบอร์ดใหม่ กระทู้นี้เป็นอันหายไปด้วย ดีที่ผมเซฟเอาไว้ วันนี้กลับมาอ่านดู เห็นมีอะไรดีๆ เลยเอามาไว้ในพื้นที่ตรงนี้ให้อ่านแก้กลุ้มกันครับ

ผมตั้งชื่อว่า สำนึกทางสัมคมของนักเขียน


ประเด็นเรื่องใส่ความคิดคนเขียนลงในงานเขียน

ถ้าเป็นบทความ บทกวี ไม่มีความคิดอะไรของคนเขียน งานของนักเขียนผู้นั้น คงหาความโดดเด่นอะไรไม่พบ เพียงแต่ว่า ความคิดนั้นมันผ่านการกลั่นกรองมาแล้วระดับไหน เกิดมาใน “แนวดิ่ง” วอนแต่จะชักข้ออ้างมาหนุนอุดมคติซึ่งรับใช้อคติทั้ง 4 ของคนเขียนอยู่ปาวๆ อ่านแล้วเจือจางไว้ด้วยอารมณ์โมหุนขุ่นเคือง แม้คนเขียนจะว่ามันดีสักปานใด คนอื่นคนอ่านจะเอียงข้างไหนอ่าน เขาก็ยังคงมองเห็นเป็นแค่งานปัจเจกชน ไม่ควรเข้าไปยุงเกี่ยวให้เสียศูนย์

ถ้าเป็นเรื่องสั้น นวนิยาย จะสอดจะแทรกความคิดคนเขียนเข้าไปก็ไม่เห็นว่ามันจะผิดที่ตรงไหน เพราะยังไงการเขียนหนังสือมันก็เขียนความคิดเขียนจินตนาการอยู่แล้ว อยู่ที่ความคิดนั้น “กลืน” กับเรื่องตรงนั้นหรือเปล่า แทรกไว้เนียนแค่ไหน ถ้าผู้เขียนลากซุงมาเกยไว้ทั้งดุ้น ก็สมควรถูกตำหนิบ้าง ค่าที่พร่องศิลปะการนำเสนอไปหน่อย เพราะการเทศนาหรือการยัดความคิดของคนเขียนเข้าไป มันมีศิลปะของมัน ถ้าผู้เขียนวางเรื่องโยงเหตุการณ์มา มีแรงหนุนและแรงนำพร้อมสรรพจนต้องให้ตัดสินใจอย่างนั้นแล้ว ทำไมคนอ่านจะไม่ยอมรับ

คำพูดประมาณว่า ก็แค่เขียนความคิดของตัวเองเข้าไป คนอ่านที่ไม่เห็นด้วย เขาก็มีสิทธิ์... จะไม่เกิดขึ้น

หรือถ้ากระสันอยากใส่ความคิดเข้าไปนัก แต่ความคิดนั้นไม่ทำให้คนอ่านรู้สึกตัวเองโง่ ตกต่ำ หรือกำลังถูกคนเขียนมันชี้หน้าด่าเอาๆ ก็ไม่เห็นเสียหาย ลงว่า “ใช่” เสียแล้ว สามสี่หน้า คนเขาก็อ่าน

คำว่าใช่ นี่หมายถึงผู้เขียนถอยมาให้ห่างจากตัวตนคนเขียนชนิด ไม่เห็นหัว แล้วเข้าไปกรองในฐานะ “คนอ่าน” แบบเต็มขั้นมาดีแล้ว

เรื่องสั้น นวนิยายสักเรื่องถ้าเขียนให้คนอ่านเขาด่าข้ามตัวละครไปถึงคนเขียนได้ ก็เห็นสัญญาณแล้วว่า คนเขียนต้องลดอหังการ (ความคิดว่าเป็นตัวกู) มมังการ (ความคิดว่าเป็นของกู) มาทบทวนบทบาทตัวเองสักหลายๆ เที่ยว ดีกว่าจะเต้นผางๆ ออกมาแก้ตัวแก้ต่างให้ตัวเอง “ดูดี”

เพราะถ้าดึงดันไปว่า มันสูญเสียความเป็นตัวตน ก็ไม่เห็นจะได้อะไร ประโยชน์อยู่ที่ แล้ว "ตัวตน" นั้นมันรับใช้คนอ่านที่เขาซื้องานคุณไปหรือเปล่า


ประเด็นเรื่องไม่ควรไปตัดสินแทนคนอ่าน

แต่่ไม่ได้หมายความว่านักเขียนอยากจะเขียนอะไรก็เขียนส่งเดชมันลงไป จะกักขฬะสักแค่ไหนก็ได้ ให้คนอ่านไปตัดสินเอาเอง คิดแบบนี้ส่อว่าขาดสำนึกรับผิดชอบต่องาน ต่อผู้อื่นอยู่สักหน่อย

งานเขียนทุกชิ้นมันต้องมีแกนการตัดสินใจอยู่แล้วคือคนเขียนมีข้อสรุปให้อยู่แล้ว แต่จะมีวิธีซ่อนสารนั้นอย่างไรให้ดูไม่เป็นการชี้นำ

งานที่เพียรแต่พากันตั้งคำถาม มันอาจจะดีในระดับหนึ่ง แต่อ่านไปนานเข้า ชักจะเกร่อจนรำคาญว่า พวกท่านได้แต่ตั้งคำถามกันเท่านั้นหรือ งานแบบนี้จะเรียกว่างานระดับ "สร้างสรรค์" เห็นจะขอยกมือค้านเป็นคนแรก

การตั้งคำถามต่ออะไรต่อมิอะไรใครก็สามารถหาเรื่องถามได้ แต่คำถามนั้นมันได้ถูก "สร้าง" ขึ้นมาให้เป็นรูปธรรม แล้ว "สรรค์" อะไรที่เป็นข้อเสนอ "ซ่อน" ไว้บ้างไหม

แต่เคยอ่านเหมือนกันที่เกือบทั้งเรื่องเต็มไปด้วยบทเทศนาหรือความคิดของคนเขียน ชนิดพล่ามน้ำหมึกแตกฟอง แต่ก็หมดความพยายามอ่านให้จบทุกที เพราะรู้สึกเหมือนตัวเองป็นเด็กน้อยนั่งพับเพียบฟังโอวาทของอาจารย์ทิสาปาโมกข์

และก็มีอีกเหมือนกันที่ผู้เขียนยกกระทู้ธรรมมาเสียยืดยาว แต่อ่านแล้วดื่มด่ำ ตรงนี้มันโยงไปถึงตอนต้นที่ว่า ความคิดนั้นไม่ทำให้คนอ่านรู้สึกตัวเองโง่ ตกต่ำ หรือกำลังถูกคนเขียนมันชี้หน้าด่าเอาๆ ก็ไม่เป็นข้อเสียหาย

ประเด็นเรื่องศิลปะกับความกล้าหาญ

ข้อนี้ขอยกไว้ เพราะถ้าบอกว่ามันคืองานรับใช้ตัวตน-ความคิดของตนเองเสียแล้ว ก็ไม่ต้องพูดกันให้เปลืองสมองเปลืองตัว
อีกอย่าง ก็แน่อยู่แล้วว่า ถ้ามีคนออกมาต่อต้านคัดค้าน ก็หมายความว่า มันผู้นั้นริก้าวก่ายความเป็น “ตัวตน” ของศิลปิน

พลอยจะเสียผู้เสียคน

สู้ปล่อยให้พวกเขาอยู่กับตัวกูของกูไปอย่างนั้นดีกว่า สักวันเดี๋ยวก็จะพากันเห็นทุกข์ไปเอง

แต่เกิดศิลปะอันนี้ หมายถึงงานเขียน งานเขียนซึ่งต้องออกไปสู่สาธรณะ ถ้าจะผู้เขียนบอกว่าเป็นงานเพื่อรับใช้ความคิดของตนเอง หรือรับใช้ตัวตนของคนเขียน ก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะตัวหนังสือนั่นเจ้าตัวเก็บไว้เสพสมอารมณ์หมายคนเดียวก็หาไม่ พิมพ์แล้วซื้อยกเค้ามาอ่านเองอย่างสบายเฉิบก็ไม่อีก

เขาเขียนหนังสือให้คนอื่นอ่าน ก็หมายความว่า ตัวหนังสือนั่นได้เข้าไปรับใช้ผู้อ่านแล้วเด็ดขาด คนเขียนมาคิดว่า คุณอ่านแล้วจะคิดยังไงไม่สน ฉันจะว่าอย่างนี้ จะทำอย่างนี้ ก็ไม่ยุติธรรมกับคนอ่าน ยิ่งถ้าบอกว่าอยากจะเขียนอะไรก็เขียน เขียนอย่างกล้าหาญ ใครจะว่ายังไงก็ช่าง นั่นก็หมายความว่า ผู้เขียนไม่ยอมรับว่าอิทธิพลของวรรณกรรมที่จะมีผลไปชักจูง ชี้นำ กล่อมเกลาคนอ่าน

จะปัดไปว่า ปล่อยให้เป็นวิจารณญาณของคนอ่าน แต่วิจารณญาณนั้นแต่ละคนมันก็ไม่ได้มีเท่ากัน ข้อเขียนของนักเขียนออกมายังไงก็แล้วแต่ จะต้องมีผลชักนำคนอ่านไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง

คนที่อ่านแต่งานแนวไหนมากๆ มักจะค่อยๆ กลายอุปนิสัยสันดานไปในทางนั้น

ยิ่งถ้ารู้ว่า งานนี้คืองานของนักเขียนมีชื่อ ก็ยิ่งพากันเชื่อถือไว้ก่อน เพราะเข้าใจว่า ผ่านการกลั่นกรองมาดีแล้ว

ดังนั้นบทบาทตัวละคร ความคิดที่แทรกเข้าไป แนวเรื่องที่เขียน ทั้งหมดทั้งสิ้น ผู้เขียนจะว่า "ช่างหัว" นั้น ออกจะขาดความรับผิดชอต่อคนอ่าน ต่อสังคมสาธารณะไปไม่น้อย
ในฐานะคนเขียนหนังสือและคนทำสื่อ สมควรสำนึกมีจรรยาบรรณเรื่องนี้

คำพูดที่อดคิดไม่ได้ว่า ผู้เขียน ขาดความรับผิดชอบต่อสาธารณะก็คือ “มันไม่เห็นด้วย มันก็โยนหนังสือทิ้ง”

ออกจะหมิ่นแคลนคนอ่านจนน่าน้อยใจ เป็นผมคงไม่กล้าเนรคุณคนที่กรุณาอ่านงานของเราเด็ดขาด
แบบนี้ ช่องว่างระหว่างคนอ่านกับคนเขียนก็ห่างกันไปเรื่อยๆ แล้วจะว่า งานวรรณกรรมไทยขายไม่ได้ คงไม่ถูกต้องเต็มส่วน

คุณวินทร์ฯ บอกว่า เราไม่สามารถเขียนงานเอาใจคนอ่านทั้งหมดได้ ถ้าจะอ้างคำนี้ ก็ต้องกรองให้ดีก่อนว่า ทำไมเขาถึง มีคนอ่านกันทั้งบ้านทั้งเมือง ขายหนังสือได้เป็นกอบเป็นกำ

นั่นอาจสะท้อนนัยะว่า จุดยืนของนักเขียนคงไม่ปักไว้เพื่อรับใช้ตัวตนของคนเขียนเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ดู “ทิศทางลม”

ประเด็นต่อมา ที่คุณทินกรว่า ชอบแนวหนังอะไรแบบนั้น (หมายถึงหนังแสดงบทรักจะแจ้ง)

ก็แล้วแต่คนชอบ แต่ถ้าจะให้หนังทุกเรื่อง ทำแบบนั้นหมด วงการหนังใต้ดินคงเฮลาโลกันเจ๊งระนาว นึกๆ ดูแล้วก็สนุกดีเหมือนกัน แต่เจ้าของคำพูดเองก็คงไม่ต้องการอย่างนั้น เพราะอะไรดีๆ มีอีกพะเนิน เว้นเรื่องนี้สักเรื่อง ก็ไม่เห็นว่าจะช่วยให้สังคมนี้เสื่อมทราม (เร็วขึ้น)

ใครจะแก้ผ้าเดินโทงๆ ไปทั้วเมืองก็ทำไปเถิด ถ้าใจมันอยากทำ แต่จะขึ้นป้ายใส่ลำโพงชักจูงคนอื่นให้เปลือยตัวล่อนจ้อนมาเพ่นพ่านด้วยก็คงไม่มีใครทำ

บางคนอาจลืมไปว่า ทำตามสัญชาตญาณ กับ ทำเพื่อความเป็นปกติสุขของสังคมส่วนรวม นั้นเป็นคนละเรื่องกัน และแยกกันอย่างเด็ดขาด






...



Create Date : 20 มีนาคม 2551
Last Update : 30 ตุลาคม 2551 11:54:48 น.
Counter : 1268 Pageviews.

15 comments
  
มาอ่านเอาเรื่อง! ฮา.. ได้เรื่องไปแล้วละ
ตรงนี้ขอยกมือแซวสำนวนสักหน่อย

"ชนิดพร่าม (พล่าม) น้ำหมึกแตกฟอง"

จดลิขสิทธิ์ยังคะ?
ถ้ายังไม่จด จะชิงไปจดแทน 55

"คนที่อ่านแต่งานแนวไหนมากๆ มักจะค่อยๆ กลายอุปนิสัยสันดานไปในทางนั้น"

ส่วนท่อนนี้ยกมือสนับสนุนค่ะ มีงานวิจัยรับรองแน่นอน (ฮา)
You are what you eat!

เม้นท์ไม่ได้อีกแล้ว!! ไม่ใช่สมาชิก


*เลยไปยืม I.D. เขามา อิอิ
โดย: ฝนพรำ (Bluecoffee ) วันที่: 23 มีนาคม 2551 เวลา:14:27:02 น.
  
หุหุ พี่รู้สึกมั้ยคะว่า ยิ่งนานวันจรรยาบรรณยิ่งหายาก
โดย: หนูใบข้าว วันที่: 25 มีนาคม 2551 เวลา:0:30:03 น.
  
โอ้ คิดถึงคุณฝนพรำมาก ๆ

ส่วนคุณพี่รวี / บก.ชั้นเทพ ไปเลยคุณพี่
โดย: เจ้าชายไร้เงา วันที่: 25 มีนาคม 2551 เวลา:14:54:21 น.
  
แวะมาคิดถึงค่ะ
โดย: รวยระรินกลิ่นชา วันที่: 27 มีนาคม 2551 เวลา:14:40:09 น.
  
ฝนปำ...

พิมพ์ พล่าม เป็น พร่าม อายคุณครูฝนพรำจัง (ฮา)
ปลื้มนะครับนั่น ไม่เป็นสมาชิกยังอุตส่าห์ใช้ของคนอื่นมาเม้นท์

คำว่าพล่ามน้ำหมึกแตกฟอง ผมใช้บ่อยครับ แต่ก็ไม่สงวนสิทธิ์นา เอาไปใช้ได้ขอรับ

หนูใบข้าว...

นั่นสิครับ ผมเห็นจนปลงแล้วครับ เราทำงานอย่างมีสำนึกที่ดีก็เพียงพอ คิดงี้ก็สบายใจครับ

เจ้าชายไร้เงา..

คิดถึงแต่พี่ฝนพรำ ไม่คิดถึงพี่รวีมั้งรึ (ฮา)
"บก.ชั้นเทพ ไปเลยคุณพ" รู้นะว่าเหน็บ
บก.ในโลกหนังสือบ้านเราเดี๋ยวนี้มีสองประเภท
บก.ตามความหมายจริง คือ ผู้คัดกรองต้นฉบับ ปรับแก้ร่วมกันนักเขียน ดูแลการผลิตหนังสือทั้งระบบ
กับ บก.อีกแบบคือ พวกพนักงานที่เข้าไปอ่านต้นฉบับปรับแก้แล้วก็คอยเป็นฟันเฟืองที่จะทำให้หนังสือเล่มนั้นมันเข้าโรงพิมพ์ได้
ไม่มีสิทธิ์มาคัดกรอง ไม่มีสิทธิ์คอมเมนท์งาน นักเขียนเขาต้องการยังไงก็ต้องว่าไปตามนั้น พูดง่ายๆ ก็คือ นายทุนสั่งมาคุณจะต้องทำหนังสือเล่มนี้ คุณก็ต้องทำ ดีไม่ดีคุณก็ต้องทำ (แล้วต้องทำให้ขายได้ด้วยนะ ไม่งั้นโดนด่า)
จากนั้นก็มีหน้าที่พินอบพิเทานักเขียนเจ้าของงาน ครับ ได้ครับ ยินดีครับ เกิดไปคอมเมนท์นักเขียนเมื่อไหร่ เกิดเขาไม่พอใจแล้วฟ้องนายทุน คุณก็ตาย....
เห็นการทำงานแบบนี้แล้วปวดใจครับ ให้ผมทำยังงั้นนี่ผมทำไม่ได้จริงๆ ขอลาออกดีกว่า

อยากให้ สนพ.ที่จ้าง บก.มาทำงานแบบนี้ เปลี่ยนคำว่า บรรณาธิการ เป็น "บรรณบริการ" มากกว่า

อ้าวบ่นเป็นคนแก่อีกแน่ะ


รวยระรินฯ

คิดถึงพอสังเขปนะครับ เดี๋ยวแฟนจะงอน

โดย: รวี_ตาวัน วันที่: 30 มีนาคม 2551 เวลา:16:57:43 น.
  


แวะมาอ่านค่ะ ไต่มาจากลิ้งค์ของคุณ รวยระรินกลิ่นชา

แล้ว..เกือบนึกถึงกระทู้นี้ออก..แหะๆ
เหมือนว่าจะอ่าน แต่ ก็.งเลือนจังเลย
ดีจังนะคะ ที่มีสมาชิกช่วยเซฟกระทู้ดีๆไว้แล้วเอามาแบ่งเพื่อนๆอ่าน

อมยิ้มไป ถอนใจไปค่ะ..
โดย: รอยคำ วันที่: 30 มีนาคม 2551 เวลา:23:29:38 น.
  
บ่นตามประสาคนแก่สินะ

คำใหม่เหมาะดีนะ บรรณบริการ
โดย: เจ้าชายไร้เงา วันที่: 26 เมษายน 2551 เวลา:15:43:03 น.
  
แวะมาอ่าน พร้อมติด tag ภาพถ่าย จ้า ดูรายละเอียดได้ที่บล็อคนะราวี่ อิอิ
โดย: เปียร์รุส วันที่: 15 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:54:25 น.
  
อาจารย์พิมพ์ผิดได้ไง....รีบร้อนไปรึปล่าวทั่น สงสัยจะมีอะไรต้องทำเยอะอ่านะ เข้าจายๆๆๆ

ดีนะที่เซฟไว้ เพราะไม่งั้นอิช้านคงไม่ได้อ่านเป็นแน่ อะไรที่เอาไปแปะไว้ตามเว็บ ไม่มีใครรับประกันได้หรอกว่ามันจะยังอยู่ยั้งยืนยง

สบายดีนะยะ / เจ๊เอง

ปล. คำว่า "ขุ่นเขื่อง" ของอาจารย์นี่เป็นศัพท์ใหม่รึปล่าว? อิๆๆๆ
โดย: tidds วันที่: 19 ตุลาคม 2551 เวลา:13:49:18 น.
  
รักข้ามรั้ว เสนอเป็นตอนแรก 29 เมษายนนี้ เวลา 18.45 น.
ช่อง 7 สี นะจ๊ะ ฝากด้วยๆ
โดย: ดาริกามณี วันที่: 29 เมษายน 2552 เวลา:10:30:30 น.
  
สวัสดีครับ

โดย: ปฐพีหอม วันที่: 16 สิงหาคม 2552 เวลา:15:55:02 น.
  
ได้รับข้อความห่วงใยผ่านทางนางละเวงแล้วนะครับ ขอบคุณในความหวังดีที่ส่งผ่านนะพี่ ผมนิธิเอง
โดย: nithiveragul วันที่: 16 สิงหาคม 2552 เวลา:22:29:41 น.
  
เป็นอย่างไรบ้างครับสบายดีนะครับ...มาทักทายครับ
โดย: ปฐพีหอม (ปฐพีหอม ) วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:13:23:08 น.
  
สบายดีไหมครับมาทักทายครับ
โดย: ปฐพีหอม วันที่: 24 สิงหาคม 2552 เวลา:18:56:23 น.
  
คิดถึงจัง......สบายดีนะครับมีความสุขครับมาทักทายให้หัวใจเบิกบานครับ
โดย: ปฐพีหอม วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:18:39:02 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

รวี_ตาวัน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



มีนาคม 2551

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31